รายงานผลการประเมิน

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

• ในปี 2565 การดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้ดำเนินมาถึงปีสุดท้ายของแผน สศช. จึงจัดทำรายงานสรุปผลการพัฒนาประเทศ โดยประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายรายยุทธศาสตร์ภายใต้แผนฯ 12 และแนวทางการขับเคลื่อนแผนในระยะต่อไป

• สศช. มีการจัดทำรายงานการติดตามผลการพัฒนาตามแผนฯ 12 เป็นประจำทุกปี แต่สำหรับการดำเนินการในปีสุดท้ายของแผนฯ 12 จะมีความซับซ้อนมากขึ้นโดยนอกจากจะติดตามผลแล้วจะต้องมีการประเมินผลภาพรวมของการพัฒนา และวิเคราะห์ความเชื่อมโยงผลการพัฒนา ที่ส่งผลต่อกันในมิติต่างๆ ด้วย จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดกรอบการติดตามและประเมินผลรวมทั้งแนวทางการวิเคราะห์อย่างชัดเจน อีกทั้ง ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศตามบทบัญญัติของกฎหมายด้วย

• นอกจากนี้จะดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานของแผนงานและโครงการสำคัญของหน่วยงานระดับกระทรวงและหน่วยงานกลาง ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของแผนฯ 12 ด้วย

• รายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนฯ 12 นี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและการปรับปรุงแผนงานโครงการและการบริหารจัดการภารกิจที่รับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในระยะต่อไปในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้น

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการติดตามประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระยะ 6 ปี (2560 - 2565) ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

อธิบาย :

1. การพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา ภายใต้ “คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)” ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการกำหนดแนวทางและขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของทุกรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง

2. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ตั้งแต่ขั้นตอนประสานงานและ/หรือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน กลั่นกรองประเด็นโดยพิจารณาความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล และจัดประชุมและ/หรือร่วมประชุมกับ กรอ.ส่วนกลาง/กรอ.กลุ่มจังหวัด/กรอ.จังหวัด พิจารณาข้อเสนอก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอน รวมทั้งจัดทำรายงานขับเคลื่อนและติดตามความก้าวหน้ารวมทั้งข้อสั่งการหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้บริหาร สศช.ทราบและเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ สศช.

3. นิยามคำว่า สำเร็จ คือ เสนอผลการประชุมต่อนายกรัฐมนตรี/คณะรัฐมนตรีทราบและ/หรือพิจารณาตามขั้นตอน

4. ขับเคลื่อน คือ การนำข้อสั่งการตามมติคณะรัฐมนตรี/การพิจารณาข้อเสนอใหม่ภายใต้ กรอ.กลาง/กรอ.กลุ่มจังหวัด/กรอ.จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติ การรวบรวมข้อมูล สศช. ได้จัดทำและเผยแพร่ผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีใน WWW.nesdc.go.th เพื่อให้ประชาชนได้นำใช้ประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า และ อ้างอิงได้อย่างถูกต้อง

เงื่อนไข :  การดำเนินงานเป็นไปตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีและคำบัญชาของนายกรัฐมนตรี

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนประเด็นปัญหาและอุปสรรคฯ ที่ได้ขับเคลื่อนผ่านกลไกคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ได้สำเร็จ 61 (ประเด็น)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย : 

1. สศช. มีบทบาทและภารกิจหนึ่งในการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบาย แผนงาน และโครงการที่มี ผลกระทบเป็นวงกว้างต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ การดำรงชีวิตของประชากรในวงกว้างจากสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้การมีหลักประกันรายได้ในช่วงการเกษียณอายุเป็นประเด็นเชิงน โยบายที่สำคัญ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบของระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญของประเทศไทยต่อความสามารถในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและสร้างระบบที่เหมาะสมและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

2. แนวทางการวิเคราะห์จะอาศัยองค์ความรู้ที่ได้รับความร่วมมือจากสถาบันต่าง ๆ อาทิUN-DESA และ East-West Center (EWC) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย มาพัฒนาต่อยอด จากการประมวลผลและจัดทำข้อมูลบัญชีกระแสการโอนประชาชาติ (NTA) เพื่อจัดทำ Policy Brief “การประเมินผลกระทบและความยั่งยืนของการบริโภคของผู้สูงอายุ ภายใต้ระบบบำเหน็จบำนาญของประเทศไทย”และเผยแพร่สู่สาธารณะ

3. Policy Brief เป็นเอกสารที่นำเสนอการวิเคราะห์ในภาพกว้างทั้งหมดของระบบบำเหน็จบำนาญของประเทศไทยเพื่อฉายภาพให้เห็นลักษณะ สถานะ และประเด็น สำคัญเชิงนโยบายสำหรับการผลักดันและขับเคลื่อนต่าง ๆ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงสามารถนำไปศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติม และนำไปปรับปรุงหรือ ออกแบบมาตรการในเชิงปฏิบัติได้ต่อไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ประมวลผลข้อมูลและจัดทำเอกสาร Policy Brief “การประเมินผลกระทบและความยั่งยืนของการบริโภคของผู้สูงอายุภายใต้ระบบบำเหน็จบำนาญของประเทศไทย” ผ่าน
เสนอผลการศึกษาและเอกสาร Policy Brief ต่อผู้บริหารสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผ่าน
เสนอเอกสาร policy brief ต่อสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อทราบ รวมทั้งเผยแพร่ต่อสาธารณชน ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

การวิเคราะห์งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ เป็นหนึ่งในภารกิจของ สศช. ตาม พ.ร.บ. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 เพื่อให้การลงทุนของรัฐวิสาหกิจมีทิศทางการลงทุนที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ เป็นไปด้วยความโปร่งใส และมีความคุ้มค่า อย่างไรก็ดี จากการพิจารณากลั่นกรองงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในช่วงที่ผ่านมา พบว่า กิจกรรมการลงทุนของรัฐวิสาหกิจภายหลังจากที่ได้รับอนุมัติให้ลงทุนไปแล้ว บางรายการพบข้อจำกัดทั้งจากสถานการณ์แวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไปและจากการปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารจัดการภายในองค์กร ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจโดยตรง และในบางกรณีมีผลสืบเนื่องไปยังประสิทธิภาพการให้บริการของรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น การจัดทำรายงานการวิเคราะห์เพื่อทบทวนผลการดำเนินงานและการลงทุน ตลอดจนปัญหา/อุปสรรคในช่วงที่ผ่านมา จะเป็นข้อมูลสำคัญประกอบการตัดสินใจในระดับนโยบาย และการให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างมุ่งเป้า รวมทั้งสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนองบประมาณของรัฐวิสาหกิจในปีถัดไปให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้มากขึ้น

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
เสนอรายงานฯ ต่อผู้บริหารสายงาน ผ่าน
เสนอรายงานฯ ต่อสภาพัฒนาฯ ภายในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2566 ผ่าน
นำข้อเสนอแนะจากรายงานฯ มาใช้ประกอบการกำหนดแนวทางการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนองบประมาณของรัฐวิสาหกิจปี 2567 และนำเสนอสภาพัฒนาฯ และคณะอนุกรรมการพิจารณางบลงทุนประจำปีของรัฐวิสาหกิจ (ภายในเดือน พฤษภาคม 2566) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 
1) ส่วนราชการต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
2) ส่วนราชการต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
3) ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
5) กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
6) ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
7) การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  / การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
1) แผนระดับ 2 (แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ) และ แผนระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน
    • ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
    • ผลการดำเนินงานตามแผนที่เกี่ยวข้อง
2) ชุดข้อมูลสนับสนุนการให้บริการประชาชน (e-Service)
3) ดัชนี/ตัวชี้วัดระดับสากล (หน่วยงานที่ต้องดำเนินการตามตัวชี้วัดการจัดทำชุดข้อมูลตัวชี้วัด สำหรับการรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย IMD ให้นับเป็นชุดข้อมูลที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมจาก 5 ชุดข้อมูลที่กำหนดตามเงื่อนไขตัวชี้วัด)
4) สถิติทางการ (21 สาขา)
5) การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล หรือ มติ ครม.
6) ภารกิจหลักของหน่วยงาน

เงื่อนไข
1. ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนจำนวน 14 รายการ หากส่วนราชการมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน
2. หน่วยงานจัดทำชุดข้อมูลเปิดไม่น้อยกว่า 5 ชุดข้อมูล

เกณฑ์การประเมิน
- เป้าหมายขั้นต้น (50)
   • มีรายชื่อชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสามารถนำไปใช้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศหรือการบริการประชาชน
   • มีคำอธิบายชุดข้อมูล (Metadata) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด (14 รายการ) ของทุกชุดข้อมูล 
   • มีคำอธิบายทรัพยากรข้อมูล (Resource) ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด
- เป้าหมายมาตรฐาน (75) = 
   • มีระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน (Agency Data Catalog) พร้อมแจ้ง URL ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และชุดข้อมูล คำอธิบายชุดข้อมูล ถูกนำขึ้นที่ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และระบุทรัพยากรข้อมูล (Resource)
ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด (15 คะแนน)
   • ชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด ถูกนำมาลงทะเบียนในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) (10 คะแนน)
- เป้าหมายขั้นสูง (100) = 
   • คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด (20 คะแนน)
   • นำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ตามประเด็นขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล (5 คะแนน)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

รายงานการวิเคราะห์ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ของ International Institute for Management Development (IMD) เป็นการวิเคราห์อันดับขีดความสามารถของประเทศโดยใช้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นรายปีตามตัวชี้วัดที่กำหนด ประกอบด้วยข้อมูล 3 ประเภท ได้แก่ 1) ข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารในภาคเอกชน/ธุรกิจ (Survey Data) 2) ข้อมูลเชิงสถิติที่ใช้ในการคำนวณคะแนนในการจัดอันดับของประเทศ (Hard Data) และ 3) ข้อมูลพื้นฐานที่ไม่ได้ใช้ในการจัดอันดับโดยตรง (Background Information)

ทั้งนี้ ช้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีผลต่อการจัดอันดับของประเทศ เป็นข้อมูลสถิติที่ได้จากการสำรวจ/สำมะโน/ทะเบียน หรือเกิดจากการคำนวณ/ประมาณค่าข้อมูล อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลของหน่วยงานเจ้าของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และจะต้องมีการกำหนดรอบระยะเวลาการเผยแพร่ข้อมูล การปรับฐานข้อมูล และการให้คำนิยามตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับคำนิยามตามตัวชี้วัดของ IMD

สำหรับการจัดส่งข้อมูลของประเทศไทย จะดำเนินการ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) หน่วยงานในประเทศส่งข้อมูลให้กับ IMD โดยตรง และ 2) ส่งผ่านทางสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (Thailand Management Association : TMA)

ดังนั้น การจัดทำชุดข้อมูลที่มีคำนิยามสอดคล้องกับคำนิยามตัวชี้วัดของ IMD และเป็นปัจจุบันจะช่วยสะท้อนผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่ในการรวบรวมชุดข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ TMA ร้องขอ เพื่อดำเนินการจัดส่งให้กับ IMD ในลำดับต่อไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จัดส่งชุดข้อมูล ให้กับ TMA ภายในเดือนเมษายน 2566 11 (ชุดข้อมูล)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 422.98 (คะแนน)