รายงานผลการประเมิน

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับภารกิจตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งที่แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงจากยุทธศาสตร์ชาตินโยบายและแผนระดับชาติ
ซึ่งองค์การมหาชนเลือกจากรายการตัวชี้วัด (KPIs Basket) ที่สำนักงาน ก.พ.ร.จัดทำขึ้น โดยไม่จำกัดจำนวนตัวชี้วัด ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่มีลักษณะ ดังนี้
• ตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13แผนการปฏิรูปประเทศ แผนบูรณาการ และแผนระดับชาติอื่น ๆ
• ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งขององค์การมหาชน
• ตัวชี้วัดต่อเนื่องที่มีความสำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565(เป็นภารกิจหลักหรือได้รับงบประมาณสูง)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดมาตรฐานสากล (International KPIs) (ถ้ามี)
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดร่วม (Joint KPIs) ของส่วนราชการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 Agenda (บังคับ) และหน่วยอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการ สสปน. ระยะ 5 ปี และใช้ผลงานจริงในปี 2565 เป็นฐานในการกำหนดเป้าหมาย โดยอ้างอิงอัตราการขยายเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ และเป้าหมายการให้บริการ สสปน. ตาม พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ร้อยละ 5

- จำนวนรายได้จากการใช้จ่ายของนักเดินทางกลุ่มไมซ์ในประเทศไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ต.ค. 2565 – ก.ย. 2566) ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้
(1) การประชุม สัมมนา หรืออบรม (Meeting) (2) การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentive)  (3) การประชุมสมาคมและองค์กรภาครัฐ (Convention) (4) งานแสดงสินค้า (Exhibition)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ค่าใช้จ่ายนักเดินทางไมซ์ที่เข้าร่วมกิจกรรมไมซ์ในประเทศ 52,960.98 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

มุ่งต่อยอดการพัฒนา MICE Intelligence Center จากปี 2565 โดยผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก Data Intelligence ที่รวบรวม วิเคราะห์และจัดทำเพื่อเผยแพร่ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการไมซ์ และส่งเสริมให้เกิดการใช้ข้อมูลและสารสนเทศเชิงลึก เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไมซ์ มุ่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และขยายฐานลูกค้าในการใช้งาน MICE Intelligence Center

- พิจารณาจากจำนวนผู้ใช้งาน (Page Views) ผ่านเว็บไซต์ www.businesseventsthailand.com ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยใช้ Google Analytic ในการวัดปริมาณผู้เข้าเยี่ยมเว็บไซต์ ทั้งนี้ ไม่นับซ้ำผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา (ไม่นับสะสม)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จในการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศ 3,951,515 (page views)
มีรายงานแผนการปรับปรุงงานบริการด้านข้อมูลไมซ์ตามข้อคิดเห็นของผู้ใช้งาน ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย คือ

(1) จำนวนสถานประกอบการได้รับมาตรฐาน TMVS

(2) จำนวนสถานประกอบการได้รับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและนวัตกรรมการจัดงานเสมือนจริง (Hygiene & Hybrid: 2HY)  (TMVS Plus)

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาจากจำนวนสถานที่จัดงานที่ได้รับมาตรฐานห้องประชุม  (TMVS: Thailand MICE Venue Standard) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คือ

- จำนวนสถานที่ที่ขอรับรองมาตรฐาน TMVS ประเภทห้องประชุม  - จำนวนสถานที่ที่ขอรับรองมาตรฐาน TMVS ประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้า

- จำนวนสถานที่ที่ขอรับรองมาตรฐาน TMVS ประเภทสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ

ทั้งนี้ ในการตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทยนั้น ทาง สสปน. ได้จัดจ้างสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ) สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมในการดำเนินงาน โดยมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย มีอายุของการรับรองระยะเวลา 3 ปี ซึ่งต้องมีการตรวจประเมินซ้ำทุก ๆ 3 ปี

- กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ ในการรายงานผล ขอให้แยกผลระหว่างองค์กรที่ต่ออายุ กับองค์กรที่เข้ารับการประเมินใหม่ และมีรายงานการกระจายสถานประกอบการ
ที่ได้รับตรา TMVS รายภูมิภาค (มุ่งเน้นเมืองไมซ์ซิตี้)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนสถานประกอบการได้รับมาตรฐาน TMVS 151 (แห่ง)
มีรายงานการกระจายสถานประกอบการที่ได้รับตรา TMVS รายภูมิภาค (มุ่งเน้นเมืองไมซ์ซิตี้) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

โครงการ 2HY ด้านสุขอนามัย (Hygiene) และนวัตกรรมการจัดงานเสมือนจริง (Hybrid) แก่สถานที่จัดงานที่ได้มาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย (TMVS)

วัตถุประสงค์โครงการ

•ยกระดับองค์ความรู้ 2HY ด้านสุขอนามัยและนวัตกรรมการจัดงานเสมือนจริง (Hygiene & Hybrid) แก่สถานที่จัดงานที่ได้มาตรฐานสถานที่จัดงานเตรียมความพร้อมประเทศไทย (TMVS)

•สร้างความมั่นใจด้านการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการสถานที่จัดงาน

•เสริมสร้างมาตรฐานของผู้ประกอบการไมซ์ในการป้องกันไวรัส COVID-19

•เตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการไมซ์ในการปรับรูปแบบการขาย Package การจัดงานเพื่อตอบสนองธุรกิจไมซ์แบบวิถีปกติใหม่

คุณสมบัติ

- ผู้ร่วมโครงการต้องเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ผ่านการรับรองมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย (TMVS) เท่านั้น (อยู่ในอายุการรับรอง) ในพื้นที่ทั่วประเทศ

- ผู้ประกอบการมีการวางแผนการดำเนินการป้องกัน และคัดกรองไวรัส COVID-19 หลัง COVID-19 อย่างต่อเนื่อง  ในกรอบมาตรฐานเดียวกัน และ ประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง และความพร้อมในการให้บริการการจัดประชุมทางออนไลน์

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนสถานประกอบการได้รับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและนวัตกรรมการจัดงานเสมือนจริง (Hygiene & Hybrid: 2HY) (TMVS Plus) 23 (แห่ง)

รายละเอียดตัวชี้วัด

เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมไมซ์ โดยมีการเลื่อน/ยกเลิกการจัดงานไมซ์ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ดังนั้น สสปน. จึงขอปรับเกณฑ์การวัดจากเดิม ที่มุ่งประเมินความสำเร็จในการดึงงานไมซ์หรือการสร้างงานใหม่ในประเทศไทย (Won Bid) มาเป็น การยื่นประมูลสิทธิ์ ดึงงานหรือสร้างงานไมซ์ใหม่ ในประเทศไทย (BID SUBMIT) ผ่านกิจกรรม Meeting and Incentive, Convention, Exhibition และ Mega & Special Events ทั้งนี้ สสปน. มีความมุ่งมั่นที่จะแสดงศักยภาพความพร้อมด้านต่าง ๆ ของประเทศในฐานะจุดหมายปลายทางในการจัดกิจกรรมไมซ์ โดยเฉพาะความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย/การจัดการด้านสาธารณสุข เพื่อให้เกิดการกิจกรรมไมซ์ในประเทศไทยในอนาคต

โดยพิจารณาจากจำนวนงานที่ สสปน. เสนอยื่นประมูลสิทธิ์ ดึงงานหรือสร้างงานไมซ์ใหม่ ในประเทศไทย ผ่านกิจกรรม ดังนี้

- อุตสาหกรรม  Meeting  and Incentive คือ การดึงงานประชุมหรือการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลขนาดใหญ่

- อุตสาหกรรม  Convention คือ การชนะงานประมูลสิทธิ์หรือดึงงานการประชุมนานาชาติ

- อุตสาหกรรม  Exhibition คือ การสร้างงานใหม่หรือการดึงงานประเภทนิทรรศการและงานแสดงสินค้า

- Mega & Special Events คือ การดึงงานหรือสร้างงานมหกรรมนานาชาติในประเทศไทย

โดยงานทั้งหมดต้องเสนอยื่นประมูลสิทธิ์อย่างเป็นทางการและหน่วยงานนานาชาติพิจารณาและคัดเลือกประเทศที่เข้ารอบ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ต.ค. 2565 – ก.ย. 2566)

- มุ่งประมูลสิทธิ์งานไมซ์ระดับโลก หรืองานขนาดใหญ่ ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนงานที่ยื่นประมูลสิทธิ์ ดึงงานหรือสร้างงานไมซ์ใหม่ในประเทศไทย (BID SUBMIT) 80 (งาน)
มีรายงานการกระจายการยื่นประมูลสิทธิ์ ดึงงานหรือสร้างงานไมซ์ใหม่ไปยังส่วนภูมิภาค ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประเมินการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายสำคัญที่มุ่งผลักดันให้อุตสาหกรรมไมซ์เป็นกลไกกระจายรายได้สู่ภูมิภาคผ่านความร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมไมซ์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการความพร้อมด้านต่าง ๆ ในการผลักดันให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคด้วยกิจกรรมไมซ์ผ่านโครงการ Empower Thailand Exhibition (EMTEX) ร่วมกับ 11 หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพิ่มบทบาท สสปน. ในการยกระดับการจัดงานไมซ์ในภูมิภาคร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เช่น การยกระดับ Contractor บุคลากร เมือง สถานที่จัดงาน ฯลฯ และรวมถึงมาตรการด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ที่ได้รับมาตรฐาน และการสนับสนุนแฟลตฟอร์มการจัดงาน/รูปแบบการจัดงานวิถึใหม่ (New Normal) มากยิ่งขึ้น รวมถึงอำนวยความสะดวกในการยกระดับการจัดงานให้มีการเจรจาการค้า (B2B)

โครงการ EMTEX เริ่มในปี 2561 และเป็นนโยบายที่จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยในแผนยุทธศาสตร์ สสปน. 2566 – 2570 ยังคงกำหนดให้ EMTEX เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าของประเทศไทย เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ และกระจายรายได้สู่ภูมิภาค

- พิจารณาจากจำนวนงานที่มีการจัดงานแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2566 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนงานที่มีการยกระดับมาตรฐานการจัดงานไมซ์และการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค ผ่านงาน EMTEX 7 (งาน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- ภายหลังจากการฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในปี 2566 – 2570 สสปน. มุ่งเน้นยกระดับความสามารถในการแข่งขันและสนับสนุนการขยายตัวของจุดหมายปลายทาง โดยการสร้างภาพลักษณ์เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและสร้างประสบการณ์แก่นักเดินทางไมซ์ และประชาสัมพันธ์ประเทศไทย ในฐานะจุดหมายปลายทางการจัดกิจกรรมไมซ์ ผ่านแคมเปญการสื่อสารต่างๆ เช่น Thailand MICE Magic, Thailand MICE to Meet You เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดึงงานไมซ์มาจัดในประเทศไทย สร้างความเจริญ และกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาคด้วยกิจกรรมไมซ์

- จากวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก จากมุมมองของผู้จัดงาน ผู้เข้าร่วมงาน และนักเดินทางธุรกิจชาวต่างชาติ พบว่า อุตสาหกรรมไมซ์ในเอเชียมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วงชิงโอกาสในการเป็นเจ้าภาพการจัดกิจกรรมไมซ์ โดยมุ่งหวังที่จะใช้กิจกรรมไมซ์เป็นกลไกหลักในการสร้างรายได้เข้าประเทศ

- การสำรวจอันดับของประเทศไทยในการเป็นจุดหมายปลายทางของการจัดกิจกรรมไมซ์ (Top of Mind) โดยบุคคลภายนอก จะเป็นเครื่องมือในการสำรวจภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของผู้จัดงาน (ต่างประเทศ) ต่อประเทศไทย ในด้านต่างๆ เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งสำคัญๆ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ จีน ฮ่องกง มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย เป็นต้น ทั้งนี้ ผลที่ได้จากการสำรวจ สสปน. จะนำไปพัฒนา/ปรับปรุงต่อไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อันดับของประเทศไทยในการเป็นจุดหมายปลายทางของการจัดกิจกรรมไมซ์ (Top of Mind) 1 (อันดับ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงาน
(เช่น ความสามารถในการหารายได้เพื่อลดงบประมาณภาครัฐ อัตราส่วนของ
รายได้ของการหารายได้จากต้นทุนคงที่)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- มุ่งผลักดันให้องค์การมหาชนใช้ทรัพยากรหรืองานบริการหลักในการจัดหารายได้นอกงบประมาณ เพื่อลดภาระงบประมาณภาครัฐ อนึ่ง ในปี 2563 – 2564 อุตสาหกรรมไมซ์ และ สสปน. ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด -19 ดังนั้น สสปน. จำเป็นจะต้องให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประกอบการไมซ์ให้เกิดการพัฒนาบุคลากร และกระตุ้นกิจกรรมการตลาดต่างๆ ด้วยการยกเว้นการให้ส่วนลดค่าบริการต่างๆ ที่ สสปน. จัดขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อความสามารถในการหารายได้ของ สสปน.

- พิจารณาจากรายได้จากการจัดอบรมสัมมนา และรายได้ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานกิจกรรมการตลาดและการให้บริการต่างๆ เป็นต้น โดยไม่รวมดอกเบี้ย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสามารถทางการหารายได้เพื่อลดภาระงบประมาณภาครัฐ 6.36 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดความคุ้มค่าในการดำเนินงาน
• การจัดทำห่วงโซ่ผลการดำเนินงาน (Result Chain: RC)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
เป้าหมายขั้นต้น ผ่าน
ค่าเป้าหมายมาตรฐาน ผ่าน
ค่าเป้าหมายขั้นสูง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ

•คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด

•ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ

•ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

•คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์

แนวทางการประเมิน 

1)องค์การมหาชนต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)

2)องค์การมหาชนต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง

3)ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด

4)ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป

5)กำหนดให้องค์การมหาชน มีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด

6)ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือองค์การมหาชนสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้

7)การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  /การมี dashboard จากชุดข้อมูล

ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์

1)แผนระดับ 2 (แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ) และ แผนระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน

•ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

•ผลการดำเนินงานตามแผนที่เกี่ยวข้อง

2)ชุดข้อมูลสนับสนุนการให้บริการประชาชน (e-Service)

3)ดัชนี/ตัวชี้วัดระดับสากล

4)สถิติทางการ (21 สาขา)

5)การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลหรือ มติ ครม.

6)ภารกิจหลักของหน่วยงาน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

 การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กลุ่มที่ 1 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2565 ต่ำกว่า 350 คะแนน กลุ่มที่ 2 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 350 - 399 คะแนน กลุ่มที่ 3 องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป 460.21 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน (ตัวชี้วัดบังคับ)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุม ดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน 100.00 (คะแนน)