รายงานผลการประเมิน

ลพบุรี

/ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • ระบบ TPMAP หมายถึง ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytic Platform : TPMAP) โดย TPMAP เป็นระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนตลอดทุกช่วงวัย และการแก้ไขปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำแบบชี้เป้า เป็นระบบที่ใช้ระบุปัญหาความยากจนในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น/ท้องที่ จังหวัด ประเทศ
  • ระบบ TPMAP ใช้วิธีการคำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ (Multidimensional Poverty Index : MPI) โดยอาศัยหลักการที่ว่าคนยากจน คือ ผู้ที่มีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชีวิตที่ดีใน 5 มิติ ได้แก่ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ ด้านความเป็นอยู่ และด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ โดยใช้ตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) 17 ตัวชี้วัด ในการคำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ (MPI)
  • กลุ่มเป้าหมายการดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 หมายถึง จำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 ที่กระทรวงมหาดไทยแจ้งให้จังหวัดดำเนินการเมื่อเดือนมีนาคม 2566 (ข้อมูล ณ วันที่ 9 มีนาคม 2566) โดยกำหนดให้ติดตาม ดูแล สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลการให้ความช่วยเหลือในระบบ TPMAP Logbook ทุกครั้ง
  • พิจารณาความสำเร็จของการดำเนินงานการขับเคลื่อนงานขจัดความยากจนของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ จากจำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 เทียบกับจำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 ที่ผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2567
  • การประชุมคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เห็นชอบการทบทวนครัวเรือนเป้าหมายตามเงื่อนไขที่กำหนด
    เพื่อเป็นครัวเรือนเป้าหมายในการดำเนินการสำรวจ จปฐ. ตามเกณฑ์การประเมินรอบ 12 เดือน 76 จังหวัด จาก 197,298 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 9 มีนาคม 2566) เป็น 173,318 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ 27 กุมภาพันธ์ 2567)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • พิจารณาจากการสำรวจสภาพปัญหายาเสพติดในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน จากระบบสารสนเทศยาเสพติดจังหวัด (NISPA) ครั้งที่ 1 ของปี (ห้วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2567)
    ครั้งที่ 2 ของปี(ห้วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2567)
  • หมู่บ้าน/ชุมชนที่ไม่พบปัญหายาเสพติด หมายถึง หมู่บ้าน/ชุมชน ที่ไม่พบผู้เสพและไม่มีผู้ค้ายาเสพติด
  • หมู่บ้าน/ชุมชน หมายถึง หมู่บ้านและชุมชนที่ประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการภายใต้คำสั่งของกระทรวงมหาดไทย
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนที่ไม่พบปัญหายาเสพติด 66.19 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • พิจารณาจากสัดส่วนของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนของจังหวัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง เปรียบเทียบกับปริมาณขยะมูลฝอยของจังหวัดที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
  • ปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง หมายถึง ผลรวมของปริมาณขยะมูลฝอยที่นำไปกำจัดอย่างถูกต้อง และที่นำกลับมาใช้ประโยชน์
  • ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 หมายถึง ปริมาณขยะมูลฝอยซึ่งใช้วิธีการ
    1.  คำนวณจากอัตราการเกิดขยะมูลฝอยของกรมควบคุมมลพิษ หรือของพื้นที่ คูณด้วยจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร ปี 2566 (โดยใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566) และคูณด้วยจำนวนวัน หรือ
    2. ใช้ข้อมูลผลการศึกษาอัตราการเกิดขยะมูลฝอยของพื้นที่ โดยให้อ้างอิงวิธีการศึกษาอัตราการเกิดขยะมูลฝอยของกรมควบคุมมลพิษ (ขั้นตอนการหาอัตราการเกิดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
         คู่มือสำหรับผู้ใช้งานระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
  • อัตราการเกิดขยะมูลฝอย
    - เทศบาลนคร 0.00189 ตัน/คน/วัน
    - เทศบาลเมือง 0.00115 ตัน/คน/วัน
    - เทศบาลตำบล 0.00102 ตัน/คน/วัน
    - เมืองพัทยา 0.00390 ตัน/คน/วัน
    - องค์การบริหารส่วนตำบล 0.00091 ตัน/คน/วัน
  • ปริมาณขยะมูลฝอยที่นำไปกำจัดอย่างถูกต้อง หมายถึง ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีการและข้อกำหนดในกฎกระทรวง สุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560 หรือประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 ได้แก่ การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล การหมักทำปุ๋ยหรือก๊าซชีวภาพ การกำจัดด้วยพลังงานความร้อน การแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงหรือพลังงาน การกำจัดแบบผสมผสาน หรือวิธีอื่นตามที่กระทรวงมหาดไทย หรือกระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือคณะกรรมการจังหวัดให้คำแนะนำ
  • ปริมาณขยะมูลฝอยที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ หมายถึง ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ผ้าป่ารีไซเคิล กิจกรรม Big Cleaning Day กิจกรรมทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ กิจกรรมรับซื้อของเก่าสีเขียวกิจกรรมธนาคารขยะชุมชน ธนาคารขยะโรงเรียน ศูนย์รีไซเคิลชุมชน กิจกรรมขยะแลกไข่ ขยะแลกของ กิจกรรมตลาดนัดมือสอง เป็นต้น รวมทั้งปริมาณขยะรีไซเคิลที่มีการคัดแยกที่สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยและสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย  
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1.ศึกษาสภาพปัญหาและสถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด (ขั้นต้น) ผ่าน
2. (ร่าง) แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด (ขั้นมาตรฐาน) ผ่าน
3. (ร่าง) แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด เสนอคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจังหวัด (ขั้นสูง) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

14.1 รายได้จากการท่องเที่ยว
14.2 รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP)
14.3 ค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
14.4 ค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
14.5 คุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักอยู่ในเกณฑ์ดี

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • รายได้จากการท่องเที่ยวเป็นยอดรวมของรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและรายได้จากการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
  • ผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย หมายถึง นักท่องเที่ยวชาวไทย (ค้างคืน) และนักทัศนาจรชาวไทย (ไม่ค้างคืน)
  • รายได้ของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยพิจารณาจากการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ระหว่างการท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้งเพื่อตนเองหรือเป็นของฝาก ซึ่งครอบคลุมรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ที่มิใช่ถิ่นที่อยู่ปกติ) ทั้งแบบพักค้างคืน และเช้าไป-เย็นกลับ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการท่องเที่ยว 3,678.53 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ประเมินจากรายได้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (1 ตุลาคม 2566-30 กันยายน 2567)
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) 2,064.66 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • การวัดผลรอบ 6 เดือน พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายจากการเก็บน้ำในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566
  • การวัดผลรอบ 12 เดือน พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายเฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

  • ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ใช้ค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายเฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

  • ข้อมูลคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินพิจารณาจากจุดตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษที่ใช้จัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพน้ำ

  • พิจารณาการประเมินผลเป็นรายแหล่งน้ำของจังหวัดเป้าหมาย

  • ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) การประเมินผลลัพธ์ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ ได้แก่
    1. ออกซิเจนละลายน้ำ : DO 
    2. ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ : BOD
    3. การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด : TCB 
    4. การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มทั้งหมด : FCB 
    5. แอมโมเนีย : NH3-N 
  • ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ มีหน่วยเป็นคะแนน เริ่มจาก 0 ถึง 100 คะแนน ดังนี้
    91-100  คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
    71-90    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี
    61-70    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้
    31-60    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม
    ​​​​​​​0-30      คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักอยู่ในเกณฑ์ดี

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • การวัดผลรอบ 6 เดือน พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายจากการเก็บน้ำในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566
  • การวัดผลรอบ 12 เดือน พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายเฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
  • ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ใช้ค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของลุ่มน้ำและจังหวัดเป้าหมายเฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
  • ข้อมูลคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินพิจารณาจากจุดตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษที่ใช้จัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพน้ำ
  • พิจารณาการประเมินผลเป็นรายแหล่งน้ำของจังหวัดเป้าหมาย
  • ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) การประเมินผลลัพธ์ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ ได้แก่
    1. ออกซิเจนละลายน้ำ : DO
    2. ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ : BOD
    3. การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด : TCB
    4. การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มทั้งหมด : FCB
    5. แอมโมเนีย : NH3-N 
  • ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ มีหน่วยเป็นคะแนน เริ่มจาก 0 ถึง 100 คะแนน ดังนี้
    91-100  คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
    71-90    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี
    61-70    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้
    31-60    คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม
    0-30      คะแนน        คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
แม่น้ำลพบุรี 57.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • รอบ 6 เดือน วัดผลจากร้อยละจำนวนวันที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่เกินค่ามาตรฐาน (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่องกำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศเฉลี่ยโดยทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ให้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) ในช่วง 6 เดือน ระหว่างเดือนตุลาคม 2566-มีนาคม 2567
  • รอบ 12 เดือน วัดผลจากค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศเฉลี่ยโดยทั่วไป ในเวลา 1 ปี ต้องไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม.) วัดผลในช่วง 12 เดือน ระหว่างเดือนตุลาคม 2566-กันยายน 2567 
  • พื้นที่เป้าหมายครั้งที่ 1 จังหวัดที่มีข้อมูลพื้นฐาน (Baseline) ครบ 3 ปี จำนวน 16 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคเหนือ จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ตาก พิษณุโลก และนครสวรรค์ และปริมณฑล จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม
  • มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ปี 2567 กำหนดผลลัพธ์คุณภาพอากาศจำนวนวันที่ฝุ่นละออง PM2.5 เกินมาตรฐาน ในพื้นที่เป้าหมาย ดังนี้
    (1) 17 จังหวัดภาคเหนือ ลดลงร้อยละ 30
    (2) กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงร้อยละ 5 
    (3) ภาคกลาง ลดลงร้อยละ 10  
  • มติคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เห็นชอบให้จังหวัดประเมินตัวชี้วัดเพิ่มเติม จำนวน 23 จังหวัด และกำหนดค่าน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 5 แบ่งออกเป็น
    (1) จังหวัดที่มีข้อมูลพื้นฐาน (Baseline) ครบ 3 ปี จำนวน 12 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี เลย หนองคาย นครพนม ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี และสมุทรสงคราม
    (2) จังหวัดที่มีข้อมูลพื้นฐาน (Baseline) เพียงแค่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และหรือปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2566 จำนวน 11 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี ลพบุรี บุรีรัมย์ มุกดาหาร สกลนคร และอุดรธานี 
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) 30.60 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดในองค์ประกอบที่ 2 การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) น้ำหนัก
ร้อยละ 30 ประกอบด้วย 2 ประเด็นการประเมิน คือ การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล และการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กำหนดให้ดำเนินการครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด ดังนี้

4.2.1 การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล น้ำหนักร้อยละ 20 แบ่งออกเป็น   

(1) การสร้างนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนงานหรือการให้บริการ (e-Service) กำหนดวัดผลตัวชี้วัดร้อยละความพึงพอใจต่อการให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) น้ำหนักร้อยละ 10

(2) การพัฒนาระบบข้อมูลให้เป็นดิจิทัล (Digitize Data) ทั้งข้อมูลที่ใช้ภายในหน่วยงานและข้อมูลที่จะเผยแพร่สู่หน่วยงานภายนอก/สาธารณะ เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) กำหนดวัดผลตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) เพื่อใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนประเด็นพัฒนาจังหวัด น้ำหนักร้อยละ 5

(3) การปรับเปลี่ยนหน่วยงานไปสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) กำหนดวัดผลตัวชี้วัดระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยของจังหวัด น้ำหนักร้อยละ 5

4.2.2. การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) น้ำหนักร้อยละ 10