รายงานผลการประเมิน

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย

1. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ดำเนินการประเมินผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นประจำทุกปี และผลการประเมินได้นำไปใช้เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาในระยะต่อไปมาโดยตลอด โดย สศช. ได้พัฒนา “ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย (Green and Happiness Index: GHI)” ขึ้น เพื่อวัดผลกระทบสุดท้ายที่เกิดขึ้นกับคน ตามแนวคิด “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพของคนเพื่อให้เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยมีองค์ประกอบที่ครอบคลุมทั้งการมีสุขภาวะ เศรษฐกิจเข้มแข็งและเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศสมดุล สังคมประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาล และการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

2. ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งเป็นแผน 5 ปีระยะที่ 2 ในช่วงของแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงบริบทของสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างผันผวนรุนแรง รวมทั้งเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ที่ต้องการพลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” ดังนั้น ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยชุดเดิม จึงอาจไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสมสำหรับใช้ประเมินผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาประเทศในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 สศช. จึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงดัชนีชี้วัดฯ  เพื่อให้สามารถวัดผลกระทบในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และสอดคล้องกับบริบทของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มากที่สุด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กรอบแนวคิดของความอยู่เย็นเป็นสุข นิยามขององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อย ผ่าน
เค้าโครงและวิธีการคำนวณค่าคะแนนตัวชี้วัด และวิธีการคำนวณดัชนีรวม (Composite Index) ผ่าน
จัดประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบแนวคิดของความอยู่เย็นเป็นสุข นิยามของแต่ละองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และประเด็นชี้วัด ผ่าน
ร่างตัวชี้วัดและแหล่งข้อมูลในแต่ละองค์ประกอบ เกณฑ์มาตรฐานของตัวชี้วัด วิธีการคำนวณค่าคะแนนตัวชี้วัด และดัชนีรวม (Composite Index)และการกำหนดค่าถ่วงน้ำหนัก ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมด” ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

คำอธิบาย

สศช. มีภารกิจในการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product: GPP) แบบ Top down เพื่อวัดมูลค่าการผลิตระดับจังหวัด ที่ครอบคลุมธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้พื้นที่แต่ละจังหวัด โดยมีการรวบรวมสถิติข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลเชิงลึกในระดับจังหวัด เพื่อนำไปประมวลผลข้อมูลมูลค่าเพิ่มรายสาขาการผลิตของแต่ละจังหวัด และรายงานผลสถิติผลิตภัณฑ์ของแต่ละจังหวัดทุกปี ปัจจุบัน มีความต้องการใช้ข้อมูลภายใต้พื้นที่จังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มมากขึ้น ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว ประกอบด้วย

1) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา

2) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค ได้แก่ (1) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง (2) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย (3) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช และ (4) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (CWEC) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และกาญจนบุรี

3) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนใน 10 จังหวัด ได้แก่ ตาก เชียงราย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร สระแก้ว ตราด สงขลา นราธิวาส และกาญจนบุรี

จึงจำเป็นต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และรายงานข้อมูลที่จำแนกตามกลุ่มพื้นที่จังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ตรงตามเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางขึ้น

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รวบรวมข้อมูลสำหรับจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ได้ครบถ้วน ผ่าน
เสนอผลการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) แก่หัวหน้าส่วนราชการ (ลศช.) เพื่อพิจารณาอนุมัติ ผ่าน
เผยแพร่ตารางสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ทางเว็บไซต์ สศช. แก่สาธารณชน ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย

1. แผนระดับที่ 3 เป็นกลไกที่สำคัญของหน่วยงานในการใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ไปสู่การปฏิบัติ ผ่านการดำเนินการของทุกหน่วยงานของรัฐเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยการดำเนินการที่ผ่านมา มีแนวทางการนำเสนอแผนและหลักเกณฑ์การวิเคราะห์แผนระดับที่ 3  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานระยะที่ใช้ในขั้นตอนดังกล่าว การปรับปรุงกระบวนการเพื่อให้อยู่ในกรอบเวลา 45 วันทำการ ที่กำหนดไว้ในการพิจารณาแผนระดับที่ 3 โดยนำร่องในส่วนที่ต้องเร่งรัดดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ในปี 2567 ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในกระบวนการพิจารณาแผนระดับที่ 3 ด้านอื่นๆ ในระยะต่อไป

2. การกำหนดค่าเป้าหมาย คำนวณจากสัดส่วนของการวิเคราะห์จำนวนต้นเรื่องแผนระดับที่ 3 ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ที่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลา 45 วันทำการ (ภายหลังจากที่ได้รับข้อมูลครบถ้วน) เทียบกับจำนวนต้นเรื่องทั้งหมดด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ที่เข้ามาในปีนั้น ๆ โดยระยะเวลาคำนวณจากวันที่ตามหนังสือต้นเรื่อง หรือวันที่ส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ถึงวันที่ตามหนังสือแจ้งความเห็นจาก สศช. (นับวันทำการ 5 วันต่อสัปดาห์)

หมายเหตุ : แผนระดับที่ 3 (ที่มีข้อมูลครบถ้วน) จะต้องเสนอมายัง สศช. ภายในวันที่ 25 กรกฎาคม 2567  หรือ ก่อน 45 วันทำการก่อนสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จในการปรับปรุงกระบวนการวิเคราะห์แผนระดับที่ 3 ด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ ที่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลา 45 วันทำการ (ภายหลังจากที่ได้รับขอมูลครบถ้วน) 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

-  เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคในการกระจายรายได้ของภาค” ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม

คำอธิบาย

1. สศช. มีบทบาทสำคัญในการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบาย แผนงาน และโครงการพัฒนาที่มีผลกระทบในวงกว้างต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ สำนักงานฯ ได้จัดทำและเผยแพร่รายงานสถานการณ์ความยากจนและเหลื่อมล้ำเป็นประจำทุกปี

2. ฐานข้อมูลหลักที่ใช้สำหรับการประมวลผลข้อมูลสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำดังกล่าว มาจากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคม (SES) ที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งมีข้อจำกัดบางประการเกี่ยวกับการเข้าถึงตัวอย่างที่มีรายได้สูง และอาจนำไปสู่ผลการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ที่อาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงมากนัก โดยการศึกษาในปี 2567 จะเป็นการผนวกข้อมูลการสำรวจ SES กับข้อมูลภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากกรมสรรพากร เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ให้มีความคลอบคลุมกับกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้ Gini Coefficient มีความถูกต้องและครอบคลุมได้มากยิ่งขึ้น

3. การจัดทำรายงานการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของไทย จึงเป็นกระบวนการสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากยิ่ง ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
สรุปการศึกษาและทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และงานศึกษาที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำของไทย ผ่าน
สามารถกำหนดกระบวนการระดมความเห็นเพื่อประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำของไทย ไม่ผ่าน
ผู้บริหาร สศช. เห็นชอบการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และประเด็นสำคัญเพื่อระดมความเห็นในการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำของไทย ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย
• ชุดข้อมูล (Dataset) หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน
• ระบบบัญชีข้อมูล หมายถึง ระบบโปรแกรมประยุกต์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน
• บัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูลสำคัญที่รวบรวมจากบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
• ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลภาครัฐมารวบรวมและจัดหมวดหมู่ รวมถึงระบบนามานุกรม (Directory Services) ที่ให้บริการสืบค้นบัญชีรายการข้อมูลภาครัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
• ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง (High Value Datasets) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งในมุมผู้ให้ข้อมูลและมุมของผู้นำข้อมูลไปใช้

แนวทางการประเมินการนำชุดข้อมูลมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ 
1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุงชุดข้อมูล และดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) กำหนด
2) พัฒนาชุดข้อมูลเปิดทุกชุดที่เผยแพร่บนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน
3) มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) นำชุดข้อมูลเปิดบนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานที่ยังไม่ลงทะเบียนระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
1 ถึง 25 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 100

กลุ่มที่ 2: 26 ถึง 100 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90

กลุ่มที่ 3: 101 ชุดข้อมูลขั้นไป
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 70
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 70
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย

รายงานการวิเคราะห์ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ของ International Institute for Management Development (IMD) เป็นการวิเคราะห์อันดับขีดความสามารถของประเทศโดยใช้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นรายปีตามตัวชี้วัดที่กำหนด ประกอบด้วยข้อมูล 3 ประเภท ได้แก่
1) ข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารในภาคเอกชน/ธุรกิจ (Survey Data)
2) ข้อมูลเชิงสถิติที่ใช้ในการคำนวณคะแนนในการจัดอันดับของประเทศ (Hard Data)
3) ข้อมูลพื้นฐานที่ไม่ได้ใช้ในการจัดอันดับโดยตรง (Background Information)

ทั้งนี้ ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีผลต่อการจัดอันดับของประเทศ เป็นข้อมูลสถิติที่ได้จากการสำรวจ/สำมะโน/ทะเบียน หรือเกิดจากการคำนวณ/ประมาณค่าข้อมูล อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลของหน่วยงานเจ้าของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และจะต้องมีการกำหนดรอบระยะเวลาการเผยแพร่ข้อมูล การปรับฐานข้อมูล และการให้คำนิยามตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับคำนิยามตามตัวชี้วัดของ IMD
สำหรับการจัดส่งข้อมูลของประเทศไทย จะดำเนินการ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) หน่วยงานในประเทศส่งข้อมูลให้กับ IMD โดยตรง และ 2) ส่งผ่านทางสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (Thailand Management Association : TMA)
ดังนั้น การจัดทำชุดข้อมูลที่มีคำนิยามสอดคล้องกับคำนิยามตัวชี้วัดของ IMD และเป็นปัจจุบันจะช่วยสะท้อนผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่ในการรวบรวมชุดข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ TMA ร้องขอ เพื่อดำเนินการจัดส่งให้กับ IMD ในลำดับต่อไป

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในเดือนมีนาคม 2567
2) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวบรวมชุดข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตรวจสอบความถูกต้องของชุดข้อมูลและจัดส่งให้กับ TMA ภายในเดือนเมษายน 2567

รายชื่อส่วนราชการกลุ่มเป้าหมาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 4 หน่วยงาน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัล แบ่งเป็น 5 ระดับ (ระดับที่ 1 ระดับขั้นริเริ่ม (Initial) , ระดับที่ 2 ระดับขั้นต้น (Developing) , ระดับที่ 3 ระดับขั้นกลาง (Defined) , ระดับที่ 4 ระดับขั้นสูง (Managed) , ระดับที่ 5 ระดับขั้นสูงสุด (Optimizing)) จากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 1 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar

กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ลดลงอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เท่ากับผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป 7 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 4 ขึ้นไปอย่างน้อย 3 Pillar และไม่มี Pillar ที่ต่ำกว่าระดับ 3

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 4 Pillar

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 5 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 7 Pillar

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลเป็นคะแนนโดยรวมจากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar และ
กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 66 + 5 คะแนน

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: สูงกว่าคะแนนปี 66

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ไม่ต้องประเมินตัวชี้วัดนี้ เนื่องจากไม่มีผลคะแนนปี 66

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ต่ำกว่า 350 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 275 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: 350 คะแนน

กลุ่มที่ 2: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 350 แต่น้อยกว่า 400 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 350 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 10 %

กลุ่มที่ 3: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 400 - 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 400 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 2 %

กลุ่มที่ 4 ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  มากกว่า 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 445 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: (คะแนนปี 2566 + 445)/2
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566