รายงานผลการประเมิน

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “สัดส่วนของกระบวนงานที่ปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิทัลต่อกระบวนงานทั้งหมดที่สามารถปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล” ของสำนักงาน ก.พ.ร.

คำอธิบาย
เป็นการประเมินผลความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนางานบริการ Agenda สำคัญตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ใน 12 เรื่องซึ่งเป็นงานบริการที่สอดคล้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 โดยประเมินความสำเร็จจากทั้ง 12 งานบริการ Agenda บรรลุเป้าหมายขั้นมาตรฐานขึ้นไป  

12 งานบริการ Agenda ตามมติ ครม. 3 ส.ค. 64
1. ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID)
2. หนึ่งรหัส หนึ่งผู้ประกอบการ (One Identification : ID One SMEs)
3. ระบบการรับชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
4. ระบบการอนุญาตวัตถุอันตราย ณ จุดเดียว (Hazardous Substance Single Submission : HSSS)
5. ระบบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (GAP) พืช ประมง และปศุสัตว์
6. ระบบการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทาง (Ease of traveling)
7. ระบบช่วยเหลือผู้ว่างงานให้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน
8. ระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามแดนทางบกของกลุ่มประเทศ ACMECS ผ่านระบบ NSW
9. ระบบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและการขอรับความช่วยเหลือด้านการเกษตร
10. ระบบการแจ้งเตือนสิทธิ์และช่วยเหลือในการรับสวัสดิการของประชาชนตลอดช่วงชีวิต
11. ระบบการออกบัตรสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์
12. ศูนย์การร้องเรียนแบบเบ็ดเสร็จ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
12 งานบริการ Agenda ผ่านเป้าหมายขั้นต้น 5 (งานบริการ Agenda)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “สัดส่วนของกระบวนงานที่ปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิทัลต่อกระบวนงานทั้งหมดที่สามารถปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล” ของสำนักงาน ก.พ.ร.

คำอธิบาย

- เป็นการวัดผลสำเร็จในการพัฒนางานบริการภาครัฐให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลและเชื่อมโยงบริการผ่านระบบ Biz Portal และมีการใช้งานจริง (Adoption)
- ระบบ Biz Portal ได้รับการประกาศให้เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางของงานบริการภาครัฐสำหรับภาคธุรกิจและประชาชน (ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง แพลตฟอร์มกลางของงานบริการภาครัฐสำหรับภาคธุรกิจและประชาชน ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566) รวมทั้งขับเคลื่อนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 เห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐนำงานบริการมาให้บริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง (Biz & Citizen Portal) โดย (1) ให้หน่วยงานที่ยังไม่มีช่องทางการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์นำงานบริการมาพัฒนาบนแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางดังกล่าว เป็นทางเลือกแรก (2) ให้หน่วยงานที่มีงานบริการที่พัฒนาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว นำงานบริการมาเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง
- นับจำนวนการใช้บริการ (Transaction) จาก Biz Portal เป็นรายปีงบประมาณ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนการใช้บริการผ่านระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางภาครัฐ (Biz Portal) 18,472 (คำขอ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 

• แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 กำหนดแนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับการถ่ายโอนงานฯ ไว้ในหมุดหมายที่ 13 ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1.1 ยกเลิกภารกิจการให้บริการที่สามารถเปิดให้ภาคส่วนอื่นให้บริการแทน และ กลยุทธ์ที่ 2.1 เร่งทบทวนบทบาทภาครัฐและกระจายอำนาจการบริหารจัดการภาครัฐ
• การถ่ายโอนงานภาครัฐ หมายถึง การมอบงานหรือกิจกรรมของภาครัฐให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นเข้ามาร่วมดำเนินงานหรือดำเนินการแทนหน่วยงานภาครัฐทั้งหมดหรือบางขั้นตอน โดยอาจมีหลายรูปแบบ เช่น สัญญา/ใบอนุญาตมอบเอกชน สัญญาจ้าง เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อให้เกิดการปรับบทบาทภาครัฐมาสู่การเป็นผู้กำกับให้เป็นไปตามกฎหมาย/การอนุมัติอนุญาต/การกำหนดมาตรฐาน (Regulator) รวมทั้งเพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการทำงานที่นำไปสู่การลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรภาครัฐที่มีอยู่จำกัด 
• การประเมินความสำเร็จของตัวชี้วัด พิจารณาจากผลการดำเนินงานตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนการถ่ายโอนงานภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จ โดยแผนการถ่ายโอนงานภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ผ่านความเห็นชอบจาก อ.ก.พ.ร.ฯ

เงื่อนไข : รายชื่อหน่วยงานที่ดำเนินการขับเคลื่อนผ่านความเห็นชอบจาก คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการทบทวนบทบาทภารกิจและปรับปรุงโครงสร้างฯ โดยสำนักงาน ก.พ.ร. จะส่งรายชื่อหน่วยงานให้ภายในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ประมวลข้อมูล สรุปผลการติดตามและทบทวนสถานะการถ่ายโอนฯ ผ่าน
จัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือกงาน ผ่าน
จัดทำ Road Map การถ่ายโอนงานภาครัฐ (ภาพรวม) และการถ่ายโอนงานฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แล้วเสร็จ เสนอ ก.พ.ร. ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของภาครัฐ” ของสำนักงาน ก.พ.ร.

คำอธิบาย

• การประเมินความสำเร็จของตัวชี้วัด พิจารณาจาก การเปิดให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่  หมายถึง การเปิดให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ปฏิบัติการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดเชียงใหม่ และการขับเคลื่อนเมืองคาร์บอนต่ำ (Low carbon city) จังหวัดสระบุรี  

• ระดับการมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 1) การให้ข้อมูล (Inform) 2) การให้คำปรึกษา (Consult) 3) การเข้าร่วมกิจกรรม (Involve) 4) การสร้างความร่วมมือCollaboration 5) การมอบอำนาจการตัดสินใจ (Empowerment) ซึ่งการวัดความสำเร็จจะวัดในระดับความร่วมมือ (Collaboration) ขึ้นไป

• พื้นที่ปฏิบัติการ หมายถึง พื้นที่ดำเนินการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา PM 2.5 จังหวัดเชียงใหม่ เช่น อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การศึกษาและคัดเลือกพื้นที่ปฏิบัติการ ผ่าน
การประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ผ่าน
การกำหนดแนวทางการขับเคลื่อน การแก้ไขปัญหา PM 2.5 ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของภาครัฐ” ของสำนักงาน ก.พ.ร.

คำอธิบาย

• การประเมินความสำเร็จของตัวชี้วัด พิจารณาจาก การเปิดให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่  หมายถึง การเปิดให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ปฏิบัติการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดเชียงใหม่ และการขับเคลื่อนเมืองคาร์บอนต่ำ (Low carbon city) จังหวัดสระบุรี  

• ระดับการมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 1) การให้ข้อมูล (Inform) 2) การให้คำปรึกษา (Consult) 3) การเข้าร่วมกิจกรรม (Involve) 4) การสร้างความร่วมมือCollaboration 5) การมอบอำนาจการตัดสินใจ (Empowerment) ซึ่งการวัดความสำเร็จจะวัดในระดับความร่วมมือ (Collaboration) ขึ้นไป

• พื้นที่ปฏิบัติการ หมายถึง พื้นที่ดำเนินการขับเคลื่อนเมืองคาร์บอนต่ำ (Low carbon city) เช่น จังหวัดสระบุรี

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การศึกษาและคัดเลือกพื้นที่ปฏิบัติการ ผ่าน
การประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ผ่าน
การกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนเมืองคาร์บอนต่ำ (Low carbon city) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย

• รูปแบบการจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อสร้างความยืดหยุ่น คล่องตัวของส่วนราชการ มี 3 รูปแบบ คือ
1) การจัดโครงสร้างองค์กรแบบไม่เพิ่มจำนวนกอง (Rearrange)
2) การจัดโครงสร้างด้วยการผ่อนคลายกฎระเบียบ (OD Regulatory Sandbox)
3) การจัดโครงสร้างภายใต้วงเงินงบประมาณรวมด้านบุคลากรขององค์กร (block grant)

• สำนักงาน ก.พ.ร. ขับเคลื่อนการจัดโครงสร้างรูปแบบ Rearrange ตั้งแต่ ครม. มีมติเห็นชอบหลักการมอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการภายในกรม เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 61 และได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ครม. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 65 รวมทั้ง ให้ส่วนราชการสามารถตัดโอนหน่วยงานระหว่างกรมเพื่อสร้างความยืดหยุ่นได้มากขึ้น โดย ก.พ.ร. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 66

• ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงาน ก.พ.ร. มุ่งเน้นให้ส่วนราชการมีการจัดโครงสร้างรูปแบบ Rearrange ที่ไม่เพิ่มจำนวนกอง และจำนวนอัตรากำลังในภาพรวมของส่วนราชการ เพื่อไม่ก่อให้เกิดภาระงบประมาณภาครัฐ และการบริหารงานสามารถขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ทันตามสถานการณ์ปัจจุบัน

• การพิจารณาความสำเร็จการจัดโครงสร้างรูปแบบ Rearrange ตามตัวชี้วัดนี้ ครอบคลุมถึง การจัดโครงสร้างของส่วนราชการโดยไม่เพิ่มจำนวนกอง/หน่วยงาน และไม่เพิ่มอัตรากำลังในภาพรวมของส่วนราชการ ตามหลักการมอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการ หรือปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจปัจจุบันทั้ง Rearrange ระดับกรม (ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 65) และ Rearrange ระดับกระทรวง ภายในกระทรวงหรือข้ามกระทรวง (ตามมติ ก.พ.ร. เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 66)

• การประเมินความสำเร็จของตัวชี้วัด (12 เดือน) พิจารณาความสำเร็จจากการดำเนินงานตามขั้นตอนการแบ่งส่วนราชการ (ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ.ร. ด่วนที่สุดที่ นร 1200/ว 7 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566) : กรณีมอบอำนาจฯ ขั้นตอน สกพร.ตรวจร่างกฎกระทรวงแล้วเสร็จและแจ้งส่วนราชการ กรณีเสนอ ก.พ.ร. พิจารณา (Rearrange ภายใน/ข้ามกระทรวง) ขั้นตอน เสนอ ก.พ.ร. พิจารณา

• ส่วนราชการ หมายถึง ส่วนราชการระดับกรม หรือกระทรวง ที่มีการขอแบ่งส่วนราชการภายในกรม หรือกระทรวง โดยไม่เพิ่มจำนวนกองในภาพรวมของกรม หรือกระทรวง

• การจัดรูปแบบ Rearrange จะต้องมีการจัดประชุม 3 ฝ่าย ประกอบด้วย สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงาน ก.พ. และส่วนราชการที่ Rearrange รวมถึงมีการจัดตั้งคณะทำงานระดับกรมเพื่อดำเนินการดังกล่าว

เงื่อนไข :
1. ส่วนราชการเป้าหมาย จะเป็นไปตามการตอบรับของส่วนราชการที่ขอปรับโครงสร้างรูปแบบ Rearrange
2. กรณีส่วนราชการเป้าหมายขอปรับเปลี่ยนการปรับโครงสร้างจาก Rearrange เป็นการเพิ่มจำนวนกอง สกพร. ขอตัดส่วนราชการดังกล่าวออกจากจำนวนส่วนราชการเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
หนังสือแจ้งเวียนส่วนราชการเกี่ยวกับแนวทางการแบ่งส่วนราชการ Rearrange ระดับกระทรวง ผ่าน
จัดทำ template กลาง ผ่าน
จัดคลินิกให้คำปรึกษาส่วนราชการเชิงลึก อย่างน้อย 2 ครั้ง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “สัดส่วนของหน่วยงานที่มีเกณฑ์การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 ที่อยู่ในระดับก้าวหน้าขึ้นไป ต่อหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด” ของสำนักงาน ก.พ.ร.

คำอธิบาย

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยหน่วยงานที่มีเกณฑ์การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 ที่อยู่ในระดับก้าวหน้าขึ้นไปที่มีผลคะแนนตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไปต่อหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด ซึ่งหน่วยงานของรัฐ ประกอบด้วย ส่วนราชการระดับกรม จังหวัด และองค์การมหาชนที่ต้องดำเนินการตามตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วยหมวด 1 การนำองค์การ
หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้
หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และหมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความพึงพอใจในภาพรวมของการจัดกิจกรรมฯ 88.03 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• เป็นตัวชี้วัดเพื่อขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล
• ผู้ว่า CEO หมายถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ใช้การบริหารงานแบบบูรณาการความร่วมมือ งบประมาณ ทรัพยากรจากภาคส่วนต่าง ๆ ยึดปัญหาและความต้องการของประชาชน ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่เป็นหลัก และมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ที่สามารถวัดผลได้
• ข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้ว่า CEO หมายถึง ข้อเสนอในเชิงมิติงาน มิติงบประมาณ มิติระบบ หรือมิติบุคลากร ในการบริหารงาน   และการปลดล็อกประเด็นข้อจำกัด (pain point) หรือข้อกฎหมายในการอนุมัติ/อนุญาตตามประเด็นที่กำหนด เพื่อสร้างประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ 
• Agenda หมายถึง นโยบายสำคัญที่จะขับเคลื่อนในพื้นที่ เช่น การค้าชายแดน การท่องเที่ยว การลงทุน อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม สังคม เป็นต้น รวมทั้ง ประเด็นข้อเสนอ (Issue) ในมิติงาน มิติงบประมาณ มิติระบบ หรือมิติบุคลากร
• Pain point  คือ ประเด็นข้อจำกัดในการบริหารงานหรือการอนุมัติ/อนุญาต ที่จำเป็นต้องปลดล็อกเพื่อให้การบริหารงานของผู้ว่า CEO มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
• จำนวน Agenda ที่จะนำมานับเป็นค่าเป้าหมายในเกณฑ์การประเมินรอบ ที่ 2 จะต้องเป็น Agenda ที่ไม่ซ้ำกัน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กำหนด Agenda และศึกษากระบวนงานในแต่ละประเด็นเพื่อหา pain point ผ่าน
Focus Group กับพื้นที่ (จังหวัด) และผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่าน
อ.ก.พ.ร.ฯ พิจารณา (ร่าง) ข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย
• ชุดข้อมูล (Dataset) หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน
• ระบบบัญชีข้อมูล หมายถึง ระบบโปรแกรมประยุกต์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน
• บัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูลสำคัญที่รวบรวมจากบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
• ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลภาครัฐมารวบรวมและจัดหมวดหมู่ รวมถึงระบบนามานุกรม (Directory Services) ที่ให้บริการสืบค้นบัญชีรายการข้อมูลภาครัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
• ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง (High Value Datasets) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งในมุมผู้ให้ข้อมูลและมุมของผู้นำข้อมูลไปใช้

แนวทางการประเมินการนำชุดข้อมูลมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ 
1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุงชุดข้อมูล และดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) กำหนด
2) พัฒนาชุดข้อมูลเปิดทุกชุดที่เผยแพร่บนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน
3) มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) นำชุดข้อมูลเปิดบนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานที่ยังไม่ลงทะเบียนระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
1 ถึง 25 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 100

กลุ่มที่ 2: 26 ถึง 100 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90

กลุ่มที่ 3: 101 ชุดข้อมูลขั้นไป
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 70
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 70
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัล แบ่งเป็น 5 ระดับ (ระดับที่ 1 ระดับขั้นริเริ่ม (Initial) , ระดับที่ 2 ระดับขั้นต้น (Developing) , ระดับที่ 3 ระดับขั้นกลาง (Defined) , ระดับที่ 4 ระดับขั้นสูง (Managed) , ระดับที่ 5 ระดับขั้นสูงสุด (Optimizing)) จากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 1 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar

กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ลดลงอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เท่ากับผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป 7 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 4 ขึ้นไปอย่างน้อย 3 Pillar และไม่มี Pillar ที่ต่ำกว่าระดับ 3

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 4 Pillar

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 5 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 7 Pillar

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลเป็นคะแนนโดยรวมจากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar และ
กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 66 + 5 คะแนน

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: สูงกว่าคะแนนปี 66

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ไม่ต้องประเมินตัวชี้วัดนี้ เนื่องจากไม่มีผลคะแนนปี 66

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ต่ำกว่า 350 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 275 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: 350 คะแนน

กลุ่มที่ 2: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 350 แต่น้อยกว่า 400 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 350 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 10 %

กลุ่มที่ 3: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 400 - 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 400 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 2 %

กลุ่มที่ 4 ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  มากกว่า 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 445 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: (คะแนนปี 2566 + 445)/2
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566