รายงานผลการประเมิน

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับภารกิจตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งที่แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงจากยุทธศาสตร์ชาตินโยบายและแผนระดับชาติ
ซึ่งองค์การมหาชนเลือกจากรายการตัวชี้วัด (KPIs Basket) ที่สำนักงาน ก.พ.ร.จัดทำขึ้น โดยไม่จำกัดจำนวนตัวชี้วัด ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่มีลักษณะ ดังนี้
• ตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13แผนการปฏิรูปประเทศ แผนบูรณาการ และแผนระดับชาติอื่น ๆ
• ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งขององค์การมหาชน
• ตัวชี้วัดต่อเนื่องที่มีความสำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565(เป็นภารกิจหลักหรือได้รับงบประมาณสูง)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดมาตรฐานสากล (International KPIs) (ถ้ามี)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดร่วม (Joint KPIs) ของส่วนราชการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 Agenda (บังคับ) และหน่วยอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

• ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 ให้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (สบร.) ปรับบทบาทภารกิจปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยคงเหลือภารกิจสำคัญที่ต้องปฏิบัติ 2 ภารกิจ ได้แก่ อุทยานการเรียนรู้ และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

• มติ อ.กพม. ครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 ให้ สบร. ปรับแนวทางและแผนการลดค่าใช้จ่ายบุคลากร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 - 2569) พร้อมทั้งแนวทางการปรับบทบาทภารกิจ ตามความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อเสนอ กพม. พิจารณา

• ประเมินจากความสำเร็จในการดำเนินการตามมติ อ.กพม. ครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 และครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 14 กันยายน  2565  ได้ครบถ้วน รวมทั้งจัดทำแผนยุทธศาสตร์ สบร. ในกรอบระยะเวลา 5 ปี (ปี 2566 – 2570) เสนอคณะกรรมการ สบร. เห็นชอบแผน และจัดส่งแผนยุทธศาสตร์ สบร.  ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งดำเนินการปรับบทบาทภารกิจ โครงสร้าง และอัตรากำลังตามแผนยุทธศาสตร์ฯ ให้ได้ตามเป้าหมายปี 2566

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จัดทำแผนยุทธศาสตร์ สบร. ผ่าน
จัดส่งแผนยุทธศาสตร์ฯ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ผ่าน
ร้อบละของการดำเนินการปรับบทบาทภารกิจ โครงสร้าง และอัตรากำลังตามแผนยุทธศาสตร์ฯ เทียบเป้าหมายของเป้าหมายปี 2566 95.74 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• เป็นการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ที่เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ ศิลปวัตถุที่หาดูได้ยาก และสร้างความรู้สึกเสมือนชมของจริง สามารถศึกษา สำรวจ และเพิ่มอรรถรสในการชมศิลปวัตถุได้อย่างรอบด้านแบบ 360 องศาให้แก่ผู้ที่สนใจ อีกทั้งสามารถนำมาข้อมูลวัตถุโบราณที่รวบรวมได้ไปต่อยอดองค์ความรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้แพร่หลายออกไปทั่วประเทศในรูปแบบดิจิทัล    โดยประเมินความสำเร็จของตัวชี้วัดจากการเก็บข้อมูลศิลปวัตถุในรูปแบบจำลอง 3 มิติของพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศไทย  โดยใช้เทคโนโลยีแบบจำลอง 3 มิติ (3D Scanner)  และสามารถนำมาเผยแพร่บนเว็บไซต์ www.museumsiam.org  เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

• ศิลปวัตถุที่หาดูได้ยาก คือ ศิลปวัตถุหรือโบราณที่เป็นมรดกเชิงวัฒนธรรมที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของประเทศที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ เช่น พิพิธภัณฑ์บางแห่งแสดงของจริง บางแห่งแสดงเพียงวัตถุจำลอง บางแห่งใช้การแสดงภาพถ่ายไว้เท่านั้น ทำให้ผู้สนใจและผู้เข้าชมมีข้อจำกัดในการชม ห้ามจับหรือถ่ายรูป ได้เพียงแต่ยืนดู และอ่านคำอธิบายใต้ศิลปวัตถุหรือภาพถ่ายนั้น ทำให้ขาดอรรถรสในการชมศิลปวัตถุหรือโบราณวัตถุ โดยเป็นสิ่งของ เช่น วัตถุโบราณ หรือแม้กระทั่ง เก็บแบบจำลองของ “บุคคลสำคัญ” เป็นต้น ซึ่งบางส่วนขุดพบในมิวเซียมสยาม และจากพิพิธภัณฑ์ทั้งภาครัฐและเอกชน

• เป้าหมายผลงาน คือ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องแก้ว เกือกม้า กระดูกสัตว์ และส่วนประกอบสถาปัตยกรรมต่างๆ เป็นต้นโดยพัฒนาในรูปแบบสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีแบบจำลอง 3 มิติ (3D Scanner) และนำมาเผยแพร่บนเว็บไซต์ www.museumsiam.org  เพื่อให้การเข้าถึงการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนชิ้นงานที่ได้จัดทำวัตถุในรูปแบบ File 3 มิติ พร้อมข้อมูล 50 (ชิ้นงาน)
ความสำเร็จในการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อแสดงข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมและสมบัติของชาติ แล้วเสร็จ 1 ระบบ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประเมินจากจำนวนผู้ใช้งานระบบ  e-Museum  ซึ่งแสดงถึงความสำเร็จของการพัฒนาดิจิทัลมิวเซียม 4.0  โดยพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการข้อมูล (E-Museum)  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการและเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ของประชาชนผู้รับบริการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนผู้ใช้งานระบบ e-Museum 175,676 (คน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

วัดจากจำนวนเครือข่ายที่ได้รับการพัฒนา สนับสนุน ให้คำปรึกษาแนะนำ และสิทธิประโยชน์ ต่างๆ ที่ทำความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (MOU)  ร่วมกับอุทยานการเรียนรู้ และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ และจำนวนแหล่งเรียนรู้เครือข่ายแห่งใหม่ที่มีแผนจะพัฒนาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนเครือข่ายที่มีข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนา ผ่าน
จำนวนเครือข่ายที่มีการพัฒนาตามกระบวนการที่ได้ตกลงในความร่วมมือ ผ่าน
จำนวนเครือข่ายที่พัฒนาแล้วเสร็จตามกระบวนการที่ได้ตกลงในความร่วมมือ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

การพัฒนาสนามเด็กเล่นให้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้สอดคล้องตามหลักการพัฒนาสมองของเด็ก เป็นการพัฒนาโดยยึดหลัก “สมองกับการเรียนรู้ “ หรือ “Brain-Based Learning”  และพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุล โดยมีการออกแบบและพัฒนาพื้นที่เชิงกายภาพและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่กระตุ้นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีรูปแบบที่หลากหลายสอดคล้องกับพัฒนาการและเหมาะสมกับช่วงวัย 

          ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีแผนงานที่จะต่อยอดองค์ความรู้และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานสนามเด็กเล่นให้มีองค์ความรู้ที่ทันสมัย น่าสนใจ และมีเป้าหมายในการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ โดยกำหนดธีมของพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ออกเป็น 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) Natural Playground 2) Adventures Playground  และ 3) Life and career skill space  โดยมีเป้าหมายในการจัดทำแนวทางการพัฒนาต้นแบบพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะในอนาคตสำหรับเด็กและเยาวชน   การจัดทำหลักสูตรและอบรมแนวคิดการพัฒนาต้นแบบพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ให้กลุ่มเป้าหมาย 20 แห่ง   และพัฒนาต้นแบบพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะในอนาคต 1 แห่ง

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแนวคิดการพัฒนาต้นแบบพื้นที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ผ่าน
จำนวนพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ ที่ได้พัฒนาต้นแบบแล้วเสร็จ ผ่าน
จำนวนพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ที่พัฒนาต้นแบบแล้วเสร็จ และได้จัดทำสรุปผลการติดตามของพื้นที่ที่ได้พัฒนา ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

• วัดจำนวนผู้ใช้บริการช่องทางการเรียนรู้ออนไลน์รวมทุกช่องทาง ของอุทยานการเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ โดยวัดยอดการรับรู้ผ่านช่องทางออนไลน์ website Facebook  Line@ Instagram  Twitter  Youtube  และ TK Read 

• วัดจำนวนผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้ต้นแบบอุทยานการเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (หน่วยนับ : คน/ครั้ง)

รายละเอียดตัวชี้วัด

จำนวนผู้เข้าใช้บริการในสถาบันอุทยานการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ตัวชี้วัดย่อย

1) ณ สถานที่ตั้ง  น้ำหนัก ร้อยละ 1.75

2) ผ่านช่องทางออนไลน์  น้ำหนักร้อยละ 2.0

รายละเอียดตัวชี้วัด

จำนวนผู้เข้าใช้บริการในสถาบันอุทยานการเรียนรู้ ณ สถานที่ตั้ง 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนผู้เข้าใช้บริการในสถาบันอุทยานการเรียนรู้ ณ สถานที่ตั้ง 280,381 (คน/ครั้ง)

รายละเอียดตัวชี้วัด

จำนวนผู้เข้าใช้บริการในสถาบันอุทยานการเรียนรู้ ผ่านช่องทางออนไลน์ 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนผู้เข้าใช้บริการในสถาบันอุทยานการเรียนรู้ ผ่านช่องทางออนไลน์ 65,421,731 (คน/ครั้ง)

รายละเอียดตัวชี้วัด

จำนวนผู้เข้าใช้บริการในพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย

1) ณ สถานที่ตั้ง  น้ำหนัก ร้อยละ 1.75

2) ผ่านช่องทางออนไลน์  น้ำหนักร้อยละ 2.0

รายละเอียดตัวชี้วัด

จำนวนผู้เข้าใช้บริการในพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ณ สถานที่ตั้ง 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนผู้เข้าใช้บริการในพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ณ สถานที่ตั้ง 308,648 (คน/ครั้ง)

รายละเอียดตัวชี้วัด

จำนวนผู้เข้าใช้บริการในพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ผ่านช่องทางออนไลน์ 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนผู้เข้าใช้บริการในพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ผ่านช่องทางออนไลน์ 61,158,583 (คน/ครั้ง)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงาน
(เช่น ความสามารถในการหารายได้เพื่อลดงบประมาณภาครัฐ อัตราส่วนของ
รายได้ของการหารายได้จากต้นทุนคงที่)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ความสามารถในการหารายได้ของ สบร.  จะประเมินจากรายได้ที่เกิดจากการดำเนินงานเท่านั้น ได้แก่ ค่าสมาชิก การขายสินค้า การให้บริการ การสัมมนา การจำหน่ายบัตร การจัดกิจกรรม การเช่าพื้นที่ และส่วนแบ่งร้านค้า โดยไม่นับรวมรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น เงินอุดหนุน เงินบริจาค และดอกเบี้ย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสามารถทางการหารายได้เพื่อลดภาระงบประมาณภาครัฐ 29.36 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดความคุ้มค่าในการดำเนินงาน
• การจัดทำห่วงโซ่ผลการดำเนินงาน (Result Chain: RC)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
เป้าหมายขั้นต้น ผ่าน
ค่าเป้าหมายมาตรฐาน ผ่าน
ค่าเป้าหมายขั้นสูง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

e-Service หมายถึง การให้บริการข้อมูลและการทำธุรกรรมของภาครัฐผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอรับบริการ โดยเกณฑ์ในการพิจารณาว่าระบบสารสนเทศของหนวยงานจัดว่าเป็นระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ ต้องเป็นการให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลภายนอก โดยกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้งประชาชน หน่วยราชการ ภาคธุรกิจ และองค์กร รวมถึงระบบดังกล่าวมีการให้ข้อมูล สนับสนุน หรือให้บริการที่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน

การให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) เป็นการดำเนินการ เพื่อยกระดับงานบริการของหน่วยงานไปสู่การให้บริการแบบออนไลน์ เพื่อลดภาระการเดินทางมาติดต่อราชการของประชาชน โดยให้องค์การมหาชนเลือกงานบริการของหน่วยงาน 1 งานบริการ

ชื่องานบริการ/กระบวนงานเพื่อพัฒนาการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) : TK digital platform

เพื่อสร้างแพลตฟอร์มเชื่อมโยงบริหารจัดการอุทยานการเรียนรู้ทั่วประเทศ(as a service) รวบรวมหนังสือและสื่อสู่คลังหนังสือกลางระดับประเทศรองรับการให้บริการ สมัคร ยืม-คืน จ่าย e-payment จัดส่งหนังสือและสื่อ (Hard copy) เดลิเวอร์รี่ส่งตรงถึงบ้าน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) เต็มรูปแบบ ด้วยแอปพลิเคชัน MyTK ได้ทุกที่ทุกเวลา และเชื่อมโยงอ่าน ชม ฟัง e-book และสื่อออนไลน์ ไว้ด้วยกัน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนางานให้บริการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดตามแผนปีงบประมาณ พ.ศ.2566 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

 การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กลุ่มที่ 1 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2565 ต่ำกว่า 350 คะแนน กลุ่มที่ 2 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 350 - 399 คะแนน กลุ่มที่ 3 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป 459.91 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน (ตัวชี้วัดบังคับ)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุม ดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน 100.00 (คะแนน)