รายงานผลการประเมิน

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “ดัชนีความปลอดภัยจากภัยคุกคาม (Security threats index) (คะแนน)” ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

คำอธิบาย

1.  เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy)/ถ่ายทอด (Cascade) มาจาก ดัชนีความปลอดภัยจากภัยคุกคาม (Security threats index) (คะแนน)

2. เป็นโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 65) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือการประเมินสถานการณ์ความมั่นคงในระดับยุทธศาสตร์ของ สมช. ให้มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม และมีเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ (Outcome) คือ ระบบงานข่าวกรองมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้หน่วยงานด้านการข่าวสามารถประเมินสถานการณ์ความมั่นคง รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ตลอดจนแจ้งเตือน ป้องกันภัย และระงับยับยั้งภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง เพื่อให้ประเทศสามารถรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบ ได้อย่างทันท่วงที

3. เครื่องมือประเมินความเสี่ยงเชิงระบบในด้านความมั่นคง หมายถึง การนำเทคนิคหรือวิธีการประเมินมาใช้ในการติดตามวิเคราะห์ และประเมิน รวมถึงแจ้งเตือนสถานการณ์ความมั่นคงในองค์รวม เนื่องจากภัยคุกคามในปัจจุบันมีแนวโน้มสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันในหลายมิติ และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทำให้รูปแบบการประเมินและวิเคราะห์ภัยคุกคามที่มีอยู่เดิมอาจไม่เพียงพอต่อการประเมินสถานการณ์ โดยเฉพาะภัยคุกคามรูปแบบใหม่ (Non Traditional Threats) อาทิ วิกฤตการสิ้นศรัทธาของคนรุ่นใหม่ และความมั่นคงไซเบอร์ จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือใหม่ในลักษณะ Structured Analytical Techniques (SATs) อาทิ Simple Scenarios, Alternative Futures Analysis, Counterfactual Reasoning, Indicators Generation, Validation and Evaluation, Bowtie Analysis และ Impact Matrix เพื่อช่วยขยายมุมมองต่อภัยคุกคามความมั่นคงมากขึ้น และใช้วัดประสิทธิภาพการประเมินสถานการณ์ความมั่นคงได้อย่างรอบด้านและเชิงลึก ตลอดจนเป็นประโยชน์ในการจัดทำรายงานการประเมินด้านการข่าวและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ต่อไป

4. เครื่องมือประเมินด้านการข่าวที่ สมช. ใช้ในในปัจจุบัน ได้แก่ 1) การประเมินระดับภัยคุกคาม 2) การวิเคราะห์เจตนาและขีดความสามารถ และ 3) การวิเคราะห์แบบอ้างอิงรูปแบบเดิม

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีการกำหนดประเด็นความมั่นคงสำหรับการพัฒนาวิธีการประเมินความเสี่ยงเชิงระบบในด้านความมั่นคง (Systemic Risk Analytical) ร่วมกับกองภายใน สมช. ผ่าน
- จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อศึกษาและแลกเปลี่ยนเครื่องมือการประเมินร่วมกับประชาคมข่าวกรอง อย่างน้อย 1 ครั้ง - จัดประชุมแลกเปลี่ยนการประเมินสถานการณ์ความมั่นคงร่วมกับกองภายใน สมช. อย่างน้อย 1 ครั้ง ผ่าน
- มีข้อเสนอเครื่องมือประเมินความเสี่ยงเชิงระบบในด้านความมั่นคง เสนอ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเพื่อทราบ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “ดัชนีความสงบสุขภาคใต้ (คะแนน)” ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

นิยาม
ตัวชี้วัดนี้เป็นส่วนหนึ่งในองค์ประกอบ “สถิติเหตุการณ์ความรุนแรงและความสูญเสียจากสถานการณ์ความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลง” ซึ่งเป็นตัวชี้วัดตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 5 “การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้” เป้าหมายที่ 1 “จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการก่อเหตุและการสูญเสียลดลง” ทั้งนี้ ตัวชี้วัดดังกล่าว นับจำนวนเหตุการณ์ในพื้นที่ 4 จังหวัด (จังหวัดสตูล จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส) และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย)

เหตุการณ์ความรุนแรง หมายถึง เหตุการณ์ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดจากการกระทำของผู้ก่อเหตุรุนแรง ด้วยวิธีการยิง ระเบิด และก่อความไม่สงบอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต บาดเจ็บ และทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่หรือของรัฐเสียหาย รวมไปถึงการกระทำโดยการใช้ความรุนแรงที่กระทบต่ออธิปไตยแห่งดินแดนและพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ไปตามผลการพิจารณาที่ฝ่ายความมั่นคงกำหนด
ซึ่งไม่รวมเหตุก่อกวน เหตุการณ์อันเกิดจากผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และเหตุการณ์ที่เป็นคดีอาญาอันไม่เข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการด้านการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. 2566 – 2570) ได้กำหนดค่าเป้าหมายจำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงโดยเทียบกับปีฐานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เป็นหลัก (166 เหตุการณ์)

การรวบรวมข้อมูล จากฐานข้อมูลของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (SMIC)

เป้าหมาย ปี 2567 สถิติเหตุการณ์ความรุนแรงลดลง ร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับปี 2560

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 56.00 (เหตุการณ์)

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “ดัชนีความสงบสุขภาคใต้ (คะแนน)” ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

คำอธิบาย 
ดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นตัวชี้วัดตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ในนโยบายและแผนความมั่นคงที่ 5 “การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้” เป้าหมายที่ 3 “ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้” เพื่อประเมินความเชื่อมั่นต่อประชาชนต่อการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดของนโยบายฯ ดังกล่าว รวมไปถึงตามวัตถุประสงค์ของนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติจัดทำขึ้นตามบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553

การเก็บข้อมูล
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา (เฉพาะอำเภอ เทพา สะบ้าย้อย จะนะ นาทวี) สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งครอบคลุม 2,249 หมู่บ้าน 314 ตำบล และ 44 อำเภอ โดยสำรวจความเชื่อมั่นในด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง รวมไปถึงนโยบายการแก้ไขปัญหาและพัฒนาของภาครัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องชี้วัดความเชื่อมั่นของประชาชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดทิศทางของนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ตลอดจนสามารถใช้ในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ             

กลุ่มเป้าหมาย 
ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา (เฉพาะอำเภอ เทพา สะบ้าย้อย จะนะ นาทวี) สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส  ไม่ต่ำกว่า 30,000 คน  

เป้าหมาย ปี 2567 
ดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีงบประมาณที่ผ่านมา (ร้อยละ 54.94)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 58.19 (ร้อยละ)
ค่าความเชื่อมั่นรายจังหวัดทุกจังหวัด ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย

นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) เป็นแผนระดับที่ 2 ที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติจัดทำขึ้นเป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่มีผลกระทบรุนแรงและความเสี่ยงสูง ในห้วง 5 ปี จึงเป็นกรอบทิศทางในการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ ประกอบด้วย 17 นโยบายและแผนความมั่นคง แบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ หมวดประเด็นความมั่นคง 13 นโยบาย ได้แก่ 1) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ 2) การปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ และการพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ 3) การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติพื้นที่ชายแดน 4) การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 5) การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6) การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมืองและผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ 7) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ 8) การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด  9) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 10) การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ 11) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย 12) การสร้างดุลยภาพระหว่างประเทศ 13) การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและโรคติดต่ออุบัติใหม่ หมวดประเด็นศักยภาพความมั่นคง 4 นโยบาย ได้แก่ 14) การพัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมแห่งชาติ และการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ระดับชาติ 15) การพัฒนาระบบข่าวกรองแห่งชาติ 16) การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง และ 17) การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่

กลไกการบริหารจัดการ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ กลไกระดับนโยบาย กลไกขับเคลื่อนระดับส่วนกลาง และกลไกขับเคลื่อนระดับพื้นที่ โดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ รับผิดชอบขับเคลื่อนกลไกระดับนโยบายในการกำกับและติดตามการดำเนินงานในภาพรวมของนโยบาย ผ่านกลไกสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) และคณะกรรมการบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง (รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน) และคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นความมั่นคง และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ : คณะที่ 5 คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม (เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธาน)

หลักการขับเคลื่อนติดตามและประเมินผล

1) ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) และ 2) กลไกบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง โดย สมช. ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อนและกำกับดูแลการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ ประเด็นความมั่นคง และนโยบายและแผนระดับชาติ ทั้งนี้ สมช. มีบทบาทในการเป็นเจ้าภาพบูรณาการขับเคลื่อน 3 นโยบายและแผนความมั่นคง ได้แก่ นโยบายและแผนฯที่ 5 การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้  นโยบายและแผนฯที่ 11 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย และ นโยบายและแผนฯที่ 14 การพัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมแห่งชาติฯ โดยทั้ง 3 ประเด็น ประกอบด้วย 16 ตัวชี้วัด (นยบ.ที่ 5 5 ตัวชี้วัด/นยบ.ที่ 11 10 ตัวชี้วัด/นยบ.ที่ 14 2 ตัวชี้วัด) อย่างไรก็ดี มีตัวชี้วัดของนโยบายและแผนฯ จำนวน 1 ตัว ได้แก่ สถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค (Gross Regional Product: GRP) ภายใต้ นยบ.ที่ 5 ที่ไม่สามารถวัดผลได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการจัดเก็บของ สศช. จำนวนตัวชี้วัดในนโยบายและแผนความมั่นคงที่ สมช. รับผิดชอบบรรลุเป้าหมายที่กำหนดเป็นการวัดผลตามจำนวนตัวชี้วัดของนโยบายและแผนความมั่นคงที่ สมช. รับผิดชอบบรรลุเป้าหมายขั้นสูง จำนวนทั้งสิ้น 12 ตัวชี้วัด จากทั้งหมด 17 ตัวชี้วัด ทั้งนี้ ไม่วัดผล นยบ.ที่ 5 การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ตัวชี้วัดลำดับที่ 1 – 5) เนื่องจากมีการประเมินผลตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของ สมช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ปรากฏในตัวชี้วัดที่ 2 จำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลง และตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ค่าเป้าหมายระยะ 5 ปี แบ่งออกเป็น ปี 2566 (ร้อยละ 50) ปี 2567 (ร้อยละ 60) ปี 2568 (ร้อยละ 70) ปี 2569 (ร้อยละ 80) ปี 2570 (ร้อยละ 90) 

เงื่อนไข : 12 ตัวชี้วัดต้องมีการรายงานผล

ตัวชี้วัดที่ 1 การวัดผลจำนวนเหตุการณ์ ความรุนแรงลดลง โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 ไม่มีการวัดผล

ตัวชี้วัดที่ 2 การวัดผลการสูญเสียลดลง (ผู้เสียชีวิต) โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 ไม่มีการวัดผล

ตัวชี้วัดที่ 3 การวัดผลการสูญเสียลดลง (ผู้บาดเจ็บ) โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 ไม่มีการวัดผล

ตัวชี้วัดที่ 4 สถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค (Gross Regional product: GRP) ของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 ไม่มีการวัดผล

ตัวชี้วัดที่ 5 ความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 ไม่มีการวัดผล

ตัวชี้วัดที่ 6 จำนวนการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวกรองที่มีความเกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้ายและสถานการณ์ก่อการร้ายที่อาจมีผลกระทบต่อประเทศไทยและการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้านการข่าว โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 เป็น 12 ครั้ง

ตัวชี้วัดที่ 7 ร้อยละของการเผยแพร่แนวทางปฏิบัติในการดำเนินงาน รวมทั้งสิ่งบ่งชี้พฤติกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย (Red Flags) และแนวโน้มของ ML/TF/PF ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 เป็น ร้อยละ 100 ต่อปี

ตัวชี้วัดที่ 8 จำนวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลการข่าวและการประสานงานเพื่อต่อต้านการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงที่มีประสิทธิผล โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 เป็น 10 ครั้ง ต่อปี

ตัวชี้วัดที่ 9 ระดับความสำเร็จในการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้าย โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 เป็น ระดับที่ 3 กำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้ข้อมูล และกำหนดโจทย์ที่มีความสำคัญเร่งด่วน พรอมทั้งกำหนดแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ตัวชี้วัดที่ 10 ร้อยละความสำเร็จของความครอบคลุมพื้นที่ในการจัดอบรมให้ประชาชนทั่วประเทศไทย โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 เป็น ร้อยละ 80 ต่อปี

ตัวชี้วัดที่ 11 ร้อยละความสำเร็จของความร่วมมือกับชุมชนในการป้องกันก่อนมีเหตุก่อการร้าย โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 เป็น ร้อยละ 80 ต่อปี

ตัวชี้วัดที่ 12 จำนวนการเผยแพร่และเพิ่มองค์ความรู้ รวมถึงเพิ่มศักยภาพให้แก่เจ้าหน้าที่ในการต่อต้านการก่อการร้าย โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 เป็น จำนวน 3 ครั้ง ต่อปี

ตัวชี้วัดที่ 13 ระดับความสำเร็จในการจัดทำแนวทาง/แผนการสื่อสารยามมีเหตุวิกฤต ด้านการก่อการร้าย โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 เป็น ระดับที่ 2 ปรับปรุง แนวทาง/แผนการ สื่อสารยามมีเหตุวิกฤตฯ

ตัวชี้วัดที่ 14 ผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อเหตุก่อการร้ายมีแนวทางรับการช่วยเหลือเยียวยา โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 เป็น ระดับที่ 2 หารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการเยียวยาผู้เสียหายในเหตุก่อการร้าย

ตัวชี้วัดที่ 15 ร้อยละความสำเร็จของความครอบคลุมพื้นที่การเสริมสร้างวัคซีนใจในชุมชน โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 เป็น ร้อยละ 60

ตัวชี้วัดที่ 16 ระดับความพร้อมของการเตรียมทรัพยากรตั้งแต่ภาวะปกติ โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 เป็น ทรัพยากรมีความพร้อมสำหรับรองรับภัยด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หมายเหตุ – (อยู่ระหว่างรอคำยืนยันคำจำกัดความจาก สกมช.)

ตัวชี้วัดที่ 17 ระดับความพร้อมของการพัฒนาการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ระดับชาติ โดยค่าเป้าหมาย ปี 2567 เป็น ร้อยละ 70

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง (แผนแม่บทฯ และนโยบายและแผนฯ) หน่วยงานภายใน สมช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ผ่าน
มีการรายงานแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง โดยมีจุดเน้นดำเนินการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เสนอคณะกรรมการบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ผ่าน
ผลสรุปประเด็นความมั่นคงที่สำคัญ (Hot Issue) ในระดับพื้นที่ เสนอเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเพื่อทราบ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “ความสำเร็จของการขับเคลื่อนแผนความมั่นคงเฉพาะเรื่อง” ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

คำอธิบาย

- แผนความมั่นคงเฉพาะเรื่อง หมายถึง แผนด้านความมั่นคงที่รองรับประเด็นภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง ซึ่งมีสถานะเป็นแผนระดับ 3 ในความรับผิดชอบสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และเป็นการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559

- แผนความมั่นคงเฉพาะเรื่อง ที่อยู่ภายใต้ตัวชี้วัดนี้ ได้แก่ 1) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570) (กชต.) 2) แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการก่อการร้าย
พ.ศ. 2566 – 2570 (กภช.) และ 3) แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล พ.ศ. 2566 - 2570 (กมท.)

-  แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 กำหนดตัวชี้วัดจาก เป้าหมายที่ต้องดำเนินการภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ในเรื่องความคืบหน้าการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนกรณีการทับซ้อนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเฉพาะพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน พื้นที่ทางวัฒนธรรม และพื้นที่ทางจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องเร่งแก้ไขโดยด่วนที่สุดจากปัญหาการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย

- แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการก่อการร้าย พ.ศ. 2566 – 2570 กำหนดตัวชี้วัดจาก ตัวชี้วัดเพื่อวัดความสำเร็จของแผนดังกล่าวในภาพรวมทั้งหมด เป็นตัวชี้วัดเดียวกับที่กำหนดไว้ในนโยบายและแผนความมั่นคงที่ 11 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย ภายใต้ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 – 2570

- แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล พ.ศ. 2566 – 2570 กำหนดตัวชี้วัดจาก จากการเลือก 1 ใน 3 ของตัวชี้วัดเพื่อวัดความสำเร็จของแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลฯ ซึ่ง สมช. ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง รวมทั้ง เป็นเป้าหมาย
การดำเนินงานที่กำหนดไว้ในนโยบายและแผนความมั่นคงที่ 4 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภายใต้ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 – 2570

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ระดับความสำเร็จของการขับเคลื่อนแผนความมั่นคงเฉพาะเรื่อง 3 (แผน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย
• ชุดข้อมูล (Dataset) หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน
• ระบบบัญชีข้อมูล หมายถึง ระบบโปรแกรมประยุกต์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน
• บัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูลสำคัญที่รวบรวมจากบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
• ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลภาครัฐมารวบรวมและจัดหมวดหมู่ รวมถึงระบบนามานุกรม (Directory Services) ที่ให้บริการสืบค้นบัญชีรายการข้อมูลภาครัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
• ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง (High Value Datasets) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งในมุมผู้ให้ข้อมูลและมุมของผู้นำข้อมูลไปใช้

แนวทางการประเมินการนำชุดข้อมูลมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ 
1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุงชุดข้อมูล และดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) กำหนด
2) พัฒนาชุดข้อมูลเปิดทุกชุดที่เผยแพร่บนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน
3) มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) นำชุดข้อมูลเปิดบนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานที่ยังไม่ลงทะเบียนระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
1 ถึง 25 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 100

กลุ่มที่ 2: 26 ถึง 100 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90

กลุ่มที่ 3: 101 ชุดข้อมูลขั้นไป
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 70
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 70
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัล แบ่งเป็น 5 ระดับ (ระดับที่ 1 ระดับขั้นริเริ่ม (Initial) , ระดับที่ 2 ระดับขั้นต้น (Developing) , ระดับที่ 3 ระดับขั้นกลาง (Defined) , ระดับที่ 4 ระดับขั้นสูง (Managed) , ระดับที่ 5 ระดับขั้นสูงสุด (Optimizing)) จากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 1 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar

กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ลดลงอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เท่ากับผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป 7 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 4 ขึ้นไปอย่างน้อย 3 Pillar และไม่มี Pillar ที่ต่ำกว่าระดับ 3

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 4 Pillar

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 5 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 7 Pillar

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลเป็นคะแนนโดยรวมจากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar และ
กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 66 + 5 คะแนน

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: สูงกว่าคะแนนปี 66

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ไม่ต้องประเมินตัวชี้วัดนี้ เนื่องจากไม่มีผลคะแนนปี 66

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ต่ำกว่า 350 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 275 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: 350 คะแนน

กลุ่มที่ 2: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 350 แต่น้อยกว่า 400 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 350 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 10 %

กลุ่มที่ 3: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 400 - 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 400 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 2 %

กลุ่มที่ 4 ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  มากกว่า 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 445 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: (คะแนนปี 2566 + 445)/2
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566