รายงานผลการประเมิน

สำนักงบประมาณ

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

   -   เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “ร้อยละของเทศบาลตำบลที่เป็นหน่วยรับงบประมาณตรงกับสำนักงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ.2567” ของสำนักงบประมาณ

คำอธิบาย

พิจารณาจากการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหน่วยรับงบประมาณสามารถจัดทำข้อเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปี ได้สอดคล้อง และครอบคลุมตามกรอบวงเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหน่วยรับงบประมาณตรง 16.00 (กิจกรรม)

รายละเอียดตัวชี้วัด

    -  เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “ความสำเร็จการดำเนินการตามแผนการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดการงบประมาณ (Participatory Budgeting)” ของสำนักงบประมาณ

คำอธิบาย
    
1. เป็นตัวชี้วัดเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายการจัดโครงสร้างและบทบาทภารกิจใหม่ของสำนักงบประมาณ
    2. วัดความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดการงบประมาณ (Participatory Budgeting) ที่กำหนดไว้ในปี 2567 โดยสำนักงานงบประมาณเขตที่ 1 - 18
    3. ขอบเขตการประเมิน : การดำเนินการของสำนักงบประมาณ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

เป้าหมาย ปี 2567
      (SKPI)  โครงการที่เกิดจากการริเริ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่ได้รับการบรรจุ อยู่ในแผนพัฒนาจังหวัด จำนวน 1 เขต 2 โครงการ
โครงการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดการงบประมาณ(Participatory Budgeting) ในเขตพื้นที่ ได้รับการบรรจุเป็นคำขอตั้ง
งบประมาณ ๑ เขต ๑ โครงการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
แนวทาง หลักเกณฑ์ ลักษณะสำคัญของโครงการมีส่วนร่วมของประชาชนและวิธีการผลักดันให้โครงการฯ ได้รับการบรรจุอยู่ในแผน ผ่าน
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการงบประมาณให้แก่ประชาชน ผ่านระบบ internet เฟซบุ๊ก และบอร์ดประชาสัมพันธ์ของสำนักงานงบประมาณเขตที่ 1 - 18 ผ่าน
รายงานสรุปผลการประชุมการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่สำนักงบประมาณเข้าร่วม (หมายเหตุ : กรณีที่ได้รับหนังสือเชิญประชุมจากจังหวัด หรือกลุ่มจังหวัด) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

   - เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “ระดับความสำเร็จของปริมาณการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณลดลง” ของสำนักงบประมาณ

คำอธิบาย
       เป็นตัวชี้วัดเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายการจัดโครงสร้างและบทบาทภารกิจใหม่ของสำนักงบประมาณ มีการกำหนดเป้าหมายเป็น 2 กรณี ได้แก่ 
    1) หากปีที่ผ่านมามีการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณไม่เกิน 10 รายการ : ค่าเป้าหมายต้องไม่เพิ่มขึ้น
    2) หากปีที่ผ่านมามีการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณมากกว่า 10 รายการ : ค่าเป้าหมายต้องลดลงร้อยละ 10 ต่อปี

       การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณของรายการที่จัดสรรงบประมาณซ้ำซ้อนตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลของจังหวัด ๗๖ จังหวัด
และกลุ่มจังหวัด ๑๘ กลุ่มจังหวัด รวม ๙๔ แห่งโดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ วัดการโอนเปลี่ยนแปลงของรายการที่จัดสรรงบประมาณซ้ำซ้อน งบลงทุน เฉพาะด้านแหล่งน้ำ และถนน เนื่องจากการบริหารจัดการน้ำเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่ รัฐบาลกำหนดให้แผนงานบูรณาการซึ่งมีหลายหน่วยงานร่วมดำเนินงาน และสำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดเรื่องความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภค เป็นตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน
Joint KPIs) เนื่องจากการก่อสร้าง/ปรับปรุงซ่อมแซมถนน อยู่ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบ    โลจิสติกส์ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

เป้าหมาย ปี 2567 

     1)   หากปีที่ผ่านมา โอนเปลี่ยนแปลงงบฯ ไม่เกิน 10 รายการ ค่าเป้าหมายต้องไม่เพิ่มขึ้น หรือ

     2)   หากปีที่ผ่านมา โอนเปลี่ยนแปลงงบฯ มากกว่า 10 รายการ ค่าเป้าหมายต้องลดลงร้อยละ 10 ต่อปี

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ข้อมูลพื้นฐานด้านการงบประมาณ (เฉพาะด้านแหล่งน้ำ ถนน) ผ่าน
รายการที่อยู่ในแผนพัฒนาจังหวัด (เฉพาะด้านแหล่งน้ำ ถนน) ผ่าน
ตรวจสอบและสรุปผลรายการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณของรายการ ที่จัดสรรงบประมาณซ้ำซ้อน (เฉพาะด้านแหล่งน้ำ ถนน) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 

  • ระบบสารสนเทศด้านการงบประมาณหลัก ประกอบด้วย 1) ระบบการจัดการงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Budgeting) ใช้จัดทำคำขอและพิจารณางบประมาณ 2) ระบบฐานข้อมูลแผน/ผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ (BB EvMIS)  ใช้จัดทำแผน/ผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ 3) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดทำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (BBL) ใช้จัดทำคำของบประมาณ  และแผน/ผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระบบสนับสนุนอื่น ๆ
  • มีระบบสารสนเทศด้านการงบประมาณ ใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการจัดทำ และบริหารงบประมาณ ได้อย่างถูกต้อง ทันตามกำหนดเวลา
  • มีแผนการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศด้านการงบประมาณ เพื่อรองรับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  • มีการเชื่อมต่อข้อมูล พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณและผลการใช้จ่ายงบประมาณ กับระบบ New GFMIS Thai

ขอบเขตการประเมิน
           วัดความพึงพอใจการให้บริการ จากผู้ใช้งานระบบ e-Budgeting ระบบ BB EvMIS และระบบ BBL

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานด้านงบประมาณ ก่อนเปิดให้บริการระบบ ผ่าน
ให้บริการระบบ e-Budgeting, ระบบ BB EvMIS และระบบ BBL สำหรับการจัดทำคำของบประมาณรายจ่าย แผนปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ผ่าน
แจ้งเวียนหน่วยรับงบประมาณตอบแบบสำรวจความพึงพอใจการให้บริการระบบ e-Budgeting และระบบ BB EvMIS ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย
• ชุดข้อมูล (Dataset) หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน
• ระบบบัญชีข้อมูล หมายถึง ระบบโปรแกรมประยุกต์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน
• บัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูลสำคัญที่รวบรวมจากบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
• ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลภาครัฐมารวบรวมและจัดหมวดหมู่ รวมถึงระบบนามานุกรม (Directory Services) ที่ให้บริการสืบค้นบัญชีรายการข้อมูลภาครัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
• ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง (High Value Datasets) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งในมุมผู้ให้ข้อมูลและมุมของผู้นำข้อมูลไปใช้

แนวทางการประเมินการนำชุดข้อมูลมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ 
1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุงชุดข้อมูล และดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) กำหนด
2) พัฒนาชุดข้อมูลเปิดทุกชุดที่เผยแพร่บนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน
3) มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) นำชุดข้อมูลเปิดบนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานที่ยังไม่ลงทะเบียนระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
1 ถึง 25 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 100

กลุ่มที่ 2: 26 ถึง 100 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90

กลุ่มที่ 3: 101 ชุดข้อมูลขั้นไป
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 70
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 70
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัล แบ่งเป็น 5 ระดับ (ระดับที่ 1 ระดับขั้นริเริ่ม (Initial) , ระดับที่ 2 ระดับขั้นต้น (Developing) , ระดับที่ 3 ระดับขั้นกลาง (Defined) , ระดับที่ 4 ระดับขั้นสูง (Managed) , ระดับที่ 5 ระดับขั้นสูงสุด (Optimizing)) จากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 1 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar

กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ลดลงอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เท่ากับผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป 7 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 4 ขึ้นไปอย่างน้อย 3 Pillar และไม่มี Pillar ที่ต่ำกว่าระดับ 3

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 4 Pillar

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 5 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 7 Pillar

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลเป็นคะแนนโดยรวมจากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar และ
กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 66 + 5 คะแนน

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: สูงกว่าคะแนนปี 66

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ไม่ต้องประเมินตัวชี้วัดนี้ เนื่องจากไม่มีผลคะแนนปี 66

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ต่ำกว่า 350 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 275 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: 350 คะแนน

กลุ่มที่ 2: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 350 แต่น้อยกว่า 400 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 350 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 10 %

กลุ่มที่ 3: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 400 - 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 400 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 2 %

กลุ่มที่ 4 ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  มากกว่า 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 445 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: (คะแนนปี 2566 + 445)/2
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566