รายงานผลการประเมิน

สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)

/ กระทรวงการคลัง
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับภารกิจตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งที่แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงจากยุทธศาสตร์ชาตินโยบายและแผนระดับชาติ
ซึ่งองค์การมหาชนเลือกจากรายการตัวชี้วัด (KPIs Basket) ที่สำนักงาน ก.พ.ร.จัดทำขึ้น โดยไม่จำกัดจำนวนตัวชี้วัด ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่มีลักษณะ ดังนี้
• ตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13แผนการปฏิรูปประเทศ แผนบูรณาการ และแผนระดับชาติอื่น ๆ
• ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งขององค์การมหาชน
• ตัวชี้วัดต่อเนื่องที่มีความสำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565(เป็นภารกิจหลักหรือได้รับงบประมาณสูง)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดมาตรฐานสากล (International KPIs) (ถ้ามี)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดร่วม (Joint KPIs) ของส่วนราชการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 Agenda (บังคับ) และหน่วยอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

วัดความสำเร็จของการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ - การเจรจาและจัดทำเงื่อนไขทางการเงินและสัญญาเงินกู้ - การขออนุมัติการให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อคณะกรรมการ รมว.กค. และ ครม. สำหรับโครงการพัฒนาถนนหมายเลข 12 (R12) (ท่าแขก - ยมมะลาด - บัวละพา - นาเพ้า) สปป.ลาว หรือ โครงการพัฒนาพื้นที่ควบคุมร่วมกัน (Common Control Area: CCA) ณ จุดผ่านแดนถาวรมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต สปป.ลาว

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จของการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน 100

รายละเอียดตัวชี้วัด

วัดความสำเร็จของการติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง สำหรับ • โครงการพัฒนาเส้นทางหมายเลข 11 (R11) ช่วงครกข้าวดอ - บ้านโนนสะหวัน - สานะคาม - บ้านวัง - บ้านน้ำสัง • โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จของการติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

วัดระดับความสำเร็จของโครงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ (Technical Assistance: TA) แก่ประเทศเพื่อนบ้านตาม แผนงานโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา โดยจัดให้มีการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเสริมสร้าง                ประสิทธิภาพการทำงาน (Capacity Building) ให้กับบุคลากรประเทศเพื่อนบ้าน และสามารถนำความรู้หรือเทคนิคต่างๆ ที่ได้จากการเข้ารับ การถ่ายทอดความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและพัฒนาประเทศต่อไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จของโครงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ (Technical Assistance: TA) 100

รายละเอียดตัวชี้วัด

จัดทำงานวิจัย/พัฒนาร่วมกับโครงการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics Study: OBELS) ในงานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ ร่วมกับเครือข่ายงานวิจัยของ สพพ. เพื่อสร้างพันธมิตรด้านการวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการและ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จของการจัดท าข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 100

รายละเอียดตัวชี้วัด

มูลค่าการค้าชายแดน พิจารณาจากมูลค่าการส่งออก-น าเข้าสินค้า ณ ด่านบ้านฮวก (โครงการปรับปรุงและก่อสร้างถนน ช่วงบ้านฮวก จ.พะเยา-เมืองคอบ-เมืองเชียงฮ่อน และเมืองคอบ-บ้านก้อนตื่น สปป.ลาว) และด่านภูดู่ (โครงการก่อสร้างถนนจากภูดู่ (อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์)–เมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี สปป.ลาว) โดย สพพ. จะรวบรวมข้อมูลจากด่านศุลกากรเชียงของ และด่านศุลกากรทุ่งช้าง ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มูลค่าการส่งออก-นำเข้าสินค้า ) ด่านบ้านฮวก จ.พะเยา (ร้อยละ 2.5) 904.68 (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก-นำเข้าสินค้า ด่านภูดู่ จ.อุตรดิตถ์ (ร้อยละ 2.5) 1,456.32 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงาน
(เช่น ความสามารถในการหารายได้เพื่อลดงบประมาณภาครัฐ อัตราส่วนของ
รายได้ของการหารายได้จากต้นทุนคงที่)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ความสามารถในการลดภาระงบประมาณภาครัฐ หมายถึง การนำเงินที่ได้รับจากการรับช าระคืนเงินต้นโครงการเงินกู้ ดอกเบี้ยจากการชำระโครงการเงินกู้ และดอกเบี้ยเงินฝาก มาบริหารจัดการด าเนินงานของ สพพ. บางส่วนทดแทน การขอรับจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดิน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสามารถในการลดภาระงบประมาณภาครัฐ 639.20 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดความคุ้มค่าในการดำเนินงาน
• การจัดทำห่วงโซ่ผลการดำเนินงาน (Result Chain: RC)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
เป้าหมายขั้นต้น ผ่าน
ค่าเป้าหมายมาตรฐาน ผ่าน
ค่าเป้าหมายขั้นสูง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล (เลือก 1 จาก 2 ตัวชี้วัดย่อยต่อไปนี้)


1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (data catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูล
ภาครัฐ (open data)

2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลคะแนนที่ได้จากทางเลือกของตัวชี้วัดนี้ ตัวชี้วัดย่อยที่ 1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) ตัวชี้วัดย่อยที่ 2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

 การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กลุ่มที่ 1 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2565 ต่ำกว่า 350 คะแนน กลุ่มที่ 2 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 350 - 399 คะแนน กลุ่มที่ 3 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป 444.41 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน (ตัวชี้วัดบังคับ)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุม ดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน 100.00 (คะแนน)