รายงานผลการประเมิน

สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับภารกิจตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งที่แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงจากยุทธศาสตร์ชาตินโยบายและแผนระดับชาติ
ซึ่งองค์การมหาชนเลือกจากรายการตัวชี้วัด (KPIs Basket) ที่สำนักงาน ก.พ.ร.จัดทำขึ้น โดยไม่จำกัดจำนวนตัวชี้วัด ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่มีลักษณะ ดังนี้
• ตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13แผนการปฏิรูปประเทศ แผนบูรณาการ และแผนระดับชาติอื่น ๆ
• ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งขององค์การมหาชน
• ตัวชี้วัดต่อเนื่องที่มีความสำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565(เป็นภารกิจหลักหรือได้รับงบประมาณสูง)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดมาตรฐานสากล (International KPIs) (ถ้ามี)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดร่วม (Joint KPIs) ของส่วนราชการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 Agenda (บังคับ) และหน่วยอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลังจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และเริ่มเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ สพค. จึงต้องมีการวางแผนเพื่อเพิ่มรายได้และวางแผนกิจกรรมทางด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  โดยจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2566-2568)   ซึ่งมีการดำเนินการดังนี้

1. จัดแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2566-2568) มีเนื้อหาประกอบด้วย

•การวิเคราะห์กลยุทธ์ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์  โดยวิเคราะห์ SWOT การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กรและภายนอกองค์กร

•การวางแผนกลยุทธ์  กำหนดจุดมุ่งหมาย เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ในการดำเนินงาน

•แผนปฏิบัติการ ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย  โดยจัดทำแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2566-2568) และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  และกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายรายปี

•การติดตามและประเมินผล โดยระบุแนวทางและวิธีการติดตามประเมินผลตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย

2. ดำเนินการติดตามประเมินผล  โดยดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

3. จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน  โดยจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  และปรับปรุงแผนฯ กรณีที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย (ถ้ามี)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
- จัดทำแผนยุทธ์ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2566-2568) และเสนอคณะกรรมการ สพค. - จัดส่งแผนฯ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ผ่าน
- ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนฯ รอบ 6 เดือน - ปรับปรุงแผนฯ กรณีผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผน (ถ้ามี) - รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ สพค. ไม่ผ่าน
- จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนฯ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข และเสนอคณะกรรมการ สพค. - จัดส่งรายงานผลการดำเนินงานตามแผนฯ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•จำนวนนักท่องเที่ยวที่ซื้อบัตรเข้าชมเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – วันที่ 30 กันยายน 2566

•ประมาณการนักท่องเที่ยว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เท่ากับ 186,000 คน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนนักท่องเที่ยวของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี 374,944.00 (คน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•วัดผลจาก รายได้จากการดำเนินงานของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 –วันที่ 30กันยายน 2566 ซึ่งเป็นรายได้ที่หักค่าธรรมเนียม
และส่วนลดเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย

     1) รายได้จากการขายสินค้าและบริการ ได้แก่ รายได้จากการขายสินค้า จำหน่ายอาหารสัตว์ จำหน่ายของที่ระลึก จำหน่ายสัตว์ เป็นต้น

     2) รายได้จากการให้บริการ ได้แก่ รายได้จากการเข้าชมสวนสัตว์ เงินบำรุงบ้านพักเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เงินบำรุงค่าห้องประชุมสัมมนา เงินบำรุงสถานที่ ค่าบริการรถโดยสาร เป็นต้น

     3) รายได้ค่าเช่า

     4) รายได้อื่นๆ เช่น รายได้จากการบริจาค (เงินบริจาคที่ไม่ระบุวัตถุประสงค์) เป็นต้น

•ประมาณการรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เท่ากับ 50 ล้านบาท 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้ของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี 117.66 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงาน
(เช่น ความสามารถในการหารายได้เพื่อลดงบประมาณภาครัฐ อัตราส่วนของ
รายได้ของการหารายได้จากต้นทุนคงที่)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•วัดผลจาก รายได้จากการดำเนินงานของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ซึ่งเป็นรายได้สุทธิ (หักค่าธรรมเนียมและส่วนลดเรียบร้อยแล้ว) เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดรายได้ ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินงานด้าน CSR

•สูตรการคำนวน :  อัตราส่วน =  รายได้จากการดำเนินงานของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี / ค่าใช้จ่ายของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

1. รายได้ คือ รายได้จากการดำเนินงานของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 ประกอบด้วย

  1.1 รายได้จากการขายสินค้า     1.4 รายได้อื่น

       - รายได้จากการขายอาหารว่างและเครื่องดื่ม       - รายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากจากสถาบันการเงิน

       - รายได้จากการจำหน่ายอาหารสัตว์       - รายได้จากการรับบริจาคทรัพย์

       - รายได้จากการจำหน่ายของที่ระลึก       - รายได้ค่าปรับ

  1.2 รายได้ค่าบริการ         - รายได้อื่น

       - รายได้จากค่าบริการเข้าชมสวนสัตว์

       - รายได้จากการทำกิจกรรมกับสัตว์

       - รายได้จากการให้บริการบ้านพักและห้องประชุมสัมมนา

       - รายได้จากการให้บริการรถ

       - รายได้จากการให้บริการสถานที่

  1.3 รายได้จากการให้เช่า

       - รายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ 

2. ค่าใช้จ่าย คือ ค่าใช้จ่ายของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 ประกอบด้วย

   2.1 ค่าใช้จ่ายบุคลากร

         เงินเดือน ค่าล่วงเวลา ค่าจ้างชั่วคราว เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลรัฐ และค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรอื่น

   2.2 ค่าตอบแทน

        ค่าตอบแทนบุคคลภายนอก

   2.3 ค่าใช้สอย

        ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา ค่าแก็สและน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าจ้างที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ ค่าใช้จ่ายในการประชุม ค่าเช่าเบ็ดเตล็ด – หน่วยภาครัฐ ค่าเบี้ยประชุม ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าจัดพิมพ์ ค่าตรวจสอบบัญชี สตง. บัญชีค่ารับรองและ

พิธีการ ค่าจัดหาสินทรัพย์มูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์ ค่าประชาสัมพันธ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

   2.4 ค่าวัสดุ

   2.5 ค่าสาธารณูปโภค

         ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการสื่อสารและโทรคมนาคม ค่าบริการไปรษณีย์และขนส่ง ค่าสาธารณูปโภคอื่น

   2.6 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

        ค่าใช้จ่ายในการดูแลสัตว์ ค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ค่าใช้จ่ายโครงการ/กิจกรรมพิเศษ และค่าลิขสิทธิ์

   2.7 ค่าใช้จ่ายอื่น

         ค่าใช้จ่ายทางภาษี

   2.8 ต้นทุนขายสินค้าและบริการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อัตราส่วนของรายได้จากการดำเนินงานต่อค่าใช้จ่ายของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี 0.71 (อัตราส่วน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดความคุ้มค่าในการดำเนินงาน
• การจัดทำห่วงโซ่ผลการดำเนินงาน (Result Chain: RC)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
เป้าหมายขั้นต้น ผ่าน
ค่าเป้าหมายมาตรฐาน ผ่าน
ค่าเป้าหมายขั้นสูง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล (เลือก 1 จาก 2 ตัวชี้วัดย่อยต่อไปนี้)


1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (data catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูล
ภาครัฐ (open data)

2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลคะแนนที่ได้จากทางเลือกของตัวชี้วัดนี้ ตัวชี้วัดย่อยที่ 1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) ตัวชี้วัดย่อยที่ 2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

 การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กลุ่มที่ 1 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2565 ต่ำกว่า 350 คะแนน กลุ่มที่ 2 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 350 - 399 คะแนน กลุ่มที่ 3 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป 429.99 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน (ตัวชี้วัดบังคับ)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุม ดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน 100.00 (คะแนน)