รายงานผลการประเมิน

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
97.793
สรุปผลการประเมิน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับภารกิจตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งที่แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงจากยุทธศาสตร์ชาตินโยบายและแผนระดับชาติ
ซึ่งองค์การมหาชนเลือกจากรายการตัวชี้วัด (KPIs Basket) ที่สำนักงาน ก.พ.ร.จัดทำขึ้น โดยไม่จำกัดจำนวนตัวชี้วัด ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่มีลักษณะ ดังนี้
• ตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13แผนการปฏิรูปประเทศ แผนบูรณาการ และแผนระดับชาติอื่น ๆ
• ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งขององค์การมหาชน
• ตัวชี้วัดต่อเนื่องที่มีความสำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565(เป็นภารกิจหลักหรือได้รับงบประมาณสูง)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดมาตรฐานสากล (International KPIs) (ถ้ามี)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดร่วม (Joint KPIs) ของส่วนราชการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 Agenda (บังคับ) และหน่วยอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

• อุตสาหกรรมสร้างสรรค์กลุ่มเป้าหมาย ปี 2566 หมายถึง กลุ่มคอนเทนต์และสื่อสร้างสรรค์ (Creative Content) ซึ่งเป็นการนำความคิดสร้างสรรค์มาผลิต
คอนเทนต์หรือสื่อ ประกอบด้วย 4 สาขา คือ 1) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์  2) การกระจายเสียง 3) การพิมพ์ 4) ซอฟต์แวร์ (เกมและแอนิเมชัน) โดยคำนวณจากจำนวนแรงงานสร้างสรรค์ในกลุ่มดังกล่าว ประมาณ 125,000 ราย

• การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ หมายถึง การดำเนินแผนงาน/โครงการร่วมกับภาคีเครือข่าย และแรงงานสร้างสรรค์ให้สามารถยกระดับทักษะที่เป็นประโยชน์ในด้านต่าง ๆ 
นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่สอดรับตามเป้าหมายของแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

• ปี 2562-2565 สศส. จัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขาครบทั้ง 12 สาขา ซึ่งจำแนกตามกลุ่มของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 4 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 Creative Originals 4 สาขา กลุ่มที่ 2 Creative Content/Media 4 สาขา กลุ่มที่ 3 Creative Service 3 สาขา และกลุ่มที่ 4  Creative Goods/Products 1 สาขา ดังนั้น ในปี 2566 จึงได้กำหนดนโยบายการนำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไปสู่การปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาแรงงานสร้างสรรค์ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ อุตสาหกรรมกลุ่มคอนเทนต์และสื่อสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ
ของประเทศได้ในระดับสูง เพื่อให้แรงงานสร้างสรรค์ของไทยมีทักษะเพิ่มขึ้นและสามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนแรงงานสร้างสรรค์ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีทักษะเพิ่มขึ้น 6,605 (ราย)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• แหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์  หมายถึง  สถานที่อำนวยความสะดวกสำหรับการคิดค้น เรียนรู้ และพัฒนาธุรกิจ ด้วยการจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศด้านธุรกิจสร้างสรรค์ และระบบสืบค้นต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ  โดยสามารถเป็นแหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์  ทั้งเชิงกายภาพ ( miniTCDC และ miniTCDC Center ที่มีอยู่ รวม 16 แห่ง) และเชิงดิจิทัลแพลตฟอร์ม (miniTCDC LINK ที่มีอยู่ 38 แห่ง(จุดบริการ))

• การพัฒนาแหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์ในภูมิภาค หมายถึง การส่งเสริมศักยภาพของแหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์ที่เป็นเครือข่ายสถาบันการศึกษาในภูมิภาค ผ่านการจัดกิจกรรม/โครงการร่วมกับ สศส. โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายของแหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์ ธุรกิจ หรือย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์

• ทั้งนี้ เป้าหมายในปี 2566 จำนวน 10 แห่ง จะไม่ได้กำหนดสัดส่วนของกายภาพและดิจิทัลแพลตฟอร์ม เนื่องจากการส่งเสริมศักยภาพของแหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์ที่เป็นเครือข่ายสถาบันการศึกษาในภูมิภาค เป็นการจัดกิจกรรม/โครงการ ร่วมกับ สศส. ที่ไม่ต้อง rely on พื้นที่ แต่เป็นลักษณะ agenda/activity-based

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนแหล่งบ่มเพาะเชิงดิจิทัลแพลตฟอร์ม ที่ สศส จัดตั้ง 13 (แห่ง)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• จำนวนผลิตภัณฑ์ใหม่ที่นำความคิดสร้างสรรค์หรืออัตลักษณ์ของพื้นที่ไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ (มีการวางขายได้จริง) นับเฉพาะผลิตภัณฑ์ใหม่ (สินค้าหรือบริการ) ที่เกิดจากการดำเนินการของ สศส. ร่วมกับหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศไทย (TCDN) ของ สศส. ซึ่งมีอยู่ 30 แห่งทั่วประเทศ

• ค่าเป้าหมาย 60 ผลิตภัณฑ์ คำนวณจากฐานของจำนวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ประมาณ 120 ผลิตภัณฑ์ต่อปี โดยตั้งเป้าว่า ร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ส่งเสริม ที่นำความคิดสร้างสรรค์หรืออัตลักษณ์ของพื้นที่ไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนผลิตภัณฑ์ใหม่ที่นำความคิดสร้างสรรค์หรืออัตลักษณ์ของพื้นที่ไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ 69 (ผลิตภัณฑ์)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย คือ

1) ผู้ประกอบการ SMEs ธุรกิจสร้างสรรค์ วิสาหกิจเริ่มต้น และผู้ประกอบการใหม่มีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น ภายหลังได้รับการพัฒนาศักยภาพ และนำความรู้ไปพัฒนาธุรกิจ น้ำหนัก ร้อยละ 7.5

2) ร้อยละของผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์รายใหม่ที่เพิ่มขึ้น น้ำหนัก ร้อยละ 7.5

รายละเอียดตัวชี้วัด

• รายได้เฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการจะมีที่มาจากการสำรวจ การติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน โดยวัดจากมิติของราคา รายได้ กำไร และชื่อเสียงของแบรนด์ จากผู้ประกอบการที่ให้ข้อมูล โดยจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการ โดยจะแบ่งกลุ่มตัวอย่างมาจากผู้ประกอบการที่ผ่านการบ่มเพาะเชิงลึก ในปี 2566 มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือน และผู้ประกอบการที่ผ่านการบ่มเพาะเชิงลึกมาแล้วไม่เกิน 3 ปี (กำหนดกลุ่มตัวอย่างรวม เท่ากับ 250 ตัวอย่าง)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้เฉลี่ยของผู้ประกอบการเป้าหมาย ที่มาจากการสำรวจ การติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน 32.86 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•  จำนวนผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์รายใหม่ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ผ่านกิจกรรมการอบรม บ่มเพาะ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น

•  นับจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์รายใหม่จาก 3 เรื่อง ดังนี้
1) จำนวนการยื่นขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (IP)
2) จำนวนการจดทะเบียนบริษัทใหม่
3) จำนวนผลิตภัณฑ์และบริการใหม่
โดยเทียบกับ จำนวนเป้าหมายในการบ่มเพาะเชิงลึกผ่านการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและการให้คำปรึกษาทางด้านธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพเพิ่มขึ้น 500 คน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์รายใหม่ที่เพิ่มขึ้น 48.40 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หมายถึง เมืองที่มีความชัดเจนในการนำความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาเมืองหรือชุมชน จากรากฐานของต้นทุนทางภูมิศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาภายในท้องถิ่นชุมขนของแต่ละจังหวัด จนก่อให้เกิดเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ โดยหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน ผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีบทบาท และมีการดำเนินงานร่วมกันอย่างสอดคล้องและเกื้อกูล สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจส่งผลให้เมืองหรือชุมชนมีสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

• สศส. คัดเลือกเมืองเข้าสู่เครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศไทย (Thailand Creative District Network) หรือ TCDN ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาส
ให้ทุกจังหวัดซึ่งมีพื้นที่ที่มีศักยภาพและมีสินทรัพย์ที่สามารถต่อยอดได้ ประกอบกับคนในพื้นที่มีความพร้อมและต้องการพัฒนาพื้นที่นั้น ๆ ให้กลายเป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์/เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผ่านการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อค้นหาจุดเด่น สร้างมูลค่าให้กับวัฒนธรรมท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่ ไปจนถึงยกระดับคุณภาพชีวิต ภายใต้การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ การเป็นเครือข่าย TCDN จะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ในการพัฒนาพื้นที่ และจะมีการคัดเลือกพื้นที่เพื่อต่อยอดสู่เมืองสร้างสรรค์ในระดับสากลต่อไป

• สศส. จัดกิจกรรมหรือเทศกาลด้านความคิดสร้างสรรค์ในพื้นที่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อเป็นแพลตฟอร์มให้นักสร้างสรรค์และผู้ประกอบการทั้งในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทุกสาขาและอุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมถึงชุมชน ที่มีศักยภาพและนำกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรรค์ไปใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าหรือบริการ ได้มีโอกาสจัดแสดงศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม ศิลปะ วัฒนธรรม และองค์ความรู้ท้องถิ่น รวมถึงขยายโอกาสทางธุรกิจจากการจำหน่ายผลงาน /ผลิตภัณฑ์ และการจับคู่ธุรกิจ ซึ่งการจัดงานหรือเทศกาลดังกล่าวสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนและก่อให้เกิดรายได้ให้แก่การท่องเที่ยว โดย สศส. มีการประเมินผลมูลค่าทางเศรษฐกิจ (economic impact) ของการจัดงานหรือเทศกาลด้วย

• เมืองต้นแบบ สศส. ดำเนินการครบถ้วน 5 เมืองแล้ว (เจริญกรุง, ช้างม่อย, ศรีจันทร์, เมืองเก่าสงขลา, เจริญเมืองแพร่) และจะไม่ดำเนินการเพิ่ม เนื่องจากไม่มีแผน ปี 2566 และไม่มีงบประมาณรองรับ 

สศส. มีเครือข่าย TCDN ที่จะจัดกิจกรรมหรือเทศกาลด้านความคิดสร้างสรรค์ในพื้นที่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาย่านให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูมิภาคได้อย่างบูรณาการ อันจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรม โดยการจัดกิจกรรมจะเป็นไปโดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 5 ด้าน ด้านในด้านหนึ่ง ใน 5 ด้านดังต่อไปนี้

1) สร้างเครื่องมือ และกลไกในการยกระดับพื้นที่ให้ เป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์

2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์

3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสภาวะที่ เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ การเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจสร้างสรรค์และธุรกิจสนับสนุนบน ศักยภาพของย่าน

4) การสร้าง เผยแพร่และส่งเสริม สื่อสาร บริหารการรับรู้อัตลักษณ์ย่าน

5) การบริหารการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายในการพัฒนาย่านสร้างสรรค์

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม 5 (เมือง)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงาน
(เช่น ความสามารถในการหารายได้เพื่อลดงบประมาณภาครัฐ อัตราส่วนของ
รายได้ของการหารายได้จากต้นทุนคงที่)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • ความสามารถในการหารายได้ขององค์การมหาชน หมายถึง รายได้ที่องค์การมหาชนได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไม่รวมเงินอุดหนุนประจำปีที่ได้รับจัดสรร
  • ประเภทรายได้ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าลงทะเบียน ค่าตอบแทนการให้คำปรึกษา ค่าจำหน่ายผลิตภัณฑ์  ทั้งนี้ จะไม่นับรวมถึงดอกเบี้ยธนาคาร
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้ที่ สศส.ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 6.96 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดความคุ้มค่าในการดำเนินงาน
• การจัดทำห่วงโซ่ผลการดำเนินงาน (Result Chain: RC)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
เป้าหมายขั้นต้น ผ่าน
ค่าเป้าหมายมาตรฐาน ผ่าน
ค่าเป้าหมายขั้นสูง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย

  • บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
  • คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
  • ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
  • ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
  • คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์

แนวทางการประเมิน 

  1. องค์การมหาชนต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
  2. องค์การมหาชนต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
  3. ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
  4. ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
  5. กำหนดให้องค์การมหาชน มีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
  6. ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือองค์การมหาชนสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
  7. การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล /การมี dashboard จากชุดข้อมูล

ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์

1)  แผนระดับ 2 (แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ) และ แผนระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน

  • ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
  • ผลการดำเนินงานตามแผนที่เกี่ยวข้อง

2)  ชุดข้อมูลสนับสนุนการให้บริการประชาชน (e-Service)

3)  ดัชนี/ตัวชี้วัดระดับสากล

4)  สถิติทางการ (21 สาขา)

5)  การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลหรือ มติ ครม.

6)  ภารกิจหลักของหน่วยงาน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนการประเมินการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

 การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กลุ่มที่ 1 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2565 ต่ำกว่า 350 คะแนน กลุ่มที่ 2 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 350 - 399 คะแนน กลุ่มที่ 3 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป 457.47 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน (ตัวชี้วัดบังคับ)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุม ดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน 100.00 (คะแนน)