รายงานผลการประเมิน

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “ร้อยละความสำเร็จของการกำกับติดตามเรื่องร้องทุกข์ของประชาชนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อยุติ” ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

คำอธิบาย

- เรื่องร้องทุกข์ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ หมายถึง เรื่องร้องทุกข์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111 ทั้ง 6 ช่องทาง ได้แก่ 1) จุดบริการประชาชน 1111 2) ตู้ ป.ณ. 1111 3) สายด่วนของรัฐบาล 1111 4) เว็บไซต์ www.1111.go.th 5) โมบายแอปพลิเคชัน PSC 1111 และ 6) Line@PSC 1111 ซึ่ง สปน. ส่งให้หน่วยงานพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ

- การกำกับติดตาม หมายถึง ติดตามเรื่องร้องทุกข์ที่มีสถานะอยู่ระหว่างการดำเนินการไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้ได้ข้อยุติตามแนวทางที่ สปน. กำหนด  ดังนี้ 1) ติดตามผ่านระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ 2 ครั้ง 2) ติดตามโดยการจัดทำเป็นหนังสือ 2 ครั้ง

- จำนวนเรื่องร้องทุกข์ที่อยู่ระหว่างดำเนินการที่ สปน. ต้องกำกับติดตามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ข้อยุติ รวมทั้งสิ้น 5,842 เรื่อง (ประกอบด้วย เรื่องร้องทุกข์ที่อยู่ระหว่างดำเนินการของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 1,593 เรื่อง และของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 4,249 เรื่อง) ทั้งนี้ ได้คัดกรองเรื่องร้องทุกข์ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนออกแล้ว เช่น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน หรือการดำเนินคดี เป็นต้น (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566)

- ร้อยละความสำเร็จของการกำกับติดตามเรื่องร้องทุกข์ หมายถึง จำนวนเรื่องร้องทุกข์ที่อยู่ระหว่างดำเนินการที่ สปน. ได้ดำเนินกำกับติดตามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยผ่านระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์จำนวน 2 ครั้ง และการจัดทำเป็นหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 2 ครั้ง ตามช่วงเวลาที่กำหนด โดยเปรียบเทียบกับจำนวนเรื่องร้องทุกข์ที่อยู่ระหว่างดำเนินการทั้งหมด

เกณฑ์การคำนวณ

ร้อยละความสำเร็จของการกำกับติดตามเรื่องร้องทุกข์ของประชาชนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อยุติ = (จำนวนเรื่องร้องทุกข์ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและได้รับการกำกับติดตามจนได้ข้อยุติ / จำนวนเรื่องร้องทุกข์ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและได้รับการกำกับติดตามทั้งหมด) x 100

คำนิยาม

การดำเนินการจนได้ข้อยุติ ได้แก่

1) เรื่องที่ดำเนินการแล้วได้ตามความประสงค์ของผู้ร้องทั้งหมด และได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ

2) เรื่องที่ดำเนินการแล้วได้ตามความประสงค์ของผู้ร้องบางส่วน และได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ

3) เรื่องที่ดำเนินการแล้ว แต่ไม่ได้ตามความประสงค์ของผู้ร้อง และได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ร้อง

4) เรื่องที่ส่งต่อให้หน่วยงานอื่นเพื่อทราบ และได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ

5) เรื่องร้องเรียนที่ระงับการพิจารณา หรือรวมเรื่อง เช่น เรื่องที่อยู่ในกระบวนการทางศาล เรื่องร้องทุกข์กล่าวโทษแต่ไม่มีหลักฐาน และได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบตามควรแก่กรณี

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ดำเนินการกำกับติดตามเรื่องร้องทุกข์โดยเจ้าหน้าที่ประมวลเรื่องร้องทุกข์เพื่อคัดกรองเรื่องร้องทุกข์ที่มีสถานะอยู่ระหว่างการดำเนินการ ครั้งที่ 1 ผ่าน
เจ้าหน้าที่ดำเนินการติดตามเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ครั้งที่ 1 ผ่าน
เจ้าหน้าที่ดำเนินการติดตามเรื่องร้องทุกข์โดยการจัดทำเป็นหนังสือ ครั้งที่ 1 ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “จำนวนของการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์” ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

คำอธิบาย

- เป็นการวัดระดับความสำเร็จของการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ โดยคัดเลือกประเด็นจากเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนร้องเรียนผ่านช่องทาง 1111 ซึ่งเป็นปัญหาที่เรื้อรังยาวนาน มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง นโยบาย/โครงการที่มีผลกระทบกับประชาชน ประเด็นที่เป็นที่น่าสนใจของสาธารณชน ปัญหาที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของประชาชน โดยนำมาศึกษากลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อเท็จจริง และหรือจัดให้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหรือตั้งคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน (แล้วแต่กรณี) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

- ข้อเสนอเชิงนโยบาย หมายถึง ข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามแนวทาง/ขั้นตอนที่กำหนด และจัดทำเป็นรายงานสรุปเพื่อนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

- การนับจำนวนข้อเสนอเชิงนโยบายให้นับประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาจากอดีต จนปรากฏผลเป็นข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหาในปีปัจจุบันโดยให้นับรวมเป็นผลการดำเนินการด้วย

เงื่อนไข

1. รายงานการสรุปเรื่องร้องทุกข์ที่รับเข้ามาทั้งหมดแล้วนำมาประมวลผล/วิเคราะห์ เพื่อจัดกลุ่มของปัญหา ความสำคัญของปัญหา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเรียงลำดับความสำคัญของเรื่องในการนำไปจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป

2. ในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดนี้ จะต้องสรุปว่าแต่ละเรื่องที่นำมาศึกษาวิเคราะห์ และจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายนี้ มีผลกระทบหรือมีความสำคัญอย่างไร มีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใดบ้าง และมีหน่วยงานใดบ้างที่เข้ามาร่วมดำเนินการในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ประมวลข้อมูลเรื่องร้องทุกข์เพื่อหาประเด็นเรื่องสำหรับการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ผ่าน
แจ้งประเด็นเรื่องที่จะดำเนินการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเสนอปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและแจ้ง สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบ ภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ผ่าน
ข้อเสนอเชิงนโยบาย จำนวน 1 เรื่อง ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “ร้อยละความสำเร็จของการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร. ในปี 2567” ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

คำอธิบาย

- เป็นการวัดความสำเร็จของการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร.  ประจำปี 2567 ตามประเด็นสำคัญตามนโยบายรัฐบาล/ประเด็นการตรวจราชการจากแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ ผต.นร. 

 

นิยาม : 1. ความสำเร็จของการตรวจราชการแบบบูรณาการ หมายถึง มีการตรวจราชการตามประเด็นสำคัญตามนโยบายรัฐบาล/ประเด็นการตรวจราชการที่คัดเลือกมาดำเนินการ ในปี 2567 และมีการรายงานผลการตรวจราชการแบบบูรณาการในภาพรวม ในแต่ละประเด็นการตรวจราชการฯ ประกอบด้วย ข้อค้นพบ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อเสนอต่อ นรม. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการแจ้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการไปพิจารณาดำเนินการ

2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หมายถึง ข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกับบทวิเคราะห์ที่มาของสภาพปัญหาอุปสรรค เพื่อแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับส่วนกลาง หรือเพื่อเสริมสร้าง/บูรณาการการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการปรับปรุง/พัฒนาในด้านต่าง ๆ หรือเพื่อป้องกัน/แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก นรม. หรือ ร.นรม. หรือ รมต.นร. ที่ได้รับมอบหมาย หรือมีการสั่งการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานต่อไป

3. ร้อยละความสำเร็จฯ หมายถึง ผลรวมความสำเร็จของทุกกิจกรรมที่กำหนดในแต่ละประเด็นการตรวจฯ ตามแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ

การดำเนินการ

 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดประชุมปรึกษาหารือเพื่อจัดทำแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ตามนัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548 ข้อ 8 วรรคสี่ และจัดทำร่างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้

  1. การตรวจราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548 ข้อ 8 ให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีร่วมกับผู้ตรวจราชการกระทรวง หรือผู้ตรวจราชการกรมที่ได้รับมอบหมาย ตรวจราชการตามแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้

1.  การตรวจติดตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

      1.1 มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล

      1.2 มาตรการตามแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ

2. การตรวจติดตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับประชาชนใน 3 ด้าน ดังนี้

      2.1 ด้านการสร้างรายได้

             - การส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว

     2.2 ด้านการขยายโอกาส

            - การขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power

     2.3 ด้านการสร้างคุณภาพชีวิต

            - การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

3. การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนหรือข้อร้องเรียนของประชาชน หรือการผลักดันการดำเนินโครงการ/มาตรการสำคัญในเชิงพื้นที่ของส่วนราชการ หรือกรณีอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีการจัดทำคำสั่ง เรื่อง การตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เสนอ ปนร. ให้ความเห็นชอบ ผ่าน
มีการตรวจติดตามในพื้นที่ โดยวิธีการรับฟังรายงานและสอบถามข้อมูล/การสังเกตการณ์ การดำเนินการในพื้นที่/การประชุมผ่าน Video/Web Conference รอบที่ 1 ผ่าน
มีการรายงานผลการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร. รายเขตตรวจราชการ รอบที่ 1 ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “ร้อยละความสำเร็จของการติดตามการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ปี 2566 ของ ผต.นร.” ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

คำอธิบาย

- เป็นการวัดความสำเร็จในการติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะจากการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร. ประจำปี 2566 จำนวน 2 ประเด็น ได้แก่

  1. การท่องเที่ยว

  2. การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต

นิยาม

1. การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะจากการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร. หมายถึง การมีกระบวนการในการติดตาม เร่งรัด ขับเคลื่อน ให้เกิดการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร. ในปี 2566 จำนวน 2 ประเด็น ซึ่ง สปน. ได้มีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวแล้ว

2. กระบวนการในการติดตาม เร่งรัด ขับเคลื่อน ให้เกิดการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร. ในปี 2566 โดย สปน. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รายงานผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะให้ สปน. ทราบ หรือมีการดำเนินการ ดังนี้

  2.1 กรณีที่หน่วยงานนำข้อเสนอแนะไปดำเนินการและสามารถแก้ไขปัญหา/อุปสรรคให้คลี่คลายหรือยุติลงได้ ให้หน่วยงานมีรายงานผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการแจ้งให้ สปน. ทราบ

  2.2 กรณีที่หน่วยงานยังไม่ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ หรือดำเนินการแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหา/อุปสรรคให้คลี่คลายหรือยุติลงได้ สปน. มีการดำเนินการ ดังนี้

- ติดตามและเร่งรัดการดำเนินการเพื่อขอทราบผลการพิจารณา หรือขอทราบความคืบหน้าในการดำเนินการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- ติดตามปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพิ่มเติม และรายงานผลไปยัง นรม. หรือ ร.นรม. หรือ รมต.นร. ที่ได้รับมอบหมาย

3. ร้อยละความสำเร็จฯ หมายถึง ผลรวมของความสำเร็จในการติดตามการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในทุกประเด็นการตรวจราชการแบบบูรณาการ ปี 2566

4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ติดตามได้ หมายถึง ข้อเสนอแนะที่ สปน. แจ้งหน่วยงานไปพิจารณาดำเนินการ และหน่วยงานมีการรายงานผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการแจ้งให้ สปน. ทราบ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
แจ้งข้อเสนอแนะระดับนโยบายจากการตรวจราชการแบบบรูณาการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่าน
มีสรุปผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะระดับนโยบายจากการตรวจราชการแบบบูรณาการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รอบที่ 1 และรอบที่ 2 กราบเรียน นรม. ผ่าน
มีการประชุมเพื่อกำหนดประเด็นการติดตามขับเคลื่อนการดำเนินการตามข้อเสนอแนะระดับนโยบายจากการตรวจราชการแบบบูรณาการฯ อย่างน้อย 1 ครั้ง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย

นิยาม : ข้อมูลข่าวสาร หมายถึง ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 7 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่กฎหมายกำหนดเป็นการทั่วไปอย่างแพร่หลาย และมาตรา 9 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ ต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 ให้หน่วยงานของรัฐนำข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 และมาตรา 9 เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานโดยประชาชนไม่ต้องร้องขอ

- หน่วยงานของรัฐในส่วนท้องถิ่น : หมายถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภท รวมจำนวน 7,850 แห่ง แบ่งเป็น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ 303 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก 7,547 แห่ง (อ้างอิงจากข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ วันที่ 9 กันยายน 2563)

- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ หมายถึง องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก  หมายถึง เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล

- เกณฑ์มาตรฐาน : หมายถึง หลักเกณฑ์การแสดงข้อมูลข่าวสารที่กำหนดขึ้นโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีการปรับเกณฑ์การประเมินที่เน้นการประเมินเชิงคุณภาพ)

- การประเมินการผ่านเกณฑ์มาตรฐาน : หมายถึง ร้อยละของหน่วยงานเข้าร่วมโครงการฯ ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

- ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร : หมายถึง ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการทางอิเล็กทรอนิกส์

ขอบเขตการประเมิน : จำนวนสะสมของหน่วยงานของรัฐในส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมการสัมมนาและจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เทียบกับจำนวนหน่วยงานกลุ่มเป้าหมายในแผนระยะยาวทั้งหมด โดยกำหนดหน่วยงานกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2568     เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก รวมจำนวน 7,547 แห่ง

สูตรการคำนวณ : จำนวนสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กที่เข้าร่วมโครงการฯ และผ่านเกณฑ์มาตรฐาน x 100 / จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กทั้งหมด

วิธีการเก็บข้อมูล : ประเมินศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการลงพื้นที่หรือผ่านระบบออนไลน์

แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนหน่วยงานเข้าร่วมโครงการฯ ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 156 (หน่วย)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็น Joint KPIs ประเด็นการบริหารจัดการและอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำทั้งระบบ

คำอธิบาย

นิยาม :

1. การติดตามและประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัย เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (สอน. และ รพ.สต.) ที่ได้ถ่ายโอนให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยการประสานความร่วมมือกับส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการวิเคราะห์ รวบรวม ข้อมูล และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรับทราบความก้าวหน้าและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำและด้านการสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2. ร้อยละความสำเร็จ หมายถึง ผลรวมของความสำเร็จจากการดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอน/กระบวนการ เทียบกับเป้าหมายการดำเนินการตามที่กำหนดในแผนการติดตามและประเมินผล

ระยะเวลาการดำเนินงาน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดทำแผนการติดตามและประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำ และด้านการสาธารณสุขให้แก่ อปท. ผ่าน
การเสนอ (ร่าง) แผนการติดตาม และประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำและด้านการสาธารณสุขให้แก่ อปท. ต่อคณะอนุกรรมการด้านการติดตามและประเมินผลเพื่อพิจารณา ผ่าน
คณะอนุกรรมการด้านการติดตามและประเมินผลเห็นชอบแผนการติดตามและประเมินผลฯ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2564 เห็นชอบการขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมงานบริการ 12 งานบริการ Agenda
• แผนปฏิบัติการ (Action Plan) หมายถึง แผนดำเนินการที่ส่วนราชการระบุรายละเอียดกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2564 โดยระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ชัดเจน / ผลผลิตที่จะได้รับเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาสเพื่อใช้ติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อน / เป้าหมายในการวัดความสำเร็จของแต่ละไตรมาส / การระบุเป้าหมายและบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
• การประเมินความสำเร็จพิจารณาจาก การขยายผลการให้บริการ/เชื่อมระบบการให้บริการ หมายถึง การพิจารณาจาก (1) จำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น (2) จำนวนหน่วยงานที่เชื่อมโยงเพิ่มมากขึ้น และ (3) จำนวนงานบริการในระบบที่เพิ่มขึ้น โดยเป้าหมายต้องเพิ่มขึ้นจากผลการดำเนินงานปี 2566/เป็นไปตามแผน (Roadmap) ปี 2567)

ผู้รับผิดชอบการรายงานผล: หน่วยงานเจ้าภาพหลัก

การรายงานผล 12 เดือน : ให้หน่วยงานเจ้าภาพหลัก รายงานผลสำเร็จการดำเนินงานในภาพรวม และของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้

หมายเหตุ
- กรณีหน่วยงานเกี่ยวข้องหลายงานบริการ Agenda จะวัดร้อยละความสำเร็จเฉลี่ยของงานบริการ Agenda ที่เกี่ยวข้อง
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอให้ใช้ 1 KPI Template ต่อ 1 งานบริการ Agenda

เงื่อนไข 
1. สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดให้หน่วยงานเจ้าภาพส่งรายละเอียดตัวชี้วัด โดยเลือกกรณีที่สอดคล้องกับงานบริการ Agenda ระบุชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และระบุเป้าหมายตามเกณฑ์การประเมินให้ครบถ้วน รวมทั้งข้อมูลพื้นฐาน (baseline) ของงานบริการ และแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กำหนดส่งภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2566
2. หน่วยงานเจ้าภาพรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการในภาพรวมมายังสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นประจำทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 จนถึงวันที่ 15 กันยายน 2567

รายชื่องานบริการ Agenda ตามมติคณะรัฐมนตรี และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
กรณี 1 Agenda ที่พัฒนาระบบแล้วเสร็จ

1.1 : A1 ระบบการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล (DOPA Digital ID)
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: กรมการปกครอง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: -

1.2 : A2 หนึ่งรหัส หนึ่งผู้ประกอบการ (One Identification : ID One SMEs)
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) กรมส่งเสริมการเกษตร (2) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (3) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (4) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (5) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

1.3 : A3 ระบบการรับชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: กรมที่ดิน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) กรมธนารักษ์ (2) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (3) กรมการปกครอง (4) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (5) กรมบังคับคดี (6) อปท. (7) กรุงเทพมหานคร (8) เมืองพัทยา (9) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง)

1.4 : A4 ระบบการอนุญาตวัตถุอันตราย ณ จุดเดียว (Hazardous Substance Single Submission : HSSS)
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: -

1.5 : A6 ระบบการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทาง (Ease of traveling)
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (2) กรมการพัฒนาชุมชน (3) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (4) การรถไฟแห่งประเทศไทย (5) การกีฬาแห่งประเทศไทย

1.6 : A7 ระบบช่วยเหลือผู้ว่างงานให้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: กรมการจัดหางาน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: เอกชน 3 แห่ง

1.7 : A10 ระบบการแจ้งเตือนสิทธิ์และช่วยเหลือในการรับสวัสดิการของประชาชนตลอดช่วงชีวิต
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) กรมการจัดหางาน (2) สำนักงานประกันสังคม (3) สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (4) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษา (5) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (6) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (7) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (8) กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (9) กรมส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

1.8 : A11 ระบบการออกบัตรสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: –

1.9 : A12 ศูนย์การร้องเรียนแบบเบ็ดเสร็จ
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (2) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (3) ธนาคารแห่งประเทศไทย

กรณี 2 Agenda ที่อยู่ระหว่างพัฒนาระบบ
2.1 : A5 ระบบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (GAP) พืช ประมง และปศุสัตว์ 
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2) กรมการข้าว (3) กรมประมง (4) กรมปศุสัตว์ (5) กรมวิชาการเกษตร (6) กรมหม่อนไหม (7) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (8) กรมส่งเสริมการเกษตร

2.2 : A8 ระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามแดนทางบกของกลุ่มประเทศ ACMECS ผ่านระบบ NSW
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: กรมศุลกากร
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) กรมป่าไม้ (2) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (3) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (4) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (5) กรมประมง (6) กรมปศุสัตว์ (7) กรมวิชาการเกษตร (8) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (9) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (10) กรมการอุตสาหกรรมทหาร

2.3 : A9 ระบบการขึ้นทะเบียนเกษตรกร และการขอรับความช่วยเหลือด้านการเกษตร
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) กรมหม่อนไหม (2) กรมประมง (3) กรมปศุสัตว์ (4) กรมส่งเสริมการเกษตร

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กรณี 1 Agenda ที่พัฒนาระบบแล้วเสร็จ

เป้าหมายขั้นต้น: ขยายผลการให้บริการ / เชื่อมระบบการให้บริการ (ผลการดำเนินงานปี 2566 (ไม่นับสะสม) / เป้าหมายตามแผน (Roadmap) ปี 2566)
เป้าหมายมาตรฐาน: ขยายผลการให้บริการ / เชื่อมระบบการให้บริการ (เป้าหมายตามแผน (Roadmap) ปี 2567)
เป้าหมายขั้นสูง: ขยายผลการให้บริการ / เชื่อมระบบการให้บริการ (ผลการดำเนินงานสูงกว่าเป้าหมายตามแผน (Roadmap) ปี 2567)

กรณี 2 Agenda ที่อยู่ระหว่างพัฒนาระบบ
เป้าหมายขั้นต้น: ระบบเสร็จ และผ่านการทดสอบการใช้งาน
เป้าหมายมาตรฐาน: ให้บริการผ่านระบบออนไลน์ได้ตามเป้าหมายแผน (Roadmap) ปี 2567
เป้าหมายขั้นสูง: จำนวนผู้รับบริการผ่านระบบ ตามเป้าหมายแผน (Roadmap) ปี 2567

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย
• ชุดข้อมูล (Dataset) หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน
• ระบบบัญชีข้อมูล หมายถึง ระบบโปรแกรมประยุกต์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน
• บัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูลสำคัญที่รวบรวมจากบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
• ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ หมายถึง ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลภาครัฐมารวบรวมและจัดหมวดหมู่ รวมถึงระบบนามานุกรม (Directory Services) ที่ให้บริการสืบค้นบัญชีรายการข้อมูลภาครัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
• ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง (High Value Datasets) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งในมุมผู้ให้ข้อมูลและมุมของผู้นำข้อมูลไปใช้

แนวทางการประเมินการนำชุดข้อมูลมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ 
1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุงชุดข้อมูล และดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) กำหนด
2) พัฒนาชุดข้อมูลเปิดทุกชุดที่เผยแพร่บนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน
3) มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) นำชุดข้อมูลเปิดบนระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานที่ยังไม่ลงทะเบียนระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
1 ถึง 25 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 100 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 100

กลุ่มที่ 2: 26 ถึง 100 ชุดข้อมูล
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 90 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 90

กลุ่มที่ 3: 101 ชุดข้อมูลขั้นไป
เป้าหมายขั้นต้น: คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 70
เป้าหมายมาตรฐาน: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 70
เป้าหมายขั้นสูง: 1) คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด ร้อยละ 80 2) นำชุดข้อมูลเปิดที่นำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ร้อยละ 80

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัล แบ่งเป็น 5 ระดับ (ระดับที่ 1 ระดับขั้นริเริ่ม (Initial) , ระดับที่ 2 ระดับขั้นต้น (Developing) , ระดับที่ 3 ระดับขั้นกลาง (Defined) , ระดับที่ 4 ระดับขั้นสูง (Managed) , ระดับที่ 5 ระดับขั้นสูงสุด (Optimizing)) จากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 1 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar

กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ลดลงอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เท่ากับผลการดำเนินงานปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 Pillar จากผลการดำเนินงานปี 66

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป 7 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 4 ขึ้นไปอย่างน้อย 3 Pillar และไม่มี Pillar ที่ต่ำกว่าระดับ 3

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 3 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 4 Pillar

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เป้าหมายขั้นต้น: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 5 Pillar
เป้าหมายมาตรฐาน: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 6 Pillar
เป้าหมายขั้นสูง: มีจำนวน Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 7 Pillar

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2566 สพร. ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ จำนวนรวมทั้งสิ้น 376 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 300 หน่วยงาน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานรูปแบบอื่น) และคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับจังหวัด (Provincial Chief Information Officer Committee: PCIO) จำนวน 76 จังหวัด
• คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลเป็นคะแนนโดยรวมจากการสำรวจ 7 ตัวชี้วัด (Pillar)  ได้แก่ 1) Policies and Practices 2) Data-driven Practices 3) Digital Capability 4) Public Service 5) Smart Back Office 6) Secure and Efficient Infrastructure และ 7) Digital Technology Practices
• ผลการสำรวจดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย สพร. เป็นผู้ประมวลผลจากการสำรวจจากหน่วยงานทั้งหมดที่ประเมินตนเองตามแบบสำรวจของ สพร. (DG Readiness Survey) แล้วประกาศผลระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลในทุกปี ผ่านเว็บไซต์ https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/ 
• กรณีใช้ประเมินส่วนราชการที่อยู่ในระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 154 หน่วยงาน คือ กรมต่าง ๆ หน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานไม่สังกัด

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1:
หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 0-2 Pillar จาก 7 Pillar และ
กลุ่มที่ 2: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นจำนวน 3-6 Pillar จาก 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 66 + 5 คะแนน

กลุ่มที่ 3: หน่วยงานที่ได้ Pillar ระดับ 3 ขึ้นไป ทั้ง 7 Pillar
เป้าหมายขั้นต้น: คะแนนปี 66 – 10 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 66
เป้าหมายขั้นสูง: สูงกว่าคะแนนปี 66

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ไม่ต้องประเมินตัวชี้วัดนี้ เนื่องจากไม่มีผลคะแนนปี 66

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

เกณฑ์การประเมิน รอบ 12 เดือน
กลุ่มที่ 1: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ต่ำกว่า 350 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 275 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: 350 คะแนน

กลุ่มที่ 2: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 350 แต่น้อยกว่า 400 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 350 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 10 %

กลุ่มที่ 3: ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ตั้งแต่ 400 - 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 400 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: คะแนนปี 2566
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566 + 2 %

กลุ่มที่ 4 ส่วนราชการที่มีคะแนนผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  มากกว่า 450 คะแนน
เป้าหมายขั้นต้น: 445 คะแนน
เป้าหมายมาตรฐาน: (คะแนนปี 2566 + 445)/2
เป้าหมายขั้นสูง: คะแนนปี 2566