รายงานผลการประเมิน

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

(องค์การมหาชนเสนอ : ไม่จำกัดจำนวนแต่ให้มีตัวชี้วัดที่ครอบคลุมทุกวัตถุประสงค์การจัดตั้ง และเลือกจากรายการตัวชี้วัดขององค์การมหาชน – KPIs Basket )

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย

1.1.1.1  การจัดทำฐานข้อมูลอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา

1.1.1.2  ความสำเร็จของการจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขาและนำแผนไปสู่การปฏิบัติ

รายละเอียดตัวชี้วัด

การจัดทำฐานข้อมูล ปี 2565 มีเป้าหมาย 4 สาขา: ในกลุ่ม Creative Service ได้แก่ 1) การโฆษณา (Advertising) 2) การออกแบบ (Design)  และ 3) สถาปัตยกรรม (Architecture) และกลุ่ม Creative Goods/Products ได้แก่ 4) แฟชั่น (Fashion) การผลิตเครื่องแต่งกายสำเร็จรูป โดยการจัดทำฐานข้อมูลฯ จัดเก็บดังนี้ 1) มูลค่าทางเศรษฐกิจ 2) ข้อมูลผู้ประกอบการ/แรงงาน จำนวนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับด้านการออกแบบ เป็นต้น

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนสาขาที่ได้จัดทำฐานข้อมูลแล้วเสร็จ 4 (สาขา)
คณะกรรมการ สศส. ให้ความเห็นชอบฐานข้อมูล 4 สาขา ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

การนำฐานข้อมูล (ตัวชี้วัดที่ 1.1.1.1) ในสาขาที่ดำเนินการแล้วเสร็จมาจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา

-  การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ หมายถึง การผลักดันให้มาตรการหรือแนวทางในแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขาไปดำเนินการ โดยมีผู้รับผิดชอบ และ/หรือมีงบประมาณสนับสนุน
ทั้งนี้ หากมาตรการหรือแนวทางมีระยะเวลามากกว่า 1 ปี สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะกำหนดรายละเอียดของการดำเนินการตามมาตรการหรือแนวทางดังกล่าวในแต่ละปี

สาขาเป้าหมาย ที่จะทำแผนปี 2565 จำนวน 4 สาขา ได้แก่ 1) การโฆษณา (Advertising) 2) การออกแบบ (Design)  3) สถาปัตยกรรม (Architecture) และ 4) แฟชั่น (Fashion) การผลิตเครื่องแต่งกายสำเร็จรูป

สาขาเป้าหมาย ที่จะทำเนินการติดตามประเมินผล (2562-2564) จำนวน 8 สาขา ได้แก่  1) งานฝีมือและหัตถกรรม 2) ศิลปะการแสดง 3) ทัศนศิลป์ 4) ดนตรี 5) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 6) การพิมพ์ 7) การกระจายเสียง 8) ซอฟต์แวร์ (เฉพาะดิจิทัลคอนเทนส์-เกมและแอนิเมชั่น)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จัดทำแผนฯ ปี 2565 แล้วเสร็จ 4 สาขา ผ่าน
คณะกรรมการ สศส. ให้ความเห็นชอบแผนฯ ปี 2565 (4 สาขา) ผ่าน
คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (กสศ.) ให้ความเห็นชอบแผนฯ ปี 2565 (4 สาขา) + รายงานผลการติดตามประเมินผลแผนฯ ปี 2565 ต่อ กสศ. ไม่ผ่าน
รายงานผลการติดตามประเมินผลแผนฯ ปี 2562- 2564 จำนวน 8 สาขา ผ่าน
รายงานผลการติดตามประเมินผลแผนฯ ปี 2562-2564 ต่อคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (กสศ.) ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•แหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์  หมายถึง  สถานที่อำนวยความสะดวกสำหรับการคิดค้น เรียนรู้ และพัฒนาธุรกิจ ด้วยการจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศด้านธุรกิจสร้างสรรค์ และระบบสืบค้นต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ  โดยสามารถเป็นแหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์  ทั้งในเชิงพื้นที่กายภาพและดิจิทัลแพลตฟอร์มได้

•แหล่งบ่มเพาะเชิงดิจิทัลแพลตฟอร์ม หมายถึง miniTCDC LINK ซึ่งเป็นเครือข่ายสถาบันการศึกษาในภูมิภาค

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนแหล่งบ่มเพาะเชิงดิจิทัลแพลตฟอร์ม 8 (แห่ง)
เพิ่มแหล่งบ่มเพาะเชิงกายภาพหรือดิจิทัลแพลตฟอร์ม อีก 1 แห่ง รวมเป็น 7 แห่ง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ผลสำเร็จของย่านสร้างสรรค์วัดจากตัวชี้วัด ดังนี้

1) จำนวนธุรกิจที่เข้ามาประกอบการในพื้นที่

2) จำนวนธุรกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ 

3) พื้นที่โดยรวมของธุรกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ โดยเทียบกับการคาดการณ์ ที่ได้จากการสำรวจใน ปี 2564

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนธุรกิจที่เข้ามาประกอบการในพื้นที่ 29.00 (ธุรกิจ)
จำนวนธุรกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ 28.00 (ธุรกิจ)
พื้นที่โดยรวมของธุรกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ 3,031.66 (ตร.ม.)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่

1.1.4.1 ผู้ประกอบการ SMEs ธุรกิจสร้างสรรค์ วิสาหกิจเริ่มต้น และผู้ประกอบการใหม่ มีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น ภายหลังได้รับการพัฒนาศักยภาพและนำความรู้ไปพัฒนาธุรกิจ

1.1.4.2 ร้อยละของผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์รายใหม่ที่เพิ่มขึ้น

รายละเอียดตัวชี้วัด

-รายได้เฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการจะมีที่มาจาการสำรวจ การติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน โดยวัดจากมิติของราคา รายได้ กำไร และชื่อเสียงของแบรนด์ จากผู้ประกอบการที่ให้ข้อมูล โดยจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการ โดยจะแบ่งกลุ่มตัวอย่างมาจากผู้ประกอบการที่ผ่านการบ่มเพาะเชิงลึก ในปี 2565 มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน และผู้ประกอบการที่ผ่านการบ่มเพาะเชิงลึกมาแล้วไม่เกิน 3 ปี (กำหนดกลุ่มตัวอย่างรวม เท่ากับ 250 ตัวอย่าง)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้เฉลี่ยของผู้ประกอบการจะมีที่มาจาการสำรวจ การติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน 29.88 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

-จำนวนผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์รายใหม่ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ผ่านกิจกรรมการอบรม บ่มเพาะ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น

-นับจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์รายใหม่จาก 3 เรื่อง ดังนี้ 1) จำนวนการจดทะเบียนบริษัทใหม่ 2) จำนวนผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ 3) จำนวนตราสัญลักษณ์ (Brand) ใหม่  โดยเทียบกับ จำนวนเป้าหมายในการบ่มเพาะเชิงลึกผ่านการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและการให้คำปรึกษาทางด้านธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพเพิ่มขึ้น 500 คน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์รายใหม่ ต่อจำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับการบ่มเพาะธุรกิจเชิงลึกทั้งหมด 35.80 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

-ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นการดำเนินงานในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การจัดงานเทศกาลแสดงผลงานธุรกิจ การจัดกิจกรรมสัมมนา เป็นต้น โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรจะนำไปสู่ผลประโยชน์ของผู้ประกอบการ SMEs  ธุรกิจสร้างสรรค์ วิสาหกิจเริ่มต้น และผู้ประกอบการรายใหม่ ที่ได้รับโอกาสในการขยายช่องทางธุรกิจให้กว้างขวางขึ้นจากช่องทางธุรกิจเดิมที่มีอยู่

-การเกิดธุรกรรม หมายถึง  ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมความรู้และโอกาสทางธุรกิจ ได้รับการสั่งซื้อ สั่งจอง สั่งจ้าง ให้ผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากลูกค้าหรือผู้รับบริการทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งหมายรวมถึง ธุรกรรมที่ทำผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

-จำนวนผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการที่ได้รับการบ่มเพาะเชิงลึกผ่านการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและการให้คำปรึกษาทางด้านธุรกิจ

-เนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผู้ประกอบการทุกกลุ่มได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สศส. จึงปรับเปลี่ยนเป็นเกณฑ์ใหม่
โดยนับรายการธุรกรรมจากกลุ่มผู้ประกอบการทุกกลุ่ม (0-3 ปี และ 3 ปีขึ้นไป) ซึ่งสามารถรวมได้หลายรายการต่อ 1 ธุรกรรม เพราะผู้ประกอบการอาจผลิตและจำหน่ายได้หลายผลิตภัณฑ์ และนับจากธุรกรรมที่มีมูลค่า 50,000 บาทขึ้นไป / 1 ธุรกรรม

(เกณฑ์เดิมปี 2564: 1) กรณีกลุ่มผู้ประกอบการ 3 ปี ขึ้นไป นับจากธุรกรรมที่มูลค่า 100,000 บาท / 1 ธุรกรรม  และ 2) กรณีกลุ่มผู้ประกอบการ 0 - 3 ปี นับจากธุรกรรมที่มูลค่า 50,000 บาท / 1 ธุรกรรม)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนรายการธุรกรรมจากกิจกรรมของเครือข่ายที่เกิดจากผู้ประกอบการ SMEs ธุรกิจสร้างสรรค์ วิสาหกิจเริ่มต้น และผู้ประกอบการรายใหม่ 79 (รายการ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- สศท. มีความเชื่อมโยงแผนปฏิรูปประเทศของกระทรวงพาณิชย์ ด้านเศรษฐกิจ โดยก าหนดตัวชี้วัดเป้าหมายจาก ข้อที่ 1,2,3,4 มูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการงานหัตถกรรมและชุมชนหัตถกรรม ผ่านการส่งเสริมของ สศท.
- พิจารณาจากยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน ช่างฝีมือและผู้ประกอบการงานหัตถกรรม ผ่านช่องทางการตลาดของ สศท. (งานแสดงสินค้า, ฝากจำหน่าย)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

•จากนิยามของกรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) “เมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์” คือ เมืองที่มีความชัดเจนในการนำความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาเมืองหรือชุมชน จากรากฐานของต้นทุนทางภูมิศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาภายในท้องถิ่นชุมชนของแต่ละจังหวัด จนก่อให้เกิดเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ โดยหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน ผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีบทบาท และมีการดำเนินงานร่วมกันอย่างสอดคล้อง และเกื้อกูล สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจส่งผลให้เมืองหรือชุมชนมีสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพขีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ DIP นำแนวคิดของยูเนสโกมาประกอบการตัดสินใจในการคัดเลือกเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และดำเนินการในปี 2554 (ดำเนินการ 1 ปี)

•สศส. ได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ในการผลักดันให้กรุงเทพฯ สมัครเป็น “เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก” (UNESCO Creative Cities Network หรือ UCCN)  และได้รับการคัดเลือกเป็น “เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ” ในปี 2562 ซึ่งปัจจุบันสศส. นำเกณฑ์การคัดเลือกเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกดังกล่าว มาถอดบทเรียนและพัฒนาเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกเมืองเข้าสู่เครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศไทย (Thailand Creative District Network) หรือ TCDN ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้ทุกจังหวัดซึ่งมีพื้นที่ที่มีศักยภาพและมีสินทรัพย์ที่สามารถต่อยอดได้ ประกอบกับคนในพื้นที่มีความพร้อมและต้องการพัฒนาพื้นที่นั้น ๆ ให้กลายเป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผ่านการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อค้นหาจุดเด่น สร้างมูลค่าให้กับวัฒนธรรมท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่ ไปจนถึงยกระดับคุณภาพชีวิต ภายใต้การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ การเป็นเครือข่าย TCDN จะนําไปสู่การแลกเพื่อเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ในการพัฒนาพื้นที่ และจะมีการคัดเลือกพื้นที่เพื่อต่อยอดสู่เมืองสร้างสรรค์ในระดับสากลต่อไป ทั้งนี้ เกณฑ์การคัดเลือกเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของ DIP และเกณฑ์ในการคัดเลือกเมืองเข้าสู่เครือข่าย TCDN ของ สศส. อ้างอิงมาจากเกณฑ์ของยูเนสโกเช่นเดียวกัน

•ปี 2565 สศส. มีแผนที่จะดำเนินการในการส่งเสริมพื้นที่ในจังหวัดที่มีความพร้อม เช่น สงขลา แพร่ หรือจังหวัดอื่น ๆ ซึ่งจะกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวอย่างบูรณาการ ซึ่งเป็นไปโดยสอดคล้องกับเป้าหมายของแผนการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การพัฒนาการเรียนรู้และเศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรมแบบบูรณาเป้าหมายของกิจกรรมปฏิรูป: (2) ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรม ตัวชี้วัด: (2) มูลค่าทางเศรษฐกิจด้านวัฒนธรรมของประเทศเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของ GDP ในปี พ.ศ. 2565

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนเมืองที่ได้มีการพัฒนาเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม 2 (เมือง)
รายงานผลการติดตามประเมินผลต่อคณะกรรมการ สศส. ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

การหารายได้ของ สศท. เกิดจาก
1. ค่าเช่าพื้นที่ ณ อาคารศาลาพระมิ่งมลคล และอาคารตลาด
2. รายได้จากค่าบริหารการขายสินค้าฝากจ าหน่าย ณ จุดจ าหน่าย สศท. สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินภูเก็ต (ค่าบริหารการขายบวก 5-10%
ของราคาสินค้าที่ฝากจ าหน่าย
 

รายละเอียดตัวชี้วัด

-ความสามารถในการหารายได้ขององค์การมหาชน หมายถึง รายได้ที่องค์การมหาชนได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ไม่รวมเงินอุดหนุนประจำปีที่ได้รับจัดสรร

-ประเภทรายได้ ได้แก่ ค่าธรรมเนียม ค่าลงทะเบียน ค่าตอบแทนการให้คำปรึกษา ค่าจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ จะไม่นับรวมถึงดอกเบี้ยธนาคาร

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้ของ สศส 2.91 (ล้่านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

-การประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เลือกประเมินความคุ้มค่า จำนวน 1 โครงการ คือ
โครงการพัฒนาและส่งเสริมย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสูงที่สุด (งบประมาณ 32.8967 ล้านบาท)

-ทั้งนี้ กรอบการประเมินผล ทางสำนักงาน ก.พ.ร. จะกำหนดกรอบการประเมิน ซึ่งเป็นมาตรฐานกลางที่ใช้วัดผลกับทุกองค์การมหาชนที่กำหนดตัวชี้วัดความคุ้มค่าของโครงการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จัดทำรายงานผลการประเมินความคุ้มค่าของแต่ละโครงการ โดยมีประเด็นการประเมินและชุดข้อมูลครบถ้วนตามที่ สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด และส่งมายังสำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2565 ผ่าน
ผลคะแนนเฉลี่ยจากการประะเมิน 89 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลักการ :

กำหนดประเมินตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เรื่อง กรอบวงเงินรวมสำหรับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสำหรับองค์การมหาชน แล้วมีมติสรุปได้ดังนี้

          (๑) เห็นชอบการกำหนดกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรฯ ให้ไม่เกินร้อยละ ๓๐ ของแผนการใช้จ่ายเงินประจำปี ให้กับองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ รวมถึงองค์การมหาชน  ทั้งสองประเภทที่จะได้รับ
การจัดตั้งในภายหลังด้วย ยกเว้นองค์การมหาชน จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่ ๑) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
๒) สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ๓) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ๔) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ ๕) สถาบันเพื่อ
การยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๓๒ ของแผนการใช้จ่ายเงิน และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๖๐ ของแผนการใช้จ่ายเงิน

          (๒) ให้องค์การมหาชนที่มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่ากรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเมื่อเทียบกับแผนการใช้จ่ายเงินประจำปีที่กำหนดใหม่ เสนอ กพม. พิจารณาโดยจะต้องส่งแผนการปรับปรุงค่าใช้จ่าย ด้านบุคลากรเป็นเวลา ๓ ปี เป็นข้อมูลประกอบด้วย เพื่อเป็นแนวทางควบคุมค่าใช้จ่ายของหน่วยงานของรัฐ มิให้เป็นภาระงบประมาณในระยะยาว 

          (๓) กำหนดให้คณะกรรมการองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะและองค์การมหาชน
ที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รับผิดชอบกำกับการใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ และให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดให้มีกลไก
ในการทบทวนความเหมาะสมของสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่อง
โดยคำนึงถึงภารกิจ รายได้ และเงินทุนสะสมของแต่ละองค์การมหาชน รวมทั้งยึดหลักการที่มิให้มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่าความจำเป็นและไม่เป็นภาระงบประมาณของประเทศ

เงื่อนไข :

          ๑) องค์การมหาชนที่ได้รับการยกเว้นกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร จาก กพม. ให้ยกเลิก
               และตัดน้ำหนักของตัวชี้วัดนี้ 

          ๒) องค์การมหาชนต้องแสดงเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

         

นิยาม :

          ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร หมายถึง ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่เป็นไปตามสิทธิของบุคคล ได้แก่

          ๑) เงินเดือนและค่าจ้าง

          ๒) ค่าสวัสดิการ เช่น เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ค่ารักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาลบุคคล
ในครอบครัว เงินประกันชีวิตและสุขภาพ ค่าตรวจสุขภาพประจำปี เงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสงเคราะห์กรณีถึงแก่กรรม ค่าชดเชย เป็นต้น

๓) ค่าตอบแทนผันแปรผู้อำนวยการ

งบประมาณค่าใช้จ่ายตามแผนการใช้จ่ายเงิน หมายถึง วงเงินงบประมาณขององค์การมหาชน
ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การมหาชนให้ใช้เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณนั้น ๆ ซึ่งอาจ มีที่มาของเงินประกอบด้วย

๑) เงินอุดหนุน หมายถึง เงินอุดหนุนทั่วไปที่องค์การมหาชนได้รับการจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ โดยไม่รวมค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง

๒) เงินทุน หมายถึง กำไรสะสมตามมาตรฐานบัญชี ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน หรือหมายถึง เงินรายได้สุทธิที่เหลือสะสมมาจนถึงปีงบประมาณก่อนหน้า ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน รวมกับเงินเหลือจ่ายจากปีงบประมาณที่แล้ว ซึ่งขอเปลี่ยนแปลงมาใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน

          หมายเหตุ จำนวนเงินของ "เงินทุน" จะไม่รวมถึงจำนวนของ "เงินทุน" ที่ขออนุมัติเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง

๓) เงินรายได้ หมายถึง ประมาณการรายได้ขององค์การมหาชนในปีงบประมาณนั้น ซึ่งปรากฏตามเอกสารงบประมาณประจำปี โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ (๑) รายได้จากการดำเนินงาน เช่น ค่าธรรมเนียม
การให้บริการ เป็นต้น และ (๒) รายได้อื่น ๆ ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินค่าปรับ และเงินบริจาคต่างๆ

          หมายเหตุ จำนวนเงินของ "เงินรายได้" จะไม่รวมถึงจำนวนของ "เงินรายได้" ที่ขออนุมัติเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
๑. ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่เกินกรอบวงเงินรวมฯ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ผ่าน
๒. ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ไม่สูงกว่าร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรตามแผนที่เสนอต่อคณะกรรมการองค์การมหาชน ณ ต้นปีงบประมาณ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

(ตัวชี้วัดบังคับ)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

(เลือก 1 จาก 2 ตัวชี้วัดย่อยต่อไปนี้)
1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่
การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)
2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
พัฒนาและปรับปรุงบัญชีข้อมูลของหน่วยงานให้มีคุณภาพและน าไปสู่การเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก และสามารถน าข้อมูลไปพัฒนาบริการและนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อปประเทศในด้านต่าง ๆ

รายละเอียดตัวชี้วัด

•บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ

•คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด

•ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ

•ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

•คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 96.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•กลุ่มที่ 3: องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2564 ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 456.40 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลักการ :
พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้องค์การมหาชนไม่ต้อง
อยู่ในกรอบของกฎระเบียบราชการเพื่อให้การบริหารงานมีความอิสระ คล่องตัว และให้อำนาจหน้าที่
คณะกรรมการองค์การมหาชนในการควบคุมดูแล กำหนดนโยบายและทิศทางการปฏิบัติงาน ให้ความเห็นชอบ
แผนการดำเนินงาน อนุมัติแผนการลงทุนและแผนการเงิน ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรื อ
ข้อกำหนดต่างๆ คณะกรรมการฯ ควรทบทวนบทบาทขององค์การมหาชนให้สามารถตอบสนองต่อสภาพการณ์
ปัจจุบันและความต้องการของผู้รับบริการ

ประเด็นการประเมินด้านการควบคุมดูแลกิจการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับปรุง
แนวทางการประเมินให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 เรื่อง
แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน และเพิ่มเติมประเด็นการประเมินตามบทบาท
สำคัญอื่น ๆ เช่น การกำกับให้องค์การมหาชนคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการตอบสนองต่อประชาชน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงแนวทางการประเมินให้เป็นไปในเชิงคุณภาพที่ให้มีการดำเนินงานครอบคลุมประเด็น
ที่ต้องให้ความสำคัญ มากกว่าการประเมินในเชิงปริมาณ เช่น การนับจำนวนครั้งในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1. การวางแผนยุทธศาสตร์ (ร้อยละ 15) 2. การบริหารทางการเงิน (ร้อยละ 10) 3. การบริหารทรัพยากรบุคคล (ร้อยละ 15) 4. การควบคุมภายใน (ร้อยละ 10) 5. การบริหารทั่วไป (ร้อยละ 15) 6. การคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/การตอบสนองต่อประชาชน (ร้อยละ 15) 7. การบริหารการประชุม (ร้อยละ 5) 8. การประเมินผลการปฏิบัติงานองค์การมหาชน (ร้อยละ 10) 9. การประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการองค์การมหาชน (ร้อยละ 5) 100.00 (คะแนน)