รายงานผลการประเมิน

ปทุมธานี

/ กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
94.974
สรุปผลการประเมิน

รายละเอียดตัวชี้วัด

Thai People Map and Analytic Platform : TPMAP ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า คือ ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนตลอดทุกช่วงวัย และการแก้ไขปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำแบบชี้เป้า เป็นระบบที่ใช้ระบุปัญหาความยากจนรายประเด็น ในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น/ท้องที่ จังหวัด และประเทศ

ระบบ TPMAP ใช้วิธีการคำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ (Multidimensional Poverty Index : MPI) คือ ผู้ที่มีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชีวิตที่ดี 5 มิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ ด้านความเป็นอยู่ และด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

2.1 ความสำเร็จของการจัดการหมอกควันและไฟป่า (Hotspots)

2.2 คุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักอยู่ในเกณฑ์ดีเพิ่มขึ้น

2.3 รายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

2.4 รายได้จากการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของแม่น้ำสายหลักในจังหวัด เฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) 

ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) การประเมินผลลัพธ์ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ ได้แก่

1) ออกซิเจนละลายน้ำ : DO 

2) ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ : BOD

3) การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด : TCB 

4) การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มทั้งหมด : FCB 

5) แอมโมเนีย : NH3-N

ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ มีหน่วยเป็นคะแนน เริ่มจาก 0 ถึง 100 คะแนน ดังนี้

91 - 100 คะแนน             คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก

71 - 90   คะแนน             คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี

61 - 70   คะแนน             คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้

31 - 60   คะแนน             คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม

 0  - 30   คะแนน            คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักอยู่ในเกณฑ์ดีเพิ่มขึ้น

รายละเอียดตัวชี้วัด

•    พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) 
ของแม่น้ำสายหลักในจังหวัด เฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)  
•    ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) การประเมินผลลัพธ์ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ ได้แก่ 
1) ออกซิเจนละลายน้ำ : DO  
2) ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ : BOD 
3) การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด : TCB  
4) การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มทั้งหมด : FCB  
5) แอมโมเนีย : NH3-N
•    ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ มีหน่วยเป็นคะแนน เริ่มจาก 0 ถึง 100 คะแนน ดังนี้ 
91 - 100 คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
71 - 90   คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี 
61 - 70   คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ 
31 - 60   คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม
 0  - 30   คะแนน      คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
แม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง 64.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

การพัฒนาเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เป็นเครื่องมือหลักในการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนและอุตสาหกรรม และเป็นการดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์ประเทศที่มุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีความสมดุลอย่างยั่งยืน

แนวคิดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) เน้นการพัฒนาพื้นที่ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเหนี่ยวนำให้เศรษฐกิจชุมชนเติบโตไปด้วยกันภายใต้สภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กายภาพ และการบริหารจัดการในพื้นที่ให้เกิดความสมดุลในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายหลักของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยสร้างความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ทำให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเป็นสุขและยั่งยืน

เกณฑ์การประเมินความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ครอบคลุม 5 มิติ (มิติกายภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการ) โดยการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 การมีส่วนร่วม (Engagement) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการวางแผน ดำเนินการตามแผน ติดตามประเมินผล และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ระดับที่ 2 การส่งเสริม (Encourage) การส่งเสริมการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้รองรับต่อแผนการพัฒนาที่ร่วมกำหนดไว้ โรงงานอุตสาหกรรมและประชาชนในพื้นที่สร้างความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ตนเอง

ระดับที่ 3 ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร (Resource Efficiency)  โรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและพลังงานของให้คุ้มค่า จัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดและป้องกันมลพิษ เกิดความเชื่อมั่นความไว้วางใจให้กับชุมชน

ระดับที่ 4 การพึ่งพาอาศัย (Symbiosis) โรงงานอุตสาหกรรมมีการพึ่งพาอาศัยกัน รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมไปส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่  

ระดับที่ 5 เมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรม (Happiness) เมืองต้นแบบมีเศรษฐกิจดี สิ่งแวดล้อมดี สังคมมีความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความสุขและอยู่ร่วมกับอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน

เกณฑ์การประเมิน : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดค่าเป้าหมาย

แหล่งข้อมูล : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (ระยะที่ 1 และ 2)

รายละเอียดตัวชี้วัด

การพัฒนาเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เป็นเครื่องมือหลักในการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนและอุตสาหกรรม และเป็นการดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์ประเทศที่มุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีความสมดุลอย่างยั่งยืน

แนวคิดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) เน้นการพัฒนาพื้นที่ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเหนี่ยวนำให้เศรษฐกิจชุมชนเติบโตไปด้วยกันภายใต้สภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กายภาพ และการบริหารจัดการในพื้นที่ให้เกิดความสมดุลในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายหลักของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยสร้างความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ทำให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเป็นสุขและยั่งยืน

เกณฑ์การประเมินความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ครอบคลุม 5 มิติ (มิติกายภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการ) โดยการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ แบ่งออกเป็น
5 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 การมีส่วนร่วม (Engagement) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการวางแผน ดำเนินการตามแผน ติดตามประเมินผล และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ระดับที่ 2 การส่งเสริม (Encourage) การส่งเสริมการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้รองรับต่อแผนการพัฒนาที่ร่วมกำหนดไว้ โรงงานอุตสาหกรรมและประชาชนในพื้นที่สร้างความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ตนเอง

ระดับที่ 3 ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร (Resource Efficiency)  โรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและพลังงานของให้คุ้มค่า จัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดและป้องกันมลพิษ เกิดความเชื่อมั่นความไว้วางใจให้กับชุมชน

ระดับที่ 4 การพึ่งพาอาศัย (Symbiosis) โรงงานอุตสาหกรรมมีการพึ่งพาอาศัยกัน รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมไปส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่  

ระดับที่ 5 เมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรม (Happiness) เมืองต้นแบบมีเศรษฐกิจดี สิ่งแวดล้อมดี สังคมมีความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความสุขและอยู่ร่วมกับอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน

เกณฑ์การประเมิน : (กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดค่าเป้าหมาย)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1. จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พ.ศ. 2566-2570 มุ่งสู่ระดับที่ 5 ภายในปี 2570 (ขั้นต้น) ผ่าน
2. ดำเนินการตามค่าเป้าหมายขั้นต้น และเสนอแผนปฏิบัติการฯ ผ่านคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการและเห็นชอบบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัด (ขั้นมาตรฐาน) ผ่าน
3. ดำเนินการตามค่าเป้าหมายมาตรฐาน และมีการสื่อสารแผนปฏิบัติการฯ ให้หน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องรับทราบและร่วมมือในการพัฒนา มุ่งสู่ระดับที่ 5 ภายในปี 2570 (ขั้นสูง) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

การพัฒนาเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เป็นเครื่องมือหลักในการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนและอุตสาหกรรม และเป็นการดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์ประเทศที่มุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีความสมดุลอย่างยั่งยืน

แนวคิดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) เน้นการพัฒนาพื้นที่ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเหนี่ยวนำให้เศรษฐกิจชุมชนเติบโตไปด้วยกันภายใต้สภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กายภาพ และการบริหารจัดการในพื้นที่ให้เกิดความสมดุลในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายหลักของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยสร้างความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ทำให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเป็นสุขและยั่งยืน

เกณฑ์การประเมินความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ครอบคลุม 5 มิติ (มิติกายภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการ) โดยการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ แบ่งออกเป็น
5 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 การมีส่วนร่วม (Engagement) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการวางแผน ดำเนินการตามแผน ติดตามประเมินผล และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ระดับที่ 2 การส่งเสริม (Encourage) การส่งเสริมการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้รองรับต่อแผนการพัฒนาที่ร่วมกำหนดไว้ โรงงานอุตสาหกรรมและประชาชนในพื้นที่สร้างความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ตนเอง

ระดับที่ 3 ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร (Resource Efficiency)  โรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและพลังงานของให้คุ้มค่า จัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดและป้องกันมลพิษ เกิดความเชื่อมั่นความไว้วางใจให้กับชุมชน

ระดับที่ 4 การพึ่งพาอาศัย (Symbiosis) โรงงานอุตสาหกรรมมีการพึ่งพาอาศัยกัน รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมไปส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่  

ระดับที่ 5 เมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรม (Happiness) เมืองต้นแบบมีเศรษฐกิจดี สิ่งแวดล้อมดี สังคมมีความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความสุขและอยู่ร่วมกับอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน

เกณฑ์การประเมิน : (กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดค่าเป้าหมาย)

แหล่งข้อมูล : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1. จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพ.ศ. 2566-2570 มุ่งสู่ระดับที่ 3 ภายในปี 2570 (ขั้นต้น) ผ่าน
2. ดำเนินการตามค่าเป้าหมายขั้นต้น และเสนอแผนปฏิบัติการฯ ผ่านคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการและเห็นชอบบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัด (ขั้นมาตรฐาน) ผ่าน
3. ดำเนินการตามค่าเป้าหมายมาตรฐาน และมีการสื่อสารแผนปฏิบัติการฯ ให้หน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องรับทราบและร่วมมือในการพัฒนา มุ่งสู่ระดับที่ 3 ภายในปี 2570 (ขั้นสูง) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาจากการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ระหว่างการท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้งเพื่อตนเองหรือเป็นของฝาก ซึ่งครอบคลุมรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ที่มิใช่ถิ่นที่อยู่ปกติ) ทั้งแบบพักค้างคืน และเช้าไป-เย็นกลับ

สูตรคำนวณ : รายได้จากการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย = รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย (ค้างคืน)+รายได้จากนักทัศนาจรชาวไทย (ไม่ค้างคืน) = (จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยxจำนวนวันพักเฉลี่ยxค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวต่อวัน)+(จำนวนนักทัศนาจรxค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวต่อวัน)

เกณฑ์การประเมิน : อ้างอิงจากข้อมูลผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของจังหวัด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 3,508.37 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาจากการสำรวจสภาพปัญหายาเสพติดในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน จากระบบสารสนเทศยาเสพติดจังหวัด (NISPA) ครั้งที่ 2 ของปี (ห้วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2566)

หมู่บ้าน/ชุมชนที่ไม่พบปัญหายาเสพติด หมายถึง หมู่บ้าน/ชุมชน ที่ไม่พบผู้เสพและไม่มีผู้ค้ายาเสพติด

หมู่บ้าน/ชุมชน หมายถึง หมู่บ้านและชุมชนที่ประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการภายใต้คำสั่งของกระทรวงมหาดไทย

สูตรคำนวณ : (จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนที่ไม่พบปัญหายาเสพติด)/(จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนที่ได้รับการประเมิน) x 100

เกณฑ์การประเมิน : อ้างอิงจากข้อมูลผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของจังหวัด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละหมู่บ้าน/ชุมชนที่ไม่พบปัญหายาเสพติด 78.38 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

1.   การพัฒนาระบบข้อมูลให้เป็นดิจิทัล (Digitized Data) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)
2.   ร้อยละความพึงพอใจต่อการให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- ประเด็นการพัฒนาจังหวัด หมายถึง ประเด็นการพัฒนาที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด(พ.ศ. 2566-2570) โดยให้จังหวัดคัดเลือกประเด็นการพัฒนาที่มีความสำคัญ 2 ประเด็น

- แผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัด เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลสถิติที่สำคัญและจำเป็นต่อการบริหารงานยุทธศาสตร์จังหวัด เพื่อให้เชื่อมโยงกับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาระดับต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพสถิติทางการว่ามีรายการใดบ้าง และหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ

- ชุดข้อมูล  หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุด ให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล

- ข้อกำหนดการวิเคราะห์ชุดข้อมูล หมายถึง เอกสารที่แสดงการวิเคราะห์ชุดข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพปัญหาที่ต้องการพัฒนาในจังหวัด เป้าหมาย และหมุดหมายตามการพัฒนาของจังหวัด แนวทางการพัฒนาจังหวัด การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า การวิเคราะห์กระบวนงานและ
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  การกำหนดชุดข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนา การระบุหน่วยงานเจ้าของข้อมูล และแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล

- คำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องทั้งกระบวนการเชิงธุรกิจ (ในที่นี้หมายถึง กระบวนการทำงานตามภารกิจของหน่วยงาน) และเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎและข้อจำกัดของข้อมูล และโครงสร้างของข้อมูลเมทาดาตาช่วยให้หน่วยงานสามารถเข้าใจข้อมูล ระบบ และขั้นตอนการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

- คำอธิบายชุดข้อมูลประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการ สำหรับ 1 ชุดข้อมูล
ที่หน่วยงานต้องจัดทำและระบุรายละเอียด ได้แก่ ประเภทข้อมูล ชื่อชุดข้อมูล องค์กร ชื่อผู้ติดต่อ อีเมลผู้ติดต่อ คำสำคัญ รายละเอียด วัตถุประสงค์ หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ แหล่งที่มา รูปแบบการเก็บข้อมูล หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และสัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล

- บัญชีข้อมูล (Data Catalog) หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูลที่จำแนกแยกแยะ โดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ

- ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน (Agency Data Catalog) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ทำหน้าที่บริหารจัดการ รวมถึงให้บริการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น การจัดการชุดข้อมูล การจัดการคำอธิบายชุดข้อมูล การค้นหาชุดข้อมูล และบริการ API ที่เป็นเสมือนบัญชีข้อมูลดิจิทัลของหน่วยงาน และผ่านความเห็นชอบจากนายทะเบียนบัญชีข้อมูลหน่วยงาน เพื่อนำเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน สำหรับให้บริการแก่บุคลากรในหน่วยงานในการวางแผน ปฏิบัติงาน ติดตาม และประเมินผล รวมถึงหน่วยงานภายนอกและประชาชนตามสิทธิ์ที่หน่วยงานกำหนด โดยที่การจัดทำบัญชีข้อมูลหน่วยงานควรสอดคล้องตามแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้สามารถลงทะเบียนและให้บริการบัญชีข้อมูลภาครัฐของประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน

- ระบบบัญชีข้อมูลพื้นที่ (Area Data Catalog) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ทำหน้าที่บริหารจัดการ รวมถึงให้บริการบัญชีข้อมูลของหน่วยงานในระดับพื้นที่ เช่น ระบบบัญชีข้อมูลจังหวัด ระบบบัญชีข้อมูลองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระบบบัญชีข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น

- ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) หมายถึง ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลภาครัฐมารวบรวมและจัดหมวดหมู่ รวมถึงระบบนามานุกรม (directory Services) ที่ให้บริการสืบค้นบัญชีรายการข้อมูลภาครัฐ เสมือนบัญชีข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์การบรูณาการข้อมูลร่วมกัน รองรับการให้บริการการสืบค้น และการเข้าถึงบัญชีข้อมูลหน่วยงานภาครัฐที่เผยแพร่เป็นสาธารณะ

- ระบบลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog Registration System) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมรายการข้อมูลสำคัญ เมทาดาตา และทรัพยากร (Resource) หรือข้อมูลผ่าน API จากบัญชีข้อมูลหน่วยงานมาจัดเก็บไว้ที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ และทำหน้าที่ติดตามการมีอยู่ การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง (Update) รายการข้อมูลและเมทาดาตา รวมถึงการอ้างอิงทรัพยากร (Resource) กับบัญชีข้อมูลที่หน่วยงานต้นทางให้ถูกต้องและทันสมัย

- ข้อมูลดิจิทัล  หมายถึง ข้อมูลที่ได้จัดทำ จัดเก็บ จำแนกหมวดหมู่ ประมวลผล ใช้ ปกปิด เปิดเผย ตรวจสอบ ทำลาย ด้วยเครื่องมือหรือวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัล

- Data Visualization คือ การนำเสนอหรือการแสดงข้อมูลเชิงปริมาณให้อยู่ในรูปแบบกราฟิก
ที่ทำให้ผู้พบเห็นจำได้และเข้าใจง่ายขึ้น อีกทั้งเป็นการนำข้อมูลในเชิงวิชาการหรือเชิงวิจัยมาแปลงเป็นรูปที่เข้าใจง่าย โดยผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลมาแล้ว องค์ประกอบหลักของ Data Visualization คือ การรวบรวมข้อมูล (Integrate) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) และการแปลงข้อมูลให้เป็นภาพ
ที่เข้าใจง่าย (Visualize)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1.เอกสารข้อกำหนดการวิเคราะห์ชุดข้อมูลที่ตอบโจทย์ประเด็นการพัฒนาจังหวัด 2 ประเด็น ได้รับความเห็นชอบผ่านกลไกคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด (ขั้นต้น) ผ่าน
2. นำชุดข้อมูล (Template 1) คำอธิบายข้อมูล (Template 2) ขึ้นบนระบบบัญชีข้อมูลจังหวัด ทั้ง 2 ประเด็นการพัฒนา (ขั้นมาตรฐาน) ผ่าน
3. ชุดข้อมูลในหมวดหมู่สาธารณะ ร้อยละ 100 (Template 3) ต้องอ้างอิงหรือชี้ไปยังแหล่งข้อมูลต้นทางที่เป็นข้อมูลดิจิทัล ทั้ง 2 ประเด็นการพัฒนา (ขั้นมาตรฐาน) ผ่าน
4. ชุดข้อมูลในหมวดหมู่สาธารณะ ร้อยละ 100 ได้รับการลงทะเบียนในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) ทั้ง 2 ประเด็นการพัฒนา (ขั้นสูง) ผ่าน
5. สรุปผลการวิเคราะห์สารสนเทศในรูปแบบ Visualization เพื่อตอบโจทย์ประเด็นการพัฒนาจังหวัด ได้รับความเห็นชอบผ่านกลไกคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด ทั้ง 2 ประเด็นการพัฒนา (ขั้นสูง) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาความสำเร็จจากร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการ e-Service ณ ที่ว่าการอำเภอ/ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ในภาพรวมของจังหวัด

การให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ณ ที่ว่าการอำเภอ/ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ไม่มีความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีเจ้าหน้าที่ของอำเภอ/ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำปรึกษาในการรับบริการ  

จังหวัดต้องเปิดให้บริการ e-Service ครบทุกอำเภอ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566

ทุกอำเภอต้องเปิดให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) อย่างน้อย 20 งานบริการ ตามที่กระทรวงมหาดไทยโดยกรมการปกครองกำหนดและแจ้งอำเภอเพื่อเปิดให้บริการ ทั้งนี้ อำเภออาจนำงานบริการ e-Service อื่นมาเปิดให้บริการเพิ่มเติมด้วยก็ได้

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความพึงพอใจต่อการให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) 87.25 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถ
ในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงาน
ให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ย
ในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และหมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

เกณฑ์การประเมิน : (สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดค่าเป้าหมาย)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 449.47 (คะแนน)