รายงานผลการประเมิน

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

(องค์การมหาชนเสนอ : ไม่จำกัดจำนวนแต่ให้มีตัวชี้วัดที่ครอบคลุมทุกวัตถุประสงค์การจัดตั้ง และเลือกจากรายการตัวชี้วัดขององค์การมหาชน – KPIs Basket )

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

การเชื่อมโยงข้อมูล หมายถึง  การที่หน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐอื่น เพื่อนำไปใช้ในการบริการประชาชนหรือใช้ในงานตามภารกิจของหน่วยงานได้ ภายใต้สิทธิและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เหมาะสม

ความสำเร็จในการเชื่อมโยงข้อมูล หมายถึง เมื่อเกิดการเชื่อมโยงข้อมูลขึ้นแล้ว จะมีการนำข้อมูลที่ได้เชื่อมโยงกันนั้น ไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน หรือ พัฒนาระบบบริการ หรือแพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชัน หรือชุดข้อมูล สอดคล้องตามภารกิจของหน่วยงานนั้น ๆ ต่อไป

Agenda Based หมายถึง การกำหนดประเด็นมุ่งเน้นสำคัญตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 - 2565 ซึ่งให้ความสำคัญกับ 6 ด้าน/กลุ่มตามนโยบายรัฐบาลและตอบโจทย์ความสำคัญของประเทศ ได้แก่ 1) การศึกษา 2) การสาธารณสุข 3) การเกษตร 4) สวัสดิการประชาชน 5) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) 6) ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม โดยจะดำเนินการในปี 2565 จำนวน 3 ด้าน คือ สุขภาพ สวัสดิการ และ SMEs

- พิจารณาจากร้อยละความสำเร็จการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดในแต่ละด้าน จะนับ 1 ด้านเมื่อดำเนินการได้ร้อยละ 100 ตามแผน ซึ่งองค์ประกอบของแผน ได้แก่ รายการ/ชุดข้อมูล หน่วยงานที่จะเชื่อมโยง หน่วยงานที่จะนำไปใช้ประโยชน์ และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชน/ผู้รับบริการ หน่วยงาน และการขับเคลื่อนประเด็น โดยกำหนดเงื่อนไข ดังนี้ 1) การจัดส่งแผนการดำเนินงานในแต่ละด้านภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565 ทางระบบ e-SAR และ 2) การรายงานผลการเชื่อมโยงข้อมูลในแต่ละด้าน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีรายงานผลการเชื่อมโยงข้อมูล ผ่าน
ความสำเร็จในการเชื่อมโยงข้อมูลตาม Agenda Based 3 (ด้าน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ชุดข้อมูลเปิด หมายถึง ข้อมูลที่หน่วยงานสามารถเปิดเผย เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้โดยอิสระ เช่น การนำไปใช้ การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำไปเผยแพร่ หรือนำไปพัฒนาบริการ หรืออื่นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะอยู่บนเว็บไซต์ data.go.th ถือเป็นข้อมูลเปิดของภาครัฐ (Open Government Data)

การใช้ประโยชน์ หมายถึง ผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือภาคประชาชน หรือธุรกิจ เข้ามาใช้บริการ หรือนำบริการของ สพร. ที่ระบุไว้ไปใช้ในการบริการประชาชน หรือใช้ในงานตามภารกิจของหน่วยงาน เพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐทำการพัฒนาและเปิดข้อมูล (Open Data) ที่มีคุณภาพตามหลัก Machine readable (ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบและมีโครงสร้างที่พร้อมให้นำไปประมวลผลใช้งานต่อได้)

บริการดิจิทัล (Digital Services) หมายถึง การให้บริการประชาชนในรูปแบบ กระบวนการ หรือช่องทางดิจิทัล

การตัดสินใจ หมายถึง การนำชุดข้อมูลเปิดไปพัฒนาระบบ หรือแอปพลิเคชัน หรือ Dashboard หรืออื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผน การกำหนดนโยบาย การดำเนินงาน เช่น สำนักข่าวต่างๆ ได้นำชุดข้อมูลเปิดด้านสุขภาพและการแพทย์  “ชื่อรายงาน COVID-19 ประจำวัน ข้อมูลประจำประเทศไทย” ของกรมควบคุมโรค ไปใช้ในการรายงานสรุปภาพรวมผู้ป่วยโควิดของประเทศ ให้แก่สาธารณชนได้รับทราบเป็นรายวัน เพื่อให้ประชาชนรับทราบถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิค-19 ของประเทศ

พิจารณาจากร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดในแต่ละเรื่อง จะนับ 1 เรื่องเมื่อดำเนินการได้ร้อยละ 100 ตามแผน
ซึ่งองค์ประกอบของแผน ได้แก่ ชุดข้อมูลเปิด หน่วยงานที่จะนำไปใช้ประโยชน์ และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชน/ผู้รับบริการ หน่วยงาน และการตัดสินใจในระดับต่าง ๆ โดยกำหนดเงื่อนไข ดังนี้
1) การจัดส่งแผนการดำเนินงานในแต่ละด้านภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565 ทางระบบ e-SAR และ
2) การรายงานความสำเร็จในการใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลเปิดในแต่ละเรื่อง

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีรายงานการใช้ประโยชน์ในแต่ละเรื่อง ผ่าน
การใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลเปิดเพื่อการพัฒนาบริการดิจิทัลหรือเกิดประโยชน์ต่อการตัดสินใจ 13 (เรื่อง)

รายละเอียดตัวชี้วัด

นวัตกรรม หมายถึง การใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือการใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เช่น บริการ ผลิตภัณฑ์ แพลตฟอร์ม หรือกระบวนการใหม่ๆ (Service, Product, Process) ที่มีคุณค่า (Value Creation) และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจ และสังคม

การประยุกต์ใช้ หมายถึง หน่วยงานภาครัฐสามารถนำนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น ไปใช้ในการปฏิบัติงาน หรือให้บริการตามภารกิจของหน่วยงานได้

การพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หมายถึง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานภาครัฐ และการบริการสาธารณะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน เช่น ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัล AI Platform (Chatbot, Auto Tag, Speech to text) ไปใช้งานในการให้บริการ หรือการดำเนินงานของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาแพลตฟอร์ม Chatbot กลางสำหรับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนนวัตกรรมที่สามารถประยุกต์ใช้กับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลได้ 3 (นวัตกรรม)
มีการนำไปประยุกต์ใช้ 20 หน่วยงานขึ้นไป ผ่าน
มีรายงาน Feedback จากหน่วยงานและแนวทางการปรับปรุง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

มาตรฐาน ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติ หรือ คู่มือ หมายถึง เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 หรือนโยบายสำคัญ

การพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หมายถึง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานภาครัฐ และการบริการสาธารณะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน โดยการจัดทำมาตรฐาน ข้อกำหนด หลักเกณฑ์แนวปฏิบัติ หรือคู่มือ ถือเป็นการพัฒนาที่เป็นพื้นฐาน (Foundation) ที่สำคัญเพื่อให้เกิดการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยมีมาตรฐาน ความปลอดภัย และสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมมูล และการให้บริการร่วมกันได้

คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง หมายถึง คณะกรรมการ คณะทำงาน หรือองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องต่อการพิจารณาเห็นชอบมาตรฐาน ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติ หรือคู่มือ เพื่อให้มีการเผยแพร่ หรือประกาศบังคับใช้ได้ต่อไป

หน่วยงาน หมายถึง หน่วยงานภาครัฐ ครอบคลุมถึง ส่วนราชการระดับกระทรวง กรม/เทียบเท่า รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานอิสระหน่วยงานระดับท้องถิ่น มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาต่างๆ

การใช้ประโยชน์ หมายถึง นำไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน หรือไปใช้ในการบริหารงานภายใน หรือไปใช้ในการพัฒนาระบบ บริการ แอปพลิเคชัน แพลตฟอร์ม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
(ร่าง) มาตรฐานแล้วเสร็จ ผ่าน
1 มาตรฐาน เสนอคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ผ่าน
3 หน่วยงานนำมาตรฐานที่ประกาศใช้แล้วไปใช้ประโยชน์ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประกอบด้วยตัวชี้วัด (1) จำนวนข้อเสนอโครงการสำคัญหรือโครงการต้นแบบ และ  (2) จำนวนหน่วยงานภาครัฐที่อบรมแล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้

รายละเอียดตัวชี้วัด

โครงการสำคัญหรือโครงการต้นแบบ หมายถึง การจัดทำข้อเสนอ การจัดทำโครงการ การจัดทำเอกสาร หรืออื่นๆ ที่แสดงถึงขอบเขตการดำเนินงานแนวทาง วิธีการ งบประมาณในการดำเนินงานด้านรัฐบาลดิจิทัล กระบวนการทำงาน/กระบวนการบริหารจัดการ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ หรือพัฒนาต่อยอดเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

การเข้ารับการอบรมจากสถาบัน TDGA หมายถึง การผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ผ่านกระบวนการให้ความรู้และพัฒนาทักษะเชิงลึก การจัดทำต้นแบบแก่ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ นอกจากนี้ ยังหมายความรวมถึง การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ผ่านช่องทางอื่นๆ ที่ สพร. ดำเนินการ

ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ หมายถึง การที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจาก 2 หน่วยงานขึ้นไป เข้ามามีส่วนร่วมในคิดวิเคราะห์ กระบวนการวางแผน การตัดสินใจการดำเนินงาน และการประเมินผล โดยมีการจัดทำเป็นโครงการขึ้น

หลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูง เช่น หลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (e-GCEO) รุ่นที่ 8, หลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-GEP) รุ่นที่ 11, และหลักสูตรการสร้างกระบวนการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่รัฐบาลดิจิทัล (DTP) รุ่นที่ 3 หรือหลักสูตรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนข้อเสนอโครงการสำคัญหรือโครงการต้นแบบ (หลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูง) 8 (โครงการ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

การเข้ารับการอบรมจากสถาบัน TDGA หมายถึง การผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ผ่านกระบวนการให้ความรู้และพัฒนาทักษะเชิงลึก การจัดทำต้นแบบแก่ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ นอกจากนี้ ยังหมายความรวมถึง การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ผ่านช่องทางอื่นๆ ที่ สพร. ดำเนินการ

การนำไปใช้ประโยชน์ หมายถึง ผู้ที่เข้ารับการอบรมจากสถาบัน TDGA สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงาน หรือให้บริการตามภารกิจของหน่วยงานได้ โดยมีหลักฐานที่สามารถแสดงได้ว่ามีการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงอย่างชัดเจน

หลักสูตรสำหรับบุคลากรภาครัฐ- เจ้าหน้าที่ IT ที่รองรับกับการขับเคลื่อนตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. 2563-2565 ในระยะเริ่มแรก ได้แก่ PDPA, Data Governance มาตรฐาน/แนวปฏิบัติ แพลตฟอร์ม และบริการดิจิทัลเพื่อการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล ที่ดำเนินการโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดรัฐบาลดิจิทัล

เงื่อนไขการประเมินความสำเร็จ คือ มีรายงานสรุปการนำไปใช้ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ควรพัฒนาเพิ่มเติมสำหรับสถาบัน TDGA

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนหน่วยงานภาครัฐที่อบรมแล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้ (หลักสูตรสำหรับบุคลากรภาครัฐ- เจ้าหน้าที่ IT) 27 (หน่วยงาน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- สศท. มีความเชื่อมโยงแผนปฏิรูปประเทศของกระทรวงพาณิชย์ ด้านเศรษฐกิจ โดยก าหนดตัวชี้วัดเป้าหมายจาก ข้อที่ 1,2,3,4 มูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการงานหัตถกรรมและชุมชนหัตถกรรม ผ่านการส่งเสริมของ สศท.
- พิจารณาจากยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน ช่างฝีมือและผู้ประกอบการงานหัตถกรรม ผ่านช่องทางการตลาดของ สศท. (งานแสดงสินค้า, ฝากจำหน่าย)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดนี้ เป็นตัวชี้วัดระดับกระทรวงหรือตัวชี้วัดตามนโยบายสำคัญที่เป็นการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันหลายหน่วยงาน (Joint KPIs) ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจหลักขององค์การมหาชน ได้แก่ ตัวชี้วัดตามแผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล โครงการพัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงปลอดภัยด้านดิจิทัล (Infrastructure and Security) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และสอดคล้องกับ Joint KPIs Basket ของสำนักงาน ก.พ.ร.

จำนวนการเชื่อมโยง หมายถึง จำนวนหน่วยงานภาครัฐ หรือจำนวนจุดติดตั้งของหน่วยงาน หรือจำนวน Links ที่มีการเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย DG Links ของ สพร.

การเชื่อมโยงหน่วยงาน/ระบบสำคัญ หมายถึง การที่หน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่ง หรือระบบงานหนึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐอื่น เพื่อนำไปใช้ในการบริการประชาชน หรือใช้ในงานตามภารกิจของหน่วยงานได้ ภายใต้สิทธิและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เหมาะสม

DG Links หมายถึง เครือข่ายอินทราเน็ตภาครัฐที่เชื่อมต่อทุกหน่วยงานภาครัฐเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยสูง และการบริหารจัดการเครือข่ายอย่างเป็นระบบ รวมทั้งรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครือข่าย DG Links ของ สพร. ได้ยกระดับขึ้นมาจากเครือข่าย GIN (Government Information Network) ซึ่งเพิ่มทั้งความมั่นคงปลอดภัย ขนาด Bandwidth รวมทั้งรูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จํานวนการเชื่อมโยงหน่วยงาน/ระบบสำคัญด้วย DG Links 115 (หน่วยงาน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

การหารายได้ของ สศท. เกิดจาก
1. ค่าเช่าพื้นที่ ณ อาคารศาลาพระมิ่งมลคล และอาคารตลาด
2. รายได้จากค่าบริหารการขายสินค้าฝากจ าหน่าย ณ จุดจ าหน่าย สศท. สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินภูเก็ต (ค่าบริหารการขายบวก 5-10%
ของราคาสินค้าที่ฝากจ าหน่าย
 

รายละเอียดตัวชี้วัด

การหารายได้ ของ สพร. เป็นการจัดหารายได้จากการให้บริการ อาทิ 

(1) การให้คำปรึกษา   (2) การให้บริการด้านการอบรม   (3) การให้บริการด้านแพลตฟอร์มต่าง ๆ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสามารถทางการหารายได้เพื่อลดภาระงบประมาณภาครัฐ 74.79 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาจากความสำเร็จของการประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการสำคัญขององค์การมหาชนตามเกณฑ์การประเมินของสำนักงาน ก.พ.ร. และการเลือกโครงการที่สำคัญและมีงบประมาณสูงเพื่อประเมินความคุ้มค่าโดย สพร.

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการ ผ่าน
ผลคะแนนเฉลี่ย การประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการ 86.81 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลักการ :

กำหนดประเมินตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เรื่อง กรอบวงเงินรวมสำหรับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสำหรับองค์การมหาชน แล้วมีมติสรุปได้ดังนี้

          (๑) เห็นชอบการกำหนดกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรฯ ให้ไม่เกินร้อยละ ๓๐ ของแผนการใช้จ่ายเงินประจำปี ให้กับองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ รวมถึงองค์การมหาชน  ทั้งสองประเภทที่จะได้รับ
การจัดตั้งในภายหลังด้วย ยกเว้นองค์การมหาชน จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่ ๑) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
๒) สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ๓) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ๔) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ ๕) สถาบันเพื่อ
การยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๓๒ ของแผนการใช้จ่ายเงิน และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๖๐ ของแผนการใช้จ่ายเงิน

          (๒) ให้องค์การมหาชนที่มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่ากรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเมื่อเทียบกับแผนการใช้จ่ายเงินประจำปีที่กำหนดใหม่ เสนอ กพม. พิจารณาโดยจะต้องส่งแผนการปรับปรุงค่าใช้จ่าย ด้านบุคลากรเป็นเวลา ๓ ปี เป็นข้อมูลประกอบด้วย เพื่อเป็นแนวทางควบคุมค่าใช้จ่ายของหน่วยงานของรัฐ มิให้เป็นภาระงบประมาณในระยะยาว 

          (๓) กำหนดให้คณะกรรมการองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะและองค์การมหาชน
ที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รับผิดชอบกำกับการใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ และให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดให้มีกลไก
ในการทบทวนความเหมาะสมของสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่อง
โดยคำนึงถึงภารกิจ รายได้ และเงินทุนสะสมของแต่ละองค์การมหาชน รวมทั้งยึดหลักการที่มิให้มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่าความจำเป็นและไม่เป็นภาระงบประมาณของประเทศ

เงื่อนไข :

          ๑) องค์การมหาชนที่ได้รับการยกเว้นกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร จาก กพม. ให้ยกเลิก
               และตัดน้ำหนักของตัวชี้วัดนี้ 

          ๒) องค์การมหาชนต้องแสดงเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

         

นิยาม :

          ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร หมายถึง ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่เป็นไปตามสิทธิของบุคคล ได้แก่

          ๑) เงินเดือนและค่าจ้าง

          ๒) ค่าสวัสดิการ เช่น เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ค่ารักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาลบุคคล
ในครอบครัว เงินประกันชีวิตและสุขภาพ ค่าตรวจสุขภาพประจำปี เงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสงเคราะห์กรณีถึงแก่กรรม ค่าชดเชย เป็นต้น

๓) ค่าตอบแทนผันแปรผู้อำนวยการ

งบประมาณค่าใช้จ่ายตามแผนการใช้จ่ายเงิน หมายถึง วงเงินงบประมาณขององค์การมหาชน
ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การมหาชนให้ใช้เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณนั้น ๆ ซึ่งอาจ มีที่มาของเงินประกอบด้วย

๑) เงินอุดหนุน หมายถึง เงินอุดหนุนทั่วไปที่องค์การมหาชนได้รับการจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ โดยไม่รวมค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง

๒) เงินทุน หมายถึง กำไรสะสมตามมาตรฐานบัญชี ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน หรือหมายถึง เงินรายได้สุทธิที่เหลือสะสมมาจนถึงปีงบประมาณก่อนหน้า ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน รวมกับเงินเหลือจ่ายจากปีงบประมาณที่แล้ว ซึ่งขอเปลี่ยนแปลงมาใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน

          หมายเหตุ จำนวนเงินของ "เงินทุน" จะไม่รวมถึงจำนวนของ "เงินทุน" ที่ขออนุมัติเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง

๓) เงินรายได้ หมายถึง ประมาณการรายได้ขององค์การมหาชนในปีงบประมาณนั้น ซึ่งปรากฏตามเอกสารงบประมาณประจำปี โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ (๑) รายได้จากการดำเนินงาน เช่น ค่าธรรมเนียม
การให้บริการ เป็นต้น และ (๒) รายได้อื่น ๆ ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินค่าปรับ และเงินบริจาคต่างๆ

          หมายเหตุ จำนวนเงินของ "เงินรายได้" จะไม่รวมถึงจำนวนของ "เงินรายได้" ที่ขออนุมัติเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
๑. ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่เกินกรอบวงเงินรวมฯ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ผ่าน
๒. ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ไม่สูงกว่าร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรตามแผนที่เสนอต่อคณะกรรมการองค์การมหาชน ณ ต้นปีงบประมาณ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

(ตัวชี้วัดบังคับ)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

(เลือก 1 จาก 2 ตัวชี้วัดย่อยต่อไปนี้)
1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่
การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)
2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
พัฒนาและปรับปรุงบัญชีข้อมูลของหน่วยงานให้มีคุณภาพและน าไปสู่การเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก และสามารถน าข้อมูลไปพัฒนาบริการและนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อปประเทศในด้านต่าง ๆ

รายละเอียดตัวชี้วัด

•บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ

•คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับ
ต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด

•ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ

•ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

•คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์

แนวทางการประเมิน 

1)องค์การมหาชนต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ focus areas ที่กำหนด (จำนวน 9 ด้าน) อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่สอดคล้องกับการให้บริการ e-Service หรืองานที่เป็นภารกิจ
ตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งหรือภากิจขององค์การตามการประเมิน PMQA 4.0 ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)

2)องค์การมหาชนต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ focus areas โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักของหน่วยงาน
ที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง

3)ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด

4)ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป

5)กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด

6)ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้

7)การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม  ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล
/ การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•กลุ่มที่ 3: องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2564 ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 436.62 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลักการ :
พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้องค์การมหาชนไม่ต้อง
อยู่ในกรอบของกฎระเบียบราชการเพื่อให้การบริหารงานมีความอิสระ คล่องตัว และให้อำนาจหน้าที่
คณะกรรมการองค์การมหาชนในการควบคุมดูแล กำหนดนโยบายและทิศทางการปฏิบัติงาน ให้ความเห็นชอบ
แผนการดำเนินงาน อนุมัติแผนการลงทุนและแผนการเงิน ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรื อ
ข้อกำหนดต่างๆ คณะกรรมการฯ ควรทบทวนบทบาทขององค์การมหาชนให้สามารถตอบสนองต่อสภาพการณ์
ปัจจุบันและความต้องการของผู้รับบริการ

ประเด็นการประเมินด้านการควบคุมดูแลกิจการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับปรุง
แนวทางการประเมินให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 เรื่อง
แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน และเพิ่มเติมประเด็นการประเมินตามบทบาท
สำคัญอื่น ๆ เช่น การกำกับให้องค์การมหาชนคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการตอบสนองต่อประชาชน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงแนวทางการประเมินให้เป็นไปในเชิงคุณภาพที่ให้มีการดำเนินงานครอบคลุมประเด็น
ที่ต้องให้ความสำคัญ มากกว่าการประเมินในเชิงปริมาณ เช่น การนับจำนวนครั้งในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1. การวางแผนยุทธศาสตร์ (ร้อยละ 15) 2. การบริหารทางการเงิน (ร้อยละ 10) 3. การบริหารทรัพยากรบุคคล (ร้อยละ 15) 4. การควบคุมภายใน (ร้อยละ 10) 5. การบริหารทั่วไป (ร้อยละ 15) 6. การคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/การตอบสนองต่อประชาชน (ร้อยละ 15) 7. การบริหารการประชุม (ร้อยละ 5) 8. การประเมินผลการปฏิบัติงานองค์การมหาชน (ร้อยละ 10) 9. การประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการองค์การมหาชน (ร้อยละ 5) 100.00 (คะแนน)