รายงานผลการประเมิน

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับภารกิจตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งที่แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงจากยุทธศาสตร์ชาตินโยบายและแผนระดับชาติ
ซึ่งองค์การมหาชนเลือกจากรายการตัวชี้วัด (KPIs Basket) ที่สำนักงาน ก.พ.ร.จัดทำขึ้น โดยไม่จำกัดจำนวนตัวชี้วัด ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่มีลักษณะ ดังนี้
• ตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13แผนการปฏิรูปประเทศ แผนบูรณาการ และแผนระดับชาติอื่น ๆ
• ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งขององค์การมหาชน
• ตัวชี้วัดต่อเนื่องที่มีความสำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565(เป็นภารกิจหลักหรือได้รับงบประมาณสูง)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดมาตรฐานสากล (International KPIs) (ถ้ามี)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดร่วม (Joint KPIs) ของส่วนราชการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 Agenda (บังคับ) และหน่วยอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สคช. ได้ต่อยอดการเทียบโอนประสบการณ์การทำงานสู่คุณวุฒิวิชาชีพ โดยส่งเสริมให้มีผู้ได้รับการรับรองจากการเทียบโอนประสบการณ์การทำงานสู่คุณวุฒิวิชาชีพ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีผู้ได้รับการรับรองจากการเทียบโอนประสบการณ์การทำงานสู่คุณวุฒิวิชาชีพ 11,690 (คน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•อาชีพใหม่ หมายถึง มาตรฐานอาชีพที่ยังไม่เคยจัดทำมาก่อน

•อาชีพที่มีการทบทวน หมายถึง การทบทวนมาตรฐานอาชีพ หรือจัดทำเครื่องมือประเมินเพิ่มเติม หรือการทบทวนระดับชั้นคุณวุฒิ

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มาตรฐานอาชีพใหม่ที่จัดทำแล้วเสร็จ จำนวน 25 อาชีพใหม่ ผ่าน
อาชีพที่มีการทบทวน 410 (อาชีพ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นการนำมาตรฐานต่างประเทศมาพิจารณาจัดทำเป็นมาตรฐานอาชีพ โดยผ่านการพิจารณาจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในอาชีพ เพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานอาชีพ และนำมาผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ สคช. ในการรับรองมาตรฐานต่างประเทศ

- มีผู้เข้ารับการประเมินในมาตรฐานอาชีพของต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจาก สคช. โดยเป็นอาชีพจากที่มีการจัดทำมาแล้วจากปีก่อนหน้า หรืออาชีพในปีปัจจุบันก็ได้

แผนการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพของต่างประเทศ ของปี 2566

1. สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร สาขาการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ (GHA) 50 คน

2. สาขาวิชาชีพการกีฬา สาขาการดำน้ำ 10 คน

3. มาตรฐานอาชีพด้าน IT Business สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ 20 คน

4. มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 10 คน

5. มาตรฐานอาชีพครู/ผู้ฝึกอบรมสายวิชาชีพ (Regional TVET Teacher Standard) 10 คน

หมายเหตุ ตัวเลขอาจมีความเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม เนื่องจากบางมาตรฐานอาชีพอยู่ระหว่างกำลังเตรียมขึ้นทะเบียนองค์กรรับรองฯ ในปีงบประมาณ 2566 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีร่างมาตรฐานต่างประเทศ 1 มาตรฐานอาชีพ ผ่าน
มีมาตรฐานต่างประเทศ 1 มาตรฐานอาชีพ ที่ผ่าน คกก. สคช. ผ่าน
มีผู้เข้ารับการประเมินในมาตรฐานอาชีพของต่างประเทศ จำนวน 100 คน ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

จำนวนองค์กรรับรองฯ ปีงบประมาณ 2557 – 2565 มีจำนวนทั้งหมด 292 องค์กร ทั้งนี้มาตรฐานอาชีพที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 958 อาชีพ (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2565) โดยมีองค์กรรับรองแล้ว 399 อาชีพ (ร้อยละ 41.65) ยังไม่มีองค์กรรับรองฯ 559 อาชีพ (ร้อยละ 58.35 )

- ในปีงบประมาณ 2566 สคช. จะเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์และประสานองค์กรรับรองฯ เดิม และหน่วยงานใหม่เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนองค์กรรับรองฯ ในอาชีพที่ยัง
  ไม่มีองค์กรรับรองฯ โดยพิจารณาจากการวิเคราะห์อาชีพที่ยังไม่มีองค์กรรับรองฯ เป็นร้อยละ 10 เพื่อนำมาเป็นเกณฑ์ในการประเมิน

- วัดผลจากจำนวนหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ และจำนวนอาชีพที่ยังไม่เคยมีหน่วยงานที่ทำหน้ารับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ 30 องค์กร ผ่าน
มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ในอาชีพที่ยังไม่มีองค์กรรับรองฯ 85 (อาชีพ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

จัดทำชุดฝึกอบรมตามสมรรถนะที่กำหนดตามมาตรฐานอาชีพ และส่งเสริมให้มีการนำชุดฝึกอบรมไปใช้ในการพัฒนากำลังแรงงาน โดยหน่วยงานนำชุดฝึกอบรมที่พัฒนาจากมาตรฐานอาชีพไปใช้ในการฝึกอบรม ซึ่งทาง สคช. จะเน้นผลักดันแนวทางการนำคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ในสถานประกอบการ โดยการสร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการ เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนากำลังคนด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพในภาคอุตสาหกรรม

- วัดผลสำเร็จจากการมีสถานประกอบการนำหลักสูตรไปใช้งาน โดยมีการเชื่อมโยงผ่านระบบ API และมีผู้เข้ามาใช้หลักสูตรฝึกอบรมซึ่งสามารถดูข้อมูลจำนวนผู้เข้าใช้งานจากระบบ API ของสถานประกอบการแต่ละแห่ง หรือหลักฐานการดำเนินงานในรูปแบบ hybrid onsite ซึ่งประกอบด้วย ภาพ รายงานการจัดฝึกอบรม หนังสือความร่วมมือที่ส่งมาจากสถานประกอบการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนชุดฝึกอบรมที่พัฒนามาจากมาตรฐานอาชีพ ผ่าน
มีหน่วยงานนำชุดฝึกที่พัฒนาจากมาตรฐานอาชีพไปใช้ในการฝึกอบรม 10 (แห่ง)

รายละเอียดตัวชี้วัด

การประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและมาตรฐานสมรรถนะ ในสาขาวิชาชีพที่เสนอให้เป็นนโยบายในการสนับสนุนการประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานสาขาวิชาชีพ และมาตรฐานสมรรถนะ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 3 กลุ่มคือ กลุ่ม 1 ภาคบริการ กลุ่ม 2 ภาคอุตสาหกรรม กลุ่ม 3 ภาคเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 สอดคล้องกับความต้องการแรงงาน 10 กลุ่มอุตสาหกรรม ปี 2566 (7 อุตสาหกรรมเป้าหมาย+3) โดยกรมการจัดหางาน และส่งเสริมการประเมินในอาชีพที่จัดทำใหม่และยังไม่มีการจัดการประเมิน

สาขาวิชาชีพที่เสนอให้เป็นนโยบายในการสนับสนุนการประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานสาขาวิชาชีพ และมาตรฐานสมรรถนะ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่ม 1 : ภาคบริการ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร

สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม

สาขาวิชาชีพการบิน

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา

สาขาวิชาชีพการจัดประชุมและนิทรรศการ

สาขาวิชาชีพการจัดส่งสินค้า

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวย

สาขาวิชาชีพไฟฟ้า (อาชีพช่างซ่อมสมารท์โฟนและแทปเล็ต)

สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์ (อาชีพช่างซ่อมรถจักรยานยนต์)

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการทำความสะอาด (แม่บ้านทำความสะอาด)

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการดูแลสัตว์เลี้ยง

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (Handicraft)

กลุ่ม 2 ภาคอุตสาหกรรม

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล

สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

สาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า

สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ และเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร

มาตรฐานสมรรถนะด้านการบริหารของบุคลากร/ช่างเทคนิคในสายการผลิต

กลุ่ม 3 ภาคเกษตร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีผู้เข้ารับการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและมาตรฐานสมรรถนะ 16,334 (คน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

จากการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มอัจฉริยะเพื่อการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคนของประเทศ (E-workforce ecosystem) (แผนการปฏิรูปฯ) ได้มีการพัฒนาระบบแฟ้มสะสมผลงานอัจฉริยะ (E-portfolio) เป็นแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายใต้ E-workforce Ecosystem Platform สคช. ได้มีการผลักดันให้มีผู้ใช้งานในระบบ E-portfolio ซึ่งถือว่าเป็นระบบแฟ้มสะสมผลงานกลางของประเทศไทย และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้าง เก็บ โปรไฟล์อย่างเป็นระบบ เพื่อเข้าสู่กลไกการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการมีงานทำ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ รวมถึงข้อมูลด้านกำลังคนสำหรับการพิจารณาในการตัดสินใจในเชิงสถิติสำหรับการพัฒนากำลังคน

ระบบ E-portfolio ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สำหรับการเก็บรวบรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และมีระบบความมั่นคงปลอดภัยในการดูแลข้อมูล และในช่วงปี 2566-2568 จะเป็นช่วงที่เปิดให้ใช้งานและปรับปรุงให้ระบบมีความเสถียรมากยิ่งขึ้น รับข้อมูลจากผู้ใช้งานเพื่อพัฒนาระบบให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด

- วัดผลการดำเนินงานจากผู้ที่มีข้อมูลในระบบ E-portfolio ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้ วันที่สมัคร, ประเภทสมาชิก, ชื่อผู้ติดต่อ, อีเมล, เบอร์โทร, อาชีพ, เงินเดือน, ระดับการศึกษา, จังหวัด และ สถานะการมีงานทำ ครบถ้วน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนผู้ที่มีข้อมูล E-portfolio ครบถ้วนตามรายการที่กำหนด 38,256 (คน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงาน
(เช่น ความสามารถในการหารายได้เพื่อลดงบประมาณภาครัฐ อัตราส่วนของ
รายได้ของการหารายได้จากต้นทุนคงที่)

รายละเอียดตัวชี้วัด

รายได้ หมายถึง รายได้จากการดำเนินงาน (โดยไม่รวมดอกเบี้ย) ดังนี้

1)  ค่าธรรมเนียมการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ

2)  ค่าธรรมเนียมการออกใบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ

3)  รายได้อื่นๆ จากการดำเนินงาน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสามารถทางการหารายได้เพื่อลดภาระงบประมาณภาครัฐ 8.92 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดความคุ้มค่าในการดำเนินงาน
• การจัดทำห่วงโซ่ผลการดำเนินงาน (Result Chain: RC)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
เป้าหมายขั้นต้น ผ่าน
ค่าเป้าหมายมาตรฐาน ผ่าน
ค่าเป้าหมายขั้นสูง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

แนวทางการประเมิน : เป็นการประเมินความสำเร็จในการยกระดับงานบริการขององค์การมหาชน ไปสู่การให้บริการแบบออนไลน์ เพื่อลดภาระการเดินทางมาติดต่อราชการของประชาชน ตามเป้าหมาย 3 ระดับ โดยองค์การมหาชนสามารถคัดเลือกงานบริการ ดังนี้

1) งานบริการเดิมซึ่งองค์การมหาชนเคยนำมายกระดับและประเมินตามตัวชี้วัดนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แต่ยังดำเนินงานไม่แล้วเสร็จ หรือยังไม่บรรลุผลในระดับ L3 หรือ

2) งานบริการใหม่ที่องค์การมหาชนต้องการยกระดับตามเป้าหมาย L1, L2, L3

เป้าหมายการยกระดับงานบริการ 3 ระดับ ได้แก่

ระดับ 1 (Level 1 : L1)
งานบริการที่ยื่นคำขอและเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้

ระดับ 2 (Level 2 : L2) 
งานบริการที่ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือช่องทางอื่น ๆ และมีการออกใบเสร็จรับเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้

ระดับ 3 (Level 3 : L3)
งานบริการที่ยื่นคำขอ ชำระค่าธรรมเนียม และออกใบอนุมัติ/ใบอนุญาต/เอกสารทางราชการได้ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือการอนุมัติผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ออกเอกสารเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-License/e-Certificate/e-Document) ผ่านทาง Mobile หรือ เว็บไซต์ ผ่าน
ออกเอกสารเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-License/e-Certificate/e-Document) ตามมาตรฐาน ETDA ผ่านทาง Mobile หรือ เว็บไซต์ และผู้รับบริการสามารถ print out เอกสารได้ ผ่าน
สามารถเริ่มให้บริการได้ และมีจำนวนผู้ใช้งานผ่านระบบไม่น้อยกว่าร้อยละ xx ของจำนวนผู้รับบริการทั้งหมด ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

 การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กลุ่มที่ 1 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2565 ต่ำกว่า 350 คะแนน กลุ่มที่ 2 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 350 - 399 คะแนน กลุ่มที่ 3 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป 442.68 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน (ตัวชี้วัดบังคับ)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุม ดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน 100.00 (คะแนน)