รายงานผลการประเมิน

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs "ความสำเร็จของการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล" ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

นิยาม : การติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล เป็นการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญ โดยการกำหนดประเด็นนโยบายที่จะติดตามในแต่ละปีงบประมาณ จะพิจารณาจากประเด็นที่มีความสำคัญ เร่งด่วนหรือมีผลกระทบสูงต่อประชาชน รวมทั้งประเด็นที่มีความเชื่อมโยงกับการดำเนินงานตามนโยบายของปีงบประมาณที่ผ่านมา หรือประเด็นที่ยังต้องติดตามอย่าง
ต่อเนื่อง

   •   ขอบเขตการประเมิน : ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญที่กำหนดไว้

   •   สูตรคำนวณ : การดำเนินการเป็นไปตามที่กำหนดในค่าเป้าหมาย

   •   วิธีการเก็บข้อมูล : โดยการจัดเก็บข้อมูลจากการดำเนินการจริง 

  แหล่งที่มาของข้อมูล  

      1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary source) เป็นข้อมูลที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดำเนินการเอง

      2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary source) เป็นข้อมูลที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้รับจากหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแผนในการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ผ่าน
แจ้งส่วนราชการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการ นรม. ผ่าน
จัดทำข้อเสนอแนะการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล เสนอ นรม. / รอง นรม. ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 

   •   เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs "ร้อยละความเชื่อมั่นของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ต่อการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี" ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

   •   นิยาม : ความเชื่อมั่น คือ การรับรู้ การให้การยอมรับ มีความไว้วางใจ และมีความมั่นใจต่อการปฏิบัติงานและการให้บริการของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

   •   ขอบเขตการประเมิน : วัดความเชื่อมั่นของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

   •   สูตรคำนวณ : ร้อยละความเชื่อมั่น = ค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่น x 100/5

   •   วิธีการเก็บข้อมูล : โดยการทอดแบบสำรวจความเชื่อมั่น นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เรียนรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

     แหล่งที่มาของข้อมูล
เป็นแหล่งปฐมภูมิ (Primary source) โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดำเนินการเอง

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
แจ้งผลการสำรวจความเชื่อมั่นฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้ทุกหน่วยงานทราบ ผ่าน
จัดทำข้อเสนอแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ เพื่อยกระดับความเชื่อมั่นฯ ผ่าน
ลธน. เห็นชอบแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการเพื่อยกระดับความเชื่อมั่นฯ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “ความสำเร็จของการประเมินการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์” ของกรมประชาสัมพันธ์

คำอธิบาย
• นิยาม
   - การชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ เพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน โดยเฉพาะประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ซึ่งมีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดข้อสงสัยในการทำงานของส่วนราชการและนำไปสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนมีผลต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นในการบริหารราชการแผ่นดิน
   - คำชี้แจงของส่วนราชการหมายถึง ข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่ส่วนราชการที่ตอบกลับมา เพื่อตอบข้อสงสัยตามประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์
• หลักเกณฑ์การกำหนดประเด็น
   1) ประเด็นที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนส่งผลกระทบต่อประชาชน สังคมและประเทศ
   2) ประเด็นที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีนโยบาย การดำเนินงานของรัฐ
• ขอบเขตการประเมิน : กระบวนการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ โดยมีกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้
   1) กปส. ติดตามและตรวจสอบการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนและประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ภายในเวลา 10.00 น.
   2) กปส. และ สนฆ. ร่วมวิเคราะห์และตรวจสอบเนื้อหาการนำเสนอข่าวเพื่อกำหนดประเด็นสำคัญที่ทันสถานการณ์ให้ส่วนราชการชี้แจง ภายใน 11.00 น.
   3) ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับประเด็นไปจัดทำคำชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน (ภายใน 24 ชั่วโมง)
   4) กรมประชาสัมพันธ์นำคำชี้แจงของส่วนราชการมาเรียบเรียงและจัดส่งให้หน่วยสื่อดำเนินการขยายผล ผ่านกลุ่มไลน์ ประเด็น IOC ภายใน 3 ชั่วโมง
   5) กรมประชาสัมพันธ์ประเมินผลการชี้แจงและจัดทำรายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีทุก 3 เดือน

ประเด็นชี้แจงที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน หมายถึง ประเด็นชี้แจงที่ได้คะแนนประเมิน มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 (โดยคะแนนประเมินพิจารณาจากความทันเวลา 30 คะแนน/ คุณภาพเนื้อหา 40 คะแนน/ วิธีการชี้แจง 10 คะแนน และช่องทางการเผยแพร่ 20 คะแนน)
• ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องที่ทำให้ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ 
   1) หน่วยงานไม่เข้ามาตอบรับและไม่มีการชี้แจงประเด็นตามกระบวนการ
   2) หน่วยงานตอบรับและชี้แจงไม่ทันเวลาที่กำหนด ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะไม่ได้รับการประเมิน
   3) หน่วยงานไม่เข้าใจกระบวนการชี้แจง จึงชี้แจงไม่ครบถ้วน ทำให้ไม่สิ้นข้อสงสัย หรือไม่ส่งหลักฐานชี้แจง 
• การกำหนดประเด็นชี้แจงที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยการพิจารณาจากประเด็นชี้แจงที่ได้คะแนนเฉลี่ย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 เป็นการกำหนดโดยความเห็นร่วมกันระหว่าง สำนักโฆษก และ กรมประชาสัมพันธ์

สูตรการคำนวณ
ร้อยละประเด็นชี้แจงที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน =  (จำนวนประเด็นชี้แจงที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน / จำนวนประเด็นชี้แจงที่กำหนดให้หน่วยงานชี้แจงทั้งหมด) x 100

เป้าหมาย ปี 2567 : ความสำเร็จของการประเมินการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ ร้อยละ 91.49

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จัดทำรายงานการติดตามและตรวจสอบการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนและประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชนเป็นประจำทุกเดือน ผ่าน
เผยแพร่คำชี้แจงที่ส่วนราชการชี้แจงกลับมาผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 100 ผ่าน
กรมประชาสัมพันธ์ประเมินผลการชี้แจงและจัดทำรายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีทุก 3 เดือน ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 

     นิยาม : จำนวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงข้อมูลหรือใช้งานระบบฯ แบบ Two-way กับ สลน. เพื่อติดตามสถานะการดำเนินงานและเป็นฐานข้อมูลในภารกิจด้านประสานงานการเมืองและกิจการรัฐสภาของนายกรัฐมนตรี ผ่านระบบปฏิบัติงานด้านประสานงานการเมืองและกิจการรัฐสภา (Electronics - Political Coordination Operating System หรือ e-PCOS) ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นตามโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศติดตามสถานะร่าง พ.ร.บ. กระทู้ถามและข้อปรึกษาหารือ ส.ส./ส.ว.
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (โครงการสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2565) เพื่อให้ สลน. สามารถสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารราชการแผ่นดิน

     •  ขอบเขตการประเมิน : การเชื่อมโยงข้อมูลหรือใช้งานระบบฯ แบบ Two-way ระหว่าง สลน. กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภารกิจด้านประสานงานการเมืองและกิจการรัฐสภาของนายกรัฐมนตรี

     •  สูตรคำนวณ : การดำเนินการเป็นไปตามที่กำหนดในค่าเป้าหมาย   วิธีการเก็บข้อมูล : จัดเก็บข้อมูลจากการดำเนินการจริง 

     •  แหล่งที่มาของข้อมูล : ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary source) เป็นข้อมูลที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดำเนินการเอง

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กำหนดผู้รับผิดชอบในการใช้งานระบบฯ ของแต่ละหน่วยงาน ผ่าน
อบรมการใช้งานระบบฯ ให้กับผู้รับผิดชอบในการใช้งานระบบของแต่ละหน่วยงาน ไม่ผ่าน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการดำเนินการในภารกิจด้านประสานงานการเมืองและกิจการรัฐสภาของนายกรัฐมนตรีผ่านระบบฯ ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย
• ชุดข้อมูล (Dataset) หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน
• ระบบบัญชีข้อมูล หมายถึง ระบบโปรแกรมประยุกต์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน
• บัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูลสำคัญที่รวบรวมจากบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
• ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลภาครัฐมารวบรวมและจัดหมวดหมู่ รวมถึงระบบนามานุกรม (Directory Services) ที่ให้บริการสืบค้นบัญชีรายการข้อมูลภาครัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
• ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง (High Value Datasets) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งในมุมผู้ให้ข้อมูลและมุมของผู้นำข้อมูลไปใช้

แนวทางการประเมินการนำชุดข้อมูลมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ 
1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุงชุดข้อมูล และดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) กำหนด
2) พัฒนาชุดข้อมูลเปิดทุกชุดที่เผยแพร่บนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน
3) มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) นำชุดข้อมูลเปิดบนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานที่ยังไม่ลงทะเบียนระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
1 ถึง 25 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 100

กลุ่มที่ 2: 26 ถึง 100 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90

กลุ่มที่ 3: 101 ชุดข้อมูลขั้นไป
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 70
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 70
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัล แบ่งเป็น 5 ระดับ (ระดับที่ 1 ระดับขั้นริเริ่ม (Initial) , ระดับที่ 2 ระดับขั้นต้น (Developing) , ระดับที่ 3 ระดับขั้นกลาง (Defined) , ระดับที่ 4 ระดับขั้นสูง (Managed) , ระดับที่ 5 ระดับขั้นสูงสุด (Optimizing)) จากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 1 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar

กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ลดลงอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เท่ากับผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป 7 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 4 ขึ้นไปอย่างน้อย 3 Pillar และไม่มี Pillar ที่ต่ำกว่าระดับ 3

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 4 Pillar

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 5 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 7 Pillar

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลเป็นคะแนนโดยรวมจากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar และ
กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 66 + 5 คะแนน

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: สูงกว่าคะแนนปี 66

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ไม่ต้องประเมินตัวชี้วัดนี้ เนื่องจากไม่มีผลคะแนนปี 66

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ต่ำกว่า 350 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 275 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: 350 คะแนน

กลุ่มที่ 2: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 350 แต่น้อยกว่า 400 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 350 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 10 %

กลุ่มที่ 3: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 400 - 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 400 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 2 %

กลุ่มที่ 4 ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  มากกว่า 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 445 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: (คะแนนปี 2566 + 445)/2
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566