รายงานผลการประเมิน

สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

(องค์การมหาชนเสนอ : ไม่จำกัดจำนวนแต่ให้มีตัวชี้วัดที่ครอบคลุมทุกวัตถุประสงค์การจัดตั้ง และเลือกจากรายการตัวชี้วัดขององค์การมหาชน – KPIs Basket )

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

- สพค.อยู่ในช่วงการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการองค์กรตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการดำเนินงานของไนท์ซาฟารีได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้รายได้หลักที่มาจากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศลดลงอย่างมาก ดังนั้น จึงควรมีการจัดทำแผนการบริหารจัดการองค์กร ติดตามและประเมินการดำเนินงานให้สอดคล้องและรองรับสภาวะวิกฤติ เพื่อให้มีการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและคงสภาพคล่องในการประกอบกิจการให้ดีที่สุด
- การจัดทำแผนบริหารจัดการองค์กรในสภาวะวิกฤต โดยมีแผนย่อยและกำหนดตัวชี้วัดผลแต่ละแผนย่อย ได้แก่
     1.1 แผนการดำเนินงานของไนท์ซาฟารี โดยมุ่งเน้นการดูแลสัตว์และบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้าง/สิ่งอำนวยความสะดวก งดการลงทุนเพิ่มที่จะผูกพัน/เป็นภาระงบประมาณ           เงื่อนไข : ปรับแผนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (18 โครงการ วงเงินรวม 84 ล้านบาท) เช่น การประชาสัมพันธ์ การจัดหาสัตว์เพิ่มเติม และจัดทำคำของบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2566 ให้สอดคล้องกับสภาวะวิกฤติ
     1.2 แผนการควบคุมและลดค่าใช้จ่าย/ต้นทุนการดำเนินงาน เช่น ค่าใช้จ่ายบริหารสำนักงาน (back office) ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร 
     1.3 แผนการปรับโครงสร้างองค์กร และการบริหารบุคคล เช่น จัดส่วนงานและบุคลากร ไม่จ้างบุคลากรเพิ่มเติมจากที่อัตราที่บรรจุจริง ทบทวนการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้มีเฉพาะที่จำเป็น      1.4 แผนการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการองค์กรตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การเตรียมการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างและเงินช่วยเหลือเยียวยาบุคลากร การประเมินจัดทำบัญชีและจัดการทรัพย์สิน หนี้ และภาระผูกพัน
- การติดตามและรายงานผลการดำเนินงานทุก 2 เดือน รวมถึงปรับแผนให้รองรับสถานการณ์/บริบทแวดล้อม
- การรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการองค์กรในสภาวะวิกฤต

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
- จัดทำแผนบริหารจัดการองค์กรในสภาวะวิกฤต เสนอคณะกรรมการ สพค. - จัดส่งแผนฯ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อเสนอ อ.กพม. ที่ได้รับมอบหมาย - ปรับแผนฯ ตามความเห็นของ อ.กพม. ที่ได้รับมอบหมาย เสนอคณะกรรมการ สพค. และจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ผ่าน
- ติดตามการดำเนินงานตามแผนฯ ทุก 2 เดือน และปรับแผน (ถ้ามี) - รายงานผลดำเนินการตามแผนฯปัญหาอุปสรรค รวมถึงการปรับแผนต่อคณะกรรมการ สพค. และจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ผ่าน
- จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามแผน ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขแผนปีต่อไป เสนอคณะกรรมการ สพค. - จัดส่งรายงานฯ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อเสนอ อ.กพม. ที่ได้รับมอบหมาย ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- โครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยจัดสรรจากเงินรายได้และเงินทุนสะสมของสำนักงานพัฒนาพิงคนครฯ จำนวน 18 โครงการ วงเงินรวม 84.7113 ล้านบาท
- เป้าหมายโครงการ หมายรวมถึง เป้าหมายเชิงผลผลิต และผลลัพธ์ หรือตัวชี้วัดเชิงปริมาณ และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพของโครงการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลผลิตโครงการเป็นไปตามเป้าหมาย ร้อยละ .. ของโครงการทั้งหมด 83.33 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

การหารายได้ของ สศท. เกิดจาก
1. ค่าเช่าพื้นที่ ณ อาคารศาลาพระมิ่งมลคล และอาคารตลาด
2. รายได้จากค่าบริหารการขายสินค้าฝากจ าหน่าย ณ จุดจ าหน่าย สศท. สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินภูเก็ต (ค่าบริหารการขายบวก 5-10%
ของราคาสินค้าที่ฝากจ าหน่าย
 

รายละเอียดตัวชี้วัด

•วัดผลจาก รายได้จากการดำเนินงานของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 – วันที่ 30 กันยายน 2565 ประกอบด้วย

      1) รายได้จากการขายสินค้าและบริการ ได้แก่ รายได้จากการขายสินค้า จำหน่ายอาหารสัตว์ จำหน่ายของที่ระลึก จำหน่ายสัตว์ เป็นต้น

      2) รายได้จากการให้บริการ ได้แก่ รายได้จากการเข้าชมสวนสัตว์ เงินบำรุงบ้านพักเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เงินบำรุงค่าห้องประชุมสัมมนา เงินบำรุงสถานที่
         ค่าบริการรถโดยสาร เป็นต้น

      3) รายได้ค่าเช่า

      4) รายได้อื่นๆ เช่น รายได้จากการบริจาค (เงินบริจาคที่ไม่ระบุวัตถุประสงค์)  เป็นต้น

•ประมาณการรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เท่ากับ 20 ล้านบาท (ประมาณเดือน ส.ค. 64 ก่อนจะมีการประกาศ นโยบายเปิดประเทศ ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาได้)

•สำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีได้ปิดให้บริการเป็นการชั่วคราว  ในระหว่างวันที่ 27 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 รวม 95 วัน  และ ในระหว่าง 16 เมษายน 2564  ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2564 รวม 61 วัน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการดำเนินงานของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี 43.27 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•สพค. อยู่ในช่วงการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการองค์กรและได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้รายได้หลักลดลงอย่างมาก ดังนั้น จึงควรมีการจัดทำแผนการบริหารจัดการองค์กรในสภาวะวิกฤติ โดผลการดำเนินงานตามแผนที่สำคัญ คือ การควบคุมและค่าใช้จ่าย/ต้นทุนการดำเนินงาน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 84.28 (ล้านบาท)
จัดทำรายงานผลการดำเนินการ ได้แก่ ข้อมูลค่าใช้จ่ายบริหารสำนักงานและค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรปี 2565 เทียบกับปีที่ผ่านมา แนวทางการควบคุม/ลดค่าใช้จ่าย ปัญหาอุปสรรคและแนวทาง แก้ไขเสนอคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลักการ :

กำหนดประเมินตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เรื่อง กรอบวงเงินรวมสำหรับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสำหรับองค์การมหาชน แล้วมีมติสรุปได้ดังนี้

          (๑) เห็นชอบการกำหนดกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรฯ ให้ไม่เกินร้อยละ ๓๐ ของแผนการใช้จ่ายเงินประจำปี ให้กับองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ รวมถึงองค์การมหาชน  ทั้งสองประเภทที่จะได้รับ
การจัดตั้งในภายหลังด้วย ยกเว้นองค์การมหาชน จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่ ๑) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
๒) สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ๓) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ๔) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ ๕) สถาบันเพื่อ
การยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๓๒ ของแผนการใช้จ่ายเงิน และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๖๐ ของแผนการใช้จ่ายเงิน

          (๒) ให้องค์การมหาชนที่มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่ากรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเมื่อเทียบกับแผนการใช้จ่ายเงินประจำปีที่กำหนดใหม่ เสนอ กพม. พิจารณาโดยจะต้องส่งแผนการปรับปรุงค่าใช้จ่าย ด้านบุคลากรเป็นเวลา ๓ ปี เป็นข้อมูลประกอบด้วย เพื่อเป็นแนวทางควบคุมค่าใช้จ่ายของหน่วยงานของรัฐ มิให้เป็นภาระงบประมาณในระยะยาว 

          (๓) กำหนดให้คณะกรรมการองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะและองค์การมหาชน
ที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รับผิดชอบกำกับการใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ และให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดให้มีกลไก
ในการทบทวนความเหมาะสมของสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่อง
โดยคำนึงถึงภารกิจ รายได้ และเงินทุนสะสมของแต่ละองค์การมหาชน รวมทั้งยึดหลักการที่มิให้มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่าความจำเป็นและไม่เป็นภาระงบประมาณของประเทศ

เงื่อนไข :

          ๑) องค์การมหาชนที่ได้รับการยกเว้นกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร จาก กพม. ให้ยกเลิก
               และตัดน้ำหนักของตัวชี้วัดนี้ 

          ๒) องค์การมหาชนต้องแสดงเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

         

นิยาม :

          ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร หมายถึง ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่เป็นไปตามสิทธิของบุคคล ได้แก่

          ๑) เงินเดือนและค่าจ้าง

          ๒) ค่าสวัสดิการ เช่น เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ค่ารักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาลบุคคล
ในครอบครัว เงินประกันชีวิตและสุขภาพ ค่าตรวจสุขภาพประจำปี เงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสงเคราะห์กรณีถึงแก่กรรม ค่าชดเชย เป็นต้น

๓) ค่าตอบแทนผันแปรผู้อำนวยการ

งบประมาณค่าใช้จ่ายตามแผนการใช้จ่ายเงิน หมายถึง วงเงินงบประมาณขององค์การมหาชน
ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การมหาชนให้ใช้เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณนั้น ๆ ซึ่งอาจ มีที่มาของเงินประกอบด้วย

๑) เงินอุดหนุน หมายถึง เงินอุดหนุนทั่วไปที่องค์การมหาชนได้รับการจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ โดยไม่รวมค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง

๒) เงินทุน หมายถึง กำไรสะสมตามมาตรฐานบัญชี ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน หรือหมายถึง เงินรายได้สุทธิที่เหลือสะสมมาจนถึงปีงบประมาณก่อนหน้า ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน รวมกับเงินเหลือจ่ายจากปีงบประมาณที่แล้ว ซึ่งขอเปลี่ยนแปลงมาใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน

          หมายเหตุ จำนวนเงินของ "เงินทุน" จะไม่รวมถึงจำนวนของ "เงินทุน" ที่ขออนุมัติเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง

๓) เงินรายได้ หมายถึง ประมาณการรายได้ขององค์การมหาชนในปีงบประมาณนั้น ซึ่งปรากฏตามเอกสารงบประมาณประจำปี โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ (๑) รายได้จากการดำเนินงาน เช่น ค่าธรรมเนียม
การให้บริการ เป็นต้น และ (๒) รายได้อื่น ๆ ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินค่าปรับ และเงินบริจาคต่างๆ

          หมายเหตุ จำนวนเงินของ "เงินรายได้" จะไม่รวมถึงจำนวนของ "เงินรายได้" ที่ขออนุมัติเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
๑. ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่เกินกรอบวงเงินรวมฯ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ไม่ผ่าน
๒. ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ไม่สูงกว่าร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรตามแผนที่เสนอต่อคณะกรรมการองค์การมหาชน ณ ต้นปีงบประมาณ ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

(ตัวชี้วัดบังคับ)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

(เลือก 1 จาก 2 ตัวชี้วัดย่อยต่อไปนี้)
1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่
การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)
2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
พัฒนาและปรับปรุงบัญชีข้อมูลของหน่วยงานให้มีคุณภาพและน าไปสู่การเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก และสามารถน าข้อมูลไปพัฒนาบริการและนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อปประเทศในด้านต่าง ๆ

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำนิยาม

•บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ

•คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับ
ต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด

•ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ

•ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

•คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์

ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 

1)องค์การมหาชนต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ focus areas ที่กำหนด (จำนวน 9 ด้าน) อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่สอดคล้องกับการให้บริการ e-Service หรืองานที่เป็นภารกิจ
ตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งหรือภากิจขององค์การตามการประเมิน PMQA 4.0 ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)

2)องค์การมหาชนต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ focus areas โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักของหน่วยงาน
ที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง

3)ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด

4)ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป

5)กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด

6)ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้

7)การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม  ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล
/ การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อน าไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลักการ : กำหนดประเมินเพื่อเป็นการยกระดับประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐให้มีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับบริบทตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และเป้าหมาย
การพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 ที่มุ่งเน้นระบบราชการที่เปิดกว้างเชื่อมโยงกัน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย

เกณฑ์การประเมิน : สพค. อยู่กลุ่มที่ 1 (ดำเนินการเป็นปีแรก)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 376.46 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลักการ :
พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้องค์การมหาชนไม่ต้อง
อยู่ในกรอบของกฎระเบียบราชการเพื่อให้การบริหารงานมีความอิสระ คล่องตัว และให้อำนาจหน้าที่
คณะกรรมการองค์การมหาชนในการควบคุมดูแล กำหนดนโยบายและทิศทางการปฏิบัติงาน ให้ความเห็นชอบ
แผนการดำเนินงาน อนุมัติแผนการลงทุนและแผนการเงิน ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรื อ
ข้อกำหนดต่างๆ คณะกรรมการฯ ควรทบทวนบทบาทขององค์การมหาชนให้สามารถตอบสนองต่อสภาพการณ์
ปัจจุบันและความต้องการของผู้รับบริการ

ประเด็นการประเมินด้านการควบคุมดูแลกิจการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับปรุง
แนวทางการประเมินให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 เรื่อง
แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน และเพิ่มเติมประเด็นการประเมินตามบทบาท
สำคัญอื่น ๆ เช่น การกำกับให้องค์การมหาชนคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการตอบสนองต่อประชาชน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงแนวทางการประเมินให้เป็นไปในเชิงคุณภาพที่ให้มีการดำเนินงานครอบคลุมประเด็น
ที่ต้องให้ความสำคัญ มากกว่าการประเมินในเชิงปริมาณ เช่น การนับจำนวนครั้งในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1. การวางแผนยุทธศาสตร์ (ร้อยละ 15) 2. การบริหารทางการเงิน (ร้อยละ 10) 3. การบริหารทรัพยากรบุคคล (ร้อยละ 15) 4. การควบคุมภายใน (ร้อยละ 10) 5. การบริหารทั่วไป (ร้อยละ 15) 6. การคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/การตอบสนองต่อประชาชน (ร้อยละ 15) 7. การบริหารการประชุม (ร้อยละ 5) 8. การประเมินผลการปฏิบัติงานองค์การมหาชน (ร้อยละ 10) 9. การประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการองค์การมหาชน (ร้อยละ 5) 100.00 (คะแนน)