รายงานผลการประเมิน

สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “ความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข่าวต่อรายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง” ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

คำอธิบาย

เป็นตัวชี้วัดที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มุ่งเน้นการพัฒนาระบบงานข่าวกรองแห่งชาติแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถติดตาม แจ้งเตือน ระงับยับยั้ง และป้องกันปัญหาและภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลา โดยเสริมสร้าง พัฒนา และบูรณาการขีดความสามารถของระบบงานข่าวกรอง หน่วยงานข่าวกรอง และประชาคมข่าวกรองในประเทศให้ทันสมัย ทันสถานการณ์ สามารถครอบคลุมการใช้งานได้อย่างครบถ้วน ต่อเนื่อง มีการบูรณาการข้อมูลและนำผลผลิตด้านข่าวกรองไปใช้ในการบริหารจัดการปัญหาและความมั่นคงของชาติในทุกมิติและทุกด้าน

นิยาม : รายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง หมายถึง

  1)  รายงานข่าวกรองด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ที่ให้ข้อพิจารณา นโยบาย มาตรการ ข้อเสนอแนะ ที่เสนอต่อผู้บริหารระดับกำหนดนโยบาย

  2)  ผู้บริหารระดับกำหนดนโยบายใช้ประโยชน์จากรายงานข่าวกรอง ด้านความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคม ที่ให้ข้อพิจารณา คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ โดยการสั่งการ/มอบหมาย ผู้รับผิดชอบ หน่วยรับผิดชอบดำเนินการ แก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง โดยจำแนกประเภทการใช้ประโยชน์จากรายงานข่าวกรอง ดังนี้

   (1)  นำไปประกอบการตัดสินใจสั่งการเชิงนโยบาย

   (2)  นำไปกำหนดทิศทางหรือนโยบายของรัฐบาล นำไปจัดทำแผนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

   (3)  นำไปประกอบการตัดสินใจปฏิบัติงานในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน

   (4)  ใช้เป็นข้อมูลสำคัญที่มีส่วนช่วยลดความรุนแรงของเหตุการณ์/สถานการณ์ความไม่สงบ

ผู้ใช้ข่าว หมายถึง ผู้ใช้ข่าวระดับนโยบาย 5 ท่าน หัวหน้าหน่วยงานในประชาคมข่าวกรอง จำนวน 9 ท่าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1 ท่าน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1)  ผู้ใช้ข่าวระดับนโยบาย จำนวน 5 ท่าน ได้แก่ 1.1 นายกรัฐมนตรี 1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) 1.3 รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกุล) 1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (รมว.กต.) 1.5  เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (ลมช.)

 2)  หัวหน้าหน่วยงานในประชาคมข่าวกรอง จำนวน 9 ท่าน ได้แก่ 2.1 กระทรวงกลาโหม 4 ท่าน คือ เจ้ากรมข่าวทหาร เจ้ากรมข่าวทหารบก เจ้ากรมข่าวทหารเรือ เจ้ากรมข่าวทหารอากาศ 2.2 กระทรวงการต่างประเทศ (ปลัดฯ กต.) 2.3 กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (ผบช.ส.) 2.4 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (เลขาธิการ กอ.รมน.) 2.5 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (เลขาธิการ ป.ป.ง.) 2.6 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.)

  3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 ท่าน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (เลขาธิการ สกมช.)

รายงานข่าวกรองตามประเด็นความมั่นคง 9 ประเด็น ได้แก่

 1.ข่าวกรองด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

 2.ข่าวกรองด้านความมั่นคงภายในประเทศ

 3.ข่าวกรองเพื่อการป้องกันการบ่อนทำลายสถาบันหลัก

 4.ข่าวกรองเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศรอบบ้านและตามแนวชายแดน

 5.ข่าวกรองเพื่อป้องกัน ลดการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ

 6.ข่าวกรองเพื่อกระบวนการสันติสุข และสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

 7.ข่าวกรองเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงระหว่างประเทศ

 8.ข่าวกรองเพื่อการแจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์

 9.รายงานข่าวกรองประเด็นอื่นๆ อาทิ รายงานสรุปสถานการณ์ตามห้วงเวลา/เหตุการณ์เฉพาะเพื่อเป็นข้อมูลด้านความมั่นคง

ขอบเขตการประเมินผล :  ประเมินความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข่าวต่อรายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง โดยการจัดเก็บผลการตอบแบบสอบถามผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ติดตามประเมินผลรอบ 12 เดือน

วิธีการสำรวจความเชื่อมั่น

ดำเนินการสำรวจความเชื่อมั่นจากกลุ่มผู้ใช้ข่าวจำนวนทั้งสิ้น 15 ท่าน โดยแบ่งเป็นผู้ใช้ข่าวระดับนโยบาย จำนวน 5 ท่าน หัวหน้าหน่วยงานประชาคมข่าวกรอง จำนวน 9 ท่าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1 ท่าน

โดยการสอบถามในประเด็นความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดังนี้

1) ความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

2) ความเชื่อมั่นต่อคุณภาพรายงานข่าวกรอง และ

3) ความคาดหวังของผู้ใช้ข่าวต่อรายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง  และสอบถามในประเด็นรายงานข่าวกรองตามประเด็นความมั่นคง 9 ประเด็นที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง กำหนดข้อคำถามของแต่ละประเด็นความมั่นคงอย่างน้อย 4 ข้อ ดังนี้ 1) ความถูกต้องของข่าวที่ส่งมอบ 2) ความครบถ้วนของข่าวที่ส่งมอบ 3) ความทันต่อสถานการณ์ของข่าวที่ส่งมอบ และ

4) การประสานงานร่วมกันของหน่วยงาน และกำหนดระดับความเชื่อมั่นเป็น 5 ระดับคะแนน ได้แก่ เชื่อมั่นมากที่สุด (5) เชื่อมั่นมาก (4) เชื่อมั่นปานกลาง (3) เชื่อมั่นน้อย (2) ไม่เชื่อมั่น (1)

หลักเกณฑ์การคำนวณความเชื่อมั่น

 

เงื่อนไข : สำนักข่าวกรองแห่งชาติจะยกเว้นการประเมินผลความเชื่อมั่นฯ หัวหน้าหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรณีที่ไม่ได้มีการส่งมอบรายงานให้ผู้ใช้ข่าวทั้งสองหน่วยงาน

: มีการจัดเก็บและสรุปข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ในรายงานข่าวกรองจากผู้ใช้ข่าวระดับสูงที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินการข่าวกรองต่อไป

: การสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข่าวต่อรายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง ต้องมีผู้ตอบแบบสอบถามไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 (*อย่างน้อย 12 ท่าน)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รวบรวมจำนวนรายงานข่าวกรองตามประเด็นความมั่นคง 9 ประเด็น ผ่าน
สรุปข้อมูลย้อนกลับ (feedback) จากรายงานข่าวกรองจากผู้ใช้ข่าวระดับสูงที่เกี่ยวข้อง ผ่าน
จัดทำแบบสอบถามประเมินความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข่าวต่อรายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “ความสำเร็จของการใช้งานข่าวกรองและการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายข่าวกรองภาคประชาชน” ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

คำอธิบาย

ความสำเร็จของการใช้งานข่าวกรองและการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายข่าวกรองภาคประชาชน เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนผลสำเร็จของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง (ปี 2566 – 2570) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง (พ.ศ.2566 – 2570) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 15 : การพัฒนาระบบข่าวกรองชาติ ในประเด็นของการขยายเครือข่ายเฝ้าระวังตามประเด็นความมั่นคงสำคัญ/พื้นที่ความมั่นคงภายในประเทศ ด้วยการสร้างกลไกเครือข่ายข่าวภาคประชาชน และภาคเอกชน รองรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เพื่อการพัฒนาระบบงานข่าวกรองให้มีประสิทธิภาพ สามารถติดตาม แจ้งเตือน และระงับยับยั้งปัญหาภัยคุกคามได้อย่างทันเวลา โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สขช. มุ่งเน้นการขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย และสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ ประมาณการสถานการณ์ อีกทั้ง เป็นการเสริมสร้างศักยภาพของเครือข่ายด้านการข่าวนอกภาครัฐให้มีความตระหนักรู้ นำไปสู่การยกระดับประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังและติดตามภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น

นิยาม

การสร้างเครือข่ายด้านการข่าวภาคประชาชน และภาคเอกชน หมายถึง การมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน และภาคเอกชน เพื่อประโยชน์ทางการข่าวตามประเด็นความมั่นคงสำคัญ ได้แก่  1) ด้านความมั่นคงภายในประเทศ 2) ด้านสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทยกับประเทศรอบบ้าน 3) ด้านป้องกัน ลดการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ 4) ด้านสถานการณ์ความมั่นคงระหว่างประเทศ และพื้นที่ความมั่นคงภายในประเทศ ได้แก่ 1) พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ภาคกลาง และภาคตะวันออก 2) พื้นที่ภาคเหนือ 3) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4) พื้นที่ภาคตะวันตกและภาคใต้ตอนบน 5) พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

: การพัฒนาเครือข่ายด้านการข่าวภาคประชาชน และภาคเอกชน เพื่อการใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง หมายถึง การพัฒนาเครือข่ายด้านการข่าวภาคประชาชน และภาคเอกชน ให้มีขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในพื้นที่

: การนำข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาจัดทำรายงานข่าวกรองเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง เพื่อเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ ตลอดจนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยภายในประเทศในประเด็นความมั่นคงสำคัญและพื้นที่ความมั่นคงภายในประเทศ

ขอบเขตการประเมิน : การประเมินผลสำเร็จของการดำเนินงานตามโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 “โครงการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการข่าวภาคประชาชน และภาคเอกชน”

วิธีการเก็บข้อมูล : ติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 “โครงการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการข่าวภาคประชาชนและภาคเอกชน”

แหล่งที่มาของข้อมูล : รายงานสรุปผลการดำเนินงานตาม โครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 “โครงการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการข่าวภาคประชาชนและภาคเอกชน”

วิธีการคำนวณ

ร้อยละของจำนวนรายงานข่าวกรองจากเครือข่ายภาคประชาชนและภาคเอกชนถูกนำไปใช้ประโยชน์ = (จำนวนรายงานข่าวกรองจากเครือข่ายภาคประชาชน และภาคเอกชนที่นำไปใช้ประโยชน์ / จำนวนรายงานข่าวที่ได้รับจากเครือข่ายภาคประชาชนและภาคเอกชน และถูกนำไปจัดทำรายงานข่าวกรอง) x 100

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ดำเนินกิจกรรมการเสริมสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายในพื้นที่ ศป.ข.1-5 ตามประเด็นความมั่นคงที่สำคัญ จำนวน 5 กิจกรรม ผ่าน
ดำเนินกิจกรรมการเสริมสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายในพื้นที่ ศป.ข.1-5 ตามประเด็นความมั่นคงที่สำคัญ จำนวน 6 กิจกรรม ผ่าน
ดำเนินกิจกรรมการเสริมสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายในพื้นที่ ศป.ข.1-5 ตามประเด็นความมั่นคงที่สำคัญ จำนวน 7 กิจกรรม ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “ความสำเร็จของการบูรณาการฐานข้อมูลความมั่นคง” ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

คำอธิบาย

เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนการบูรณาการระบบฐานข้อมูลด้านความมั่นคงในส่วนของภารกิจของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคง ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 16  การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง ที่มุ่งเน้นการจัดทำและเชื่อมโยงบัญชีข้อมูลด้านความมั่นคงขนาดใหญ่เชิงดิจิทัลให้สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายในการป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

- การบูรณาการระบบงานข่าวกรองด้านความมั่นคง หมายถึง การดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมืออย่างเป็นเอกภาพในประชาคมข่าวกรอง หน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถของระบบงานข่าวกรองและเชื่อมโยงข้อมูลด้านการข่าวเพื่อนำไปสู่การแจ้งเตือน การสั่งการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและทันต่อสถานการณ์

- การบูรณาการด้านการข่าวแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงกับหน่วยสมาชิก หมายถึง การสร้างช่องทางแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบฐานข้อมูลด้านการข่าวในการนำเข้าข้อมูลด้านความมั่นคงของแต่ละหน่วยประชาคมข่าวกรองตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ  (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อนำมารวบรวมเก็บไว้ในแหล่งเดียวกันและอนุญาตให้หน่วยประชาคมข่าวกรองเข้าใช้งานระบบฐานข้อมูลด้านการข่าว

หน่วยงานในประชาคมข่าวกรองที่เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566 จำนวน 14 หน่วยงาน ได้แก่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้แก่ 1) ศูนย์รักษาความปลอดภัย 2) สำนักการข่าว กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 3) กองบัญชาการตำรวจสันติบาล 4) หน่วยข่าวกรองทางทหาร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้แก่ 5) กรมข่าวทหาร 6) กรมข่าวทหารบก 7) กรมข่าวทหารอากาศ  8) กรมข่าวทหารเรือ 9) ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงมหาดไทย 10) กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ได้แก่ 11)  กองทัพภาคที่ 1  12) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.)  13) ศูนย์ต่อต้านการก่อการร้าย และ  14) กองทัพเรือภาคที่ 1  และ
หน่วยงานที่จะเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลในปีงบประมาณ พ.ศใ ๒๕๖๗ จำนวน 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1) ธนาคารแห่งประเทศไทย 2) กระทรวงพาณิชย์ 3) กระทรวงแรงงาน 4) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

- การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลด้านการข่าว ของหน่วยงานในประชาคมข่าวกรอง หมายถึง 1) เป็นศูนย์กลางการบูรณาการข้อมูลด้านการข่าวของประชาคมข่าวกรอง 2) ใช้เป็นข้อมูลสำคัญ เพื่อประกอบการจัดทำรายงานตามภารกิจของหน่วยงานในประชาคมข่าวกรอง ระบบฐานข้อมูลด้านการข่าวเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการค้นหาข้อมูล ข่าวสาร ตามประเด็นความมั่นคงตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ที่กำหนดร่วมกัน  ประเด็นข่าวสารเหตุการณ์ภายในและต่างประเทศ  ข้อมูลบุคคล  องค์กรและอื่น ๆ

- การนำเข้าข้อมูลในระบบฐานข้อมูลด้านการข่าว หมายถึง การขำเข้าข้อมูลการข่าวตามหัวข้อชุดข้อมูลของประเด็นความมั่นคงตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 -2570) จำนวน 13 ชุดข้อมูล เพื่อใช้เป็นประเด็นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่

- ชุดข้อมูล 13 ชุดข้อมูล หมายถึง ชุดข้อมูลประเด็นความมั่นคงตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 -2570) ดังนี้ 1. การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ  2. การปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ และการพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ  3. การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติพื้นที่ชายแดน  4. การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล  5. การป้องกันและแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้  6. การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมืองและผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ  7. การป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์  8. การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด  9. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  10. การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์  11. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย  12. การสร้างดุลยภาพระหว่างประเทศ  13. การบริหารจัดการด้านภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และโรคติดต่ออุบัติใหม่ โดยเป็นทั้งข้อมูลหลักและสนับสนุนตามภารกิจ

ขอบเขตการประเมิน :  ประเมินผลสำเร็จ ดังนี้ 1.จำนวนหน่วยงานในประชาคมข่าวกรองที่สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบฐานข้อมูล 2.การประเมินความพึงพอใจของหน่วยงานในประชาคมข่าวกรองในการใช้งานระบบฐานข้อมูลด้านการข่าว 3. รายงานผลการใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูลด้านการข่าว

วิธีการเก็บข้อมูล : การเก็บผลจากสถิติการใช้งานระบบ และแบบสอบถามการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากฐานข้อมูลด้านการข่าว จัดทำเป็นรายงานสรุปผลการนำข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลด้านการข่าวไปใช้ประโยชน์ เพื่อใช้ในการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพระบบฐานข้อมูล

เงื่อนไข

 : หน่วยงานจัดส่งแผนงานการบูรณาการฐานข้อมูลความมั่นคง เพื่อใช้ในการประเมินรอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2566 – มีนาคม 2567)

 : สำนักข่าวกรองแห่งชาติต้องแจ้งรายชื่อหน่วยงานที่จะเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลให้ สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบภายในธันวาคม 2566

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จของการบูรณาการฐานข้อมูลความมั่นคง (ด้านการข่าว) 0 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “ประสิทธิภาพของหน่วยงานด้านการข่าว และประชาคมข่าวกรอง” ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

คำอธิบาย

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ หมายความว่า การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆ โดยมิชอบโดยใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์โดยมุ่งหมายประทุษร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงหรือที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หมายความว่า เหตุการณ์ที่เกิดจากการกระทำหรือการดำเนินการใด ๆ ที่มิชอบซึ่งกระทำการผ่านทางคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจเกิดความเสียหายหรือผลกระทบต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ การรวบรวม ประมวล วิเคราะห์ ผลิตรายงานข่าวกรองและข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และแจกจ่ายไปยังผู้ใช้ข่าวจนได้รับข้อคิดเห็นและผลการใช้รายงานข่าวประกอบด้วย สรุปสถานการณ์ไซเบอร์ รายงานการแจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์ และข้อมูลข่าวกรองทางเทคนิคในระดับยุทธวิธีเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์

- การบูรณาการข้อมูลด้านการข่าวกรองเพื่อแจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์ หมายถึง การดำเนินการบูรณาการการข่าว การข่าวกรองของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ การปฏิบัติงานและแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข่าวกรองร่วมกันของหน่วยข่าวในประชาคมข่าวกรองและหน่วยข่าวกรองมิตรประเทศในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์  ผ่านกลไกการเชื่อมโยงและบูรณาการด้านการข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์เพื่อแจ้งเตือนภัยคุกคามทาง
ไซเบอร์

1. การประสานความร่วมมือเพื่อการรวบรวม แลกเปลี่ยน และแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยการแลกเปลี่ยนข่าวสารภัยคุกคามทางไซเบอร์ระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ จำนวน 10 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ 2) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ 3) สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 4) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ 5) กระทรวงการต่างประเทศ 6) MODCIRT 7) DGA-CERT 8) TB-CERT 9) TTC-CERT 10) Police-CERT 

2. การพัฒนาเครือข่ายบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้แก่ 1) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ 2) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ 3) สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 4) กองทัพบก 5) กองทัพเรือ 6) กองทัพอากาศ 7) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 8) ศูนย์รักษาความปลอดภัย 9) กองบัญชาการตำรวจสันติบาล 10) หน่วยข่าวกรองทางทหาร 11) กระทรวงการต่างประเทศ และ 12) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

- หน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ หมายถึง หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐตามประกาศคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ ลักษณะหน่วยงานที่มีภารกิจหรือให้บริการเป็นหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ และการมอบหมายการควบคุมและกำกับดูแล พ.ศ. 2564

รายงานข่าวกรองที่แจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สามารถกำหนดแนวทางป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ หมายถึง รายงานข่าวกรองที่ผ่านกระบวนการผลิตข่าวกรองโดยใช้กลไก
การเชื่อมโยงและบูรณาการด้านการข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ ได้แก่ การแลกเปลี่ยน แจ้งเตือนกับหน่วยข่าวกรองมิตรประเทศ การรับข่าวสารจากผู้ให้บริการข่าวกรองภัยคุกคามทาง
ไซเบอร์เชิงพาณิชย์ และปฏิบัติการตรวจสอบและวิเคราะห์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ภายในหน่วยงานเครือข่ายที่ตรวจพบภัยคุกคามทางไซเบอร์ และถูกแจกจ่ายไปยังหน่วยงานที่ได้รับการแจ้งเตือนโดยตรง ซึ่งหน่วยงานที่ได้รับรายงานข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ได้รับการแจ้งเตือนสามารถนำข้อมูลสิ่งบ่งชี้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Indicators of Compromise) ในรายงาน อาทิ หมายเลขเครือข่าย (IP Addresses) และรายการโปรแกรมไม่พึงประสงค์ ไปตรวจสอบแก้ไขภัยคุกคามทางไซเบอร์ตามที่ได้รับการแจ้งเตือน และนำไปกำหนดแนวทางป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยตรวจสอบข้อมูลสิ่งบ่งชี้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ปิดกั้นช่องทางการติดต่อสื่อสารของโปรแกรมไม่พึงประสงค์ และกำจัดโปรแกรมไม่พึงประสงค์ภายในเครือข่ายของหน่วยงานที่ได้รับการแจ้งเตือน โดยให้หน่วยงานที่ได้รับการแจ้งเตือนตอบกลับ (Feedback) รายงานผลการดำเนินการให้สำนักข่าวกรองแห่งชาติทราบระบบนิเวศการข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber threat intelligence ecosystem) หมายถึง การสร้างสภาวะแวดล้อมด้านการข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์เพื่อการแจ้งเตือน ระงับ ยับยั้งภัยคุกคามทางไซเบอร์ และกำหนดแนวทางป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ให้แก่หน่วยงานความมั่นคงทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย 1) หน่วยงาน (หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Regulator)) หน่วยงานด้านการข่าว หน่วยงานด้านความมั่นคง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ผู้ใช้ข่าว ผู้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร) 2) เทคโนโลยี เครื่องมือ และกลไกที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร 3) ประเภทของข้อมูลข่าวสาร 4) กระบวนการข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ 5) มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล และ 6) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สูตรการคำนวณ

ร้อยละของรายงานข่าวกรองที่สามารถแจ้งเตือนภัยคุกคามเพื่อใช้เป็นแนวทางป้องกันการโจมตีจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ได้ = (จำนวนรายงานข่าวกรองที่แจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สามารถกำหนดแนวทางป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ / จำนวนรายงานที่แจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์) x 100

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กำหนดแนวทางการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร ข่าวกรองสำหรับการแจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผ่าน
- แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ และหน่วยข่าวกรองมิตรประเทศในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ - พัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ในหน่วยงาน ด้านความมั่นคงของรัฐ - ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาบุคคลากรด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ร่วมกับหน่วยข่าวกรองมิตรประเทศ เพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรภาครัฐ/ประชาชนในประเทศ ผ่าน
รายงานสถานการณ์ไซเบอร์ และรายงานแจ้งเตือนให้กับหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “ประสิทธิภาพของหน่วยงานด้านการข่าวและประชาคมข่าวกรอง” ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

คำอธิบาย

เป็นตัวชี้วัดที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มุ่งเน้นการพัฒนาระบบงานข่าวกรองแห่งชาติแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถติดตาม แจ้งเตือน ระงับยับยั้ง และป้องกันปัญหาและภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลา โดยใช้เครื่องมืออนาคตศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อนการยกระดับการจัดทำรายงานประมาณการสถานการณ์เพื่อแจ้งเตือนภัยคุกคามระยะยาว (10 ปีขึ้นไป) ให้ความสำคัญต่อการยกระดับการจัดทำรายงาน ให้กับนายกรัฐมนตรีและสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อนำไปประกอบการออกแบบนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง กำหนดแนวทางแก้ปัญหาให้สามารถรับมือสถานการณ์ภัยคุกคาม ทั้งยังไปประกอบการตัดสินใจระดับนโยบายของประเทศ รวมถึงกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายในปี 2570

นิยาม

รายงานประมาณการสถานการณ์เพื่อแจ้งเตือนภัยคุกคามระยะยาว (10 ปีขึ้นไป) หมายถึง รายงานข่าวกรองซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของกลไกระดับนโยบายของประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำรายงานข่าวกรองที่ประเมินภัยคุกคามด้านความมั่นคงระยะยาว (10 ปีขึ้นไป) ไปใช้ประโยชน์ในการเป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบนโยบาย การตัดสินใจกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนระดับชาติ และระดับหน่วยงาน รวมทั้ง ประเด็นสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติ

ขอบเขตการประเมิน

การประเมินผลสำเร็จของการดำเนินงานตามโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 “โครงการยกระดับจัดทำรายงานประมาณการสถานการณ์เพื่อแจ้งเตือนภัยคุกคามระยะยาว และนำ ไปกำหนดนโยบายด้านความมั่นคง”

วิธีการเก็บข้อมูล

ติดตามการดำเนินงานตามโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 “โครงการยกระดับจัดทำรายงานประมาณการสถานการณ์เพื่อแจ้งเตือนภัยคุกคามระยะยาว และนำไปกำหนดนโยบายด้านความมั่นคง”

แหล่งที่มาของข้อมูล

1.รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 “โครงการยกระดับจัดทำรายงานประมาณการสถานการณ์เพื่อแจ้งเตือนภัยคุกคามระยะยาว และนำไปกำหนดนโยบายด้านความมั่นคง”

2. รายงานประมาณสถานการณ์เพื่อแจ้งเตือนภัยคุกคามด้านความมั่นคงในระยะยาว (10 ปีขึ้นไป) จำนวน 1 ฉบับ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
แนวทางการดำเนินการและการจัดเก็บ/จัดทำข้อมูล ผ่าน
ข้อมูลภัยคุกคามและประเมิน ภาพอนาคตเพื่อใช้ในการจัดประชุมระดมความคิดเห็น ผ่าน
สรุปผลการจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านอนาคตศึกษา และผู้เชี่ยวชาญรายประเด็น ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย
• ชุดข้อมูล (Dataset) หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน
• ระบบบัญชีข้อมูล หมายถึง ระบบโปรแกรมประยุกต์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน
• บัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูลสำคัญที่รวบรวมจากบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
• ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลภาครัฐมารวบรวมและจัดหมวดหมู่ รวมถึงระบบนามานุกรม (Directory Services) ที่ให้บริการสืบค้นบัญชีรายการข้อมูลภาครัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
• ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง (High Value Datasets) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งในมุมผู้ให้ข้อมูลและมุมของผู้นำข้อมูลไปใช้

แนวทางการประเมินการนำชุดข้อมูลมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ 
1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุงชุดข้อมูล และดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) กำหนด
2) พัฒนาชุดข้อมูลเปิดทุกชุดที่เผยแพร่บนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน
3) มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) นำชุดข้อมูลเปิดบนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานที่ยังไม่ลงทะเบียนระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
1 ถึง 25 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 100

กลุ่มที่ 2: 26 ถึง 100 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90

กลุ่มที่ 3: 101 ชุดข้อมูลขั้นไป
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 70
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 70
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัล แบ่งเป็น 5 ระดับ (ระดับที่ 1 ระดับขั้นริเริ่ม (Initial) , ระดับที่ 2 ระดับขั้นต้น (Developing) , ระดับที่ 3 ระดับขั้นกลาง (Defined) , ระดับที่ 4 ระดับขั้นสูง (Managed) , ระดับที่ 5 ระดับขั้นสูงสุด (Optimizing)) จากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 1 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar

กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ลดลงอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เท่ากับผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป 7 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 4 ขึ้นไปอย่างน้อย 3 Pillar และไม่มี Pillar ที่ต่ำกว่าระดับ 3

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 4 Pillar

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 5 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 7 Pillar

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลเป็นคะแนนโดยรวมจากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar และ
กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 66 + 5 คะแนน

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: สูงกว่าคะแนนปี 66

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ไม่ต้องประเมินตัวชี้วัดนี้ เนื่องจากไม่มีผลคะแนนปี 66

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ต่ำกว่า 350 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 275 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: 350 คะแนน

กลุ่มที่ 2: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 350 แต่น้อยกว่า 400 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 350 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 10 %

กลุ่มที่ 3: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 400 - 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 400 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 2 %

กลุ่มที่ 4 ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  มากกว่า 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 445 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: (คะแนนปี 2566 + 445)/2
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566