รายงานผลการประเมิน

สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับภารกิจตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งที่แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงจากยุทธศาสตร์ชาตินโยบายและแผนระดับชาติ
ซึ่งองค์การมหาชนเลือกจากรายการตัวชี้วัด (KPIs Basket) ที่สำนักงาน ก.พ.ร.จัดทำขึ้น โดยไม่จำกัดจำนวนตัวชี้วัด ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่มีลักษณะ ดังนี้
• ตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13แผนการปฏิรูปประเทศ แผนบูรณาการ และแผนระดับชาติอื่น ๆ
• ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งขององค์การมหาชน
• ตัวชี้วัดต่อเนื่องที่มีความสำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565(เป็นภารกิจหลักหรือได้รับงบประมาณสูง)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดมาตรฐานสากล (International KPIs) (ถ้ามี)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดร่วม (Joint KPIs) ของส่วนราชการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 Agenda (บังคับ) และหน่วยอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

•บจธ. ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาจะสูญเสียสิทธิในที่ดิน หรือสูญเสียสิทธิในที่ดินไปแล้วจากการจำนอง การขายฝาก หรือการถูกบังคับคดีของเกษตรกร โดยการให้เช่าซื้อ หรือให้สินเชื่อแก่เกษตรกรและผู้ยากจนเพื่อคงสิทธิในที่ดิน และให้สินเชื่อแก่ผู้ที่มีปัญหาการลงทุนเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม

•ในปีงบประมาณ 2566 บจธ. ได้รับจัดสรรงบประมาณในส่วนของโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินทำกินของเกษตรกรและผู้ยากจน เท่ากับ 16,500,000 ล้านบาท เป้าหมาย 30 ราย โดยการให้เช่า/เช่าซื้อ หรือให้สินเชื่อ (นับเป็นผลงานเมื่อผู้ยื่นขอรับความช่วยเหลือได้ลงนามสัญญา) แบ่งเป็น
(1) ช่วยเหลือในการไถ่ถอน จำนอง หรือจัดซื้อที่ดิน รายละไม่เกิน 1,000,000 บาท จำนวน 15 ราย
(2) ช่วยเหลือในการส่งเสริมอาชีพ รายละไม่เกิน 200,000 บาท จำนวน 15 ราย

•ปัจจุบันมีเกษตรกรที่ยื่นขอรับความช่วยเหลือจาก บจธ. ภายใต้โครงการนี้ มากกว่า 900 ราย แต่ บจธ. ไม่มีงบประมาณเพียงพอในการช่วยเหลือได้

 

ลักษณะที่ดิน ที่ บจธ. จะให้ความช่วยเหลือ

•เป็นที่ดินที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ที่ผู้ขอความช่วยเหลือใช้ประกอบอาชีพ หรือเป็นที่อยู่อาศัย โดยต้องไม่เป็นที่ดินที่มีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์

•เป็นที่ดินเกษตรกรรม หรือที่อยู่อาศัย ที่อยู่ระหว่างระยะเวลาไถ่ถอนจำนอง หรือไถ่ถอนขายฝาก หรือ เป็นที่ดินเกษตรกรรม หรือที่อยู่อาศัย ที่อยู่ระหว่างจะถูกยึด ตามคำสั่งศาลเพื่อบังคับชำระหนี้ หรือถูกยึดเพื่อบังคับคดี และอยู่ระหว่างการขายทอดตลาด หรือเป็นที่ดินที่ถูกขายทอดตลาด หรือหลุดขายฝากไปแล้ว

คุณสมบัติของผู้ขอความช่วยเหลือ จากปัญหาสูญเสียสิทธิในที่ดิน หรือสูญเสียสิทธิไปแล้วจากการจำนอง การขายฝาก และการถูกบังคับคดี

•เป็นผู้มีสัญชาติไทย บรรลุนิติภาวะ หรือเป็นหัวหน้าครอบครัว มีความสามารถทำประโยชน์ในที่ดินได้

•เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เป็นผู้มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการใช้ประโยชน์ในที่ดิน

คุณสมบัติของผู้ขอความช่วยเหลือ ที่มีปัญหาการลงทุนเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม

•เป็นผู้มีสัญชาติไทย บรรลุนิติภาวะ  มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

•ไม่เป็นคนวิกลจริต ไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือถูกคำพิพากษาให้ตกเป็นคนล้มละลาย

กรณีเกษตรกรและผู้ยากจน ผู้ที่เคยได้รับสินเชื่อจาก บจธ. แล้ว (ยังคงเป็นลูกหนี้อยู่) ต้องเป็นลูกหนี้ชั้นปกติ

•การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย

      บจธ. โดยกองบริหารสินเชื่อ (กบส.) ดำเนินการคัดเลือกจากกลุ่มเกษตรกรและผู้ยากจน ผู้ที่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือจาก บจธ. ในพื้นที่ทั่วประเทศ โดยพิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติในเบื้องต้นตามข้อบังคับ บจธ. ว่าด้วย การให้สินเชื่อเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินเกษตรกรรม พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับ บจธ. ว่าด้วย การได้มาซึ่งที่ดิน การใช้ประโยชน์ หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดหาและพัฒนาที่ดินแก่เกษตรกร ผู้ยากจน ผู้ประสงค์จะใช้ประโยชน์ที่ดิน และองค์กรชุมชน พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (กรณีจัดซื้อที่ดิน เพื่อการเช่าซื้อ) และประกาศ บจธ. เรื่อง แนวทางการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรตามโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินของเกษตรกร
และผู้ยากจน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนเกษตรกรที่ได้รับความช่วยเหลือในการคงสิทธิในที่ดิน และสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ 36.00 (ราย)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•วัดผลจากความสำเร็จในการเป็นตัวกลาง ประสานการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยทำการเกษตร

    โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสมาชิกในชุมชน

•วิธีการประเมิน วัดจำนวนการจับคู่ระหว่างเจ้าของที่ดินผู้ประสงค์จะใช้ที่ดิน (หลักฐานการจับคู่ เช่น ข้อตกลงร่วมกัน บันทึกสรุปผล)

•ในปีงบประมาณ 2566 บจธ. ได้รับจัดสรรงบประมาณในส่วนของโครงการพัฒนาและทดลองรูปแบบการบริหารจัดการที่ดินที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงที่ดิน เท่ากับ 1,664,500 บาท โดยมีเป้าหมายคือให้เกิดการลงนามในสัญญาเช่าระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินเป้าหมาย 28 สัญญา

•การคัดเลือก จะพิจารณาจากเกษตรกรที่ประสงค์จะใช้ที่ดินและเจ้าของที่ดินที่ไม่ใช้ประโยชน์ในที่ดินจากในระบบตลาดกลางที่ดิน (https://clm.labai.or.th/) ปัจจุบันมีการลงทะเบียน ประมาณ 1,173 ราย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การลงนามในสัญญาเช่าระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดิน 34.00 (สัญญา)
ดำเนินงานตามแผน และได้ ผลผลิตของกิจกรรมครบถ้วน ร้อยละ 100 ผ่าน
จำนวนผู้มาลงทะเบียนกับ บจธ. 261.00 (ราย)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•บจธ. ดำเนินการเพื่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน โดยการพัฒนาและใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเหมาะสม และติดตาม

   ประเมินผล วิเคราะห์ความสำเร็จของการพัฒนาพื้นที่ของชุมชน นำปัญหาอุปสรรคมาปรับปรุงกระบวนการพัฒนาและใช้ประโยชน์ที่ดินต่อไป

•บจธ. ได้จัดซื้อที่ดินเพื่อนำมาพัฒนาให้ชุมชนนำไปใช้ประโยชน์แล้ว รวมทั้งหมด 12 พื้นที่ โดยในปี 2566 จะดำเนินการพัฒนาและใช้ประโยชน์ในที่ดิน พร้อมทั้งติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน

•วิธีการประเมินผลพื้นที่ที่มีความสำเร็จในการพัฒนาและใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเหมาะสม ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านการพัฒนาคน 2) ด้านการบริหารจัดการองค์กรและชุมชน 3) ด้านเป้าหมายและกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชน 4) ด้านการบริหารจัดการทุน โดยจะดำเนินการรายงานความสำเร็จของการพัฒนาและใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเหมาะสมทั้ง 4 ด้าน โดยปีงบฯ 2566 มีเป้าหมายตามแผนฯ จำนวน 6 พื้นที่ (พื้นที่เดิมของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 3 พื้นที่ และพื้นที่ใหม่ 3 พื้นที่) และรายงานติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินทั้ง 12 พื้นที่ เสนอ คกก. บจธ

 

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
พื้นที่ที่มีความสำเร็จในการพัฒนาและใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเหมาะสม 6.00 (พื้นที่)
จัดทำรายงานติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินทั้ง 12 พื้นที่ เสนอ คกก. บจธ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงาน
(เช่น ความสามารถในการหารายได้เพื่อลดงบประมาณภาครัฐ อัตราส่วนของ
รายได้ของการหารายได้จากต้นทุนคงที่)

รายละเอียดตัวชี้วัด

เกณฑ์การประเมิน :

  พิจารณาจากความสำเร็จของการประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการสำคัญขององค์การมหาชน ตามเกณฑ์การประเมิน

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จัดทำรายงานผลการประเมินความคุ้มค่าของแต่ละโครงการโดยมีประเด็นการประเมินและชุดข้อมูลครบถ้วนตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดและส่งมายังสำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2566 ผ่าน
บจธ. จัดการประชุมเพื่อนำเสนอผลการประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการ และได้รับผลการประเมินเฉลี่ย 75 คะแนน 86.47 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดความคุ้มค่าในการดำเนินงาน
• การจัดทำห่วงโซ่ผลการดำเนินงาน (Result Chain: RC)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
เป้าหมายขั้นต้น ผ่าน
ค่าเป้าหมายมาตรฐาน ผ่าน
ค่าเป้าหมายขั้นสูง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล (เลือก 1 จาก 2 ตัวชี้วัดย่อยต่อไปนี้)


1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (data catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูล
ภาครัฐ (open data)

2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลคะแนนที่ได้จากทางเลือกของตัวชี้วัดนี้ ตัวชี้วัดย่อยที่ 1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) ตัวชี้วัดย่อยที่ 2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

 การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กลุ่มที่ 1 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2565 ต่ำกว่า 350 คะแนน กลุ่มที่ 2 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 350 - 399 คะแนน กลุ่มที่ 3 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป 451.96 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน (ตัวชี้วัดบังคับ)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุม ดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน 100.00 (คะแนน)