รายงานผลการประเมิน

นครปฐม

/ กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • ระบบ TPMAP หมายถึง ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytic Platform : TPMAP) โดย TPMAP เป็นระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนตลอดทุกช่วงวัย และการแก้ไขปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำแบบชี้เป้า เป็นระบบที่ใช้ระบุปัญหาความยากจนในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น/ท้องที่ จังหวัด ประเทศ
  • ระบบ TPMAP ใช้วิธีการคำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ (Multidimensional Poverty Index : MPI) โดยอาศัยหลักการที่ว่าคนยากจน คือ ผู้ที่มีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชีวิตที่ดีใน 5 มิติ ได้แก่ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ ด้านความเป็นอยู่ และด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ โดยใช้ตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) 17 ตัวชี้วัด ในการคำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ (MPI)
  • กลุ่มเป้าหมายการดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 หมายถึง จำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP
    ปี 2566 ที่กระทรวงมหาดไทยแจ้งให้จังหวัดดำเนินการเมื่อเดือนมีนาคม 2566 (ข้อมูล ณ วันที่ 9 มีนาคม 2566) โดยกำหนดให้ติดตาม ดูแล สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลการให้ความช่วยเหลือในระบบ TPMAP Logbook ทุกครั้ง
  • พิจารณาความสำเร็จของการดำเนินงานการขับเคลื่อนงานขจัดความยากจนของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ จากจำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 เทียบกับจำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 ที่ผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2567
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 0.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น หมายถึง การนำทรัพยากรที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความโดดเด่นเฉพาะพื้นที่ มาสร้างให้เกิดเป็นผลผลิตสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีคุณลักษณะพิเศษเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย
    เป็นที่รู้จักของต่างชาติ รวมทั้งสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรอง สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication: GI)
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อัตราการขยายตัวของมูลค่าของสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น หมายถึง การนำทรัพยากรที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความโดดเด่นเฉพาะพื้นที่ มาสร้างให้เกิดเป็นผลผลิตสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีคุณลักษณะพิเศษเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย เป็นที่รู้จักของต่างชาติ รวมทั้งสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรอง สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication: GI)
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ส้มโอ 0.00 (อัตราการขยายตัว)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • พิจารณาความสำเร็จของการส่งเสริมให้สถานประกอบการเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียว ในระดับใดระดับหนึ่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์และได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
    เทียบจำนวนสถานประกอบการทั้งหมดที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม
  • สถานประกอบการ หมายถึง สถานประกอบการทั้งหมดที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม

           - สถานประกอบการภายใต้ พ.ร.บ. โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562

           - สถานประกอบการภายใต้ พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

           - สถานประกอบการภายใต้ พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560

  • อุตสาหกรรมสีเขียว หมายถึง อุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมพร้อมกับการยึดมั่นในการประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
    ทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (คู่มืออุตสาหกรรมสีเขียว, 2562)
  • อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) เป็นการจัดการสถานประกอบการให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การหมุนเวียนของเสียกลับมาใช้ใหม่ (Waste Recovery) ในกระบวนการผลิตการป้องกันปัญหามลพิษโดยใช้เทคโนโลยีสะอาด
    (Clean Technology) รวมทั้งการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Product) มีการแลกเปลี่ยนของเสียที่จะเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานอื่น ๆ (Industrial Symbiosis) โดยเน้นของเหลือใช้และของเสียกลับมาใช้ใหม่ตามหลักการ 3R’s Reuse Reduce Recycle
    ได้แก่ การลดของเสีย การใช้ซ้ำ และการนำวัสดุเหลือใช้/ของเสีย กลับมาใช้ประโยชน์ 
  • อุตสาหกรรมสีเขียวยุคใหม่ต้องมีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการของเสียและมลภาวะต่าง ๆ ระบบการจัดการพลังงาน กิจกรรมรักษาสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรการสร้างวัฒนธรรมและการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโมเดลที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดขึ้นตามแนวคิด “โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว” แบ่งเป็น 5 ระดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้

            ระดับที่ 1    ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือ ความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน

            ระดับที่ 2   ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือ การดำเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้

            ระดับที่ 3   ระบบสีเขียว (Green System) คือ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบมีการติดตาม ประเมินผล และทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการได้รับรางวัล
                              ด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ และการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

            ระดับที่ 4   วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือ การที่ทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือร่วมใจดำเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกด้านของการประกอบกิจการจนกลายเป็น
                               ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร

            ระดับที่ 5   เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คือ การแสดงถึงการขยายเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อุปทานสีเขียว โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย

  • ขอบเขตการประเมิน : ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้นับรวมสถานประกอบการที่ยังคงเปิดดำเนินการ และใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จของการส่งเสริมสถานประกอบการเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียว 0.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

14.1 รายได้จากการท่องเที่ยว
14.2 รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP)
14.3 ค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
14.4 ค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
14.5 คุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักอยู่ในเกณฑ์ดี

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • รายได้จากการท่องเที่ยวเป็นยอดรวมของรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและรายได้จากการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
  • ผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย หมายถึง นักท่องเที่ยวชาวไทย (ค้างคืน) และนักทัศนาจรชาวไทย (ไม่ค้างคืน)
  • รายได้ของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยพิจารณาจากการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ระหว่างการท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้งเพื่อตนเองหรือเป็นของฝาก ซึ่งครอบคลุมรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ที่มิใช่ถิ่นที่อยู่ปกติ) ทั้งแบบพักค้างคืน และเช้าไป-เย็นกลับ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการท่องเที่ยว 0.00 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ประเมินจากรายได้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (1 ตุลาคม 2566-30 กันยายน 2567)
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) 0.00 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • การวัดผลรอบ 6 เดือน พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายจากการเก็บน้ำในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566
  • การวัดผลรอบ 12 เดือน พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายเฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
  • ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ใช้ค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายเฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
  • ข้อมูลคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินพิจารณาจากจุดตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษที่ใช้จัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพน้ำ
  • พิจารณาการประเมินผลเป็นรายแหล่งน้ำของจังหวัดเป้าหมาย
  • ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) การประเมินผลลัพธ์ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ ได้แก่
    1. ออกซิเจนละลายน้ำ : DO 
    2. ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ : BOD
    3. การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด : TCB 
    4. การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มทั้งหมด : FCB 
    5. แอมโมเนีย : NH3-N 
  • ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ มีหน่วยเป็นคะแนน เริ่มจาก 0 ถึง 100 คะแนน ดังนี้
    91-100  คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
    71-90    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี
    61-70    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้
    31-60    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม
    ​​​​​​​0-30      คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักอยู่ในเกณฑ์ดี

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • การวัดผลรอบ 6 เดือน พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายจากการเก็บน้ำในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566
  • การวัดผลรอบ 12 เดือน พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายเฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
  • ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ใช้ค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายเฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
  • ข้อมูลคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินพิจารณาจากจุดตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษที่ใช้จัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพน้ำ
  • พิจารณาการประเมินผลเป็นรายแหล่งน้ำของจังหวัดเป้าหมาย
  • ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) การประเมินผลลัพธ์ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ ได้แก่
    1. ออกซิเจนละลายน้ำ : DO 
    2. ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ : BOD
    3. การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด : TCB 
    4. การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มทั้งหมด : FCB
    5. แอมโมเนีย : NH3-N 
  • ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ มีหน่วยเป็นคะแนน เริ่มจาก 0 ถึง 100 คะแนน ดังนี้
    91-100  คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
    71-90    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี
    61-70    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้
    31-60    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม
    0-30      คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
แม่น้ำท่าจีนตอนกลาง 0.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • การวัดผลรอบ 6 เดือน พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายจากการเก็บน้ำในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566
  • การวัดผลรอบ 12 เดือน พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายเฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
  • ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ใช้ค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายเฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
  • ข้อมูลคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินพิจารณาจากจุดตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษที่ใช้จัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพน้ำ
  • พิจารณาการประเมินผลเป็นรายแหล่งน้ำของจังหวัดเป้าหมาย
  • ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) การประเมินผลลัพธ์ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ ได้แก่
    1. ออกซิเจนละลายน้ำ : DO
    2. ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ : BOD
    3. การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด : TCB
    4. การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มทั้งหมด : FCB
    5. แอมโมเนีย : NH3-N 
  • ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ มีหน่วยเป็นคะแนน เริ่มจาก 0 ถึง 100 คะแนน ดังนี้
    91-100  คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
    71-90    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี
    61-70    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้
    31-60    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม
    0-30      คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง 0.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • ประเมินผลในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ตาก พิษณุโลก และนครสวรรค์ และจังหวัดปริมณฑล จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม
    รอบ 6 เดือน วัดผลจากร้อยละจำนวนวันที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่เกินค่ามาตรฐาน (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่องกำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน2.5 ไมครอน ในบรรยากาศเฉลี่ยโดยทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ให้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงจะต้องไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) ในช่วง 6 เดือน ระหว่างเดือนตุลาคม 2566-มีนาคม 2567
  • มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ปี 2567 กำหนดผลลัพธ์คุณภาพอากาศจำนวนวันที่ฝุ่นละออง PM2.5 เกินมาตรฐาน พื้นที่เป้าหมายหลักในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ลดลงร้อยละ 30 และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลดลงร้อยละ 5 
  • รอบ 12 เดือน วัดผลจากค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนในบรรยากาศเฉลี่ยโดยทั่วไป ในเวลา 1 ปี ต้องไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม.) วัดผลในช่วง 12 เดือน ระหว่างเดือนตุลาคม 2566-กันยายน 2567 
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) 0.00 (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

รายละเอียดตัวชี้วัด

15.1 การสร้างนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนงานหรือการให้บริการ (e-Service) กำหนดวัดผลตัวชี้วัดร้อยละความพึงพอใจต่อการให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) น้ำหนักร้อยละ 10
15.2 การพัฒนาระบบข้อมูลให้เป็นดิจิทัล (Digitize Data) ทั้งข้อมูลที่ใช้ภายในหน่วยงานและข้อมูลที่จะเผยแพร่สู่หน่วยงานภายนอก/สาธารณะ เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)
         กำหนดวัดผลตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) เพื่อใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนประเด็นพัฒนาจังหวัด น้ำหนักร้อยละ 5
15.3 การปรับเปลี่ยนหน่วยงานไปสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) กำหนดวัดผลตัวชี้วัดระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยของจังหวัด น้ำหนักร้อยละ 5

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • พิจารณาความสำเร็จจากร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการ e-Service ณ ที่ว่าการอำเภอ/ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอในภาพรวมของจังหวัด
  • การให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ณ ที่ว่าการอำเภอ/ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ไม่มีความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์
    และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีเจ้าหน้าที่ของอำเภอ/ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำปรึกษาในการรับบริการ 
  • จังหวัดเปิดให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) อย่างน้อย 20 งานบริการครบทุกอำเภอต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เว็บไซต์อำเภอดอทคอม (www.amphoe.com) และ Link 725
    งานบริการ e-Service ของรัฐ (https://www.opdc.go.th/content/NzkxMw) ของสำนักงาน ก.พ.ร. และจัดเก็บ ผลสำรวจความพึงพอใจในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ
    ผ่าน https://bit.ly/peservice หรือ QR Code ด้านล่าง
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความพึงพอใจต่อการให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) 0.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • พิจารณาความสำเร็จจากการดำเนินการตามขั้นตอนการจัดทำบัญชีข้อมูลจังหวัด เพื่อบูรณาการ และแบ่งปันที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ และการใช้ประโยชน์บัญชีข้อมูลภาครัฐ
    เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดได้ครบถ้วน
  • ขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 การจัดทำบัญชีข้อมูลจังหวัด เพื่อบูรณาการและแบ่งปันที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ
    และกิจกรรมที่ 2 การใช้ประโยชน์บัญชีข้อมูลภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัด โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

           กิจกรรมที่ 1 : การจัดทำบัญชีข้อมูลจังหวัด เพื่อบูรณาการและแบ่งปันที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ

  1. กำหนดผังสถิติทางการระดับพื้นที่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาจังหวัดทุกประเด็นสำคัญของการพัฒนาจังหวัด ผ่านกลไกคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด โดยพิจารณาสถานะของชุดข้อมูลในผังสถิติทางการระดับพื้นที่ พร้อมทั้งจำแนกสถานะของชุดข้อมูล ออกเป็น 3 สถานะ ดังนี้
    - Tier 1 คือ ชุดข้อมูลที่มีคำนิยามและวิธีการผลิต มีข้อมูลพร้อมเผยแพร่และมีหน่วยงานรับผิดชอบ
    - Tier 2 คือ ชุดข้อมูลที่มีคำนิยามและวิธีการผลิต มีหน่วยงานรับผิดชอบ แต่ข้อมูลไม่พร้อมเผยแพร่
    - Tier 3 คือ ชุดข้อมูลที่ไม่มีคำนิยามและวิธีการผลิต ไม่มีข้อมูล และไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ
  2. จัดทำชุดข้อมูล คำอธิบายข้อมูล และคำอธิบายทรัพยากรข้อมูลใน Template 1, 2 และ 3 ตามลำดับ เฉพาะชุดข้อมูลที่มีสถานะเป็น Tier 1 ที่หน่วยงานในจังหวัดเป็นเจ้าของ (Data owners)
  3. จัดเตรียมทรัพยากรของชุดข้อมูลที่มีสถานะเป็น Tier 1 ที่หน่วยงานในจังหวัดเป็นเจ้าของ (Data owners) ตาม Template 1 ให้อยู่ในรูปแบบ Machine Readable (CSV เป็นอย่างน้อย)
  4. นำชุดข้อมูลที่มีสถานะเป็น Tier 1 ที่หน่วยงานในจังหวัดเป็นเจ้าของ (Data owners) ตาม Template 1-3 ขึ้นบนระบบบัญชีข้อมูลจังหวัด พร้อมชี้ link ไปยังแหล่งทรัพยากรข้อมูลที่ถูกจัดเตรียมไว้ในรูปแบบMachine Readable
  5. นำชุดข้อมูลตามข้อ (4) ที่อยู่บนระบบบัญชีข้อมูลจังหวัดลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ

            กิจกรรมที่ 2 : การใช้ประโยชน์บัญชีข้อมูลภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัด

  1. กำหนด 1 ประเด็นย่อย ภายใต้ประเด็นการพัฒนาจังหวัด ผ่านกลไกคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด (ประเด็นย่อยที่เลือกต้องไม่ซ้ำกับที่ดำเนินการมาแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ 2566)
  2. จัดทำข้อกำหนดการวิเคราะห์ชุดข้อมูล (Data Model) สำหรับประเด็นย่อย ภายใต้ประเด็นการพัฒนาจังหวัด กิจกรรมที่ 2 (1) สำหรับใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์และจัดทำสารสนเทศ
  3. ดึงข้อมูล API จากบัญชีข้อมูลภาครัฐมาวิเคราะห์และจัดทำสารสนเทศในรูปแบบ Visualization ตามข้อกำหนดการวิเคราะห์ชุดข้อมูล (Data Model) สำหรับประเด็นย่อย ภายใต้ประเด็นการพัฒนาในจังหวัดที่ออกแบบไว้ในกิจกรรมที่ 2 (2)
  4. นำเสนอสารสนเทศ ผ่านกลไกคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด
  5. นำชุดข้อมูลสารสนเทศ เผยแพร่บนระบบบัญชีข้อมูลจังหวัด และลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1. ผังสถิติทางการระดับพื้นที่ ทุกประเด็นสำคัญของการพัฒนาจังหวัด (ขั้นต้น) ไม่ผ่าน
2. มีชุดข้อมูล คำอธิบายข้อมูลและคำอธิบาย ทรัพยากรข้อมูลในTemplate 1, 2 และ 3 สำหรับข้อมูลที่มีสถานะเป็น Tier 1 ที่หน่วยงานในจังหวัดเป็นเจ้าของ (Data owners) (ขั้นต้น) ไม่ผ่าน
3. ทรัพยากรข้อมูลประเภทโครงสร้าง (Structured Data) (ที่มีสถานะเป็น Tier 1 ที่หน่วยงานในจังหวัดเป็นเจ้าของ) มีคุณลักษณะเป็น Machine Readable (ขั้นต้น) ไม่ผ่าน
4. มีข้อกำหนดการวิเคราะห์ชุดข้อมูล (Data Model) สำหรับประเด็นย่อย ภายใต้ประเด็นการพัฒนาจังหวัด 1 ประเด็นย่อย (ขั้นมาตรฐาน) ไม่ผ่าน
5. มีชุดข้อมูล (เฉพาะ Tier 1 ที่หน่วยงานในจังหวัดเป็นเจ้าของ) ขึ้นบนระบบบัญชีข้อมูลจังหวัด พร้อมระบุ link ไปยังแหล่งทรัพยากรข้อมูล และนำชุดข้อมูลดังกล่าวลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (ขั้นมาตรฐาน) ไม่ผ่าน
6. มีสารสนเทศสำหรับประเด็นย่อย ภายใต้ประเด็นการพัฒนาจังหวัด 1 ประเด็นย่อย โดยวิธีการดึงข้อมูล API (ขั้นสูง) ไม่ผ่าน
7. เผยแพร่ชุดข้อมูลสารสนเทศบนระบบบัญชีข้อมูลจังหวัดและลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (ขั้นสูง) ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
    ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
    ในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น)
    และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
  • ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัล แบ่งเป็น 5 ระดับ (ระดับที่ 1 ระดับขั้นริเริ่ม (Initial) , ระดับที่ 2 ระดับขั้นต้น (Developing) , ระดับที่ 3 ระดับขั้นกลาง (Defined) , ระดับที่ 4 ระดับขั้นสูง (Managed) ,
    ระดับที่ 5 ระดับขั้นสูงสุด (Optimizing)) จากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6)
    Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices

  • ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร.
    เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี
    ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/

  • ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยในระดับจังหวัด พิจารณาจากผลสำรวจความพร้อมของสำนักงานจังหวัดเพื่อเป็นตัวแทนของจังหวัด โดยกำหนดประเมินผล 2 ตัวชี้วัดย่อย ประกอบด้วย 1)
    ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ (น้ำหนักร้อยละ 2.5) และ 2) คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ (น้ำหนักร้อยละ 2.5) 

  • เกณฑ์การประเมิน : สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) กำหนดค่าเป้าหมาย

รายละเอียดตัวชี้วัด

ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ (7 Pillar)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ (7 Pillar) 0 (Pillar)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ   

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ 0.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน
  • พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)
  • พิจารณาจากผลการประเมินสถานการณ์เป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3
    การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และหมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 0.00 (คะแนน)