รายงานผลการประเมิน

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

/ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับภารกิจตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งที่แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงจากยุทธศาสตร์ชาตินโยบายและแผนระดับชาติ
ซึ่งองค์การมหาชนเลือกจากรายการตัวชี้วัด (KPIs Basket) ที่สำนักงาน ก.พ.ร.จัดทำขึ้น โดยไม่จำกัดจำนวนตัวชี้วัด ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่มีลักษณะ ดังนี้
• ตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13แผนการปฏิรูปประเทศ แผนบูรณาการ และแผนระดับชาติอื่น ๆ
• ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งขององค์การมหาชน
• ตัวชี้วัดต่อเนื่องที่มีความสำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565(เป็นภารกิจหลักหรือได้รับงบประมาณสูง)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดมาตรฐานสากล (International KPIs) (ถ้ามี)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดร่วม (Joint KPIs) ของส่วนราชการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 Agenda (บังคับ) และหน่วยอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

ในปีที่ผ่านมา พอช. ได้ดำเนินงานพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ให้สามารถสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตให้กับชุมชน ตามคู่มือการดำเนินงานสวัสดิการชุมชนที่พอช. จัดทำขึ้น ซึ่งจัดให้มีระบบสวัสดิการของชุมชน ที่สามารถดูแลคนในชุมชนทุกช่วงวัยตั้งแต่เกิดจนตาย ทำให้สมาชิกในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี (เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 43 (4) จัดให้มีระบบสวัสดิการของชุมชน)

      ในปี 2566 พอช. มีแผนงานฯ จะดำเนินการเพื่อรับรองมาตรฐานการสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตให้กับชุมชน ของกองทุนสวัสดิการชุมชน จำนวน 5,505 กองทุน (ข้อมูล ณ ก.ค. 2565) โดยเป็นการรับรองกองทุนสวัสดิการชุมชนที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดีได้มาตรฐาน โดยมีเกณฑ์การรับรองมาตรฐานกองทุนสวัสดิการชุมชน กำหนดโดย คณะอนุกรรมการสวัสดิการชุมชน ที่แต่งตั้งโดย พอช. ประกอบด้วย ผู้แทนเครือข่ายสวัสดิการชุมชน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ ประกอบด้วย 4 ข้อ รายละเอียดดังนี้ 

1.มีข้อมูลกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เป็นปัจจุบันในระบบสารสนเทศโปรแกรมบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชน

2.มีโครงสร้างคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน

3.มีข้อบังคับ/ระเบียบของกองทุนสวัสดิการชุมชน

4. กองทุนมีการจัดสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกและชุมชน/สังคมให้มีชีวิตความอยู่ที่ดีขึ้น ได้แก่

4.1 สวัสดิการพื้นฐาน (เกิด แก่ เจ็บ ตาย)

4.2 สวัสดิการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง เช่น  ผู้สูงอายุ  คนพิการ  เด็ก ฯลฯ

4.3 สวัสดิการช่วยเหลือชุมชน/สังคม เช่น  งานบุญประเพณี  ภัยพิบัติ  อาชีพ การศึกษา  เป็นต้น  

•เกณฑ์การรับรองมาตรฐานกองทุนสวัสดิการชุมชน ประกอบด้วย 4 ข้อ รายละเอียดดังนี้

1) มีข้อมูลกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เป็นปัจจุบันในระบบสารสนเทศโปรแกรมบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชน

    ข้อมูลกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ต้องมีในระบบและเป็นปัจจุบัน ประกอบด้วย ชื่อกองทุน วันที่จัดตั้ง จำนวนสมาชิกและทะเบียนสมาชิก จำนวนเงินกองทุน ประเภทสวัสดิการที่จัดให้กับสมาชิก โดยมีการอัพเดทข้อมูล ภายในวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี

2) มีโครงสร้างคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน : ประกอบด้วย รายชื่อคณะกรรมการ  ตำแหน่ง  ที่อยู่  เบอร์โทรศัพท์

3) มีข้อบังคับ/ระเบียบของกองทุนสวัสดิการชุมชน : มีสาระสำคัญ ดังนี้

     - สมาชิก  :  คุณสมบัติของสมาชิก  หน้าที่และสิทธิของสมาชิก

                - คณะกรรมการ : คุณสมบัติของคณะกรรมการ  จำนวน  องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ 

                - การเงินและบัญชี  : ที่มาของเงิน การจัดสรรเงิน  การจัดทำรายงาน

                - การจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก : ประเภทสวัสดิการที่จัด  เกณฑ์การจ่าย                                                                                                                                                     

                   ทั้งนี้  การจัดทำข้อบังคับ/ระเบียบของกองทุนสวัสดิการชุมชนแต่ละกองทุน  เป็นความเห็นชอบร่วมกันของสมาชิก  ซึ่งแต่ละกองทุนจะมีความแตกต่างกัน

            4) กองทุนมีการจัดสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกและชุมชน/สังคมให้มีชีวิตความอยู่ที่ดีขึ้น ได้แก่

  - การสวัสดิการพื้นฐาน (เกิด แก่ เจ็บ ตาย)

  - การสวัสดิการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง เช่น  ผู้สูงอายุ  คนพิการ  เด็ก ฯลฯ

  - การสวัสดิการช่วยเหลือชุมชน/สังคม เช่น  งานบุญประเพณี  ภัยพิบัติ  อาชีพ การศึกษา  เป็นต้น

    ทั้งนี้ การจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกในแต่ละประเภท เป็นไปตามระเบียบของแต่ละกองทุน ซึ่งแต่ละกองทุนจะมีการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกแตกต่างกัน  ตามสถานะการเงินของกองทุนและความเห็นชอบของสมาชิก และจัดทำเป็นข้อบังคับ/ระเบียบของกองทุน  เช่น  ด้านการเกิดและการเสียชีวิตของสมาชิก  ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล  ด้านการศึกษา  ด้านการประกอบอาชีพ  ด้านการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส  ผู้ประสบภัยพิบัติ เป็นต้น ดังนั้นประเภทสวัสดิการและหลักเกณฑ์การจ่ายแต่ละกองทุนจะมีความแตกต่างกัน  นอกจากนี้ กองทุนฯ มีการบันทึกข้อมูลประเภทสวัสดิการที่จัดให้กับสมาชิกและจำนวนเงินที่ให้กับสมาชิก

•ที่มาหลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานกองทุนสวัสดิการชุมชน  มาจากการศึกษาและหารือร่วมกันของผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชน คณะทำงานสวัสดิการชุมชน  ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ และยกร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวทดลองใช้ในพื้นที่  แล้วจึงกำหนดในแผนปฏิบัติการพัฒนาสวัสดิการชุมชน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570)  ซึ่งคณะอนุกรรมการสวัสดิการชุมชนมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว โดยคณะอนุกรรมการสวัสดิการชุมชน แต่งตั้งโดยคณะกรรมการสถาบันฯ ซึ่งประกอบด้วย  นักวิชาการ/ผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้แทนเครือข่ายสวัสดิการชุมชน และผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ

•กระบวนการรับรองมาตรฐานกองทุนสวัสดิการชุมชน

       1) คณะกรรมการสนับสนุนการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนจังหวัด (ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)  เป็นเลขานุการ) พิจารณาให้ความเห็นและเห็นชอบให้เสนอคณะอนุกรรมการสวัสดิการชุมชน

       2) คณะอนุกรรมการสวัสดิการชุมชน พิจารณารับรองมาตรฐานกองทุนสวัสดิการชุมชน และเสนอต่อผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนลงนามประกาศรับรองมาตรฐานกองทุนสวัสดิการชุมชน

         ทั้งนี้ การรับรองมาตรฐานกองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นการยกระดับการรับรองสถานภาพองค์กรชุมชน ที่มากกว่าการรับรองการมีตัวตนขององค์กร เป็นการรับรองคุณภาพของกองทุนสวัสดิการชุมชน อันเป็นการพัฒนาคุณภาพกองทุนสวัสดิการชุมชนที่จัดตั้งแล้ว ให้มีคุณภาพและมาตรฐานในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน ตาม พรฎ. จัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 พอช. มีบทบาทหน้าที่ตาม มาตรา 8 (4) รับรองสถานภาพการเป็นองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากกิจการที่อยู่ในอำนาจของสถาบัน

 

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของกองทุนสวัสดิการชุมชนได้รับการรับรองมาตรฐานการสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตให้กับชุมชน 18.27 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นการยกระดับพื้นที่ปฏิบัติการเป็นพื้นที่รูปธรรมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่ชุมชนสามารถจัดการ และพึ่งพาตนเองได้  โดยมีแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของภาคประชาชนที่เกิดจากกระบวนการส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ และสามารถเชื่อมโยงหรือได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่การปฏิบัติ อันจะก่อให้เกิดการใช้งบประมาณ/ทรัพยากรระหว่างชุมชน และหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  มีรูปธรรมความสำเร็จในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา/พัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยตำบลรูปธรรมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมีผลสำเร็จที่เกิดขึ้นใน 3 องค์ประกอบ ดังนี้

1)มีแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของภาคประชาชนที่สอดคล้องกับปัญหา/ความต้องการของชุมชนในพื้นที่

2)ชุมชนท้องถิ่นได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน/ภาคีความร่วมมือ เช่น เชื่อมโยงแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นกับแผนของหน่วยงาน  สนับสนุนงบประมาณ/ ทรัพยากร แก้ไข/ ปรับเปลี่ยนกฏ ระเบียบ แนวทางการทำงาน  เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

3)มีรูปธรรมการแก้ไขปัญหา/ พัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาอาชีพ การจัดการที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน ภัยพิบัติ  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยชุมชนเป็นแกนหลัก

สูตรคำนวณ   =       จำนวนตำบลรูปธรรมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงและสมดุล x 100

                                       จำนวนตำบลคงเหลือที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ณ 30 ก.ค. 2565 (4,047 ตำบล)

หมายเหตุ  จำนวนตำบลทั้งหมด = 7,825 ตำบล, ดำเนินการแล้ว (ในปี 2561-2565) = 3,778 ตำบล ดังนั้นคงเหลือที่ต้องดำเนินการ = 4,047 ตำบล

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละตำบลรูปธรรมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงและสมดุล 28.04 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นการยกระดับพื้นที่ปฏิบัติการเป็นพื้นที่ต้นแบบสู่ชุมชนเข้มแข็งในการจัดการตนเอง  โดยประเด็นสำคัญที่บ่งชี้ความเข้มแข็งชุมชน 4 ประเด็น คือ  คนมีคุณภาพ  องค์กรชุมชนเข้มแข็ง          มีธรรมาภิบาล สามารถแก้ไขปัญหาชุมชนได้ และชุมชนมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายในระดับต่าง ๆ ได้   จึงมีคุณลักษณะของชุมชนเข้มแข็งใน 4 ประเด็น ดังนี้

   1) คนมีคุณภาพ :  ผู้นำชุมชนมีทักษะ ความรู้ความสามารถในการพัฒนาชุมชน  และมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมสาธารณะในชุมชน

   2) องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง :  มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล  มีระบบ/กลไกการในการบริหารจัดการชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหา/พัฒนาชุมชนท้องถิ่น

   3) คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น เช่น ครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน  มีสถาบัน/องค์กรการเงิน  มีอาชีพ/รายได้ทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

   4) ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภาคี ท้องที่ ท้องถิ่น : หน่วยงาน/ภาคีเข้าร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม/องค์กรชุมชน ชุมชนได้รับการสนับสนุนงบประมาณหรือทรัพยากรจากหน่วยงานตามปัญหาความต้องการของชุมชน

- สูตรคำนวณ   =       จำนวนตำบลต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการจัดการตนเอง x 100

                                   จำนวนตำบลทั้งหมด (5,885 ตำบล)

เงื่อนไข ต้องมีการรายงานผลผ่านโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์พื้นที่ปฏิบัติการ พอช. (GIS)

หมายเหตุ  จำนวนตำบลทั้งหมด = 7,825 ตำบล, ดำเนินการแล้ว ในปี 2564-2565 = 1,940 ตำบล ดังนั้นคงเหลือที่ต้องดำเนินการ = 5,885 ตำบล

•เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย

        1) เป็นพื้นที่ปฏิบัติการที่มีการจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน และมีการขับเคลื่อนงานประเด็นต่างๆ ที่ พอช.ให้การสนับสนุนในช่วงปีงบประมาณ 2561-2566 เช่น การพัฒนาที่อยู่อาศัย (บ้านมั่นคงหรือบ้านพอเพียงหรือที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง) การจัดสวัสดิการชุมชน  การพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน  เป็นต้น 

        2) เป็นตำบลที่มีแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยครอบคลุมมิติต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจและทุนชุมชน  ด้านสังคม  ด้านสิ่งแวดล้อม  ด้านสุขภาพ  ด้านการพัฒนาคนในชุมชน เป็นต้น

•เกณฑ์การประเมิน ประกอบด้วย ตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็ง 4 มิติ ดังนี้

        1) ตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็ง 4 มิติ มีประเด็นการประเมินย่อยจำนวน 28 ข้อ มีคะแนนเต็มรวมทั้งสิ้น 100 คะแนน

        2) เกณฑ์การให้คะแนน  แบ่งระดับความเข้มแข็งของชุมชนเป็น 3 ระดับ คือ

- ตำบลต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง ระดับดีเยี่ยม (Excellent)  ร้อยละ 90 ขึ้นไป

- ตำบลต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง ระดับดีมาก (Very Good)  ร้อยละ 80-89

- ตำบลต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง ระดับดี (Good)  ร้อยละ 70-79

•ตำบลที่ผ่านการประเมิน คือ ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 80 ขึ้นไป (ผลการประเมินเฉลี่ยทุกมิติ ได้ร้อยละ 80 ขึ้นไป) และผลคะแนนแต่ละมิติ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

หมายเหตุ : ตำบลที่ได้คะแนนเฉลี่ยทุกมิติต่ำกว่า 80 คือไม่ผ่านตัวชี้วัด แต่ทาง พอช. ก็จะมีข้อเสนอแนะ และวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขและหาประเด็นที่ไม่สามารถยกระดับตนเองได้และหาวิธีพัฒนาในแต่ละด้าน และมีแผนการพัฒนาความเข้มแข็ง เพื่อยกระดับศักยภาพตำบลต่อไป)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของตำบลต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการจัดการตนเอง 23.21 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นการดำเนินการตามการปฏิรูปประเทศด้านสังคม (กิจกรรมปฏิรูปที่ 4 ออกระเบียบให้เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองในการพัฒนาชุมชนของตนเอง และแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 -2579) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560  โดยสร้างโอกาสให้ชุมชนและผู้มีรายได้น้อยเกิดการรวมกลุ่มในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย  สามารถเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานด้านที่อยู่อาศัย มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้

1) ชุมชน/หน่วยงานร่วมกันสำรวจผู้เดือดร้อนที่มีอยู่ในชุมชน/ ตำบลเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผน

2) จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างเป็นระบบทั้งเมือง/ตำบล

3) เชื่อมโยงหน่วยงานท้องถิ่นและภาคีพัฒนาในการสนับสนุนทรัพยากร

4) พัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นในพื้นที่หรือปรับสภาพแวดล้อม/ สิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการอยู่อาศัย

5) ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย 29,444.00 (ครัวเรือน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการป้องกันและปราบปรามการการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ซึ่งกำหนดให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักในกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริต โดยส่งเสริมให้เครือข่ายภาคประชาชน  องค์กรชุมชน  และภาคีที่เกี่ยวข้องของภาคประชาชน มีบทบาท  ความสามารถ  และมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในพื้นที่โดยตรง  อันเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของกระบวนการและกลไกที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของประเทศ โดยตำบล/เมืองที่องค์กรชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและต่อต้านการทุจริต มีผลสำเร็จที่เกิดขึ้นใน 3 องค์ประกอบ (พอช. เป็นผู้ประเมินเอง) ดังนี้

   1. มีกลไกองค์กรชุมชน  ภาคประชาชน และภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนการป้องกันและต่อต้านการทุจริตระดับตำบล (ประกอบด้วย (1) ภาคประชาชน (2) องค์กรชุมชน (3) ภาคีเครือข่าย และ(4) ท้องที่/ท้องถิ่น เป็นองค์ประกอบในกลไกที่จัดตั้งขึ้น )

   2. มีแผนปฏิบัติการป้องกันและต่อต้านการทุจริตโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนและเครือข่ายภาคประชาชน เช่น การพัฒนาศักยภาพ การเฝ้าระวัง การแจ้งเบาะแส ฯ

   3. มีรูปธรรมการป้องกันและต่อต้านการทุจริต : มีกิจกรรม/ที่ดำเนินการในพื้นที่ในการป้องกันและต่อต้านการทุจริต และจัดทำรายงานรูปธรรมที่ได้ดำเนินการ เช่น

       - ต.นาป่าแซง จ.อำนาจเจริญ  สร้างกลุ่มไลน์ร่วมกับกลุ่มเด็กและเยาวชน อสม. และเครือข่ายองค์กรชุมชนในการแลกเปลี่ยนปัญหาและการแก้ไขการทุจริตในพื้นที่

       - ต.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช ตรวจสอบความถูกต้อง คุ้มค่า และความโปร่งใสในการดำเนินโครงการโคกหนองนาโมเดล

หมายเหตุ :  ปี 2564 : ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน ป.ป.ช. จำนวน 24 ตำบล/เมือง และปี 2565 : ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี จำนวน 145 ตำบล/เมือง

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนตำบล/เมืองที่องค์กรชุมชนและเครือข่ายภาคประชาชนมีความเข้มแข็งในการป้องกันและต่อต้านการทุจริต 343.00 (ตำบล/เมือง)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงาน
(เช่น ความสามารถในการหารายได้เพื่อลดงบประมาณภาครัฐ อัตราส่วนของ
รายได้ของการหารายได้จากต้นทุนคงที่)

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นการวัดผลประสิทธิภาพการบริหารงานและความคุ้มค่าจากการดำเนินงานของสถาบันฯ ในการบริหารเงินทุนของสถาบันฯ ให้มีความยั่งยืน            เกิดผลตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อลดภาระงบประมาณของภาครัฐ โดยวัดผลจากรายได้ที่สถาบันฯ ได้รับ คือ รายได้จากดอกเบี้ยสินเชื่อ  และรายได้จากการบริหารเงินทุนของสถาบันฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

       ทั้งนี้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ของ พอช. แผนปฏิบัติการ เรื่องที่ 3  การพัฒนาคุณภาพและความเข้มแข็งของผู้นำ คนและขบวนองค์กรชุมชน แนวทางที่ 3.3 การสนับสนุนองค์กรผู้ใช้สินเชื่อให้มีระบบการบริหารที่ดี

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการบริหารเงินทุน เพื่อลดภาระงบประมาณภาครัฐ 195.72 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดความคุ้มค่าในการดำเนินงาน
• การจัดทำห่วงโซ่ผลการดำเนินงาน (Result Chain: RC)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
เป้าหมายขั้นต้น ผ่าน
ค่าเป้าหมายมาตรฐาน ผ่าน
ค่าเป้าหมายขั้นสูง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล (เลือก 1 จาก 2 ตัวชี้วัดย่อยต่อไปนี้)


1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (data catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูล
ภาครัฐ (open data)

2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลคะแนนที่ได้จากทางเลือกของตัวชี้วัดนี้ ตัวชี้วัดย่อยที่ 1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) ตัวชี้วัดย่อยที่ 2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

 การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กลุ่มที่ 1 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2565 ต่ำกว่า 350 คะแนน กลุ่มที่ 2 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 350 - 399 คะแนน กลุ่มที่ 3 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป 456.11 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน (ตัวชี้วัดบังคับ)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุม ดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน 95.00 (คะแนน)