รายงานผลการประเมิน

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

/ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับภารกิจตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งที่แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงจากยุทธศาสตร์ชาตินโยบายและแผนระดับชาติ
ซึ่งองค์การมหาชนเลือกจากรายการตัวชี้วัด (KPIs Basket) ที่สำนักงาน ก.พ.ร.จัดทำขึ้น โดยไม่จำกัดจำนวนตัวชี้วัด ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่มีลักษณะ ดังนี้
• ตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13แผนการปฏิรูปประเทศ แผนบูรณาการ และแผนระดับชาติอื่น ๆ
• ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งขององค์การมหาชน
• ตัวชี้วัดต่อเนื่องที่มีความสำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565(เป็นภารกิจหลักหรือได้รับงบประมาณสูง)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดมาตรฐานสากล (International KPIs) (ถ้ามี)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดร่วม (Joint KPIs) ของส่วนราชการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 Agenda (บังคับ) และหน่วยอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อยคือ

1.1.1.1 ระดับความสำเร็จกลไกในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามแนวทางการจัดการความยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว ตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC)

1.1.1.2 ระดับความสำเร็จของการจัดการความยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC)

รายละเอียดตัวชี้วัด

อพท. ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2566 – 2570 ในพื้นที่พิเศษของ อพท. ทั้ง 6 แห่ง เพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทและหน้าที่ของ อพท. ซึ่งเป็นหน่วยงานในการกำหนดนโยบายและแผนการบริหารการพัฒนาในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมถึงการประสานหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น และประชาชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 อพท. มุ่งเน้นในการสร้างกลไกในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ ให้เกิดประสิทธิภาพ โดยมีการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อมาร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ ในปีต่อไป

เป้าหมายในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

อพท. มีเป้าหมายในการสร้างกลไกในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ให้สอดคล้องกับ พรฎ. จัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562) หมวด 4 การประสานการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มาตรา 34 แก้ไขเพิ่มเติม

 โดยขั้นตอนการสร้างกลไกดังกล่าว อพท. จะเริ่มด้วยการนำแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไปสื่อสารกับหน่วยงานของรัฐในระดับจังหวัดและท้องถิ่น และจัดทำแผนปฏิบัติการในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อมุ่งเน้นไปสู่กระบวนการการจัดทำบันทึกข้อตกลงฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับระหว่างหน่วยงานรัฐให้สำเร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

เมื่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ร่วมกันจัดทำบันทึกข้อตกลงฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับเรียบร้อยแล้วภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 อพท. จะนำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไปบังคับใช้กับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2570 ในกรณีที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไม่ยินยอมทำบันทึกข้อตกลง อพท. จะจัดรายงานต่อคณะกรรมการองค์การมหาชนเพื่อรับทราบต่อไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีการนำแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ได้ความเห็นชอบจาก ททช. เพื่อสื่อสารระหว่าง อพท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครบทั้ง 6 พื้นที่พิเศษ ผ่าน
จัดทำแผนปฏิบัติการ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ครบทั้ง 6 พื้นที่พิเศษ ผ่าน
มีหน่วยงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือครบทั้ง 6 พื้นที่พิเศษ ผ่าน
มีรายงานผลการติดตามหลังร่วมลงนาม ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

อพท. มีแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์ของ อพท. โดยนำหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria : GSTC) ของสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระดับโลก (Global Sustainable Tourism Council) หรือ GSTC มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม ซึ่งเกณฑ์ GSTC เป็นเกณฑ์ขั้นต้นที่แหล่งท่องเที่ยวควรตั้งเป้าหมายที่จะไปถึง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 อพท. มีการทบทวนเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) Version 2 พร้อมจัดทำคู่มือการประเมินฯ สำหรับบุคลากรของ อพท. และมีการประเมินสถานะความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบในพื้นที่พิเศษ จำนวน 6 แห่ง เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป

เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก GSTC-Destination :

สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เกณฑ์ของ GSTC หรือ GSTC-D เป็นเกณฑ์ขั้นต้นที่แหล่งท่องเที่ยวหรือจุดหมายปลายทางต่างๆ ควรตั้งเป้าที่จะไปถึง โดยแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ การจัดการที่ยั่งยืน, ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม, ผลกระทบทางวัฒนธรรม, และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะมีผลบังคับใช้กับภาคการท่องเที่ยวทั้งหมด

การเปลี่ยนแปลงสำหรับการแทนที่ GSTC Destination Criteria Version 1.0 ด้วย Version 2.0 มีข้อกำหนดดังนี้ :

   - สำหรับวัตถุประสงค์ในการกำหนดนโยบายการฝึกอบรม และวัตถุประสงค์อื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรับรอง v2.0 ควรใช้โดยมีผลทันที

   - เจ้าของมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว/ชุมชนที่ได้รับการยอมรับ (Recognized) GSTC ควรมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานให้เข้ากับ v2.0

   - หน่วยรับรองที่ได้รับการรับรองจุดหมายปลายทางตามเกณฑ์ปลายทาง GSTC v1.0 ต้องมีการปรับปรุง v2.0

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 อพท. จะมีการคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ (n) ในพื้นที่พิเศษทั้ง 6 แห่ง ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ (n) เดิม และ/หรือ ใหม่ ขึ้นอยู่กับความพร้อมและปัจจัยต่าง ๆ ของแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ (n) ทั้งนี้ แหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ (n) ต้องอยู่ภายใต้การดำเนินงานของแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และจะต้องมีการประเมินสถานะความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ (n) ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก เวอร์ชัน 2.0 (GSTC Version 2.0)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีการทบทวนเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) Version 2.0 ผ่าน
จัดทำคู่มือการประเมินแหล่งท่องเที่ยว ตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) Version 2.0 แล้วเสร็จ ผ่าน
มีผลการประเมินสถานะความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ (Baseline) ตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) Version 2.0 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ครบทั้ง 6 พื้นที่พิเศษ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ในปี 2566 - 2570 อพท. มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนเมืองในพื้นที่พิเศษและพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network - UCCN) จำนวน 2 เมือง ซึ่ง อพท. ได้ดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยว ตามแนวทางเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network - UCCN) เป็นการพัฒนาเมืองในหลายมิติ ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ผสมผสานกับทุนทรัพยากรบุคคลที่มีความสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์งานและผลงานหลากหลายรูปแบบ ที่รวมกันเป็นอัตลักษณ์ของเมืองที่มีความโดดเด่นดึงดูดนักท่องเที่ยวและผู้เยี่ยมชม ก่อให้เกิดการสร้างงานและรายได้ต่อชุมชนและผู้คนในเมือง

อพท. มีการเตรียมความพร้อมจากข้อมูล Feedback ผลการพิจารณาข้อเสนอการสมัครเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ประจำปี 2564 จากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำมาจัดทำแผนปฏิบัติการการขับเคลื่อนเมืองตามแนวทางเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network - UCCN) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และดำเนินการขับเคลื่อนเมืองในพื้นที่พิเศษและพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในปี 2566 คือ อพท. สามารถส่งใบสมัครการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 2 เมือง เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกเมืองให้เข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UCCN)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการการขับเคลื่อนเมืองตามแนวทางเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network - UCCN) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผ่าน
มีการจัดทำใบสมัครการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network - UCCN) และมีการลงนามโดยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ นายก อบจ. หรือ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ ผ่าน
มีการส่งใบสมัครการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network - UCCN) ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ในปี 2566 - 2570 อพท. มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนเมืองในพื้นที่พิเศษและพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network - UCCN) จำนวน 2 เมือง ซึ่ง อพท. ได้ดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยว ตามแนวทางเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network - UCCN) เป็นการพัฒนาเมืองในหลายมิติ ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ผสมผสานกับทุนทรัพยากรบุคคลที่มีความสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์งานและผลงานหลากหลายรูปแบบ ที่รวมกันเป็นอัตลักษณ์ของเมืองที่มีความโดดเด่นดึงดูดนักท่องเที่ยวและผู้เยี่ยมชม ก่อให้เกิดการสร้างงานและรายได้ต่อชุมชนและผู้คนในเมือง

อพท. มีการเตรียมความพร้อมจากข้อมูล Feedback ผลการพิจารณาข้อเสนอการสมัครเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ประจำปี 2564 จากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำมาจัดทำแผนปฏิบัติการการขับเคลื่อนเมืองตามแนวทางเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network - UCCN) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และดำเนินการขับเคลื่อนเมืองในพื้นที่พิเศษและพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในปี 2566 คือ อพท. สามารถส่งใบสมัครการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 2 เมือง เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกเมืองให้เข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UCCN)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการการขับเคลื่อนเมืองตามแนวทางเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network - UCCN) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผ่าน
มีการจัดทำใบสมัครการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network - UCCN) และมีการลงนามโดยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ นายก อบจ. หรือ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ ผ่าน
มีการส่งใบสมัครการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network - UCCN) ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

อพท. ได้ดำเนินการยกระดับและเพิ่มศักยภาพของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยว โดยชุมชนของประเทศไทย หรือ CBT Thailand โดยเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับและสอดคล้องตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก GSTC ในปีงบประมาณ 2566 - 2570 อพท. มีเป้าหมายที่จะเชื่อมชุมชนท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษและพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายตามนโยบายรัฐบาล เข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จำนวน 100 ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทที่ 5 ประเด็นการท่องเที่ยว (เป้าหมาย 050101 : รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น)

ชุมชนท่องเที่ยวเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หมายถึง การที่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว สมาคมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) หรือสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน.) ส่งเสริมการขายหรือนำเสนอขายเส้นทางหรือกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ที่ อพท. พัฒนา ผ่านช่องทางการขายรูปแบบต่าง ๆ

กระบวนการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประกอบด้วย

     1. การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว หรือ กิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชน

     2. การประชุมร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาด้านการตลาด

     3. การทดสอบเส้นทางการท่องเที่ยว (Product testing) ร่วมกับผู้ประกอบการ

     4. การนำเสนอขายโปรแกรมการท่องเที่ยว หรือ กิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชน โดยผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว สมาคมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) หรือสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน.) ผ่านช่องทางออนไลน์หรือออฟไลน์ที่เหมาะสม

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีชุมชนท่องเที่ยวที่ได้รับการผลักดันเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 37 (ชุมชน)
มีรายงานข้อมูลรายได้จากการท่องเที่ยวครบทุกชุมชนที่ดำเนินการในปี 2566 ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงาน
(เช่น ความสามารถในการหารายได้เพื่อลดงบประมาณภาครัฐ อัตราส่วนของ
รายได้ของการหารายได้จากต้นทุนคงที่)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐและความคุ้มค่าในการบริหารและใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อพท. มีการแต่งตั้งคณะทำงานติดตามมาตรการประหยัดพลังงานและควบคุมการใช้สาธารณูปโภคของ อพท. โดยมีเป้าหมายให้เกิดประสิทธิภาพในการลดค่าใช้จ่ายในการบริหาร ประกอบด้วย ค่าสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต และไปรษณีย์)

เกณฑ์การประเมิน :

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร : งบประมาณที่ได้รับการอุดหนุน เพื่อนำมาใช้ในการบริหารต้นทุนให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายผันแปร
ประกอบด้วย ค่าสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต และไปรษณีย์)

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (แผน) ปีงบประมาณ 2566 : 3,401,800.00 บาท

บุคลากร ปีงบประมาณ 2566 : เจ้าหน้าที่สำนักงานส่วนกลางของ อพท. 118 คน

คิดเป็นต้นทุนต่อหน่วย : : 28,828.81 บาท/คน (กรณีใช้จ่ายเต็มวงเงินงบประมาณ)

สูตรการคำนวณ :

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร/ [(จำนวนเจ้าหน้าที่ต้นปี + ปลายปี) / 2]

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ประสิทธิภาพในการลดค่าใช้จ่ายในการบริหารต่อจำนวนเจ้าหน้าที่ 14.83 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ด้วยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อพท. ได้จัดทำคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ อพท. และแผนที่นำทาง (Roadmap) ในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (SIA) และการประเมินผลกระทบและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2568 มีเป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรของ อพท. ให้สามารถดำเนินการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (SIA) และการประเมินผลกระทบและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) พร้อมมีการพัฒนาระบบสำหรับช่วยวิเคราะห์การประเมินผลดังกล่าว เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ในเชิงความคุ้มค่าในการลงทุน และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนต่อไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI) ที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้อำนวยการ อพท. ผ่าน
มีการพัฒนาบุคลากรของ อพท. ในการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI) จำนวน 20 คน ผ่าน
มีการพัฒนาระบบวิเคราะห์ผลการประเมินผลกระทบและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ที่สามารถทดลองใช้งานได้จริง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดความคุ้มค่าในการดำเนินงาน
• การจัดทำห่วงโซ่ผลการดำเนินงาน (Result Chain: RC)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
เป้าหมายขั้นต้น ผ่าน
ค่าเป้าหมายมาตรฐาน ผ่าน
ค่าเป้าหมายขั้นสูง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ

•คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด

•ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ

•ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

•คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์

แนวทางการประเมิน 

1)องค์การมหาชนต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)

2)องค์การมหาชนต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง

3)ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด

4)ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป

5)กำหนดให้องค์การมหาชน มีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด

6)ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือองค์การมหาชนสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้

7)การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  /การมี dashboard จากชุดข้อมูล

ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์

1)แผนระดับ 2 (แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ) และ แผนระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน

•ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

•ผลการดำเนินงานตามแผนที่เกี่ยวข้อง

2)ชุดข้อมูลสนับสนุนการให้บริการประชาชน (e-Service)

3)ดัชนี/ตัวชี้วัดระดับสากล

4)สถิติทางการ (21 สาขา)

5)การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลหรือ มติ ครม.

6)ภารกิจหลักของหน่วยงาน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

 การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กลุ่มที่ 1 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2565 ต่ำกว่า 350 คะแนน กลุ่มที่ 2 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 350 - 399 คะแนน กลุ่มที่ 3 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป 462.92 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน (ตัวชี้วัดบังคับ)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุม ดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน 100.00 (คะแนน)