รายงานผลการประเมิน

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

1. การตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะดำเนินการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จตามที่คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย โดยประเมินตามลำดับกฎหมาย 2 ประเภท

   1.1 กฎหมายแม่บท ได้แก่ พระราชบัญญัติ

   1.2 กฎหมายลูกบท ได้แก่ พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง/ต่ำกว่า  

2. โดยกำหนดมาตรฐานระยะเวลาแล้วเสร็จ ดังนี้

   2.1 กฎหมายขนาดสั้น (จำนวนตั้งแต่ 1 - 10 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 3 เดือน

   2.2 กฎหมายขนาดกลาง (จำนวนตั้งแต่ 11 - 20 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 6 เดือน

   2.3 กฎหมายขนาดยาว (จำนวนตั้งแต่ 21 มาตรา/ข้อ ขึ้นไป) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 1 ปี

   2.4 กฎหมายที่มีแผนที่แนบท้าย ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายปกติไม่เกิน 4 เดือน แผนที่มากกว่า 1 แผ่น ไม่เกิน 6 เดือน มีปัญหาความยุ่งยาก ไม่เกิน 8 เดือน

   2.5 กฎหมายที่มีบัญชีท้าย/ภาคผนวกท้าย จำนวน 1 หน้า ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 4 เดือน จำนวน 2 - 10 หน้า ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 11 หน้าขึ้นไป ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 8 เดือน

         ทั้งนี้ กฎหมายตามแผนปฏิรูปประเทศใช้มาตรฐานระยะเวลาเดียวกัน โดยมาตรฐานระยะเวลาแล้วเสร็จตามข้อ 2 ไม่รวมระยะเวลาที่ต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (RIA) และระยะเวลารอเข้าประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาและระยะเวลาที่ไม่อยู่ในการพิจารณาของสำนักงานฯ จะไม่นำมานับเป็นระยะเวลาในการตรวจพิจารณากฎหมาย

3. ร่างกฎหมายที่ไม่นำมานับเป็นผลการดำเนินงาน โดยมีเหตุผลที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามกระบวนการพิจารณาปกติ เรียกว่า ประเภทของกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษ จำนวน 6 ประเภท ดังนี้

   3.1 ประเภท 1 หมายถึง กฎหมายที่มีผลกระทบในทางสังคมหรือเศรษฐกิจเป็นอย่างมากจำเป็นต้องรับฟังผู้เกี่ยวข้องหรือการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม

   3.2 ประเภท 2 หมายถึง กฎหมายที่มีเนื้อหาเป็นการกำหนดองค์กร หรือโครงสร้างทางการเมือง ซึ่งกระทบต่อกระบวนการการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงกฎหมายที่ต้องทบทวนหลักการให้แตกต่างจากหลักการเดิม และต้องการวางกลไกทางกฎหมายมากเป็นพิเศษ หรือมีข้อโต้แย้งมากจำเป็นต้องพิจารณาให้ได้ข้อยุติก่อน

   3.3 ประเภท 3 หมายถึง กฎหมายที่ต้องมีขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามพันธะข้อตกลงระหว่างประเทศซึ่งต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

   3.4 ประเภท 4 หมายถึง กฎหมายที่ต้องตราขึ้นเพื่อรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ และติดตามทบทวนวิทยาการใหม่ ๆ

   3.5 ประเภท 5 หมายถึง กฎหมายในลักษณะที่จะต้องจัดทำกฎหมายอื่นให้สอดคล้องไปในคราวเดียวกันหลายฉบับหรือมีลักษณะเป็นประมวลกฎหมาย

   3.6 ประเภท 6 หมายถึง กฎหมายที่มีแผนที่แนบท้ายที่มีลักษณะยุ่งยากและซับซ้อนต้องตรวจสอบความทับซ้อนกฎหมายอื่นจำนวนมาก มีกระบวนการตรวจพิจารณามากกว่ากฎหมายปกติ

4. การนับจำนวนเรื่องรับเข้า หมายถึง เรื่องที่ยังอยู่ในเวลามาตรฐาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

- กฎหมายขนาดสั้น (จำนวนตั้งแต่ 1 - 10 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 3 เดือน  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 ก.ค. 66 – 30 มิ.ย. 67

- กฎหมายขนาดกลาง (จำนวนตั้งแต่ 11 - 20 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 6 เดือน  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 เม.ย. 66 – 31 มี.ค. 67

- กฎหมายขนาดยาว (จำนวนตั้งแต่ 21 มาตรา/ข้อ ขึ้นไป) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 1 ปี  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 ต.ค. 65 – 30 ก.ย. 66

5. การเร่งรัดการตรวจพิจารณาดำเนินงานเรื่องค้างดำเนินการก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นการดำเนินการเร่งรัดการตรวจพิจารณาเรื่องการค้างดำเนินการของ 1) กฎหมายแม่บท ได้แก่ พระราชบัญญัติ 2) กฎหมายลูกบท ได้แก่ พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง/ต่ำกว่า และ 3) ความเห็นทางกฎหมายประเภททั่วไป ที่ไม่สามารถตรวจพิจารณาได้แล้วเสร็จตามกรอบเวลา

   มาตรฐานการตรวจพิจารณาปกติ และต้องดำเนินงาน ณ 30 กันยายน 2566 จำนวน X เรื่อง แบ่งเป็น

   5.1 กฎหมายแม่บท จำนวน A เรื่อง

   5.2 กฎหมายลูกบท จำนวน B เรื่อง

   5.3 ความเห็นทางกฎหมายประเภททั่วไป จำนวน C เรื่อง

6. การนับจำนวนเรื่องรับเข้า เรื่องที่รับก่อน 1 ตุลาคม 2566 ที่ยังตรวจพิจารณาไม่แล้วเสร็จและเกินเวลามาตรฐานตามที่กำหนดไว้จนถึง 30 กันยายน 2566 ไม่กำหนดมาตรฐานระยะเวลา

   การตรวจพิจารณาปกติ เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับการดำเนินงานปกติในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ขอบเขตการประเมิน :

•การนับจำนวนเรื่องรับเข้า หมายถึง เรื่องที่ยังอยู่ในเวลามาตรฐาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

- กฎหมายขนาดสั้น (จำนวนตั้งแต่ 1 - 10 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 3 เดือน  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 ก.ค. 66 – 30 มิ.ย. 67

- กฎหมายขนาดกลาง (จำนวนตั้งแต่ 11 - 20 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 6 เดือน  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 เม.ย. 66 – 31 มี.ค. 67

- กฎหมายขนาดยาว (จำนวนตั้งแต่ 21 มาตรา/ข้อ ขึ้นไป) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 1 ปี  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 ต.ค. 65 – 30 ก.ย. 66

•การวัดความสำเร็จการดำเนินงาน ให้นับกฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จได้ตามมาตรฐานระยะเวลา

•การนับเวลามาตรฐานการดำเนินงาน เริ่มนับตั้งแต่วันที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาลงรับเรื่อง

•นับเรื่องเสร็จ รอบที่ 1 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567 และรอบที่ 2 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567

•นับเรื่องเสร็จที่เป็นเรื่องค้างดำเนินการก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้วัดผลเฉพาะรอบที่ 2

วิธีการเก็บข้อมูล : การจัดเก็บข้อมูลจากแบบรายงานประจำเดือน และระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล : ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สูตรคำนวณ : จำนวนเรื่องที่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ÷ จำนวนเรื่องรับเข้า x 100

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จในการตรวจพิจารณากฎหมายแล้วเสร็จตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย และการเร่งรัดการตรวจพิจารณาเรื่องค้างดำเนินการ 99.52 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

      เป็นการวัดความสำเร็จของการให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายหรือที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ หรือวางระเบียบปฏิบัติราชการให้ชัดเจน หรือเป็นการวินิจฉัยข้อโต้แย้งระหว่างหน่วยงานของรัฐให้เป็นที่ยุติในเรื่องของกฎหมายเกี่ยวกับ กระบวนการยุติธรรม กฎหมายระหว่างประเทศ การเงินการคลัง การบริหารราชการแผ่นดิน พาณิชย์ อุตสาหกรรม การศึกษาวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและการคมนาคม โดยกำหนดมาตรฐานระยะเวลาแล้วเสร็จไว้ จำนวน 53 วัน

ขอบเขตการประเมิน :

   •  นับเรื่องเข้ารอบที่ 1 ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2566 – 31 มกราคม 2567 รอบที่ 2 ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2566 – 31 กรกฎาคม 2567

   •  กำหนดมาตรฐานระยะเวลาแล้วเสร็จไว้จำนวน 53 วัน

   •  การนับเวลามาตรฐานการดำเนินงาน เริ่มนับตั้งแต่วันที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาลงรับเรื่อง

   •  นับเรื่องเสร็จ รอบที่ 1 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567 และรอบที่ 2 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567

  วิธีการเก็บข้อมูล :

    •   การจัดเก็บข้อมูลจากแบบรายงานประจำเดือน และระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล :
    •    ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สูตรการคำนวน :     
•    จำนวนเรื่องที่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด *100 / จำนวนเรื่องรับเข้า

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการให้ความเห็นทางกฎหมายประเภทความเห็นทั่วไป 98.45 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

    1. การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย หมายถึง การวิเคราะห์ผลกระทบตามหลักการที่กำหนดไว้ในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ และดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัติการจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 โดยสำนักงานฯ จะตรวจพิจารณาถึงความจำเป็นในการตรากฎหมาย และหากจำเป็นต้องมีการตรากฎหมายจะต้องไม่เป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจำเป็น คุ้มค่ากับภาระที่เกิดขึ้นแก่รัฐและประชาชน รวมทั้งมีมาตรการหรือวิธีการที่เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมาย และในกรณีที่เห็นสมควรจัดให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบเพิ่มเติมสำหรับร่างกฎหมายที่ได้ตรวจพิจารณาแล้ว

   2. นับผลการดำเนินการในร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีการวิเคราะห์ผลกระทบ

   3. ร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่นำมานับเป็นผลดำเนินงาน ต้องมีการจัดทำสรุปผลการวิเคราะห์ผลกระทบ โดยอาจเป็นในชั้นพิจารณาของสำนักงานฯ หรือในบันทึกประกอบร่างกฎหมายที่ตรวจพิจารณาแล้วก็ได้

ขอบเขตการประเมิน : 
    •     ดำเนินการจัดให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายนั้น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายว่าด้วยการจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

    •     นับผลการดำเนินการในร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีการวิเคราะห์ผลกระทบ

    •   ร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่นำมานับเป็นผลดำเนินงานต้องมีการจัดทำสรุปผลการวิเคราะห์ผลกระทบ โดยอาจเป็นในชั้นพิจารณาของสำนักงานฯ หรือในบันทึกประกอบร่างกฎหมายที่ตรวจพิจารณาแล้วก็ได้

    •   นับเรื่องเข้า รอบที่ 1 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 – 15 มีนาคม 2567 และรอบที่ 2 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 – 15 กันยายน 2567

    •   ผลการดำเนินงานแล้วเสร็จ รอบที่ 1 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 -  31 มีนาคม 2567  รอบที่ 2 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567 

วิธีการเก็บข้อมูล
    •    การจัดเก็บข้อมูลจากแบบรายงานประจำเดือน และระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
แหล่งที่มาของข้อมูล
    •    ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สูตรการคำนวน
    •   จำนวนร่างพระราชบัญญัติที่ดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบแล้วเสร็จ X 100 / จำนวนร่างพระราชบัญญัติที่กำหนดวิเคราะห์ผลกระทบทั้งหมด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment : RIA) 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

 นิยาม 
         การรับฟังความคิดเห็น หมายถึง การรับฟังความคิดเห็นตามหลักการที่กำหนดในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ โดยดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่จะเสนอร่างกฎหมายนำหลักการหรือประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายไปรับฟังความคิดเห็นตามวิธีการที่กำหนดและให้นำผลการรับฟังความคิดเห็นไปประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบและการจัดทำร่างกฎหมายในการเสนอร่างกฎหมายหรือหลักการของร่างกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรี ต้องเสนอเอกสารสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นเสนอต่อคณะรัฐมนตรีด้วย ทั้งนี้ ในชั้นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะได้นำร่างกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานจัดส่งมาจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นหรือจะแจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการก็ได้

ขอบเขตการประเมิน

  •  สำนักงานฯ จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในร่างกฎหมาย (ระดับพระราชบัญญัติ) ที่ได้รับจากคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงาน

  •  นับผลการดำเนินการเฉพาะร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายเอง เช่น การดำเนินการรับฟังความคิดเห็นผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของสำนักงานฯ (Website) เป็นต้น

  •  นับเรื่องเข้า รอบที่ 1 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 – 15 มีนาคม 2567 และรอบที่ 2 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 – 15 กันยายน 2567

  •  ผลการดำเนินงานแล้วเสร็จ รอบที่ 1 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 -  31 มีนาคม 2567  รอบที่ 2 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567

วิธีการเก็บข้อมูล : การจัดเก็บข้อมูลจากแบบรายงานประจำเดือน ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล : เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือช่องทางการเผยแพร่อื่น

สูตรการคำนวณ : จำนวนร่างพระราชบัญญัติที่ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นแล้วเสร็จ X 100 / จำนวนร่างพระราชบัญญัติที่กำหนดรับฟังความคิดเห็นทั้งหมด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของกฎหมายที่ได้มีการรับฟังความคิดเห็น 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย
• ชุดข้อมูล (Dataset) หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน
• ระบบบัญชีข้อมูล หมายถึง ระบบโปรแกรมประยุกต์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน
• บัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูลสำคัญที่รวบรวมจากบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
• ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลภาครัฐมารวบรวมและจัดหมวดหมู่ รวมถึงระบบนามานุกรม (Directory Services) ที่ให้บริการสืบค้นบัญชีรายการข้อมูลภาครัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
• ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง (High Value Datasets) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งในมุมผู้ให้ข้อมูลและมุมของผู้นำข้อมูลไปใช้

แนวทางการประเมินการนำชุดข้อมูลมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ 
1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุงชุดข้อมูล และดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) กำหนด
2) พัฒนาชุดข้อมูลเปิดทุกชุดที่เผยแพร่บนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน
3) มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) นำชุดข้อมูลเปิดบนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานที่ยังไม่ลงทะเบียนระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
1 ถึง 25 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 100

กลุ่มที่ 2: 26 ถึง 100 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90

กลุ่มที่ 3: 101 ชุดข้อมูลขั้นไป
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 70
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 70
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัล แบ่งเป็น 5 ระดับ (ระดับที่ 1 ระดับขั้นริเริ่ม (Initial) , ระดับที่ 2 ระดับขั้นต้น (Developing) , ระดับที่ 3 ระดับขั้นกลาง (Defined) , ระดับที่ 4 ระดับขั้นสูง (Managed) , ระดับที่ 5 ระดับขั้นสูงสุด (Optimizing)) จากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 1 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar

กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ลดลงอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เท่ากับผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป 7 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 4 ขึ้นไปอย่างน้อย 3 Pillar และไม่มี Pillar ที่ต่ำกว่าระดับ 3

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 4 Pillar

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 5 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 7 Pillar

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลเป็นคะแนนโดยรวมจากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar และ
กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 66 + 5 คะแนน

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: สูงกว่าคะแนนปี 66

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ไม่ต้องประเมินตัวชี้วัดนี้ เนื่องจากไม่มีผลคะแนนปี 66

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ต่ำกว่า 350 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 275 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: 350 คะแนน

กลุ่มที่ 2: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 350 แต่น้อยกว่า 400 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 350 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 10 %

กลุ่มที่ 3: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 400 - 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 400 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 2 %

กลุ่มที่ 4 ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  มากกว่า 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 445 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: (คะแนนปี 2566 + 445)/2
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566