รายงานผลการประเมิน

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

(องค์การมหาชนเสนอ : ไม่จำกัดจำนวนแต่ให้มีตัวชี้วัดที่ครอบคลุมทุกวัตถุประสงค์การจัดตั้ง และเลือกจากรายการตัวชี้วัดขององค์การมหาชน – KPIs Basket )

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการ สสปน. ระยะ 3 ปี และใช้ผลงานจริงในปี 2564 เป็นฐานในการกำหนดเป้าหมาย โดยอ้างอิงอัตราการขยายเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ร้อยละ 5

- จำนวนรายได้จากการใช้จ่ายของนักเดินทางกลุ่ม MICE ในประเทศไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565   (ต.ค. 2564 – ก.ย. 2565) ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้

1. การประชุม สัมมนา หรืออบรม   2. การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล  3. การประชุมสมาคมและองค์กรภาครัฐ  4. งานแสดงสินค้า

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ค่าใช้จ่ายนักเดินทางไมซ์ที่เข้าร่วมกิจกรรมไมซ์ในประเทศ 25,421.00 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

สสปน. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability) โดยกระจายความเจริญ ส่งเสริมความเข้มแข็งไปสู่ภูมิภาค เช่น ยกระดับการจัดงานไมซ์ในภูมิภาคให้เป็นงานระดับประเทศหรือ Festival Economy โดยนำอัตลักษณ์ที่น่าสนใจในแต่ละเมืองมาเป็นไฮไลท์ในการจัดงานเทศกาล และผลักดันเทศกาลดังกล่าวเป็น “1 City 1 License Event” หรือ “หนึ่งเมือง หนึ่งสิทธิบัตรงานเทศกาลนานาชาติ” เพื่อขับเคลื่อน “Festival Economy” ของประเทศไทย สู่ตลาดโลกในอนาคต

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จในการกำหนดหลักเกณฑ์ 1 City 1 License Event เพื่อขับเคลื่อน Festival Economy ของไทย ผ่าน
ความสำเร็จในการกำหนดหลักเกณฑ์ 1 City 1 License Event เพื่อขับเคลื่อน Festival Economy ของไทย ผ่าน
ความสำเร็จในการกำหนดหลักเกณฑ์ 1 City 1 License Event เพื่อขับเคลื่อน Festival Economy ของไทย ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

มุ่งต่อยอดการพัฒนา MICE Intelligence Center จากปี 2564 โดยผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก Data Intelligence ที่รวบรวมวิเคราะห์และจัดทำเพื่อเผยแพร่ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการไมซ์ และส่งเสริมให้เกิดการใช้ข้อมูลและสารสนเทศเชิงลึก เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหรกรรมไมซ์ มุ่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และขยายฐานลูกค้าในการใช้งาน MICE Intelligence Center

- พิจารณาจากจำนวนผู้ใช้งาน MICE Intelligence Center ผ่านเว็บไซต์  https://intelligence.businesseventsthailand.com/th ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยนับ unique visitor (Users) เพื่อวิเคราะห์การใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

- กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า  ไม่นับซ้ำผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา (ไม่นับสะสม) และในการรายงานจะต้องมีบทวิเคราะห์การใช้งานตามกลุ่มเป้าหมาย New users, Royalty และอื่น ๆ เช่น หัวข้อ/เรื่อง/หมวดข้อมูลที่ได้รับความสนใจ/ไม่ได้รับความสนใจ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนผู้ใช้งาน MICE Intelligence Center ผ่านเว็บไซต์ https://intelligence.businesseventsthailand.com/th 336,851 (Users)
ความพึงพอใจในการให้บริการ ผ่าน
มีรายงานแผนการปรับปรุงงานบริการด้านข้อมูลไมซ์ตามข้อคิดเห็นของผู้ใช้งาน ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาจากจำนวนสถานที่จัดงานที่ได้รับมาตรฐานห้องประชุม  (TMVS: Thailand MICE Venue Standard) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คือ

- จำนวนสถานที่ที่ขอรับรองมาตรฐาน TMVS ประเภทห้องประชุม     - จำนวนสถานที่ที่ขอรับรองมาตรฐาน TMVS ประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้า

- จำนวนสถานที่ที่ขอรับรองมาตรฐาน TMVS ประเภทสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ

ทั้งนี้ ในการตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทยนั้น ทาง สสปน. ได้จัดจ้างสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ) สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมในการดำเนินงาน โดยมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย มีอายุของการรับรองระยะเวลา 3 ปี ซึ่งต้องมีการตรวจประเมินซ้ำทุก ๆ 3 ปี

- กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ ในการรายงานผล ขอให้แยกผลระหว่างองค์กรที่ต่ออายุ กับองค์กรที่เข้ารับการประเมินใหม่

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
สถานประกอบการได้รับมาตรฐาน TMVS 131 (แห่ง)
สถานประกอบการได้รับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและนวัตกรรมการจัดงานเสมือนจริง (Hygiene & Hybrid: 2HY) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมไมซ์ โดยมีการเลื่อน/ยกเลิกการจัดงานไมซ์ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ดังนั้น สสปน. จึงขอปรับเกณฑ์การวัดจากเดิม ที่มุ่งประเมินความสำเร็จในการดึงงานไมซ์หรือการสร้างงานใหม่ในประเทศไทย (Won Bid) มาเป็น การยื่นประมูลสิทธิ์ ดึงงานหรือสร้างงานไมซ์ใหม่ ในประเทศไทย (BID SUBMIT) ผ่านกิจกรรม Meeting and Incentive, Convention, Exhibition และ Mega & Special Events ทั้งนี้ สสปน. มีความมุ่งมั่นที่จะแสดงศักยภาพความพร้อมด้านต่าง ๆ ของประเทศในฐานะจุดหมายปลายทางในการจัดกิจกรรมไมซ์ โดยเฉพาะความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย/การจัดการด้านสาธารณสุข เพื่อให้เกิดการกิจกรรมไมซ์ในประเทศไทยในอนาคต

โดยพิจารณาจากจำนวนงานที่ สสปน. เสนอยื่นประมูลสิทธิ์ ดึงงานหรือสร้างงานไมซ์ใหม่ ในประเทศไทย ผ่านกิจกรรม ดังนี้

- อุตสาหกรรม  Meeting  and Incentive คือ การดึงงานประชุมหรือการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลขนาดใหญ่

- อุตสาหกรรม  Convention คือ การชนะงานประมูลสิทธิ์หรือดึงงานการประชุมนานาชาติ

- อุตสาหกรรม  Exhibition คือ การสร้างงานใหม่หรือการดึงงานประเภทนิทรรศการและงานแสดงสินค้า

- Mega & Special Events คือ การดึงงานหรือสร้างงานมหกรรมนานาชาติในประเทศไทย

โดยงานทั้งหมดต้องเสนอยื่นประมูลสิทธิ์อย่างเป็นทางการและหน่วยงานนานาชาติพิจารณาและคัดเลือกประเทศที่เข้ารอบ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ต.ค. 2564 – ก.ย. 2565)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนงานที่ยื่นประมูลสิทธิ์ ดึงงานหรือสร้างงานไมซ์ใหม่ในประเทศไทย (BID SUBMIT) 38 (งาน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการ สสปน. ระยะ 3 ปี มุ่งทำงานร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายภาครัฐและสมาคม/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับให้ไมซ์เป็นวาระแห่งชาติ มุ่งผลักดันดัชนีฯ ให้เป็นที่ยอมรับและให้ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านดัชนีของประเทศ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเทียบเคียง (Benchmarking) และใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานนโยบายแบบเชิงรุก (Policy Tools) Ease of Doing เป็นการวัดการเสริมสร้างขีดความสามารถในรูปแบบวิถีใหม่ (New Normal) ของประเทศ

- พิจารณาจากระดับความสำเร็จในการพัฒนาตามแผนการดำเนินงานที่กำหนด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ระดับความสำเร็จในการพัฒนา Thailand MICE Index ผ่าน
ระดับความสำเร็จในการพัฒนา Thailand MICE Index ผ่าน
ระดับความสำเร็จในการพัฒนา Thailand MICE Index ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

- สศท. มีความเชื่อมโยงแผนปฏิรูปประเทศของกระทรวงพาณิชย์ ด้านเศรษฐกิจ โดยก าหนดตัวชี้วัดเป้าหมายจาก ข้อที่ 1,2,3,4 มูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการงานหัตถกรรมและชุมชนหัตถกรรม ผ่านการส่งเสริมของ สศท.
- พิจารณาจากยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน ช่างฝีมือและผู้ประกอบการงานหัตถกรรม ผ่านช่องทางการตลาดของ สศท. (งานแสดงสินค้า, ฝากจำหน่าย)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประเมินการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายสำคัญที่มุ่งผลักดันให้อุตสาหกรรมไมซ์เป็นกลไกกระจายรายได้สู่ภูมิภาคผ่านความร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมไมซ์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการความพร้อมด้านต่าง ๆ ในการผลักดันให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคด้วยกิจกรรมไมซ์ผ่านโครงการ Empower Thailand Exhibition (EMTEX) ร่วมกับ 11 หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพิ่มบทบาท สสปน. ในการยกระดับการจัดงานไมซ์ในภูมิภาคร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เช่น การยกระดับ Contractor บุคลากร เมือง สถานที่จัดงาน ฯลฯ และรวมถึงมาตรการด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ที่ได้รับมาตรฐาน และการสนับสนุนแฟลตฟอร์มการจัดงาน/รูปแบบการจัดงานวิถึใหม่ (New Normal) มากยิ่งขึ้น รวมถึงอำนวยความสะดวกในการยกระดับการจัดงานให้มีการเจรจาการค้า (B2B)

- พิจารณาจากจำนวนงานที่มีการจัดงานแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2565 และให้รายงานความสำเร็จจากการจัดงาน อาทิ มูลค่า/รายได้ จำนวนผู้เข้าร่วมงาน และความสำเร็จในการพัฒนา/ยกระดับศักยภาพการจัดงานประกอบการรายงานผลด้วย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนงานที่มีการยกระดับมาตรฐานการจัดงานไมซ์และการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค ผ่านงาน EMTEX 6 (งาน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นตัวชี้วัดภายใต้นโยบายสำคัญของรัฐบาล ในการผลักดันให้ Phuket Sandbox เป็นหนึ่งในแผนการฟื้นฟูการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดย ‘ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์’ อยู่ในระยะแรกหรือระยะที่ 1 ของแผนการเปิดประเทศใน 120 วัน และ สสปน. ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในแผนการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ให้เกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต เพื่อเป็นเมืองต้นแบบสำหรับการต่อยอด หรือขยายผลไปยังเมือง/จังหวัดไมซ์อื่นๆ ต่อไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบาย Phuket Sandbox (สำหรับอุตสาหกรรมไมซ์) ผ่าน
ความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบาย Phuket Sandbox (สำหรับอุตสาหกรรมไมซ์) ผ่าน
ความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบาย Phuket Sandbox (สำหรับอุตสาหกรรมไมซ์) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

การหารายได้ของ สศท. เกิดจาก
1. ค่าเช่าพื้นที่ ณ อาคารศาลาพระมิ่งมลคล และอาคารตลาด
2. รายได้จากค่าบริหารการขายสินค้าฝากจ าหน่าย ณ จุดจ าหน่าย สศท. สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินภูเก็ต (ค่าบริหารการขายบวก 5-10%
ของราคาสินค้าที่ฝากจ าหน่าย
 

รายละเอียดตัวชี้วัด

มุ่งผลักดันให้องค์การมหาชนดำเนินการลดต้นทุน การใช้ทรัพยากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งสอดคล้องตามเกณฑ์การพัฒนาศักยภาพองค์การสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 ตามเกณฑ์การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบการปฏิบัติการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กำหนดวิธีการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย และคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตแล้วเสร็จ ผ่าน
ลดต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต ผ่าน
จัดทำแนวทางในการลดต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

สสปน. พิจารณาคัดเลือกโครงการที่จะประเมินความคุ้มค่า จากโครงการภายใต้แผนบูรณาการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค แผนบูรณาการการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ดังนี้

1.โครงการสนับสนุนการจัดงานเมกะอีเวนท์ระดับโลก และการประมูลสิทธิ์งานใหม่ ในพื้นที่ Thailand Riviera

2.โครงการ Empower Thailand Exhibition (EMTEX)

3.โครงการพัฒนาสินค้าและบริการของอุตสาหกรรมเรือสำราญและอาหารพื้นถิ่นผ่านงานไมซ์

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการ ผ่าน
ผลคะแนนเฉลี่ย การประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการ 83.29 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลักการ :

กำหนดประเมินตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เรื่อง กรอบวงเงินรวมสำหรับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสำหรับองค์การมหาชน แล้วมีมติสรุปได้ดังนี้

          (๑) เห็นชอบการกำหนดกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรฯ ให้ไม่เกินร้อยละ ๓๐ ของแผนการใช้จ่ายเงินประจำปี ให้กับองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ รวมถึงองค์การมหาชน  ทั้งสองประเภทที่จะได้รับ
การจัดตั้งในภายหลังด้วย ยกเว้นองค์การมหาชน จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่ ๑) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
๒) สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ๓) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ๔) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ ๕) สถาบันเพื่อ
การยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๓๒ ของแผนการใช้จ่ายเงิน และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๖๐ ของแผนการใช้จ่ายเงิน

          (๒) ให้องค์การมหาชนที่มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่ากรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเมื่อเทียบกับแผนการใช้จ่ายเงินประจำปีที่กำหนดใหม่ เสนอ กพม. พิจารณาโดยจะต้องส่งแผนการปรับปรุงค่าใช้จ่าย ด้านบุคลากรเป็นเวลา ๓ ปี เป็นข้อมูลประกอบด้วย เพื่อเป็นแนวทางควบคุมค่าใช้จ่ายของหน่วยงานของรัฐ มิให้เป็นภาระงบประมาณในระยะยาว 

          (๓) กำหนดให้คณะกรรมการองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะและองค์การมหาชน
ที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รับผิดชอบกำกับการใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ และให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดให้มีกลไก
ในการทบทวนความเหมาะสมของสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่อง
โดยคำนึงถึงภารกิจ รายได้ และเงินทุนสะสมของแต่ละองค์การมหาชน รวมทั้งยึดหลักการที่มิให้มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่าความจำเป็นและไม่เป็นภาระงบประมาณของประเทศ

เงื่อนไข :

          ๑) องค์การมหาชนที่ได้รับการยกเว้นกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร จาก กพม. ให้ยกเลิก
               และตัดน้ำหนักของตัวชี้วัดนี้ 

          ๒) องค์การมหาชนต้องแสดงเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

         

นิยาม :

          ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร หมายถึง ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่เป็นไปตามสิทธิของบุคคล ได้แก่

          ๑) เงินเดือนและค่าจ้าง

          ๒) ค่าสวัสดิการ เช่น เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ค่ารักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาลบุคคล
ในครอบครัว เงินประกันชีวิตและสุขภาพ ค่าตรวจสุขภาพประจำปี เงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสงเคราะห์กรณีถึงแก่กรรม ค่าชดเชย เป็นต้น

๓) ค่าตอบแทนผันแปรผู้อำนวยการ

งบประมาณค่าใช้จ่ายตามแผนการใช้จ่ายเงิน หมายถึง วงเงินงบประมาณขององค์การมหาชน
ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การมหาชนให้ใช้เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณนั้น ๆ ซึ่งอาจ มีที่มาของเงินประกอบด้วย

๑) เงินอุดหนุน หมายถึง เงินอุดหนุนทั่วไปที่องค์การมหาชนได้รับการจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ โดยไม่รวมค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง

๒) เงินทุน หมายถึง กำไรสะสมตามมาตรฐานบัญชี ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน หรือหมายถึง เงินรายได้สุทธิที่เหลือสะสมมาจนถึงปีงบประมาณก่อนหน้า ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน รวมกับเงินเหลือจ่ายจากปีงบประมาณที่แล้ว ซึ่งขอเปลี่ยนแปลงมาใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน

          หมายเหตุ จำนวนเงินของ "เงินทุน" จะไม่รวมถึงจำนวนของ "เงินทุน" ที่ขออนุมัติเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง

๓) เงินรายได้ หมายถึง ประมาณการรายได้ขององค์การมหาชนในปีงบประมาณนั้น ซึ่งปรากฏตามเอกสารงบประมาณประจำปี โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ (๑) รายได้จากการดำเนินงาน เช่น ค่าธรรมเนียม
การให้บริการ เป็นต้น และ (๒) รายได้อื่น ๆ ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินค่าปรับ และเงินบริจาคต่างๆ

          หมายเหตุ จำนวนเงินของ "เงินรายได้" จะไม่รวมถึงจำนวนของ "เงินรายได้" ที่ขออนุมัติเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
๑. ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่เกินกรอบวงเงินรวมฯ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ผ่าน
๒. ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ไม่สูงกว่าร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรตามแผนที่เสนอต่อคณะกรรมการองค์การมหาชน ณ ต้นปีงบประมาณ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

(ตัวชี้วัดบังคับ)

 

รายละเอียดตัวชี้วัด

(เลือก 1 จาก 2 ตัวชี้วัดย่อยต่อไปนี้)
1) การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่
การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)
2) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
พัฒนาและปรับปรุงบัญชีข้อมูลของหน่วยงานให้มีคุณภาพและน าไปสู่การเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก และสามารถน าข้อมูลไปพัฒนาบริการและนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อปประเทศในด้านต่าง ๆ

รายละเอียดตัวชี้วัด

แนวทางการประเมิน : เป็นการประเมินความสำเร็จในการยกระดับงานบริการขององค์การมหาชน ไปสู่การให้บริการแบบออนไลน์ เพื่อลดภาระการเดินทางมาติดต่อราชการของประชาชน ตามเป้าหมาย 3 ระดับ โดยองค์การมหาชนสามารถคัดเลือกงานบริการ ดังนี้

1) งานบริการเดิมซึ่งองค์การมหาชนเคยนำมายกระดับและประเมินตามตัวชี้วัดนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แต่ยังดำเนินงานไม่แล้วเสร็จ หรือยังไม่บรรลุผลในระดับ L3 หรือ

2) งานบริการใหม่ที่องค์การมหาชนต้องการยกระดับตามเป้าหมาย L1, L2, L3

เป้าหมายการยกระดับงานบริการ 3 ระดับ ได้แก่

ระดับ 1 (Level 1 : L1)
งานบริการที่ยื่นคำขอและเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้

ระดับ 2 (Level 2 : L2) 
งานบริการที่ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือช่องทางอื่น ๆ และมีการออกใบเสร็จรับเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้

ระดับ 3 (Level 3 : L3)
งานบริการที่ยื่นคำขอ ชำระค่าธรรมเนียม และออกใบอนุมัติ/ใบอนุญาต/เอกสารทางราชการได้ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือการอนุมัติผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

ชื่องานบริการที่จะพัฒนาเป็น e-Service : การขอรับการสนับสนุนการจัดงานไมซ์ผ่านระบบออนไลน์ (Request for Support: RFS) (Level3)

คำอธิบาย : สสปน. เสนองานบริการการขอรับการสนับสนุนการจัดงานไมซ์ผ่านระบบออนไลน์ (Request for Support: RFS) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้วางแผนและผู้จัดงานทั้งในและต่างประเทศในการขอรับการสนับสนุนการจัดกิจกรรมไมซ์จาก สสปน. ผลักดันให้เกิดการขอรับการสนับสนุนผ่านระบบ RFS เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ตามนโยบายรัฐบาล

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ระดับ 3 (Level 3) การออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•กลุ่มที่ 3: องค์การมหาชนที่มีผลการประเมิน PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2564 ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 458.04 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

หลักการ :
พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้องค์การมหาชนไม่ต้อง
อยู่ในกรอบของกฎระเบียบราชการเพื่อให้การบริหารงานมีความอิสระ คล่องตัว และให้อำนาจหน้าที่
คณะกรรมการองค์การมหาชนในการควบคุมดูแล กำหนดนโยบายและทิศทางการปฏิบัติงาน ให้ความเห็นชอบ
แผนการดำเนินงาน อนุมัติแผนการลงทุนและแผนการเงิน ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรื อ
ข้อกำหนดต่างๆ คณะกรรมการฯ ควรทบทวนบทบาทขององค์การมหาชนให้สามารถตอบสนองต่อสภาพการณ์
ปัจจุบันและความต้องการของผู้รับบริการ

ประเด็นการประเมินด้านการควบคุมดูแลกิจการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับปรุง
แนวทางการประเมินให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 เรื่อง
แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน และเพิ่มเติมประเด็นการประเมินตามบทบาท
สำคัญอื่น ๆ เช่น การกำกับให้องค์การมหาชนคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการตอบสนองต่อประชาชน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงแนวทางการประเมินให้เป็นไปในเชิงคุณภาพที่ให้มีการดำเนินงานครอบคลุมประเด็น
ที่ต้องให้ความสำคัญ มากกว่าการประเมินในเชิงปริมาณ เช่น การนับจำนวนครั้งในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1. การวางแผนยุทธศาสตร์ (ร้อยละ 15) 2. การบริหารทางการเงิน (ร้อยละ 10) 3. การบริหารทรัพยากรบุคคล (ร้อยละ 15) 4. การควบคุมภายใน (ร้อยละ 10) 5. การบริหารทั่วไป (ร้อยละ 15) 6. การคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/การตอบสนองต่อประชาชน (ร้อยละ 15) 7. การบริหารการประชุม (ร้อยละ 5) 8. การประเมินผลการปฏิบัติงานองค์การมหาชน (ร้อยละ 10) 9. การประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการองค์การมหาชน (ร้อยละ 5) 95.00 (คะแนน)