รายงานผลการประเมิน

สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
95
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

(องค์การมหาชนเสนอ : ไม่จำกัดจำนวนแต่ให้มีตัวชี้วัดที่ครอบคลุมทุกวัตถุประสงค์การจัดตั้ง และเลือกจากรายการตัวชี้วัดขององค์การมหาชน – KPIs Basket )

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

•บจธ. ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาจะสูญเสียสิทธิในที่ดิน หรือสูญเสียสิทธิในที่ดินไปแล้วจากการจำนอง การขายฝาก หรือการถูกบังคับคดีของเกษตรกร โดยการให้เช่าซื้อ หรือให้สินเชื่อแก่เกษตรกรและผู้ยากจนเพื่อคงสิทธิในที่ดิน และให้สินเชื่อแก่ผู้ที่มีปัญหาการลงทุนเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม

•ในปีงบประมาณ 2565 บจธ. ได้รับจัดสรรงบประมาณในส่วนของโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินทำกินของเกษตรกรและผู้ยากจน เท่ากับ 25,000,000 ล้านบาท เป้าหมาย 65 ราย โดยการให้เช่า/เช่าซื้อ หรือให้สินเชื่อ (นับเป็นผลงานเมื่อผู้ยื่นขอรับความช่วยเหลือได้ลงนามสัญญา) แบ่งเป็น
(1) ช่วยเหลือในการไถ่ถอน จำนอง หรือจัดซื้อที่ดิน รายละไม่เกิน 1,000,000 บาท จำนวน 15 ราย
(2) ช่วยเหลือในการส่งเสริมอาชีพ รายละไม่เกิน 200,000 บาท จำนวน 50 ราย

•ปัจจุบันมีเกษตรกรที่ยื่นขอรับความช่วยเหลือจาก บจธ. ภายใต้โครงการนี้ มากกว่า 900 ราย แต่ บจธ. ไม่มีงบประมาณเพียงพอในการช่วยเหลือได้

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนเกษตรกรที่ได้รับความช่วยเหลือในการคงสิทธิในที่ดิน และสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ 67.00 (ราย)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•บจธ. ดำเนินการเพื่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน โดยการพัฒนาและใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเหมาะสม และติดตามประเมินผล วิเคราะห์ความสำเร็จของ
การพัฒนาพื้นที่ของชุมชน นำปัญหาอุปสรรคมาปรับปรุงกระบวนการพัฒนาและใช้ประโยชน์ที่ดินต่อไป

•บจธ. ได้จัดซื้อที่ดินเพื่อนำมาพัฒนาให้ชุมชนนำไปใช้ประโยชน์แล้ว รวมทั้งหมด 12 พื้นที่ โดยในปี 2565 กำหนดเป้าหมาย 4 พื้นที่ซึ่งได้รับจัดสรรเงินพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากกว่าพื้นที่อื่น และมีความพร้อมในการดำเนินการ

•วิธีการประเมินผลพื้นที่ที่มีความสำเร็จในการพัฒนาและใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเหมาะสม เช่น ด้านการพัฒนาคน ด้านการบริหารจัดการองค์กรและชุมชน
ด้านเป้าหมายและกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชน และด้านการบริหารจัดการทุน

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1 พื้นที่ และรายงานประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินทั้ง 12 พื้นที่ เสนอคณะกรรมการ บจธ. พิจารณา ผ่าน
- กรณี บจธ. ได้รับการขยายเวลาการยุบเลิก : ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•การบริหารจัดการที่ดินของ บจธ. ที่ผ่านมามีทั้งหมด 3 รูปแบบคือ การช่วยเหลือแบบกลุ่ม การช่วยเหลือรายปัจเจก และการเป็นตัวกลางประสานการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ประสงค์จะใช้ประโยชน์ที่ดินโดยทำการเกษตร โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสมาชิกในชุมชน

•รูปแบบ (model) การบริหารจัดการที่ดิน มีดังนี้

        - รูปแบบการจัดหาที่ดินของเอกชนและหน่วยงานรัฐ (เช่น กรมธนารักษ์ และหน่วยงานรัฐอื่น ๆ) และเป็นตัวกลางระหว่างเจ้าของที่ดินเอกชนกับผู้ประสงค์จะใช้ประโยชน์ที่ดิน

        - รูปแบบการบริหารจัดการและพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยการประสานและบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินสูงสุด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กำหนดขอบเขตแนวทาง และวิธีการศึกษารูปแบบ (model) การบริหารจัดการที่ดิน ผ่าน
จัดทำรายงานผลการศึกษา วิเคราะห์ ถอดบทเรียน และพัฒนารูปแบบ เสนอคณะกรรมการ บจธ. พิจารณา ผ่าน
- กรณี บจธ. ยุบเลิกเมื่อพ้นวันที่ 7 มิถุนายน 2565 : จัดทำรูปแบบ (model) การบริหารจัดการที่ดินแล้วเสร็จ 3 รูปแบบ เสนอคณะกรรมการ บจธ. พิจารณา - กรณี บจธ. ได้รับการขยายเวลาการยุบเลิก : จัดทำรูปแบบ (model) การบริหารจัดการที่ดินแล้วเสร็จ 6 รูปแบบ เสนอคณะกรรมการ บจธ. พิจารณา ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

การหารายได้ของ สศท. เกิดจาก
1. ค่าเช่าพื้นที่ ณ อาคารศาลาพระมิ่งมลคล และอาคารตลาด
2. รายได้จากค่าบริหารการขายสินค้าฝากจ าหน่าย ณ จุดจ าหน่าย สศท. สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินภูเก็ต (ค่าบริหารการขายบวก 5-10%
ของราคาสินค้าที่ฝากจ าหน่าย
 

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาจากความสำเร็จของการประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินทำกินของเกษตรกรและผู้ยากจน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จัดทำรายงานผลการประเมินความคุ้มค่าของแต่ละโครงการโดยมีประเด็นการประเมินและชุดข้อมูลครบถ้วนตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด และส่งมายังสำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2565 ผ่าน
เข้าร่วมการประชุมเพื่อนำเสนอผลการประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการ และได้รับผลการประเมิน 84.12 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

(ตัวชี้วัดบังคับ)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

(เลือก 1 จาก 2 ตัวชี้วัดย่อยต่อไปนี้)
1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่
การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)
2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
พัฒนาและปรับปรุงบัญชีข้อมูลของหน่วยงานให้มีคุณภาพและน าไปสู่การเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก และสามารถน าข้อมูลไปพัฒนาบริการและนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อปประเทศในด้านต่าง ๆ

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำนิยาม

•บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ

•คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด

•ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ

•ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

•คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์

ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 

1)องค์การมหาชนต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ focus areas ที่กำหนด (จำนวน 9 ด้าน) อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่สอดคล้องกับการให้บริการ e-Service หรืองานที่เป็นภารกิจตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งหรือภากิจขององค์การตามการประเมิน PMQA 4.0 ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)

2)องค์การมหาชนต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ focus areas โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักของหน่วยงานที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง

3)ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด

4)ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป

5)กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด

6)ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้

7)การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม  ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล
/ การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

- เงื่อนไข :

1.หน่วยงานที่มี e-Service ให้เลือก Dataset ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการของหน่วยงาน หรือ

2.หน่วยงานเลือก Dataset ที่เป็นภารกิจหลักของหน่วยงานที่สนันสนุนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ แผนการปฏิรูปประเทศ Agenda สำคัญ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นได้

3.ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนทั้ง 14 รายการ หากหน่วยงานมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการ ในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน

4.หน่วยงานเดิมที่มีการดำเนินการตัวชี้วัดนี้ในปี 2564 ให้คัดเลือกชุดข้อมูลใหม่มาดำเนินการในปี 2565 (ชุดข้อมูลไม่ซ้ำปี 2564)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อน าไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0(PMQA 4.0)

กลุ่มที่ 2 : องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตั้งแต่ 350 - 399 คะแนน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 425.86 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลักการ :
พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้องค์การมหาชนไม่ต้อง
อยู่ในกรอบของกฎระเบียบราชการเพื่อให้การบริหารงานมีความอิสระ คล่องตัว และให้อำนาจหน้าที่
คณะกรรมการองค์การมหาชนในการควบคุมดูแล กำหนดนโยบายและทิศทางการปฏิบัติงาน ให้ความเห็นชอบ
แผนการดำเนินงาน อนุมัติแผนการลงทุนและแผนการเงิน ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรื อ
ข้อกำหนดต่างๆ คณะกรรมการฯ ควรทบทวนบทบาทขององค์การมหาชนให้สามารถตอบสนองต่อสภาพการณ์
ปัจจุบันและความต้องการของผู้รับบริการ

ประเด็นการประเมินด้านการควบคุมดูแลกิจการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับปรุง
แนวทางการประเมินให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 เรื่อง
แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน และเพิ่มเติมประเด็นการประเมินตามบทบาท
สำคัญอื่น ๆ เช่น การกำกับให้องค์การมหาชนคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการตอบสนองต่อประชาชน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงแนวทางการประเมินให้เป็นไปในเชิงคุณภาพที่ให้มีการดำเนินงานครอบคลุมประเด็น
ที่ต้องให้ความสำคัญ มากกว่าการประเมินในเชิงปริมาณ เช่น การนับจำนวนครั้งในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1. การวางแผนยุทธศาสตร์ (ร้อยละ 15) 2. การบริหารทางการเงิน (ร้อยละ 10) 3. การบริหารทรัพยากรบุคคล (ร้อยละ 15) 4. การควบคุมภายใน (ร้อยละ 10) 5. การบริหารทั่วไป (ร้อยละ 15) 6. การคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/การตอบสนองต่อประชาชน (ร้อยละ 15) 7. การบริหารการประชุม (ร้อยละ 5) 8. การประเมินผลการปฏิบัติงานองค์การมหาชน (ร้อยละ 10) 9. การประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการองค์การมหาชน (ร้อยละ 5) 100.00 (คะแนน)