รายงานผลการประเมิน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 

สำนักงาน ก.พ. มีภารกิจในการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ  เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรภาครัฐที่มีคุณภาพ เหมาะสมในการปฏิบัติราชการในบริบทของการทำงานในอนาคต บริบทการพัฒนาประเทศ และสอดรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี

ขอบเขตการประเมิน : สำนักงาน ก.พ. มีการพัฒนาหลักสูตรการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ทั้งในเรื่องขององค์ประกอบการวัด กรอบเนื้อหา  และเกณฑ์การตัดสิน

วิธีการเก็บข้อมูล : ข้อมูลจากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากส่วนราชการระดับกรม และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวัดและประเมินบุคคล

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
สรุปความเห็นการประชุมมอกพ.วิสามัญเกี่ยวกับการสรรหาและเลือกสรร และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำแนวทางการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการสอบ ผ่าน
จัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิด้านเครื่องมือประเมินบุคคลเพื่อพัฒนารายละเอียดหลักสูตรการสอบ เช่น องค์ประกอบ เนื้อหา รูปแบบ ผ่าน
ร่างหลักสูตรการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย

ก.พ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งตาม กฎ ก.พ. ว่าด้วยการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม พ.ศ. 2564 จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ตำแหน่งประเภททั่วไป ประเภทวิชาการ และประเภทอำนวยการและสำนักงาน ก.พ. ได้แจ้งเวียนส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงาน ก.พ. ได้รับหนังสือคำขอหารือ/ขอยกเว้นหลักเกณฑ์จากส่วนราชการ ทำให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดจากการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ดังนั้น สำนักงาน ก.พ. จะดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งข้าราชการตำแหน่งประเภทวิชาการ และประเภทอำนวยการและเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้แก่ส่วนราชการ โดยการจัดประชุมชี้แจงส่วนราชการ และจัดทำคู่มือการแต่งตั้งข้าราชการในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและชัดเจน เพื่อให้ส่วนราชการสามารถบริหารงานทรัพยากรบุคคลได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งหากส่วนราชการมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบริหารทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลแล้ว จะทำให้สำนักงาน ก.พ. ได้รับคำขอหารือ/ขอยกเว้นหลักเกณฑ์จากส่วนราชการต่างๆ ลดลง

ขอบเขตการประเมิน : ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการ และอำนวยการ ที่สอดคล้องกับการบริหารงานทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ พร้อมทั้งจัดการประชุมชี้แจงและจัดทำคู่มือการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญสำหรับตำแหน่งประเภททั่วไป ประเภทวิชาการ และประเภทอำนวยการ

วิธีการเก็บข้อมูล : ข้อมูลจำนวนคำขอหารือ/ขอยกเว้นหลักเกณฑ์จากส่วนราชการที่เป็นทางการ จากระบบสารบรรณ

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
แจ้งเวียนหลักเกณฑ์การแต่งตั้งข้าราชการตำแหน่งประเภทวิชาการ และตำแหน่งประเภทอำนวยการ ที่มีการปรับปรุงให้กับส่วนราชการ ผ่าน
จัดประชุมชี้แจงส่วนราชการเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การแต่งตั้งข้าราชการ ผ่าน
แจ้งเวียนคู่มือการแต่งตั้งข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไป ประเภทวิชาการ และประเภทอำนวยการ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 

มาตรา 13 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กำหนดอำนาจหน้าที่สำนักงาน ก.พ. ในการจัดทำยุทธศาสตร์ ประสาน และดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน ในการนี้ ได้จัดทำ “แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570” เพื่อให้บุคลากรและหน่วยงานของรัฐใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ และสมรรถนะในการปฏิบัติงานที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนภารกิจของหน่วยงานและพัฒนาหน่วยงานตามเป้าหมายการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ บทบาทของส่วนราชการในการพัฒนาบุคลากร ประการแรกจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของส่วนราชการ ที่สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาฯ ดังกล่าว และยุทธศาสตร์องค์กรของหน่วยงาน ซึ่งเมื่อส่วนราชการมีแผนดำเนินการที่ชัดเจน ครอบคลุมการพัฒนาทุกกลุ่มเป้าหมาย และมีแนวทางในการดำเนินการ ติดตามและประเมินผลอย่างชัดเจน จะทำให้การพัฒนาบุคลากรของส่วนราชการในภาพรวมขับเคลื่อนไปอย่างเป็นระบบ และมีบุคลากรทุกคนในระบบราชการได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงด้วย

ขอบเขตการประเมิน : สำนักงาน ก.พ. มีการจัดทำคู่มือการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร และชี้แจงทำความเข้าใจ หรือมีกิจกรรมเชิงปฏิบัติร่วมกับส่วนราชการ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาฯ ตลอดจนตอบสนองต่อการขับเคลื่อนภารกิจของส่วนราชการ และมีการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของส่วนราชการตามแผนพัฒนาฯ ที่ส่วนราชการจัดทำอย่างต่อเนื่อง

วิธีการเก็บข้อมูล :

- ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของส่วนราชการ

- สำนักงาน ก.พ. รวบรวมแผนพัฒนาบุคลากรของส่วนราชการ และดำเนินกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรให้แก่ส่วนราชการตามความเหมาะสม (พิจารณาประเด็นตามความจำเป็นของส่วนราชการ)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จัดทำคู่มือการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร และกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาความครบถ้วนของประเด็นและการติดตามการดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากร ผ่าน
ชี้แจงและดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจ และการนำไปดำเนินการแก่ส่วนราชการ รวมถึงการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการต่อคณะอนุกรรรมการ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องของสำนักงาน ก.พ. ผ่าน
ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากรของส่วนราชการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของส่วนราชการที่ได้รับการส่งเสริม ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 มีการขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. 2565 – 2570)” ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

คำอธิบาย 

- การขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. 2565-2570)  หมายถึง การดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ ที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 และยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมฯ เช่น นโยบาย แผนงาน กิจกรรม/โครงการ มาตรการ กลไกการส่งเสริมจริยธรรม การจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรม รวมทั้งการนำพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคล หรือการประเมินพฤติกรรมทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นต้น

 - หน่วยงานของรัฐ หมายถึง หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 จำนวน 449 แห่ง แบ่งเป็นส่วนราชการ และจังหวัดตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน จำนวน 218 แห่ง และหน่วยงานของรัฐตามประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทอื่น จำนวน 231 แห่ง

ขอบเขตการประเมิน : การขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. 2565-2570) ของหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 จำนวน 449 แห่ง

วิธีการเก็บข้อมูล :

- หน่วยงานของรัฐรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566

- สำนักงาน ก.พ. และองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม สรุปผลการดำเนินการ เสนอต่อ ก.ม.จ. และคณะรัฐมนตรี

แหล่งที่มาของข้อมูล : หน่วยงานของรัฐ องค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม และสำนักงาน ก.พ. เป็นผู้จัดเก็บข้อมูล

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รวบรวมและวิเคราะห์รายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ และองค์กรกลางบริหารงานบุคคล หรือองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566 รวมถึงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ พร้อมจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ ผ่าน
จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ และองค์กรกลางบริหารงานบุคคล หรือองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566 รวมถึงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ พร้อมจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ เสนอ ก.ม.จ. ให้ความเห็นชอบ ไม่ผ่าน
ชี้แจงให้หน่วยงานของรัฐ และองค์กรกลางบริหารงานบุคคล หรือองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมทราบรายงานผลการดำเนินการฯ ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566 เพื่อนำไปขับเคลื่อนให้การส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ ที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ 2567 มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ผ่าน
เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินการฯ ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566 รวมถึงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ พร้อมข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 มีการขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. 2565 – 2570)” ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

คำอธิบาย 

- การขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. 2565-2570) หมายถึง การดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ ที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 และยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมฯ เช่น นโยบาย แผนงาน กิจกรรม/โครงการ มาตรการ กลไกการส่งเสริมจริยธรรม การจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรม รวมทั้งการนำพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคล หรือการประเมินพฤติกรรมทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นต้น

 - หน่วยงานของรัฐ หมายถึง หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 จำนวน 449 แห่ง แบ่งเป็นส่วนราชการ และจังหวัดตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน จำนวน 218 แห่ง และหน่วยงานของรัฐตามประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทอื่น จำนวน 231 แห่ง

ขอบเขตการประเมิน : การขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. 2565-2570) ของหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 จำนวน 449 แห่ง

วิธีการเก็บข้อมูล :

- หน่วยงานของรัฐรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566

- สำนักงาน ก.พ. และองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม สรุปผลการดำเนินการ เสนอต่อ ก.ม.จ. และคณะรัฐมนตรี

แหล่งที่มาของข้อมูล : หน่วยงานของรัฐ องค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม และสำนักงาน ก.พ. เป็นผู้จัดเก็บข้อมูล

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รวบรวมและวิเคราะห์รายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ และองค์กรกลางบริหารงานบุคคล หรือองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566 รวมถึงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ พร้อมจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ ผ่าน
จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ และองค์กรกลางบริหารงานบุคคล หรือองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566 รวมถึงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ พร้อมจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ เสนอ ก.ม.จ. ให้ความเห็นชอบ ไม่ผ่าน
ชี้แจงให้หน่วยงานของรัฐ และองค์กรกลางบริหารงานบุคคล หรือองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมทราบรายงานผลการดำเนินการฯ ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566 เพื่อนำไปขับเคลื่อนให้การส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ ที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ 2567 มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ผ่าน
เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินการฯ ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566 รวมถึงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ พร้อมข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย
• ชุดข้อมูล (Dataset) หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน
• ระบบบัญชีข้อมูล หมายถึง ระบบโปรแกรมประยุกต์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน
• บัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูลสำคัญที่รวบรวมจากบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
• ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลภาครัฐมารวบรวมและจัดหมวดหมู่ รวมถึงระบบนามานุกรม (Directory Services) ที่ให้บริการสืบค้นบัญชีรายการข้อมูลภาครัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
• ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง (High Value Datasets) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งในมุมผู้ให้ข้อมูลและมุมของผู้นำข้อมูลไปใช้

แนวทางการประเมินการนำชุดข้อมูลมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ 
1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุงชุดข้อมูล และดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) กำหนด
2) พัฒนาชุดข้อมูลเปิดทุกชุดที่เผยแพร่บนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน
3) มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) นำชุดข้อมูลเปิดบนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานที่ยังไม่ลงทะเบียนระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
1 ถึง 25 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 100

กลุ่มที่ 2: 26 ถึง 100 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90

กลุ่มที่ 3: 101 ชุดข้อมูลขั้นไป
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 70
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 70
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย  
• ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง แพลตฟอร์มกลางของงานบริการภาครับสำหรับภาคธุรกิจและประชาชน กำหนดให้มีการผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำข้อมูลหลักของหน่วยงาน (Master Data)
• สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) ร่วมกันกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกชุดข้อมูล เพื่อยกระดับชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นชุดข้อมูลหลักของหน่วยงาน (Master Data)
• ชุดข้อมูล (Dataset) หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล
• Machine Readable หมายถึง รูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ประมวลผลต่อได้ ได้แก่ CSV, ODS, XML, JSON, KML, SHP, KMZ, RDF (URIs) , RDF (Linked Data)
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง (High Value Datasets) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งในมุมผู้ให้ข้อมูลและมุมของผู้นำข้อมูลไปใช้
• คำอธิบายวิธีการเข้าถึงข้อมูล ตามรูปแบบที่สามารถเข้าถึงได้ ประกอบด้วย (1) ลิงค์ URL Datafile หรือ URL API ที่หน่วยงานสามารถเชื่อมโยงได้ หรือลิงค์ สำหรับให้ประชาชนหรือเอกชนสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ เช่น ตรวจสอบใบอนุญาต (2) วิธีการและเงื่อนไขการเข้าถึงข้อมูล เช่น คู่มือการดึงข้อมูล API Document หรือข้อกำหนดในการนำข้อมูลไปใช้
• แพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง เช่น ระบบ Linkage Center, NSW, GDX เป็นต้น
• การนำข้อมูลหลัก (Master Data) ไปใช้ประโยชน์ร่วมกับหน่วยงานภายนอก ต้องระบุชื่อหน่วยงานภาครัฐที่นำข้อมูลไปใช้ หรือแสดงหลักฐานการใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกับหน่วยงานอื่น

แนวทางการประเมินชุดข้อมูลที่ยกระดับเป็น Master Data
1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุงชุดข้อมูล และดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) กำหนด
2) จัดทำคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
3) นำขึ้นระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน (Agency Data Catalog)
4) จัดเก็บข้อมูลที่คัดเลือกในรูปแบบดิจิทัล โดยกรณีที่เป็นใบอนุญาต ให้อ้างอิง วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 5 “การจัดทำฐานข้อมูลใบอนุญาตที่กฎหมายกำหนดฯ”
5) คุณภาพทุกชุดข้อมูลต้องเป็นประเภท Structure Data และมีคุณลักษณะชุดข้อมูลที่เป็น Machine Readable เท่านั้น
6) พัฒนาชุดข้อมูลหลักของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน
7) เปิดเผยให้ประชาชน/ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบข้อมูลได้
8) มีช่องทาง (แพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง) ที่สามารถให้หน่วยงานอื่นเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันได้
9) มีการรวบรวม/วิเคราะห์สถิติการใช้งานข้อมูล และเสนอแนวทางการสนับสนุนให้มีการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์มากขึ้น

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
ข้อมูลตั้งแต่ 1-4 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: ชุดข้อมูลที่ยกระดับเป็น Master Data ตามแนวทางฯ ข้อ 1-7 จำนวน X ชุด
เป้าหมายมาตรฐาน: ชุดข้อมูลที่ยกระดับเป็น Master Data จำนวน X ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นสูง: 1) ชุดข้อมูลที่ยกระดับเป็น Master Data จำนวน X ชุดข้อมูล 2) นำข้อมูลหลัก (Master Data) ไปใช้ประโยชน์ร่วมกับหน่วยงานภายนอก สามารถเชื่อมโยงผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล

กลุ่มที่ 2: 5 ชุดข้อมูลขึ้นไป
เป้าหมายขั้นต้น: 1) ชุดข้อมูลที่ยกระดับเป็น Master Data จำนวน X-2 ชุดข้อมูล  2) นำข้อมูลหลัก (Master Data) ไปใช้ประโยชน์ร่วมกับหน่วยงานภายนอก สามารถเชื่อมโยงผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) ชุดข้อมูลที่ยกระดับเป็น Master Data จำนวน X-1 ชุดข้อมูล  2) นำข้อมูลหลัก (Master Data) ไปใช้ประโยชน์ร่วมกับหน่วยงานภายนอก สามารถเชื่อมโยงผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นสูง: 1) ชุดข้อมูลที่ยกระดับเป็น Master Data จำนวน X ชุดข้อมูล  2) นำข้อมูลหลัก (Master Data) ไปใช้ประโยชน์ร่วมกับหน่วยงานภายนอก สามารถเชื่อมโยงผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัล แบ่งเป็น 5 ระดับ (ระดับที่ 1 ระดับขั้นริเริ่ม (Initial) , ระดับที่ 2 ระดับขั้นต้น (Developing) , ระดับที่ 3 ระดับขั้นกลาง (Defined) , ระดับที่ 4 ระดับขั้นสูง (Managed) , ระดับที่ 5 ระดับขั้นสูงสุด (Optimizing)) จากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 1 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar

กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ลดลงอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เท่ากับผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป 7 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 4 ขึ้นไปอย่างน้อย 3 Pillar และไม่มี Pillar ที่ต่ำกว่าระดับ 3

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 4 Pillar

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 5 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 7 Pillar

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลเป็นคะแนนโดยรวมจากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar และ
กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 66 + 5 คะแนน

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: สูงกว่าคะแนนปี 66

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ไม่ต้องประเมินตัวชี้วัดนี้ เนื่องจากไม่มีผลคะแนนปี 66

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ต่ำกว่า 350 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 275 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: 350 คะแนน

กลุ่มที่ 2: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 350 แต่น้อยกว่า 400 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 350 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 10 %

กลุ่มที่ 3: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 400 - 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 400 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 2 %

กลุ่มที่ 4 ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  มากกว่า 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 445 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: (คะแนนปี 2566 + 445)/2
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566