รายงานผลการประเมิน

สระบุรี

/ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • ระบบ TPMAP หมายถึง ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytic Platform : TPMAP) โดย TPMAP เป็นระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนตลอดทุกช่วงวัย และการแก้ไขปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำแบบชี้เป้า เป็นระบบที่ใช้ระบุปัญหาความยากจนในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น/ท้องที่ จังหวัด ประเทศ
  • ระบบ TPMAP ใช้วิธีการคำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ (Multidimensional Poverty Index : MPI) โดยอาศัยหลักการที่ว่าคนยากจน คือ ผู้ที่มีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชีวิตที่ดีใน 5 มิติ ได้แก่ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ ด้านความเป็นอยู่ และด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ โดยใช้ตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) 17 ตัวชี้วัด ในการคำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ (MPI)
  • กลุ่มเป้าหมายการดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 หมายถึง จำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 ที่กระทรวงมหาดไทยแจ้งให้จังหวัดดำเนินการเมื่อเดือนมีนาคม 2566 (ข้อมูล ณ วันที่ 9 มีนาคม 2566) โดยกำหนดให้ติดตาม ดูแล สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลการให้ความช่วยเหลือในระบบ TPMAP Logbook ทุกครั้ง
  • พิจารณาความสำเร็จของการดำเนินงานการขับเคลื่อนงานขจัดความยากจนของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ จากจำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 เทียบกับจำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 ที่ผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2567
  • การประชุมคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เห็นชอบการทบทวนครัวเรือนเป้าหมายตามเงื่อนไขที่กำหนด
    เพื่อเป็นครัวเรือนเป้าหมายในการดำเนินการสำรวจ จปฐ. ตามเกณฑ์การประเมินรอบ 12 เดือน 76 จังหวัด จาก 197,298 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 9 มีนาคม 2566) เป็น 173,318 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ 27 กุมภาพันธ์ 2567)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • พิจารณาจากอัตราส่วนจำนวนคดีแต่ละกลุ่มที่รับแจ้งความร้องทุกข์ไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567) เปรียบเทียบกับจำนวนประชากรในจังหวัดต่อประชากรแสนคน หรือเรียกว่า อัตราส่วนอาชญากรรม (Crime Rate)
  • กำหนดกลุ่มอาชญากรรมที่จะต้องคำนวณอัตราส่วนอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน 2 กลุ่ม ได้แก่

- กลุ่มที่ 1 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ นับจำนวนคดีฆ่าผู้อื่น (อุกฉกรรจ์) คดีทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีพยายามฆ่า คดีทำร้ายร่างกาย คดีข่มขืนกระทำชำเรา และคดีอื่น ๆ

(ได้แก่ คดีฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา คดีประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีอนาจารต่าง ๆ เป็นต้น)   (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 1 ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ)

- กลุ่มที่ 2 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ นับจำนวนคดีปล้นทรัพย์ (อุกฉกรรจ์) คดีชิงทรัพย์ คดีวิ่งราวทรัพย์ คดีลักทรัพย์ คดีกรรโชกทรัพย์ คดีฉ้อโกง คดียักยอกทรัพย์ คดีทำให้เสียทรัพย์ คดีรับของโจร คดีลักพาเรียกค่าไถ่ คดีวางเพลิง และคดีอื่น ๆ

 (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 2 ฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์)

  • จำนวนประชากรของจังหวัดใช้ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • พิจารณาจากอัตราส่วนจำนวนคดีแต่ละกลุ่มที่รับแจ้งความร้องทุกข์ไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567) เปรียบเทียบกับจำนวนประชากรในจังหวัดต่อประชากรแสนคน หรือเรียกว่า อัตราส่วนอาชญากรรม (Crime Rate)
  • กำหนดกลุ่มอาชญากรรมที่จะต้องคำนวณอัตราส่วนอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน 2 กลุ่ม ได้แก่

- กลุ่มที่ 1 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ นับจำนวนคดีฆ่าผู้อื่น (อุกฉกรรจ์) คดีทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีพยายามฆ่า คดีทำร้ายร่างกาย คดีข่มขืนกระทำชำเรา และคดีอื่น ๆ

(ได้แก่ คดีฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา คดีประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีอนาจารต่าง ๆ เป็นต้น)   (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 1 ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ)

- กลุ่มที่ 2 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ นับจำนวนคดีปล้นทรัพย์ (อุกฉกรรจ์) คดีชิงทรัพย์ คดีวิ่งราวทรัพย์ คดีลักทรัพย์ คดีกรรโชกทรัพย์ คดีฉ้อโกง คดียักยอกทรัพย์ คดีทำให้เสียทรัพย์ คดีรับของโจร คดีลักพาเรียกค่าไถ่ คดีวางเพลิง และคดีอื่น ๆ

 (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 2 ฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์)

  • จำนวนประชากรของจังหวัดใช้ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อัตราคดีกลุ่มที่ 1 ต่อประชากรแสนคน 13.46 (คดีต่อประชากรแสนคน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • พิจารณาจากอัตราส่วนจำนวนคดีแต่ละกลุ่มที่รับแจ้งความร้องทุกข์ไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567) เปรียบเทียบกับจำนวนประชากรในจังหวัดต่อประชากรแสนคน หรือเรียกว่า อัตราส่วนอาชญากรรม (Crime Rate)
  • กำหนดกลุ่มอาชญากรรมที่จะต้องคำนวณอัตราส่วนอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน 2 กลุ่ม ได้แก่

- กลุ่มที่ 1 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ นับจำนวนคดีฆ่าผู้อื่น (อุกฉกรรจ์) คดีทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีพยายามฆ่า คดีทำร้ายร่างกาย คดีข่มขืนกระทำชำเรา และคดีอื่น ๆ

(ได้แก่ คดีฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา คดีประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีอนาจารต่าง ๆ เป็นต้น)   (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 1 ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ)

- กลุ่มที่ 2 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ นับจำนวนคดีปล้นทรัพย์ (อุกฉกรรจ์) คดีชิงทรัพย์ คดีวิ่งราวทรัพย์ คดีลักทรัพย์ คดีกรรโชกทรัพย์ คดีฉ้อโกง คดียักยอกทรัพย์ คดีทำให้เสียทรัพย์ คดีรับของโจร คดีลักพาเรียกค่าไถ่ คดีวางเพลิง และคดีอื่น ๆ

 (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 2 ฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์)

  • จำนวนประชากรของจังหวัดใช้ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อัตราคดีกลุ่มที่ 2 ต่อประชากรแสนคน 60.11 (คดีต่อประชากรแสนคน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • พิจารณาความสำเร็จของการส่งเสริมให้สถานประกอบการเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียว ในระดับใดระดับหนึ่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์และได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียว เทียบจำนวนสถานประกอบการทั้งหมดที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม
  • สถานประกอบการ หมายถึง สถานประกอบการทั้งหมดที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม

           - สถานประกอบการภายใต้ พ.ร.บ. โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562

           - สถานประกอบการภายใต้ พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

           - สถานประกอบการภายใต้ พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560

  • อุตสาหกรรมสีเขียว หมายถึง อุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    พร้อมกับการยึดมั่นในการประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (คู่มืออุตสาหกรรมสีเขียว, 2562)
  • อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) เป็นการจัดการสถานประกอบการให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การหมุนเวียนของเสียกลับมาใช้ใหม่ (Waste Recovery)
    ในกระบวนการผลิตการป้องกันปัญหามลพิษโดยใช้เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) รวมทั้งการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Product) มีการแลกเปลี่ยนของเสียที่จะเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานอื่น ๆ
    (Industrial Symbiosis) โดยเน้นของเหลือใช้และของเสียกลับมาใช้ใหม่ตามหลักการ 3R’s Reuse Reduce Recycle ได้แก่ การลดของเสีย การใช้ซ้ำ และการนำวัสดุเหลือใช้/ของเสีย กลับมาใช้ประโยชน์ 
  • อุตสาหกรรมสีเขียวยุคใหม่ต้องมีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการของเสียและมลภาวะต่าง ๆ ระบบการจัดการพลังงาน กิจกรรมรักษาสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร
    การสร้างวัฒนธรรมและการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโมเดลที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดขึ้นตามแนวคิด “โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว” แบ่งเป็น 5 ระดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้

    ระดับที่ 1    ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือ ความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน

    ระดับที่ 2   ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือ การดำเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้

    ระดับที่ 3   ระบบสีเขียว (Green System) คือ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบมีการติดตาม ประเมินผล และทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการได้รับรางวัล
                      ด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ และการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

    ระดับที่ 4   วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือ การที่ทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือร่วมใจดำเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกด้านของการประกอบกิจการจนกลายเป็น
                       ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร

    ระดับที่ 5   เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คือ การแสดงถึงการขยายเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อุปทานสีเขียว โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย

  • ขอบเขตการประเมิน : ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้นับรวมสถานประกอบการที่ยังคงเปิดดำเนินการ และใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จของการส่งเสริมสถานประกอบการเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียว 89.14 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

14.1 รายได้จากการท่องเที่ยว
14.2 รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP)
14.3 ค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
14.4 ค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
14.5 คุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักอยู่ในเกณฑ์ดี

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • รายได้จากการท่องเที่ยวเป็นยอดรวมของรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและรายได้จากการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
  • ผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย หมายถึง นักท่องเที่ยวชาวไทย (ค้างคืน) และนักทัศนาจรชาวไทย (ไม่ค้างคืน)
  • รายได้ของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยพิจารณาจากการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ระหว่างการท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้งเพื่อตนเองหรือเป็นของฝาก ซึ่งครอบคลุมรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ที่มิใช่ถิ่นที่อยู่ปกติ) ทั้งแบบพักค้างคืน และเช้าไป-เย็นกลับ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการท่องเที่ยว 4,516.38 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ประเมินจากรายได้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (1 ตุลาคม 2566-30 กันยายน 2567)
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) 1,293.82 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • ประเมินผลในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
  • รอบ 6 เดือน วัดผลจากร้อยละจำนวนวันที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ที่เกินค่ามาตรฐาน (มาตรฐานค่าเฉลี่ยรายวัน เท่ากับ 120 มคก./ลบ.ม.) ในช่วง 6 เดือน ระหว่างเดือนตุลาคม 2566-มีนาคม 2567
  • รอบ 12 เดือน วัดผลจากค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละออง PM10 อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (มาตรฐานค่าเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 50 มคก./ลบ.ม. ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2538 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป) วัดผลในช่วง 12 เดือน ระหว่างเดือนตุลาคม 2566-กันยายน 2567
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) 20.61 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • รอบ 6 เดือน วัดผลจากร้อยละจำนวนวันที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่เกินค่ามาตรฐาน (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่องกำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศเฉลี่ยโดยทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ให้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) ในช่วง 6 เดือน ระหว่างเดือนตุลาคม 2566-มีนาคม 2567
  • รอบ 12 เดือน วัดผลจากค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศเฉลี่ยโดยทั่วไป ในเวลา 1 ปี ต้องไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม.) วัดผลในช่วง 12 เดือน ระหว่างเดือนตุลาคม 2566-กันยายน 2567 
  • พื้นที่เป้าหมายครั้งที่ 1 จังหวัดที่มีข้อมูลพื้นฐาน (Baseline) ครบ 3 ปี จำนวน 16 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคเหนือ จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ตาก พิษณุโลก และนครสวรรค์ และปริมณฑล จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม
  • มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ปี 2567 กำหนดผลลัพธ์คุณภาพอากาศจำนวนวันที่ฝุ่นละออง PM2.5 เกินมาตรฐาน ในพื้นที่เป้าหมาย ดังนี้
    (1) 17 จังหวัดภาคเหนือ ลดลงร้อยละ 30
    (2) กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงร้อยละ 5 
    (3) ภาคกลาง ลดลงร้อยละ 10  
  • มติคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เห็นชอบให้จังหวัดประเมินตัวชี้วัดเพิ่มเติม จำนวน 23 จังหวัด และกำหนดค่าน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 5 แบ่งออกเป็น
    (1) จังหวัดที่มีข้อมูลพื้นฐาน (Baseline) ครบ 3 ปี จำนวน 12 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี เลย หนองคาย นครพนม ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี และสมุทรสงคราม
    (2) จังหวัดที่มีข้อมูลพื้นฐาน (Baseline) เพียงแค่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และหรือปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2566 จำนวน 11 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี ลพบุรี บุรีรัมย์ มุกดาหาร สกลนคร และอุดรธานี 
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) 37.70 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดในองค์ประกอบที่ 2 การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) น้ำหนัก
ร้อยละ 30 ประกอบด้วย 2 ประเด็นการประเมิน คือ การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล และการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กำหนดให้ดำเนินการครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด ดังนี้

4.2.1 การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล น้ำหนักร้อยละ 20 แบ่งออกเป็น   

(1) การสร้างนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนงานหรือการให้บริการ (e-Service) กำหนดวัดผลตัวชี้วัดร้อยละความพึงพอใจต่อการให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) น้ำหนักร้อยละ 10

(2) การพัฒนาระบบข้อมูลให้เป็นดิจิทัล (Digitize Data) ทั้งข้อมูลที่ใช้ภายในหน่วยงานและข้อมูลที่จะเผยแพร่สู่หน่วยงานภายนอก/สาธารณะ เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) กำหนดวัดผลตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) เพื่อใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนประเด็นพัฒนาจังหวัด น้ำหนักร้อยละ 5

(3) การปรับเปลี่ยนหน่วยงานไปสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) กำหนดวัดผลตัวชี้วัดระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยของจังหวัด น้ำหนักร้อยละ 5

4.2.2. การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) น้ำหนักร้อยละ 10