รายงานผลการประเมิน

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

(องค์การมหาชนเสนอ : ไม่จำกัดจำนวนแต่ให้มีตัวชี้วัดที่ครอบคลุมทุกวัตถุประสงค์การจัดตั้ง และเลือกจากรายการตัวชี้วัดขององค์การมหาชน – KPIs Basket )

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

•ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 ให้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (สบร.) ปรับบทบาทภารกิจปรับปรุงประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงาน และแก้ไขในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนให้เหมาะสม โดยคงเหลือภารกิจสำคัญที่ต้องปฏิบัติ 2 ภารกิจ ได้แก่ อุทยานการเรียนรู้
และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

•มติ อ.กพม. ครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2563 ให้ สบร. มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของ 2 ภารกิจหลักให้มีความชัดเจนมาก โดยอาจปรับตามความหมาะสมหรือความเห็นของ อ.กพม. เจ้าภาพ ซึ่งกำหนดให้เพิ่มเติมในภารกิจส่วนกลาง

•ประเมินจากร้อยละความสำเร็จในการปรับบทบาทภารกิจของ สบร. ตามแผนที่ได้รับความเห็นชอบ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ปรับแนวทางและแผนการลดค่าใช้จ่ายบุคลากร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 - 2569) พร้อมทั้งแนวทางการปรับบทบาทภารกิจตามความเห็นของส้านักงาน ก.พ.ร. ผ่าน
ปรับแนวทางและแผนการลดค่าใช้จ่ายบุคลากร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 - 2569) พร้อมทั้งแนวทางการปรับบทบาทภารกิจตามความเห็นของส้านักงาน ก.พ.ร. ต่อ อ.กพม. พิจารณา ผ่าน
ปรับแนวทางและแผนการลดค่าใช้จ่ายบุคลากร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 - 2569) พร้อมทั้งแนวทางการปรับบทบาทภารกิจตามความเห็นของส้านักงาน ก.พ.ร. ต่อ กพม. พิจารณา ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประเมินจากจำนวนหน่วยงานเครือข่ายที่จะทำความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (MOU)  ร่วมกับ สบร.  และจำนวนแหล่งเรียนรู้เครือข่ายแห่งใหม่ที่มีแผนจะพัฒนาให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ทั้งนี้ ในการดำเนินงานอาจมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่หรือหน่วยงานร่วมดำเนินงานได้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ร่วมพัฒนา โดยมีงบประมาณดำเนินการ  6,501,300 บาท)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนแหล่งเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์ของ สบร. ที่พัฒนาแล้วเสร็จตามกระบวนการที่ได้ตกลงในความร่วมมือ 6.00 (แห่ง)
จำนวนหน่วยงานเครือข่ายอุทยานการเรียนรู้อย่างน้อย 1 แห่งอยู่ในรายชื่อของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกของเครือข่ายโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประเมินจากความสำเร็จของการพัฒนาดิจิทัลมิวเซียม 4.0  โดยพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการข้อมูล (E-Museum)  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการและเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ของประชาชนผู้รับบริการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ออกแบบระบบแล้วเสร็จ และมีการพัฒนาปรับปรุง E-Museum 1 ระบบ ผ่าน
ทำการทดสอบเปิดใช้งาน (Soft Opening) และดำเนินการปรับปรุงแก้ไขจากประเด็นที่ได้รับจากการทดสอบแล้วเสร็จ ผ่าน
เปิดใช้งาน E-Museum และมีรายงานการประเมินผลการใช้งานระบบ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

โดยการพัฒนาสนามเด็กเล่นให้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้สอดคล้องตามหลักการพัฒนาสมองของเด็กวัยเรียน  การพัฒนาสนามเด็กเล่นของ สบร. เป็นการพัฒนาโดยยึดหลัก “สมองกับการเรียนรู้ “ หรือ “Brain-based Learning”  และพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างสมดุล  โดยมีการออกแบบและพัฒนาพื้นที่เชิงกายภาพและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่กระตุ้นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีรูปแบบที่หลากหลายสอดคล้องกับพัฒนาการและเหมาะสมกับช่วงวัย 

          ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีเป้าหมายในการพัฒนาสนามเด็กเล่นตามหลักการพัฒนาสมองในโรงเรียนนำร่องให้แล้วเสร็จจำนวน 2 แห่งด้วยงบประมาณของ สบร.เอง  และจะขยายผลการพัฒนาไปยังโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ซึ่งยังไม่สามารถระบุจำนวนเป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจนได้เนื่องจากขึ้นอยู่กับความพร้อมของบุคลากรและงบประมาณของโรงเรียนที่รับแนวคิดไปขยายผล จึงได้กำหนดเป้าหมายการขยายผลในขั้นสูงไว้ คือ จะมีโรงเรียนในสังกัด สพฐ. อย่างน้อย 10 แห่งมาเข้าร่วมกิจกรรมการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้/แนวคิด/ต้นแบบสนามเด็กเล่นตามหลักการพัฒนาสมองของ สบร. และเห็นประโยชน์ยอมรับโดยจะนำแนวคิดและต้นแบบฯไปพัฒนาต่อยอดและติดตั้งใช้ในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการของเด็กนักเรียนตามหลักการพัฒนาสมองเมื่อโรงเรียนมีความพร้อมด้านงบประมาณการก่อสร้างในโอกาสต่อไป      

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
พัฒนาองค์ความรู้สำหรับบรรจุในสนามเด็กเล่นในช่วงปฐมวัย ผ่าน
จำนวนสนามเด็กเล่นที่ได้พัฒนาในโรงเรียนนำร่อง 2.00 (แห่ง)
จำนวนสนามเด็กเล่นที่ได้มีพัฒนา จากการขยายผลในโรงเรียนในสังกัด สพฐ. 46.00 (แห่ง)

รายละเอียดตัวชี้วัด

วัดผลจากจำนวนการเข้าใช้บริการส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของสถาบันอุทยานการเรียนรู้  (TK Park)   (หน่วยนับ : คน/ครั้ง)   ซึ่งประกอบด้วยการให้บริการออนไลน์ 4 ฐานข้อมูลชั้นดี เพื่อการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุดของคนไทย ได้แก่

    1. TK Public Online Library : ห้องสมุดออนไลน์ภาษาไทยที่รวบรวมอีบุ๊ค หนังสือเสียง นิตยสาร และคอร์สออนไลน์

    2. Libby by Overdrive :  ห้องสมุดออนไลน์ภาษาต่างประเทศที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก

    3. 2ebook Library : คลังหนังสือภาษาไทยในรูปแบบอีบุ๊ค ทั้งวรรณกรรม สารคดี คู่มือและตำราเรียนหลากหลายแขนง

    4. Press Reader :  แหล่งรวบรวมข่าวสาร อ่านหนังสือพิมพ์ และนิตยสารจากทั่วทุกมุมโลก

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนการเข้าใช้บริการส่งเสริมการอ่านผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของสถาบันอุทยานการเรียนรู้ 977,613 (คน/ครั้ง)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- สศท. มีความเชื่อมโยงแผนปฏิรูปประเทศของกระทรวงพาณิชย์ ด้านเศรษฐกิจ โดยก าหนดตัวชี้วัดเป้าหมายจาก ข้อที่ 1,2,3,4 มูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการงานหัตถกรรมและชุมชนหัตถกรรม ผ่านการส่งเสริมของ สศท.
- พิจารณาจากยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน ช่างฝีมือและผู้ประกอบการงานหัตถกรรม ผ่านช่องทางการตลาดของ สศท. (งานแสดงสินค้า, ฝากจำหน่าย)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประเมินจากความสำเร็จในการดำเนินโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้สาธารณะออนไลน์ (Knowledge Portal) ซึ่งเป็นโครงการในแผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ที่มีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน อาทิ  หน่วยงานรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และธุรกิจเอกชนที่ดำเนินกิจการเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ  ในการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์และการบริหารจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพสามารถตอบโจทย์ความต้องการเรียนรู้ของประชาชนได้อย่างยั่งยืน

เป้าหมาย 5 แห่ง ได้แก่ 1) หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 2) สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) 3) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 4) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ 5) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

ทั้งนี้ระบบที่จะดำเนินการในปี 2565 ได้แก่

•ปรับปรุง ระบบ Library for all (ห้องสมุด e-books)) เพิ่มหน้าต่างการให้บริการโดยการเพิ่มฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หนังสือ คลิป และเครือข่ายผู้ให้บริการ

•ปรับปรุงระบบ Online Learning Center เพิ่มหน้าต่างการให้บริการโดยการเพิ่มฐานข้อมูล (หลักสูตร e-learning) และเครือข่ายผู้ให้บริการ

•ปรับปรุงระบบ AI search ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มฐานข้อมูลการค้นหาหนังสือจากห้องสมุดต่างๆให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงมีการแนะนำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงเพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับข้อมูลความรู้ที่มีความครบถ้วนหลากหลายแง่มุม

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีเครือข่ายความร่วมมือสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างน้อย 5 แห่ง ผ่าน
พัฒนาเสร็จ 1 ระบบ ผ่าน
พัฒนาระบบเสร็จ และ มีผู้ใช้ประโยชน์ 5 ล้านคน/ครั้ง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

การหารายได้ของ สศท. เกิดจาก
1. ค่าเช่าพื้นที่ ณ อาคารศาลาพระมิ่งมลคล และอาคารตลาด
2. รายได้จากค่าบริหารการขายสินค้าฝากจ าหน่าย ณ จุดจ าหน่าย สศท. สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินภูเก็ต (ค่าบริหารการขายบวก 5-10%
ของราคาสินค้าที่ฝากจ าหน่าย
 

รายละเอียดตัวชี้วัด

ความสามารถในการหารายได้ของ สบร.  จะประเมินจากรายได้ที่เกิดจากการดำเนินงานเท่านั้น ได้แก่ ค่าสมาชิก การขายสินค้า การให้บริการ การสัมมนา การจำหน่ายบัตร การจัดกิจกรรม การเช่าพื้นที่ และส่วนแบ่งร้านค้า โดยไม่นับรวมรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น เงินอุดหนุน เงินบริจาค และดอกเบี้ย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสามารถทางการหารายได้เพื่อลดภาระงบประมาณภาครัฐ 13.51 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาจากความสำเร็จของการประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการสำคัญขององค์การมหาชน ตามเกณฑ์การประเมิน
ของสำนักงาน ก.พ.ร. และการเลือกประเมินความคุ้มค่า โดย สบร. เสนอโครงการที่ที่สำคัญ 2 โครงการ เพื่อนำสู่การประเมินความคุ้มค่า ได้แก่

1. งานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต้นแบบและบริการของ TK Park  

2. งานบริหารจัดการและพัฒนาพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ของ NDMI

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จัดทำรายงานผลการประเมิน ความคุ้มค่าของแต่ละโครงการ โดยมีประเด็นการประเมินและ ชุดข้อมูลครบถ้วนตามที่ สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด และส่งมายังสำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2565 ผ่าน
ผลคะแนนเฉลี่ยจากการประเมิน 82.11 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลักการ :

กำหนดประเมินตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เรื่อง กรอบวงเงินรวมสำหรับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสำหรับองค์การมหาชน แล้วมีมติสรุปได้ดังนี้

          (๑) เห็นชอบการกำหนดกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรฯ ให้ไม่เกินร้อยละ ๓๐ ของแผนการใช้จ่ายเงินประจำปี ให้กับองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ รวมถึงองค์การมหาชน  ทั้งสองประเภทที่จะได้รับ
การจัดตั้งในภายหลังด้วย ยกเว้นองค์การมหาชน จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่ ๑) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
๒) สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ๓) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ๔) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ ๕) สถาบันเพื่อ
การยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๓๒ ของแผนการใช้จ่ายเงิน และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๖๐ ของแผนการใช้จ่ายเงิน

          (๒) ให้องค์การมหาชนที่มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่ากรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเมื่อเทียบกับแผนการใช้จ่ายเงินประจำปีที่กำหนดใหม่ เสนอ กพม. พิจารณาโดยจะต้องส่งแผนการปรับปรุงค่าใช้จ่าย ด้านบุคลากรเป็นเวลา ๓ ปี เป็นข้อมูลประกอบด้วย เพื่อเป็นแนวทางควบคุมค่าใช้จ่ายของหน่วยงานของรัฐ มิให้เป็นภาระงบประมาณในระยะยาว 

          (๓) กำหนดให้คณะกรรมการองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะและองค์การมหาชน
ที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รับผิดชอบกำกับการใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ และให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดให้มีกลไก
ในการทบทวนความเหมาะสมของสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่อง
โดยคำนึงถึงภารกิจ รายได้ และเงินทุนสะสมของแต่ละองค์การมหาชน รวมทั้งยึดหลักการที่มิให้มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่าความจำเป็นและไม่เป็นภาระงบประมาณของประเทศ

เงื่อนไข :

          ๑) องค์การมหาชนที่ได้รับการยกเว้นกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร จาก กพม. ให้ยกเลิก
               และตัดน้ำหนักของตัวชี้วัดนี้ 

          ๒) องค์การมหาชนต้องแสดงเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

         

นิยาม :

          ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร หมายถึง ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่เป็นไปตามสิทธิของบุคคล ได้แก่

          ๑) เงินเดือนและค่าจ้าง

          ๒) ค่าสวัสดิการ เช่น เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ค่ารักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาลบุคคล
ในครอบครัว เงินประกันชีวิตและสุขภาพ ค่าตรวจสุขภาพประจำปี เงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสงเคราะห์กรณีถึงแก่กรรม ค่าชดเชย เป็นต้น

๓) ค่าตอบแทนผันแปรผู้อำนวยการ

งบประมาณค่าใช้จ่ายตามแผนการใช้จ่ายเงิน หมายถึง วงเงินงบประมาณขององค์การมหาชน
ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การมหาชนให้ใช้เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณนั้น ๆ ซึ่งอาจ มีที่มาของเงินประกอบด้วย

๑) เงินอุดหนุน หมายถึง เงินอุดหนุนทั่วไปที่องค์การมหาชนได้รับการจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ โดยไม่รวมค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง

๒) เงินทุน หมายถึง กำไรสะสมตามมาตรฐานบัญชี ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน หรือหมายถึง เงินรายได้สุทธิที่เหลือสะสมมาจนถึงปีงบประมาณก่อนหน้า ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน รวมกับเงินเหลือจ่ายจากปีงบประมาณที่แล้ว ซึ่งขอเปลี่ยนแปลงมาใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน

          หมายเหตุ จำนวนเงินของ "เงินทุน" จะไม่รวมถึงจำนวนของ "เงินทุน" ที่ขออนุมัติเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง

๓) เงินรายได้ หมายถึง ประมาณการรายได้ขององค์การมหาชนในปีงบประมาณนั้น ซึ่งปรากฏตามเอกสารงบประมาณประจำปี โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ (๑) รายได้จากการดำเนินงาน เช่น ค่าธรรมเนียม
การให้บริการ เป็นต้น และ (๒) รายได้อื่น ๆ ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินค่าปรับ และเงินบริจาคต่างๆ

          หมายเหตุ จำนวนเงินของ "เงินรายได้" จะไม่รวมถึงจำนวนของ "เงินรายได้" ที่ขออนุมัติเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
๑. ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่เกินกรอบวงเงินรวมฯ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ไม่ผ่าน
๒. ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ไม่สูงกว่าร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรตามแผนที่เสนอต่อคณะกรรมการองค์การมหาชน ณ ต้นปีงบประมาณ ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

(ตัวชี้วัดบังคับ)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

(เลือก 1 จาก 2 ตัวชี้วัดย่อยต่อไปนี้)
1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่
การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)
2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
พัฒนาและปรับปรุงบัญชีข้อมูลของหน่วยงานให้มีคุณภาพและน าไปสู่การเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก และสามารถน าข้อมูลไปพัฒนาบริการและนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อปประเทศในด้านต่าง ๆ

รายละเอียดตัวชี้วัด

แอปพลิเคชัน “My TK ” พัฒนาการบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แก่ประชาชนทั่วไปและสมาชิก ลดการใช้กระดาษ บัตรพลาสติก ลดการสัมผัส โดยให้บริการรับสมัคร/ต่ออายุสมาชิกผ่าน e-form ออกใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ (e-Slip) ในขั้นตอนเดียว สมาชิกใช้บริการต่าง ๆ ด้วย Digital Member Card หรือ MyQR (ซึ่งทดแทนการใช้บัตรสมาชิก RFID ในรูปแบบเดิม) ได้พัฒนาต่อยอดให้สามารถชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) ออกใบเสร็จ (e-Slip) และขอรับใบกำกับภาษี (e-Tax-invoice&Receipt) ผ่าน e-mail และผู้รับบริการสามารถ print out ได้ สามารถใช้บริการ e-Service ต่างๆ ได้แก่ ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม สืบค้นทรัพยากรและจองหนังสือ ยืม/ยืมต่อด้วยตนเอง รวมถึงการเชื่อมโยงการเข้าใช้บริการ ฐานข้อมูลสิ่งพิมพ์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ TK Park online library , libby by Overdrive , 2ebook library, Press Reader และรองรับทำธุรกรรมการเงินอิเล็กทรอนิกส์ในการชำระค่าบริการต่าง ๆ  ของสถาบันอุทยานการเรียนรู้

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ออกเอกสารเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-License/ e-Certificate/e-Document) ผ่านทาง Mobile หรือ เว็บไซต์ ผ่าน
ออกเอกสารเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-License/e-Certificate/e-Document) ตามมาตรฐาน ETDA ผ่านทาง Mobile หรือ เว็บไซต์ และผู้รับบริการสามารถ print out เอกสารได้ ผ่าน
สามารถเริ่มให้บริการได้ และมีจำนวนผู้ใช้งานผ่านระบบไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนผู้รับบริการทั้งหมด 45.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•กลุ่มที่ 3: องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2564 ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 449.08 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลักการ :
พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้องค์การมหาชนไม่ต้อง
อยู่ในกรอบของกฎระเบียบราชการเพื่อให้การบริหารงานมีความอิสระ คล่องตัว และให้อำนาจหน้าที่
คณะกรรมการองค์การมหาชนในการควบคุมดูแล กำหนดนโยบายและทิศทางการปฏิบัติงาน ให้ความเห็นชอบ
แผนการดำเนินงาน อนุมัติแผนการลงทุนและแผนการเงิน ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรื อ
ข้อกำหนดต่างๆ คณะกรรมการฯ ควรทบทวนบทบาทขององค์การมหาชนให้สามารถตอบสนองต่อสภาพการณ์
ปัจจุบันและความต้องการของผู้รับบริการ

ประเด็นการประเมินด้านการควบคุมดูแลกิจการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับปรุง
แนวทางการประเมินให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 เรื่อง
แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน และเพิ่มเติมประเด็นการประเมินตามบทบาท
สำคัญอื่น ๆ เช่น การกำกับให้องค์การมหาชนคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการตอบสนองต่อประชาชน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงแนวทางการประเมินให้เป็นไปในเชิงคุณภาพที่ให้มีการดำเนินงานครอบคลุมประเด็น
ที่ต้องให้ความสำคัญ มากกว่าการประเมินในเชิงปริมาณ เช่น การนับจำนวนครั้งในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1. การวางแผนยุทธศาสตร์ (ร้อยละ 15) 2. การบริหารทางการเงิน (ร้อยละ 10) 3. การบริหารทรัพยากรบุคคล (ร้อยละ 15) 4. การควบคุมภายใน (ร้อยละ 10) 5. การบริหารทั่วไป (ร้อยละ 15) 6. การคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/การตอบสนองต่อประชาชน (ร้อยละ 15) 7. การบริหารการประชุม (ร้อยละ 5) 8. การประเมินผลการปฏิบัติงานองค์การมหาชน (ร้อยละ 10) 9. การประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการองค์การมหาชน (ร้อยละ 5) 100.00 (คะแนน)