รายงานผลการประเมิน

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

/ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

(องค์การมหาชนเสนอ : ไม่จำกัดจำนวนแต่ให้มีตัวชี้วัดที่ครอบคลุมทุกวัตถุประสงค์การจัดตั้ง และเลือกจากรายการตัวชี้วัดขององค์การมหาชน – KPIs Basket )

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย : เป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตให้กับคนในชุมชน โดยจัดให้มีระบบสวัสดิการของชุมชน  ที่สามารถดูแลคนในชุมชนทุกช่วงวัยตั้งแต่เกิดจนตายทำให้สมาชิกในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี (เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 43 (4) จัดให้มีระบบสวัสดิการของชุมชน)โดยคุณภาพของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่สร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตให้กับชุมชน มีเกณฑ์การประเมิน องค์ประกอบ 5 ข้อ (อ้างอิงจาก ร่างคู่มือการดำเนินงานสวัสดิการชุมชน ประจำปี 2565 จัดทำโดย พอช. (คาดว่าจะแล้วเสร็จ ต.ค.64) ดังนี้

1)  เป็นกองทุนที่มีการจัดตั้งหนึ่งท้องถิ่นหนึ่งกองทุน (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร เป็นกองทุนระดับเขต) และดำเนินการสวัสดิการชุมชนไม่ต่ำกว่า 1 ปี

2)  มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง

3)  มีระบบการบริหารกองทุนที่ดี  ได้แก่  มีโครงสร้างคณะกรรมการกองทุน  มีข้อบังคับหรือระเบียบของกองทุน  มีทะเบียนสมาชิกหรือข้อมูลสมาชิก   รายงานผลการดำเนินงานและรายงานสถานะการเงินและบัญชีต่อสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง

4)  มีแผนพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน และเชื่อมโยงสวัสดิการกับงานพัฒนาอื่น ๆ ในชุมชน

5)  มีเงินที่มาจากการสมทบของสมาชิกและมีการจัดสวัสดิการชุมชนพื้นฐานอย่างน้อย 3 เรื่อง เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา  เป็นต้น

  เงื่อนไข ต้องมีการรายงานผลผ่านโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์พื้นที่ปฏิบัติการ พอช. (GIS)

- สูตรคำนวณ           =   (จำนวนกองทุนสวัสดิการชุมชนสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตให้กับชุมชน  x 100 ) / จำนวนกองทุนสวัสดิการชุมชนคงเหลือที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ณ 30 ก.ย. 2564 (1,214 กองทุน)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของกองทุนสวัสดิการชุมชนสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตให้กับชุมชน 96.79 (ร้อยละ)
ติดตามผล และผ่านการประเมิน 84.05 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :  เป็นการยกระดับพื้นที่ปฏิบัติการเป็นพื้นที่รูปธรรมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่ชุมชนสามารถจัดการ และพึ่งพาตนเองได้  โดยมีแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

ของภาคประชาชนที่เกิดจากกระบวนการส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ และสามารถเชื่อมโยงหรือได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

สู่การปฏิบัติ อันจะก่อให้เกิดการใช้งบประมาณ/ทรัพยากรระหว่างชุมชน และหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  มีรูปธรรมความสำเร็จ

ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา/พัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยตำบลรูปธรรมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมีผลสำเร็จที่เกิดขึ้นใน 3 องค์ประกอบ ดังนี้

1) มีแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของภาคประชาชนที่สอดคล้องกับปัญหา/ความต้องการของชุมชนในพื้นที่

2) ชุมชนท้องถิ่นได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน/ภาคีความร่วมมือ เช่น เชื่อมโยงแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นกับแผนของหน่วยงาน  สนับสนุนงบประมาณ/ ทรัพยากร แก้ไข/ ปรับเปลี่ยนกฏ ระเบียบ แนวทางการทำงาน  เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

3) มีรูปธรรมการแก้ไขปัญหา/ พัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาอาชีพ การจัดการที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน ภัยพิบัติ  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยชุมชนเป็นแกนหลัก

เงื่อนไข ต้องมีการรายงานผลผ่านโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์พื้นที่ปฏิบัติการ พอช. (GIS)

- สูตรคำนวณ   =       (จำนวนตำบลรูปธรรมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงและสมดุล x 100) / จำนวนตำบลคงเหลือที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ณ 30 ก.ย. 2564 (5,097 ตำบล)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของตำบลรูปธรรมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงและสมดุล 21.82 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย : เป็นการยกระดับพื้นที่ปฏิบัติการเป็นพื้นที่ต้นแบบสู่ชุมชนเข้มแข็งในการจัดการตนเอง  โดยประเด็นสำคัญที่บ่งชี้ความเข้มแข็งชุมชน 4 ประเด็น คือ  คนมีคุณภาพ  องค์กรชุมชนเข้มแข็งมีธรรมาภิบาล สามารถแก้ไขปัญหาชุมชนได้ และชุมชนมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายในระดับต่าง ๆ ได้   จึงมีคุณลักษณะของชุมชนเข้มแข็งใน 4 ประเด็น ดังนี้

   1) คนมีคุณภาพ :  ผู้นำชุมชนมีทักษะ ความรู้ความสามารถในการพัฒนาชุมชน  และมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมสาธารณะในชุมชน

   2) องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง :  มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล  มีระบบ/กลไกการในการบริหารจัดการชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหา/พัฒนาชุมชนท้องถิ่น

   3) คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น เช่น ครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน  มีสถาบัน/องค์กรการเงิน  มีอาชีพ/รายได้ทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

   4) ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภาคี ท้องที่ ท้องถิ่น : หน่วยงาน/ภาคีเข้าร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม/องค์กรชุมชน ชุมชนได้รับการสนับสนุนงบประมาณหรือทรัพยากรจากหน่วยงานตามปัญหาความต้องการของชุมชน

- สูตรคำนวณ   =       (จำนวนตำบลต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการจัดการตนเอง x 100) / จำนวนตำบลทั้งหมด (7,040 ตำบล)

เงื่อนไข ต้องมีการรายงานผลผ่านโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์พื้นที่ปฏิบัติการ พอช. (GIS)

•เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย

        1) เป็นพื้นที่ปฏิบัติการที่มีการจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน และมีการขับเคลื่อนงานประเด็นต่าง ๆ ที่ พอช. ให้การสนับสนุนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2564 เช่น การพัฒนาที่อยู่อาศัย (บ้านมั่นคงหรือบ้านพอเพียงหรือที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง) การจัดสวัสดิการชุมชน  การพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน  เป็นต้น 

        2) เป็นตำบลที่มีแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยครอบคลุมมิติต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจและทุนชุมชน ด้านสังคม  ด้านสิ่งแวดล้อม  ด้านสุขภาพ  ด้านการพัฒนาคนในชุมชน เป็นต้น

•เกณฑ์การประเมิน ประกอบด้วย ตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็ง 4 มิติ ดังนี้

        1) ตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็ง 4 มิติ มีประเด็นการประเมินย่อยจำนวน 28 ข้อ มีคะแนนเต็มรวมทั้งสิ้น 400 คะแนน โดยแบ่งเป็นมิติละ 100 คะแนน

        2) เกณฑ์การให้คะแนน  แบ่งระดับความเข้มแข็งของชุมชนเป็น 3 ระดับ คือ

- ตำบลต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง ระดับดีเยี่ยม (Excellent)  ร้อยละ 90 ขึ้นไป

- ตำบลต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง ระดับดีมาก (Very Good)  ร้อยละ 80-89

- ตำบลต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง ระดับดี (Good)  ร้อยละ 70-79

•ตำบลที่ผ่านการประเมิน คือ ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 80 ขึ้นไป (ตำบลที่ได้คะแนนต่ำกว่า 80 คือไม่ผ่านตัวชี้วัด แต่ทาง พอช. ก็จะมีข้อเสนอแนะ และวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขและหาประเด็นที่ไม่สามารถยกระดับตนเองได้และหาวิธีพัฒนาในแต่ละด้าน และมีแผนการพัฒนาความเข้มแข็ง เพื่อยกระดับศักยภาพตำบลต่อไป)

•  ประเด็นการประเมิน จำนวน 4 มิติ 28 ข้อ รายละเอียด ดังนี้

 

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของตำบลต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการจัดการตนเอง 16.51 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- สศท. มีความเชื่อมโยงแผนปฏิรูปประเทศของกระทรวงพาณิชย์ ด้านเศรษฐกิจ โดยก าหนดตัวชี้วัดเป้าหมายจาก ข้อที่ 1,2,3,4 มูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการงานหัตถกรรมและชุมชนหัตถกรรม ผ่านการส่งเสริมของ สศท.
- พิจารณาจากยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน ช่างฝีมือและผู้ประกอบการงานหัตถกรรม ผ่านช่องทางการตลาดของ สศท. (งานแสดงสินค้า, ฝากจำหน่าย)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย : เป็นการดำเนินการตามการปฏิรูปประเทศด้านสังคม (กิจกรรมปฏิรูปที่ 4 ออกระเบียบให้เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองในการพัฒนาชุมชนของตนเอง และแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 -2579) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560  โดยสร้างโอกาสให้ชุมชนและผู้มีรายได้น้อยเกิดการรวมกลุ่มในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย  สามารถเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานด้านที่อยู่อาศัย มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและคุณภาพชีวิตที่ดี้ขึ้น  ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้

1) ชุมชน/หน่วยงานร่วมกันสำรวจผู้เดือดร้อนที่มีอยู่ในชุมชน/ ตำบลเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผน

2) จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างเป็นระบบทั้งเมือง/ตำบล

3) เชื่อมโยงหน่วยงานท้องถิ่นและภาคีพัฒนาในการสนับสนุนทรัพยากร

4) พัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นในพื้นที่หรือปรับสภาพแวดล้อม/ สิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการอยู่อาศัย

5) ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง

      การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนแออัดและผู้มีรายได้น้อย  เป็นการดำเนินงานตามแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 ประกอบด้วย

-  โครงการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด “บ้านมั่นคง” เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชนระหว่างขบวนองค์กรชุมชน ท้องถิ่นและหน่วยงานในพื้นที่ ส่งผลให้ชุมชนเกิดการรวมกลุ่มในลักษณะกลุ่มออมทรัพย์หรือสหกรณ์เพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสู่การสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัย มีระบบสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยปี 2564 มีผลการดำเนินงานจำนวน 6,823 ครัวเรือน  โดยผู้มีรายได้น้อยมีความมั่นคงในการอยู่อาศัย มีคุณภาพชีวิตและการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น สามารถแก้ปัญหาชุมชนแออัด/ชุมชนบุกรุก สร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ของเมืองและชุมชน รวมทั้งสมาชิกชุมชนเกิดระบบการออมทรัพย์ของสมาชิกในชุมชนที่ดำเนินควบคู่กับการบริหารจัดการโครงการ

      การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนแออัดและผู้มีรายได้น้อย  เป็นการดำเนินงานตามแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 ประกอบด้วย

-  โครงการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด “บ้านมั่นคง” เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชนระหว่างขบวนองค์กรชุมชน ท้องถิ่นและหน่วยงานในพื้นที่ ส่งผลให้ชุมชนเกิดการรวมกลุ่มในลักษณะกลุ่มออมทรัพย์หรือสหกรณ์เพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสู่การสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัย มีระบบสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยปี 2564 มีผลการดำเนินงานจำนวน 6,823 ครัวเรือน  โดยผู้มีรายได้น้อยมีความมั่นคงในการอยู่อาศัย มีคุณภาพชีวิตและการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น สามารถแก้ปัญหาชุมชนแออัด/ชุมชนบุกรุก สร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ของเมืองและชุมชน รวมทั้งสมาชิกชุมชนเกิดระบบการออมทรัพย์ของสมาชิกในชุมชนที่ดำเนินควบคู่กับการบริหารจัดการโครงการ

- โครงการบ้านพอเพียงชนบท : สนับสนุนการซ่อมแซม ปรับปรุง ต่อเติมบ้าน หรือการสร้างบ้านใหม่แทนบ้านเดิมที่มีสภาพทรุดโทรม  โดยปี 2564 เกิดการซ่อมแซม/ ปรับปรุง/ สร้างที่อยู่อาศัยให้กับครัวเรือนยากจน 15,876 ครัวเรือน 1,592 ตำบลใน 77 จังหวัด ส่งผลให้ครัวเรือนยากจนที่มีปัญหาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยได้มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง แข็งแรง ถูกสุขลักษณะ และมีคุณภาพชีวิตในการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น  มี  ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาวะของผู้อยู่อาศัยที่เป็นครัวเรือนยากจน  พร้อมทั้งเกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน หน่วยงานท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคประชาสังคมในการสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรร่วมดำเนินการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย 29,195.00 (ครัวเรือน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

การหารายได้ของ สศท. เกิดจาก
1. ค่าเช่าพื้นที่ ณ อาคารศาลาพระมิ่งมลคล และอาคารตลาด
2. รายได้จากค่าบริหารการขายสินค้าฝากจ าหน่าย ณ จุดจ าหน่าย สศท. สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินภูเก็ต (ค่าบริหารการขายบวก 5-10%
ของราคาสินค้าที่ฝากจ าหน่าย
 

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นการวัดผลประสิทธิภาพการบริหารงานและความคุ้มค่าจากการดำเนินงานของสถาบันฯ ในการบริหารเงินทุนของสถาบันฯ ให้มีความยั่งยืน เกิดผลตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อลดภาระงบประมาณของภาครัฐ โดยวัดผลจากรายได้ที่สถาบันฯ ได้รับ คือ รายได้จากดอกเบี้ยสินเชื่อ  และรายได้จากการบริหารเงินทุนของสถาบันฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

       ทั้งนี้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ของ พอช. แผนปฏิบัติการที่ 4  การพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร แนวทางที่ 3.3 การบริหารการเงินและสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพเป็นการพัฒนาระบบการบริหารเงินทุนขององค์กร ให้มีความยั่งยืนและบริหารสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดผลตอบแทนที่เหมาะสม

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการบริหารเงินทุน เพื่อลดภาระงบประมาณภาครัฐ 192.10 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นการวัดผลการบริหารสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้มีประสิทธิภาพและสนับสนุนคุณภาพองค์กรผู้ใช้สินเชื่อให้มีระบบการบริหารที่ดี โดยวัดผลจากร้อยละของเงินต้นหรือดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ค้างชำระเกิน 3 เดือน ต่อเงินต้นของสินเชื่อคงเหลือทั้งหมด ณ สิ้นปีงบประมาณ 2565

สูตรการคำนวณ   :  (สินเชื่อที่มีปัญหา (NPL) x 100) / สินเชื่อคงเหลือทั้งหมด

ทั้งนี้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ของ พอช. แผนปฏิบัติการที่ 4  การพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร แนวทางที่ 3.3 การบริหารการเงินและสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างและสนับสนุนองค์กรผู้ใช้สินเชื่อให้มีระบบการบริหารที่ดี  ปรับปรุงและพัฒนามาตรการทางเลือกในการแก้ไขปัญหาหนี้ผิดนัด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีปัญหาต่อสินเชื่อคงเหลือทั้งหมด 0.58 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลักการ :

กำหนดประเมินตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เรื่อง กรอบวงเงินรวมสำหรับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสำหรับองค์การมหาชน แล้วมีมติสรุปได้ดังนี้

          (๑) เห็นชอบการกำหนดกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรฯ ให้ไม่เกินร้อยละ ๓๐ ของแผนการใช้จ่ายเงินประจำปี ให้กับองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ รวมถึงองค์การมหาชน  ทั้งสองประเภทที่จะได้รับ
การจัดตั้งในภายหลังด้วย ยกเว้นองค์การมหาชน จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่ ๑) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
๒) สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ๓) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ๔) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ ๕) สถาบันเพื่อ
การยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๓๒ ของแผนการใช้จ่ายเงิน และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๖๐ ของแผนการใช้จ่ายเงิน

          (๒) ให้องค์การมหาชนที่มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่ากรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเมื่อเทียบกับแผนการใช้จ่ายเงินประจำปีที่กำหนดใหม่ เสนอ กพม. พิจารณาโดยจะต้องส่งแผนการปรับปรุงค่าใช้จ่าย ด้านบุคลากรเป็นเวลา ๓ ปี เป็นข้อมูลประกอบด้วย เพื่อเป็นแนวทางควบคุมค่าใช้จ่ายของหน่วยงานของรัฐ มิให้เป็นภาระงบประมาณในระยะยาว 

          (๓) กำหนดให้คณะกรรมการองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะและองค์การมหาชน
ที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รับผิดชอบกำกับการใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ และให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดให้มีกลไก
ในการทบทวนความเหมาะสมของสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่อง
โดยคำนึงถึงภารกิจ รายได้ และเงินทุนสะสมของแต่ละองค์การมหาชน รวมทั้งยึดหลักการที่มิให้มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่าความจำเป็นและไม่เป็นภาระงบประมาณของประเทศ

เงื่อนไข :

          ๑) องค์การมหาชนที่ได้รับการยกเว้นกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร จาก กพม. ให้ยกเลิก
               และตัดน้ำหนักของตัวชี้วัดนี้ 

          ๒) องค์การมหาชนต้องแสดงเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

         

นิยาม :

          ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร หมายถึง ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่เป็นไปตามสิทธิของบุคคล ได้แก่

          ๑) เงินเดือนและค่าจ้าง

          ๒) ค่าสวัสดิการ เช่น เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ค่ารักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาลบุคคล
ในครอบครัว เงินประกันชีวิตและสุขภาพ ค่าตรวจสุขภาพประจำปี เงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสงเคราะห์กรณีถึงแก่กรรม ค่าชดเชย เป็นต้น

๓) ค่าตอบแทนผันแปรผู้อำนวยการ

งบประมาณค่าใช้จ่ายตามแผนการใช้จ่ายเงิน หมายถึง วงเงินงบประมาณขององค์การมหาชน
ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การมหาชนให้ใช้เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณนั้น ๆ ซึ่งอาจ มีที่มาของเงินประกอบด้วย

๑) เงินอุดหนุน หมายถึง เงินอุดหนุนทั่วไปที่องค์การมหาชนได้รับการจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ โดยไม่รวมค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง

๒) เงินทุน หมายถึง กำไรสะสมตามมาตรฐานบัญชี ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน หรือหมายถึง เงินรายได้สุทธิที่เหลือสะสมมาจนถึงปีงบประมาณก่อนหน้า ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน รวมกับเงินเหลือจ่ายจากปีงบประมาณที่แล้ว ซึ่งขอเปลี่ยนแปลงมาใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน

          หมายเหตุ จำนวนเงินของ "เงินทุน" จะไม่รวมถึงจำนวนของ "เงินทุน" ที่ขออนุมัติเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง

๓) เงินรายได้ หมายถึง ประมาณการรายได้ขององค์การมหาชนในปีงบประมาณนั้น ซึ่งปรากฏตามเอกสารงบประมาณประจำปี โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ (๑) รายได้จากการดำเนินงาน เช่น ค่าธรรมเนียม
การให้บริการ เป็นต้น และ (๒) รายได้อื่น ๆ ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินค่าปรับ และเงินบริจาคต่างๆ

          หมายเหตุ จำนวนเงินของ "เงินรายได้" จะไม่รวมถึงจำนวนของ "เงินรายได้" ที่ขออนุมัติเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
๑. ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่เกินกรอบวงเงินรวมฯ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ผ่าน
๒. ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ไม่สูงกว่าร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรตามแผนที่เสนอต่อคณะกรรมการองค์การมหาชน ณ ต้นปีงบประมาณ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

(ตัวชี้วัดบังคับ)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

(เลือก 1 จาก 2 ตัวชี้วัดย่อยต่อไปนี้)
1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่
การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)
2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
พัฒนาและปรับปรุงบัญชีข้อมูลของหน่วยงานให้มีคุณภาพและน าไปสู่การเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก และสามารถน าข้อมูลไปพัฒนาบริการและนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อปประเทศในด้านต่าง ๆ

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำนิยาม

•บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ

•คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับ
ต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด

•ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ

•ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

•คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์

แนวทางการประเมิน 

1)องค์การมหาชนต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ focus areas ที่กำหนด (จำนวน 9 ด้าน) อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่สอดคล้องกับการให้บริการ e-Service หรืองานที่เป็นภารกิจ
ตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งหรือภากิจขององค์การตามการประเมิน PMQA 4.0 ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)

2)องค์การมหาชนต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ focus areas โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักของหน่วยงาน
ที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง

3)ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด

4)ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป

5)กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด

6)ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้

7)การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม  ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล
/ การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

 

1.Focus Area ที่เกี่ยวข้อง : ด้านความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน

2.ประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Area : กองทุนสวัสดิการชุมชน

3.เป้าหมายการนำชุดข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลเปิด (หมวดหมู่สาธารณะ) ที่สามารถเข้าถึงได้และพร้อมใช้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์  ในการติดตามข้อมูลกองทุนสวัสดิการชุมชน  และสามารถนำไปวิเคราะห์  วางแผนการดำเนินงานได้

4.หน่วยงานที่คาดว่าจะนำชุดข้อมูลไปใช้ประโยชน์  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ / กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) : กองทุนสวัสดิการชุมชน 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0(PMQA 4.0)

กลุ่มที่ 2 : องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตั้งแต่ 350 - 399 คะแนน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 437.69 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลักการ :
พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้องค์การมหาชนไม่ต้อง
อยู่ในกรอบของกฎระเบียบราชการเพื่อให้การบริหารงานมีความอิสระ คล่องตัว และให้อำนาจหน้าที่
คณะกรรมการองค์การมหาชนในการควบคุมดูแล กำหนดนโยบายและทิศทางการปฏิบัติงาน ให้ความเห็นชอบ
แผนการดำเนินงาน อนุมัติแผนการลงทุนและแผนการเงิน ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรื อ
ข้อกำหนดต่างๆ คณะกรรมการฯ ควรทบทวนบทบาทขององค์การมหาชนให้สามารถตอบสนองต่อสภาพการณ์
ปัจจุบันและความต้องการของผู้รับบริการ

ประเด็นการประเมินด้านการควบคุมดูแลกิจการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับปรุง
แนวทางการประเมินให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 เรื่อง
แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน และเพิ่มเติมประเด็นการประเมินตามบทบาท
สำคัญอื่น ๆ เช่น การกำกับให้องค์การมหาชนคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการตอบสนองต่อประชาชน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงแนวทางการประเมินให้เป็นไปในเชิงคุณภาพที่ให้มีการดำเนินงานครอบคลุมประเด็น
ที่ต้องให้ความสำคัญ มากกว่าการประเมินในเชิงปริมาณ เช่น การนับจำนวนครั้งในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1. การวางแผนยุทธศาสตร์ (ร้อยละ 15) 2. การบริหารทางการเงิน (ร้อยละ 10) 3. การบริหารทรัพยากรบุคคล (ร้อยละ 15) 4. การควบคุมภายใน (ร้อยละ 10) 5. การบริหารทั่วไป (ร้อยละ 15) 6. การคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/การตอบสนองต่อประชาชน (ร้อยละ 15) 7. การบริหารการประชุม (ร้อยละ 5) 8. การประเมินผลการปฏิบัติงานองค์การมหาชน (ร้อยละ 10) 9. การประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการองค์การมหาชน (ร้อยละ 5) 100.00 (คะแนน)