รายงานผลการประเมิน

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
96.763
สรุปผลการประเมิน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับภารกิจตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งที่แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงจากยุทธศาสตร์ชาตินโยบายและแผนระดับชาติ
ซึ่งองค์การมหาชนเลือกจากรายการตัวชี้วัด (KPIs Basket) ที่สำนักงาน ก.พ.ร.จัดทำขึ้น โดยไม่จำกัดจำนวนตัวชี้วัด ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่มีลักษณะ ดังนี้
• ตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13แผนการปฏิรูปประเทศ แผนบูรณาการ และแผนระดับชาติอื่น ๆ
• ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งขององค์การมหาชน
• ตัวชี้วัดต่อเนื่องที่มีความสำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565(เป็นภารกิจหลักหรือได้รับงบประมาณสูง)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดมาตรฐานสากล (International KPIs) (ถ้ามี)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดร่วม (Joint KPIs) ของส่วนราชการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 Agenda (บังคับ) และหน่วยอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

การเชื่อมโยงข้อมูล หมายถึง  การที่หน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐอื่น เพื่อนำไปใช้ในการบริการประชาชน หรือใช้ในงานตามภารกิจของหน่วยงานได้ ภายใต้สิทธิและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เหมาะสม

ความสำเร็จในการเชื่อมโยงข้อมูล หมายถึง เมื่อเกิดการเชื่อมโยงข้อมูลขึ้นแล้ว จะมีการนำข้อมูลที่ได้เชื่อมโยงกันนั้น ไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน หรือ พัฒนาระบบบริการ หรือแพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชัน หรือชุดข้อมูล สอดคล้องตามภารกิจของหน่วยงานนั้น ๆ ต่อไป

Agenda Based หมายถึง การกำหนดประเด็นมุ่งเน้นสำคัญตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570 ซึ่งให้ความสำคัญกับ 10 ด้าน/กลุ่มตามนโยบายรัฐบาลและตอบโจทย์ความสำคัญของประเทศ ได้แก่ (1) ความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน (2) การศึกษา (3) สุขภาพและการแพทย์ (4) สิ่งแวดล้อม (5) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)) (6) การเกษตร (7) แรงงาน (8) ท่องเที่ยว (9) การมีส่วนร่วม โปร่งใสและตรวจสอบได้ของประชาชน (10) ยุติธรรม

ตัวอย่างการเชื่อมโยงข้อมูลตาม Agenda Based ที่สำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้แก่ ด้านแรงงาน ด้านความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน ด้านการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นต้น

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จในการเชื่อมโยงข้อมูลตาม Agenda Based 3 (ด้าน)
มีรายงานความสำเร็จในการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ชุดข้อมูลเปิด หมายถึง ข้อมูลที่หน่วยงานสามารถเปิดเผย เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้โดยอิสระ เช่น การนำไปใช้ การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำไปเผยแพร่ หรือนำไปพัฒนาบริการ หรืออื่นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะอยู่บนเว็บไซต์ data.go.th ถือเป็นข้อมูลเปิดของภาครัฐ (Open Government Data)
โดยด้านสำคัญ (Focus Area) ภายใต้แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. 2566 - 2570 ประกอบด้วย (1) ความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน (2) การศึกษา (3) สุขภาพและการแพทย์ (4) สิ่งแวดล้อม (5) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)) (6) การเกษตร (7) แรงงาน (8) ท่องเที่ยว (9) การมีส่วนร่วม โปร่งใสและตรวจสอบได้ของประชาชน (10) ยุติธรรม

การใช้ประโยชน์ หมายถึง ผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือภาคประชาชน หรือธุรกิจ เข้ามาใช้บริการ หรือนำบริการของ สพร. ที่ระบุไว้ ไปใช้ในการบริการประชาชน หรือใช้ในงานตามภารกิจของหน่วยงาน เพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐทำการพัฒนาและเปิดข้อมูล (Open Data) ที่มีคุณภาพตามหลัก Machine readable (ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบและมีโครงสร้างที่พร้อมให้นำไปประมวลผลใช้งานต่อได้)

บริการดิจิทัล (Digital Services) หมายถึง การให้บริการประชาชนในรูปแบบ กระบวนการ หรือช่องทางดิจิทัล

การตัดสินใจ หมายถึง การนำชุดข้อมูลเปิดไปพัฒนาระบบ หรือแอปพลิเคชัน หรือ Dashboard หรืออื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผน การกำหนดนโยบาย การดำเนินงาน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนการใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลเปิด เพื่อการพัฒนาบริการดิจิทัล หรือเกิดประโยชน์ต่อการตัดสินใจ 13 (เรื่อง)
มีรายงานผลการใช้ประโยชน์ โดยมีหลักฐานอ้างอิงจากหน่วยงานผู้ใช้และข้อคิดเห็นเพื่อพัฒนาต่อไป ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

นวัตกรรม หมายถึง การใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือการใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เช่น บริการ ผลิตภัณฑ์ แพลตฟอร์ม หรือกระบวนการใหม่ๆ (Service, Product, Process) ที่มีคุณค่า (Value Creation) และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจ และสังคม

การประยุกต์ใช้ หมายถึง หน่วยงานภาครัฐสามารถนำนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น ไปใช้ในการทดสอบ ทดลอง นำร่องปฏิบัติงาน หรือให้บริการตามภารกิจของหน่วยงานได้

การพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หมายถึง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานภาครัฐ และการบริการสาธารณะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวก
ในการให้บริการประชาชน เช่น ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัล AI Platform (Chatbot, Auto Tag, Automatic Speech Recognition) ไปใช้งานในการให้บริการ หรือ
การดำเนินงานของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาและวิจัยแนวทางการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับการจัดการข้อมูลของภาครัฐ รวมไปถึงการดำเนินการศึกษาวิจัยที่ได้ความร่วมมือจากต่างประเทศในการดำเนินการ AI Readiness และการจัดทำ E-Catalog เพื่อเป็นแพลทฟอร์มกลางในการรวบรวมนวัตกรรมในภาครัฐ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น

ตัวอย่างนวัตกรรมที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

-Local Government ระบบท้องถิ่นดิจิทัล Version 2

-เอกสารดิจิทัล อาทิเช่น ใบประกอบโรคศิลป์ในรูปแบบดิจิทัลหรือเอกสารสำคัญอื่น ๆ

-นวัตกรรมอื่น ๆ เช่น Block Chain และ SSI เป็นต้น

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนนวัตกรรมที่สามารถประยุกต์ใช้กับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลได้ 3 (นวัตกรรม)
มีการนำไปประยุกต์ใช้ 20 หน่วยงานขึ้นไป ผ่าน
มีรายงาน Feedback จากหน่วยงานและแนวทางการปรับปรุง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

มาตรฐาน ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติ หรือ คู่มือ หมายถึง เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ร่างพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. หรือนโนบายสำคัญ

การพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หมายถึง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานภาครัฐ และการบริการสาธารณะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน โดยการจัดทำมาตรฐาน ข้อกำหนด หลักเกณฑ์แนวปฏิบัติ หรือคู่มือ ถือเป็นการพัฒนาที่เป็นพื้นฐาน (Foundation) ที่สำคัญเพื่อให้เกิดการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยมีมาตรฐาน ความปลอดภัย และสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมมูล และการให้บริการร่วมกันได้

คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง หมายถึง คณะกรรมการ คณะทำงาน หรือองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องต่อการพิจารณาเห็นชอบมาตรฐาน ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติ หรือคู่มือ เพื่อให้มีการเผยแพร่ หรือประกาศบังคับใช้ได้ต่อไป

หน่วยงาน หมายถึง หน่วยงานภาครัฐ ครอบคลุมถึง ส่วนราชการระดับกระทรวง กรม/เทียบเท่า รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานอิสระหน่วยงานระดับท้องถิ่น มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาต่าง ๆ

การใช้ประโยชน์ หมายถึง นำไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน หรือไปใช้ในการบริหารงานภายใน หรือไปใช้ในการพัฒนาระบบ บริการ แอปพลิเคชัน แพลตฟอร์ม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

มาตรฐานที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คือ มาตรฐานว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (Government Digital Process Guidelines)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
(ร่าง) มาตรฐานว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐแล้วเสร็จ ผ่าน
1 มาตรฐาน เสนอคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ผ่าน
3 หน่วยงานนำร่องมาตรฐานไปใช้ประโยชน์ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- บริการดิจิทัลของ สพร. (Digital Services) หมายความรวมถึง การเข้าถึงข้อมูล และบริการภาครัฐ ผ่านแพลตฟอร์มกลาง และระบบ

   ต่าง ๆ ของ สพร. เช่น Citizen Portal, Business Portal, Law Portal, Government Smart Kiosk, Govspending, Info, Open data และ Digital Transcript
เป็นต้น หรือบริการอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ประชาชน ผู้ประกอบการ และ ชาวต่างชาติ

- จำนวนการใช้ประโยชน์ หมายถึง จำนวนการใช้งาน ทั้งภาคประชาชนและธุรกิจ ชาวต่างชาติ ที่เข้ามาใช้บริการดิจิทัล ของ สพร. ที่ระบุไว้

- รายการ หมายถึง หน่วยนับของปริมาณการใช้งาน (ครั้ง) และปริมาณการเข้าเยี่ยมชม (ครั้ง)

- ปริมาณการใช้งาน (Transaction) หมายถึง ธุรกรรมที่เกิดขึ้นกับระบบโดยผู้ใช้งานที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น การตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล การยื่นขอรับบริการต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น

- ปริมาณการเยี่ยมชม (Session / Visit) หมายถึง จำนวนครั้งที่ผู้ใช้งานซึ่งระบุตัวตนไม่ได้ เข้าถึงเว็บไซต์ หรือระบบงาน เพื่อดูข้อมูลทั่วไป หรือข้อมูลเปิด เป็นต้น

- การวัดผล จะเป็นผลที่เกิดขึ้นในปีนั้น ๆ ไม่ได้นับสะสม

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนการใช้ประโยชน์จากการให้บริการดิจิทัลของ สพร. (Digital Service) 22,311,459.00 (ล้านรายการ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

โครงการสำคัญหรือโครงการต้นแบบ หมายถึง การจัดทำร่างข้อเสนอโครงการ หรือ ร่างแนวคิดโครงการ (Project Idea) หรือข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อการขับเคลื่อนหรือสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หรืออื่นๆ ที่แสดงถึงที่มาและความสำคัญของโครงการ/ปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทาง วิธีการ กระบวนการทำงาน/กระบวนการบริหารจัดการงบประมาณและแผนการดำเนินงานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ หรือพัฒนาต่อยอดเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ตลอดจนผลการศึกษาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้หรือพัฒนาต่อยอดได้

การเข้ารับการอบรมจากสถาบัน TDGA หมายถึง การผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ผ่านกระบวนการให้ความรู้และพัฒนาทักษะเชิงลึก การจัดทำต้นแบบแก่ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ นอกจากนี้ ยังหมายความรวมถึง การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่ สพร. ดำเนินการ

ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ หมายถึง การที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจาก 2 หน่วยงานขึ้นไป เข้ามามีส่วนร่วมในคิดวิเคราะห์ กระบวนการวางแผน การตัดสินใจ การดำเนินงาน
และการประเมินผล โดยมีการจัดทำเป็นโครงการขึ้น

หลักสูตรสำหรับผู้บริหาร เช่น หลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (e-GCEO), หลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-GEP) และหลักสูตรการสร้างกระบวนการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่รัฐบาลดิจิทัล (DTP) หรือหลักสูตรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนโครงการสำคัญหรือโครงการต้นแบบภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการอบรมจากสถาบัน TDGA 7 (โครงการ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงาน
(เช่น ความสามารถในการหารายได้เพื่อลดงบประมาณภาครัฐ อัตราส่วนของ
รายได้ของการหารายได้จากต้นทุนคงที่)

รายละเอียดตัวชี้วัด

การหารายได้ ของ สพร. เป็นการจัดหารายได้จากการให้บริการ อาทิ 

(1) การให้คำปรึกษา   (2) การให้บริการด้านการอบรม (3) การจ้างบำรุงรักษาระบบ (4) การให้บริการด้านแพลตฟอร์มต่าง ๆ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสามารถทางการหารายได้เพื่อลดภาระงบประมาณภาครัฐ 68.53 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดความคุ้มค่าในการดำเนินงาน
• การจัดทำห่วงโซ่ผลการดำเนินงาน (Result Chain: RC)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
เป้าหมายขั้นต้น ผ่าน
ค่าเป้าหมายมาตรฐาน ผ่าน
ค่าเป้าหมายขั้นสูง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ

•คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด

•ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ

•ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

•คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์

แนวทางการประเมิน 

1)องค์การมหาชนต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)

2)องค์การมหาชนต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง

3)ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด

4)ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป

5)กำหนดให้องค์การมหาชน มีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด

6)ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือองค์การมหาชนสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้

7)การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  /การมี dashboard จากชุดข้อมูล

ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์

1)แผนระดับ 2 (แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ) และ แผนระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน

•ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

•ผลการดำเนินงานตามแผนที่เกี่ยวข้อง

2)ชุดข้อมูลสนับสนุนการให้บริการประชาชน (e-Service)

3)ดัชนี/ตัวชี้วัดระดับสากล

4)สถิติทางการ (21 สาขา)

5)การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลหรือ มติ ครม.

6)ภารกิจหลักของหน่วยงาน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

 การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กลุ่มที่ 1 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2565 ต่ำกว่า 350 คะแนน กลุ่มที่ 2 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 350 - 399 คะแนน กลุ่มที่ 3 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป 472.39 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน (ตัวชี้วัดบังคับ)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุม ดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน 100.00 (คะแนน)