สิ่งแวดล้อม

ฝุ่น/อากาศ

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและคมนาคมขนส่งลดลง

รายละเอียดตัวชี้วัด

• หลักการคำนวณการประเมินผลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ได้คาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย โดยใช้ปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ.2005) เป็นปีฐาน
มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 186 MtCO2eq และคาดการณ์ ว่าจะเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) เป็น 367 MtCO2eq  ในกรณีปกติ (Business as Usual: BAU)

     - BAU : Business as usual [กรณีฐานที่ใช้ประมาณการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตในกรณีที่มนุษย์ดำเนินกิจกรรมตามปกติโดยไม่มีกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกใด ๆ เพิ่มเติมเลย] เท่ากับปริมาณการปล่อย GHG จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในปี 2020 = 367 MtCO2eq              

     - MtCO2eq = ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

• แหล่งที่มาของข้อมูล - รายงานการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการภาคพลังงาน ของกระทรวงพลังงาน

• ใช้ผลดำเนินงานจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เงื่อนไข
การรายงานผลการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกของกระทรวงพลังงาน จะรายงานเป็นทางการ โดยมี Lag Time 2 ปี เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในกระบวนการติดตาม รายงานผล และทวนสอบ (Measurement Reporting and Verification : MRV) ข้อมูล ซึ่งผลการลด GHG ภาคพลังงานต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกระทรวงพลังงาน และคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง ได้รับการยอมรับตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากลที่กำหนด ดังนั้น ในปี พ.ศ.2562 จะสามารถรายงานผลการลดก๊าซเรือนกระจกล่าสุดได้ คือปี พ.ศ. 2560

MtCO2eq