รายงานผลการประเมิน

นครปฐม

/ กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
83.9373
สรุปผลการประเมิน

รายละเอียดตัวชี้วัด

Thai People Map and Analytic Platform : TPMAP ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า คือ ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนตลอดทุกช่วงวัย และการแก้ไขปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำแบบชี้เป้า เป็นระบบที่ใช้ระบุปัญหาความยากจนรายประเด็น ในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น/ท้องที่ จังหวัด และประเทศ

ระบบ TPMAP ใช้วิธีการคำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ (Multidimensional Poverty Index : MPI) คือ ผู้ที่มีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชีวิตที่ดี 5 มิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ ด้านความเป็นอยู่ และด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

2.1 ความสำเร็จของการจัดการหมอกควันและไฟป่า (Hotspots)

2.2 คุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักอยู่ในเกณฑ์ดีเพิ่มขึ้น

2.3 รายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

2.4 รายได้จากการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของแม่น้ำสายหลักในจังหวัด เฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) 

ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) การประเมินผลลัพธ์ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ ได้แก่

1) ออกซิเจนละลายน้ำ : DO 

2) ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ : BOD

3) การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด : TCB 

4) การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มทั้งหมด : FCB 

5) แอมโมเนีย : NH3-N

ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ มีหน่วยเป็นคะแนน เริ่มจาก 0 ถึง 100 คะแนน ดังนี้

91 - 100 คะแนน             คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก

71 - 90   คะแนน             คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี

61 - 70   คะแนน             คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้

31 - 60   คะแนน             คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม

 0  - 30   คะแนน            คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักอยู่ในเกณฑ์ดีเพิ่มขึ้น

รายละเอียดตัวชี้วัด

•    พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) 
ของแม่น้ำสายหลักในจังหวัด เฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)  
•    ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) การประเมินผลลัพธ์ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ ได้แก่ 
1) ออกซิเจนละลายน้ำ : DO  
2) ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ : BOD 
3) การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด : TCB  
4) การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มทั้งหมด : FCB  
5) แอมโมเนีย : NH3-N
•    ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ มีหน่วยเป็นคะแนน เริ่มจาก 0 ถึง 100 คะแนน ดังนี้ 
91 - 100 คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
71 - 90   คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี 
61 - 70   คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ 
31 - 60   คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม
 0  - 30   คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
แม่น้ำท่าจีนตอนกลาง 57.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•    พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) 
ของแม่น้ำสายหลักในจังหวัด เฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)  
•    ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) การประเมินผลลัพธ์ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ ได้แก่ 
1) ออกซิเจนละลายน้ำ : DO  
2) ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ : BOD 
3) การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด : TCB  
4) การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มทั้งหมด : FCB  
5) แอมโมเนีย : NH3-N
•    ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ มีหน่วยเป็นคะแนน เริ่มจาก 0 ถึง 100 คะแนน ดังนี้ 
91 - 100 คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
71 - 90   คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี 
61 - 70   คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ 
31 - 60   คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม
 0  - 30   คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
แม่น้ำท่าจีนตอนบน 58.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด :  ความสำเร็จในการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

(1)   รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP)

(2)   ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) โดยผ่านช่องทางออนไลน์

(3)   ร้อยละของจำนวนใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จในการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

รายละเอียดตัวชี้วัด

รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ประเมินจากรายได้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์
หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (1 ตุลาคม 2565-30 กันยายน 2566) ของจังหวัด

เกณฑ์การประเมิน : (อ้างอิงจากข้อมูลผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของจังหวัด)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) 21,075.51 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาจากรายได้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566 (1 ตุลาคม 2565-30 กันยายน 2566) โดยผ่านช่องทางออนไลน์ (ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์) เปรียบเทียบกับรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โดยผ่านช่องทางออนไลน์ (ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565)

ตลาดออนไลน์ คือ การทำการตลาดในสื่อออนไลน์ เพื่อเผยแพร่หรือโฆษณาให้ผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นที่รู้จัก ตลอดจนการซื้อการขาย ซึ่งทำการตลาดในสื่อออนไลน์ เช่น โฆษณา Facebook โฆษณา line โฆษณา Google โฆษณา Youtube โฆษณา Instagram เว็บไซต์ หรือผ่านแฟลตฟอร์มอื่น เป็นต้น

ขอบเขตการประเมิน  ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่จำหน่ายในแพลตฟอร์ม หรือสื่อออนไลน์

สูตรคำนวณ : (รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ผ่านช่องทางออนไลน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566–รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ผ่านช่องทางออนไลน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565)/

รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ผ่านช่องทางออนไลน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 x 100

เกณฑ์การประเมิน :  (กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดค่าเป้าหมาย)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) โดยผ่านช่องทางออนไลน์ 15.80 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

วัดผลสำเร็จจากจำนวนคำขอที่ยื่นขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และได้รับใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เทียบกับจำนวนคำขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ทั้งหมดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

การให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และคงรักษาไว้ซึ่งคุณภาพ เพื่อให้สินค้า OTOP เป็นที่ยอมรับ และเพิ่มความน่าเชื่อถือแก่ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ

จำนวนคำขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ทั้งหมด เป็นจำนวนคำขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป้าหมายตามแผนการดำเนินงานที่ได้รับการจัดสรรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

สูตรคำนวณ : (จำนวนใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) / (จำนวนคำขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ทั้งหมด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) x 100

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของจำนวนใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ของจังหวัด 86.27 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

แปลงใหญ่ หมายถึง การรวมกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นแปลงที่อยู่ติดกันเป็นผืนเดียว แต่ควรอยู่ภายในชุมชนที่ใกล้เคียงกัน สินค้าควรเป็นสินค้าหลักของเกษตรกร พื้นที่มีความเหมาะสม มีศักยภาพที่จะพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจ และสามารถบริหารจัดการได้ เกษตรกรสมัครใจรวมกลุ่มและเข้าร่วมดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และเป้าหมายของแปลงใหญ่ พร้อมที่จะพัฒนาการผลิตและการตลาดร่วมกัน และต้องมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการพัฒนา

วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและบริหารจัดการร่วมกันในด้านการผลิตและการตลาด สามารถลดต้นทุนการผลิต มีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน ภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

หลักเกณฑ์ในการรวมกลุ่ม :

1) พืชไร่ ปาล์มน้ำมัน มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 300 ไร่ และเกษตรกรสมัครใจเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 30 ราย

2) ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพร หรือพืชอื่น ๆ มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 300 ไร่ หรือเกษตรกรสมัครใจเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 30 ราย

3) ประมง ปศุสัตว์ ผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ มีเกษตรกรสมัครใจเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 30 ราย หรือมีจำนวนมีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 300 ไร่ หรือจำนวนสัตว์ไม่น้อยกว่า 300 หน่วย โดยคิดจำนวนหน่วยตามชนิดสินค้า ดังนี้

- โค 1 ตัว                              เท่ากับ     0.65   หน่วย

- กระบือ 1 ตัว                       เท่ากับ     0.70   หน่วย

- แพะ แกะ 1 ตัว                    เท่ากับ     0.10   หน่วย

- สุกร 1 ตัว                           เท่ากับ     0.40   หน่วย

- สัตว์ปีก 1 ตัว                       เท่ากับ     0.01   หน่วย

- ผึ้งพันธุ์/ผึ้งโพรง/ชันโรง 1 รัง   เท่ากับ     0.60   หน่วย

- จิ้งหรีด 1 บ่อ                       เท่ากับ     0.60   หน่วย

ขอบเขตการประเมิน : แปลงใหญ่ส่งเสริมปี 2564 ที่อยู่ภายใต้โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และได้รับจัดสรรงบประมาณตามจำนวนที่กำหนด

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ หมายถึง มีต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการ ได้รับรองมาตรฐานการผลิต และราคาผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับแปลงก่อนเข้าร่วมโครงการ

ร้อยละของต้นทุนการผลิตที่ลดลง หมายถึง ร้อยละของต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลงจากการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ (เฉลี่ยทุกแปลง) เมื่อเทียบกับร้อยละของต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรจากการทำการเกษตรก่อนร่วมโครงการฯ (เฉลี่ยทุกแปลง)

ร้อยละของผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น หมายถึง ร้อยละของปริมาณผลผลิตเฉลี่ยของสินค้าเกษตรต่อพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (เฉลี่ยทุกแปลง)เมื่อเทียบกับปริมาณผลผลิตเฉลี่ยของสินค้าเกษตรต่อพื้นที่จากการทำการเกษตรก่อนเข้าร่วมโครงการฯ (เฉลี่ยทุกแปลง)

ร้อยละของแปลงที่ได้ราคาผลผลิตเพิ่มขึ้น หมายถึง ร้อยละของราคาผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (เฉลี่ยทุกแปลง) เมื่อเทียบกับราคาผลผลิตสินค้าเกษตรจากราคาทั่วไปของจังหวัด

ร้อยละของแปลงใหญ่ที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต หมายถึง จำนวนแปลงใหญ่ที่อยู่ภายใต้การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนให้เข้าสู่การตรวจสอบรับรองคุณภาพมาตรฐาน (ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานของส่วนราชการของแต่ละกรมที่รับผิดชอบ)

คำอธิบาย (เพิ่มเติม)  ร้อยละของแปลงใหญ่ที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต

1) เฉพาะแปลง/สินค้าที่สามารถเข้าสู่ระบบรับรองได้ตามหลักเกณฑ์ของราชการ

2) เนื่องจากการตรวจรับรองมาตรฐานขึ้นอยู่กับความพร้อมของเกษตรกร ร้อยละของการรับรองมาตรฐานจึงประเมินจากจำนวนเกษตรกรที่สมัครเข้ารับการตรวจเทียบกับเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน

3) ระบบการรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต เช่น มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มาตรฐาน GAP GFM ฟาร์มปลอดโรค จากหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการรับรองมาตรฐานนั้น ๆ

4) แปลงของเกษตรกรที่สามารถตรวจรับรองได้ ได้แก่

- แปลงที่มีเอกสารสิทธิ์ และ

- เป็นสินค้าที่สามารถตรวจรับรองมาตรฐานได้

5) จำแนกชนิดสินค้าในแปลงใหญ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

-   กลุ่มที่ 1 สินค้าเกษตรที่ไม่สมัครตรวจรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน และยางพารา เป็นต้น

-   กลุ่มที่ 2 สินค้าเกษตรที่สมัครตรวจรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต ได้แก่ พืชผัก ไม้ผล ข้าว พืชอาหาร สินค้าประมง และสินค้าปศุสัตว์ เป็นต้น

6)  ไม่นับแปลงเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการตรวจประเมิน และแปลงเกษตรกรที่ขอยกเลิกการตรวจประเมิน เพื่อนำมาคำนวณ

เกณฑ์การประเมิน : (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดค่าเป้าหมาย)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่

รายละเอียดตัวชี้วัด

มะม่วง

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มะม่วง

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละของต้นทุนการผลิตที่ลดลง หมายถึง ร้อยละของต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลงจากการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ (เฉลี่ยทุกแปลง) เมื่อเทียบกับร้อยละของต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรจากการทำการเกษตรก่อนร่วมโครงการฯ (เฉลี่ยทุกแปลง)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของต้นทุนการผลิตที่ลดลง-มะม่วง 11.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละของผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น หมายถึง ร้อยละของปริมาณผลผลิตเฉลี่ยของสินค้าเกษตรต่อพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (เฉลี่ยทุกแปลง)เมื่อเทียบกับปริมาณผลผลิตเฉลี่ยของสินค้าเกษตรต่อพื้นที่จากการทำการเกษตรก่อนเข้าร่วมโครงการฯ (เฉลี่ยทุกแปลง)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น-มะม่วง 15.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละของแปลงที่ได้ราคาผลผลิตเพิ่มขึ้น หมายถึง ร้อยละของราคาผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (เฉลี่ยทุกแปลง) เมื่อเทียบกับราคาผลผลิตสินค้าเกษตรจากราคาทั่วไปของจังหวัด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของแปลงที่ได้ราคาผลผลิตเพิ่มขึ้น-มะม่วง 16.67 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละของแปลงใหญ่ที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต หมายถึง จำนวนแปลงใหญ่ที่อยู่ภายใต้การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนให้เข้าสู่การตรวจสอบรับรองคุณภาพมาตรฐาน (ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานของส่วนราชการของแต่ละกรมที่รับผิดชอบ)

คำอธิบาย (เพิ่มเติม)  ร้อยละของแปลงใหญ่ที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต

1) เฉพาะแปลง/สินค้าที่สามารถเข้าสู่ระบบรับรองได้ตามหลักเกณฑ์ของราชการ

2) เนื่องจากการตรวจรับรองมาตรฐานขึ้นอยู่กับความพร้อมของเกษตรกร ร้อยละของการรับรองมาตรฐานจึงประเมินจากจำนวนเกษตรกรที่สมัครเข้ารับการตรวจเทียบกับเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน

3) ระบบการรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต เช่น มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มาตรฐาน GAP GFM ฟาร์มปลอดโรค จากหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการรับรองมาตรฐานนั้น ๆ

4) แปลงของเกษตรกรที่สามารถตรวจรับรองได้ ได้แก่

- แปลงที่มีเอกสารสิทธิ์ และ

- เป็นสินค้าที่สามารถตรวจรับรองมาตรฐานได้

5) จำแนกชนิดสินค้าในแปลงใหญ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

-   กลุ่มที่ 1 สินค้าเกษตรที่ไม่สมัครตรวจรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน และยางพารา เป็นต้น

-   กลุ่มที่ 2 สินค้าเกษตรที่สมัครตรวจรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต ได้แก่ พืชผัก ไม้ผล ข้าว พืชอาหาร สินค้าประมง และสินค้าปศุสัตว์ เป็นต้น

6)  ไม่นับแปลงเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการตรวจประเมิน และแปลงเกษตรกรที่ขอยกเลิกการตรวจประเมิน เพื่อนำมาคำนวณ

เกณฑ์การประเมิน : (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดค่าเป้าหมาย)

แหล่งข้อมูล : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของแปลงใหญ่ที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต-มะม่วง 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

พืชผัก

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
พืชผัก

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละของต้นทุนการผลิตที่ลดลง หมายถึง ร้อยละของต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลงจากการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ (เฉลี่ยทุกแปลง) เมื่อเทียบกับร้อยละของต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรจากการทำการเกษตรก่อนร่วมโครงการฯ (เฉลี่ยทุกแปลง)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของต้นทุนการผลิตที่ลดลง-พืชผัก 12.49 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละของผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น หมายถึง ร้อยละของปริมาณผลผลิตเฉลี่ยของสินค้าเกษตรต่อพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (เฉลี่ยทุกแปลง)เมื่อเทียบกับปริมาณผลผลิตเฉลี่ยของสินค้าเกษตรต่อพื้นที่จากการทำการเกษตรก่อนเข้าร่วมโครงการฯ (เฉลี่ยทุกแปลง)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น-พืชผัก 18.79 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละของแปลงที่ได้ราคาผลผลิตเพิ่มขึ้น หมายถึง ร้อยละของราคาผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (เฉลี่ยทุกแปลง) เมื่อเทียบกับราคาผลผลิตสินค้าเกษตรจากราคาทั่วไปของจังหวัด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของแปลงที่ได้ราคาผลผลิตเพิ่มขึ้น-พืชผัก 10.53 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ร้อยละของแปลงใหญ่ที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต-พืชผัก

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของแปลงใหญ่ที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต-พืชผัก 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

1.อัตราคดีกลุ่มที่ 1 ต่อประชากรแสนคน

2.อัตราคดีกลุ่มที่ 2 ต่อประชากรแสนคน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาจากอัตราส่วนจำนวนคดีแต่ละกลุ่มที่รับแจ้งความร้องทุกข์ไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
(1 ตุลาคม 2565-30 กันยายน 2566) เปรียบเทียบกับจำนวนประชากรในจังหวัดต่อประชากร
แสนคน หรือเรียกว่า อัตราส่วนอาชญากรรม (Crime Rate)

กำหนดกลุ่มอาชญากรรมที่จะต้องคำนวณอัตราส่วนอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน 2 กลุ่ม      ได้แก่

-   กลุ่มที่ 1 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ นับจำนวนคดีฆ่าผู้อื่น (อุกฉกรรจ์) คดีทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีพยายามฆ่า คดีทำร้ายร่างกาย คดีข่มขืนกระทำชำเรา และคดีอื่น ๆ (ได้แก่ คดีฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา คดีประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีอนาจารต่าง ๆ เป็นต้น)

    (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 1 ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ)

-   กลุ่มที่ 2 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ นับจำนวนคดีปล้นทรัพย์ (อุกฉกรรจ์)
คดีชิงทรัพย์ คดีวิ่งราวทรัพย์ คดีลักทรัพย์ คดีกรรโชกทรัพย์ คดีฉ้อโกง คดียักยอกทรัพย์
คดีทำให้เสียทรัพย์ คดีรับของโจร คดีลักพาเรียกค่าไถ่ คดีวางเพลิง และคดีอื่น ๆ

    (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 2 ฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์)

จำนวนประชากรของจังหวัดใช้ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565

สูตรคำนวณ :

- อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน คดีกลุ่มที่ 1 :

จำนวนคดีกลุ่มที่ 1 (ที่รับแจ้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 )/(จำนวนประชากรของจังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565) x 100,000

เกณฑ์การประเมิน : (สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดค่าเป้าหมาย)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อัตราคดีกลุ่มที่ 1 ต่อประชากรแสนคน 32.43 (อัตราต่อประชากรแสนคน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาจากอัตราส่วนจำนวนคดีแต่ละกลุ่มที่รับแจ้งความร้องทุกข์ไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
(1 ตุลาคม 2565-30 กันยายน 2566) เปรียบเทียบกับจำนวนประชากรในจังหวัดต่อประชากร
แสนคน หรือเรียกว่า อัตราส่วนอาชญากรรม (Crime Rate)

กำหนดกลุ่มอาชญากรรมที่จะต้องคำนวณอัตราส่วนอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน 2 กลุ่ม      ได้แก่

-   กลุ่มที่ 1 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ นับจำนวนคดีฆ่าผู้อื่น (อุกฉกรรจ์) คดีทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีพยายามฆ่า คดีทำร้ายร่างกาย คดีข่มขืนกระทำชำเรา และคดีอื่น ๆ (ได้แก่ คดีฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา คดีประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีอนาจารต่าง ๆ เป็นต้น)

    (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 1 ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ)

-   กลุ่มที่ 2 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ นับจำนวนคดีปล้นทรัพย์ (อุกฉกรรจ์)
คดีชิงทรัพย์ คดีวิ่งราวทรัพย์ คดีลักทรัพย์ คดีกรรโชกทรัพย์ คดีฉ้อโกง คดียักยอกทรัพย์
คดีทำให้เสียทรัพย์ คดีรับของโจร คดีลักพาเรียกค่าไถ่ คดีวางเพลิง และคดีอื่น ๆ

    (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 2 ฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์)

จำนวนประชากรของจังหวัดใช้ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565

สูตรคำนวณ : 

- อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน คดีกลุ่มที่ 2 :(จำนวนคดีกลุ่มที่ 2 ที่รับแจ้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)/(จำนวนประชากรของจังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565) x 100,000

เกณฑ์การประเมิน : (สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดค่าเป้าหมาย)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อัตราคดีกลุ่มที่ 2 ต่อประชากรแสนคน 99.25 (อัตราต่อประชากรแสนคน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

1.   การพัฒนาระบบข้อมูลให้เป็นดิจิทัล (Digitized Data) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)
2.   ร้อยละความพึงพอใจต่อการให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- ประเด็นการพัฒนาจังหวัด หมายถึง ประเด็นการพัฒนาที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด(พ.ศ. 2566-2570) โดยให้จังหวัดคัดเลือกประเด็นการพัฒนาที่มีความสำคัญ 2 ประเด็น

- แผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัด เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลสถิติที่สำคัญและจำเป็นต่อการบริหารงานยุทธศาสตร์จังหวัด เพื่อให้เชื่อมโยงกับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาระดับต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพสถิติทางการว่ามีรายการใดบ้าง และหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ

- ชุดข้อมูล  หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุด ให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล

- ข้อกำหนดการวิเคราะห์ชุดข้อมูล หมายถึง เอกสารที่แสดงการวิเคราะห์ชุดข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพปัญหาที่ต้องการพัฒนาในจังหวัด เป้าหมาย และหมุดหมายตามการพัฒนาของจังหวัด แนวทางการพัฒนาจังหวัด การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า การวิเคราะห์กระบวนงานและ
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  การกำหนดชุดข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนา การระบุหน่วยงานเจ้าของข้อมูล และแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล

- คำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องทั้งกระบวนการเชิงธุรกิจ (ในที่นี้หมายถึง กระบวนการทำงานตามภารกิจของหน่วยงาน) และเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎและข้อจำกัดของข้อมูล และโครงสร้างของข้อมูลเมทาดาตาช่วยให้หน่วยงานสามารถเข้าใจข้อมูล ระบบ และขั้นตอนการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

- คำอธิบายชุดข้อมูลประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการ สำหรับ 1 ชุดข้อมูล
ที่หน่วยงานต้องจัดทำและระบุรายละเอียด ได้แก่ ประเภทข้อมูล ชื่อชุดข้อมูล องค์กร ชื่อผู้ติดต่อ อีเมลผู้ติดต่อ คำสำคัญ รายละเอียด วัตถุประสงค์ หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ แหล่งที่มา รูปแบบการเก็บข้อมูล หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และสัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล

- บัญชีข้อมูล (Data Catalog) หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูลที่จำแนกแยกแยะ โดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ

- ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน (Agency Data Catalog) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ทำหน้าที่บริหารจัดการ รวมถึงให้บริการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น การจัดการชุดข้อมูล การจัดการคำอธิบายชุดข้อมูล การค้นหาชุดข้อมูล และบริการ API ที่เป็นเสมือนบัญชีข้อมูลดิจิทัลของหน่วยงาน และผ่านความเห็นชอบจากนายทะเบียนบัญชีข้อมูลหน่วยงาน เพื่อนำเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน สำหรับให้บริการแก่บุคลากรในหน่วยงานในการวางแผน ปฏิบัติงาน ติดตาม และประเมินผล รวมถึงหน่วยงานภายนอกและประชาชนตามสิทธิ์ที่หน่วยงานกำหนด โดยที่การจัดทำบัญชีข้อมูลหน่วยงานควรสอดคล้องตามแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้สามารถลงทะเบียนและให้บริการบัญชีข้อมูลภาครัฐของประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน

- ระบบบัญชีข้อมูลพื้นที่ (Area Data Catalog) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ทำหน้าที่บริหารจัดการ รวมถึงให้บริการบัญชีข้อมูลของหน่วยงานในระดับพื้นที่ เช่น ระบบบัญชีข้อมูลจังหวัด ระบบบัญชีข้อมูลองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระบบบัญชีข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น

- ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) หมายถึง ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลภาครัฐมารวบรวมและจัดหมวดหมู่ รวมถึงระบบนามานุกรม (directory Services) ที่ให้บริการสืบค้นบัญชีรายการข้อมูลภาครัฐ เสมือนบัญชีข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์การบรูณาการข้อมูลร่วมกัน รองรับการให้บริการการสืบค้น และการเข้าถึงบัญชีข้อมูลหน่วยงานภาครัฐที่เผยแพร่เป็นสาธารณะ

- ระบบลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog Registration System) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมรายการข้อมูลสำคัญ เมทาดาตา และทรัพยากร (Resource) หรือข้อมูลผ่าน API จากบัญชีข้อมูลหน่วยงานมาจัดเก็บไว้ที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ และทำหน้าที่ติดตามการมีอยู่ การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง (Update) รายการข้อมูลและเมทาดาตา รวมถึงการอ้างอิงทรัพยากร (Resource) กับบัญชีข้อมูลที่หน่วยงานต้นทางให้ถูกต้องและทันสมัย

- ข้อมูลดิจิทัล  หมายถึง ข้อมูลที่ได้จัดทำ จัดเก็บ จำแนกหมวดหมู่ ประมวลผล ใช้ ปกปิด เปิดเผย ตรวจสอบ ทำลาย ด้วยเครื่องมือหรือวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัล

- Data Visualization คือ การนำเสนอหรือการแสดงข้อมูลเชิงปริมาณให้อยู่ในรูปแบบกราฟิก
ที่ทำให้ผู้พบเห็นจำได้และเข้าใจง่ายขึ้น อีกทั้งเป็นการนำข้อมูลในเชิงวิชาการหรือเชิงวิจัยมาแปลงเป็นรูปที่เข้าใจง่าย โดยผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลมาแล้ว องค์ประกอบหลักของ Data Visualization คือ การรวบรวมข้อมูล (Integrate) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) และการแปลงข้อมูลให้เป็นภาพ
ที่เข้าใจง่าย (Visualize)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1.เอกสารข้อกำหนดการวิเคราะห์ชุดข้อมูลที่ตอบโจทย์ประเด็นการพัฒนาจังหวัด 2 ประเด็น ได้รับความเห็นชอบผ่านกลไกคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด (ขั้นต้น) ผ่าน
2. นำชุดข้อมูล (Template 1) คำอธิบายข้อมูล (Template 2) ขึ้นบนระบบบัญชีข้อมูลจังหวัด ทั้ง 2 ประเด็นการพัฒนา (ขั้นมาตรฐาน) ผ่าน
3. ชุดข้อมูลในหมวดหมู่สาธารณะ ร้อยละ 100 (Template 3) ต้องอ้างอิงหรือชี้ไปยังแหล่งข้อมูลต้นทางที่เป็นข้อมูลดิจิทัล ทั้ง 2 ประเด็นการพัฒนา (ขั้นมาตรฐาน) ผ่าน
4. ชุดข้อมูลในหมวดหมู่สาธารณะ ร้อยละ 100 ได้รับการลงทะเบียนในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) ทั้ง 2 ประเด็นการพัฒนา (ขั้นสูง) ผ่าน
5. สรุปผลการวิเคราะห์สารสนเทศในรูปแบบ Visualization เพื่อตอบโจทย์ประเด็นการพัฒนาจังหวัด ได้รับความเห็นชอบผ่านกลไกคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด ทั้ง 2 ประเด็นการพัฒนา (ขั้นสูง) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาความสำเร็จจากร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการ e-Service ณ ที่ว่าการอำเภอ/ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ในภาพรวมของจังหวัด

การให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ณ ที่ว่าการอำเภอ/ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ไม่มีความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีเจ้าหน้าที่ของอำเภอ/ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำปรึกษาในการรับบริการ  

จังหวัดต้องเปิดให้บริการ e-Service ครบทุกอำเภอ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566

ทุกอำเภอต้องเปิดให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) อย่างน้อย 20 งานบริการ ตามที่กระทรวงมหาดไทยโดยกรมการปกครองกำหนดและแจ้งอำเภอเพื่อเปิดให้บริการ ทั้งนี้ อำเภออาจนำงานบริการ e-Service อื่นมาเปิดให้บริการเพิ่มเติมด้วยก็ได้

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความพึงพอใจต่อการให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) 95.05 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถ
ในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงาน
ให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ย
ในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และหมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

เกณฑ์การประเมิน : (สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดค่าเป้าหมาย)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 412.95 (คะแนน)