คุณภาพชีวิต/การสร้างงาน-อาชีพ

ร้อยละของคนพิการที่มีงานทำ

รายละเอียดตัวชี้วัด

-การวัดประสิทธิภาพในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ด้านการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ ทั้งในสถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และการประกอบอาชีพอิสระ

•คนพิการ หมายถึง บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมเนื่องจากมีความบกพร่องทางด้าน

     (1) ร่างกายหรือความเคลื่อนไหว (2) ทางการได้ยินสื่อความหมาย (3) ทางการเห็น (4) ทางสติปัญญา (5) ทางจิตใจหรือพฤติกรรม (6) ออทิสติก (7) การทางการเรียนรู้ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความจำเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใดเพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และมีบัตรประจำตัวคนพิการตามมาตรา 22 พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556

•คนพิการที่มีงานทำ หมายถึง (1) คนพิการที่ถูกจ้างงานในสถานประกอบการและหน่วยงานภาครัฐตามมาตรา 33, 35 (2) คนพิการที่กู้ยืมเงินกองทุนเพื่อประกอบอาชีพ (3) คนพิการ
ที่ประกอบอาชีพอิสระ ประกอบด้วย คนพิการที่ประกอบอาชีพเจ้าของกิจการ รับจ้างทั่วไป คนพิการค้าสลาก เป็นต้น

-สูตรการคำนวณ : ส่วนราชการเสนอ

  จำนวนคนพิการวัยแรงงานที่ประกอบอาชีพ x 100 / จำนวนคนพิการที่อยู่ในวัยแรงงาน - จำนวนคนพิการวัยแรงงานที่ไม่สามารถประกอบอาชีพ  - จำนวนคนพิการที่ไม่แจ้งข้อมูลสถานะการทำงาน

ร้อยละของคนพิการที่มีงานทำ