รายงานผลการประเมิน

ลพบุรี

/ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

  • สินค้าเกษตร หมายถึง ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์อันเกิดจากการกสิกรรม การประมง การปศุสัตว์ หรือการป่าไม้ และผลพลอยได้ของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
  • อาหารปลอดภัย (Food Safety) หมายถึง อาหารที่ได้มีการจัดเตรียม ปรุงผสม และกินอยู่อย่างถูกต้อง ตามวิธีการและวัตถุประสงค์ของอาหารนั้นๆ แล้วไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ส่วนอาหาร ที่ไม่ปลอดภัยและก่อให้เกิดอันตรายเมื่อบริโภคเข้าไปก่อให้เกิดอันตราย คืออาหารที่มีสารปนเปื้อน
  • พิจารณาข้อมูลจากรายได้การจำหน่ายสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยของจังหวัดลพบุรี เป็นสินค้าผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP GMP Organic Thailand PGS Lopburi OTOP  อย. และ มผช. ที่ดำเนินการจัดกิจกรรมทางการตลาดทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดลพบุรี ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์
  • ขอบเขตการจัดเก็บข้อมูล ได้แก่ มูลค่าการจำหน่ายสินค้าของตลาดเกษตรกร (Farmer Market)           การจำหน่ายสินค้า Modern Farm Outlet Organic Village Event และการจำหน่ายสินค้าอาหารอินทรีย์สู่ครัวโรงพยาบาล
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการจำหน่ายมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย 55.40 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด :  ความสำเร็จในการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

  1. รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP)
  2. ร้อยละของจำนวนใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ของจังหวัด
  3. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) โดยผ่านช่องทางออนไลน์

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ประเมินจากรายได้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565) ของจังหวัด

เกณฑ์การประเมิน : กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) 3,027.90 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

วัดผลสำเร็จจากจำนวนคำขอที่ยื่นขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และได้รับใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เทียบกับจำนวนคำขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ทั้งหมด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

การให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นการยกระดับการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และรักษาคุณภาพ โดยใช้หลักการควบคุมคุณภาพเพื่อให้สินค้า  OTOP เป็นที่ยอมรับ และเพิ่มความน่าเชื่อถือแก่ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สูตรคำนวณ :
จำนวนใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 x 100 /จำนวนคำขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ทั้งหมด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

เกณฑ์การประเมิน :  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของจำนวนใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ของจังหวัด 84.78 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

พิจารณาจากรายได้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565) โดยผ่านช่องทางออนไลน์ (ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์) เปรียบเทียบกับรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โดยผ่านช่องทางออนไลน์ (ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564)

ตลาดออนไลน์  คือ การทำการตลาดในสื่อออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ หรือโฆษณาให้ผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นที่รู้จัก  ตลอดจนการซื้อการขาย ซึ่งการทำการตลาดในสื่อออนไลน์ เช่น โฆษณา Facebook โฆษณา line  โฆษณา Google โฆษณา Youtube โฆษณา Instagram เว็บไซต์ หรือผ่านแฟลตฟอร์มอื่น เป็นต้น

ขอบเขตการประเมิน  ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่จำหน่ายในแพลตฟอร์ม หรือสื่อออนไลน์

สูตรคำนวณ :  
((รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ผ่านช่องทางออนไลน์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ผ่านช่องทางออนไลน์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564) x 100) / รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ผ่านช่องทางออนไลน์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

เกณฑ์การประเมิน :   กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) โดยผ่านช่องทางออนไลน์ 17.60 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย  :

พิจารณาจากสัดส่วนของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนของจังหวัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้รับ
การจัดการอย่างถูกต้อง เปรียบเทียบกับปริมาณขยะมูลฝอยของจังหวัดที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565

ปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง หมายถึง ผลรวมของปริมาณขยะมูลฝอยที่นำไปกำจัดอย่างถูกต้อง ที่นำไปกำจัดเบื้องต้น และที่นำกลับมาใช้ประโยชน์

ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หมายถึง ปริมาณขยะมูลฝอยซึ่งคำนวณจากอัตราการเกิดขยะมูลฝอยของกรมควบคุมมลพิษ หรือของพื้นที่ คูณด้วยจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร ปี 2564 (โดยใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564) และคูณด้วยจำนวนวัน

อัตราการเกิดขยะมูลฝอย
-  เทศบาลนคร                    0.00189    ตัน/คน/วัน
- เทศบาลเมือง                   0.00115    ตัน/คน/วัน
- เทศบาลตำบล                 0.00102    ตัน/คน/วัน
- เมืองพัทยา                      0.00390    ตัน/คน/วัน
- องค์การบริหารส่วนตำบล   0.00091    ตัน/คน/วัน

ปริมาณขยะมูลฝอยที่นำไปกำจัดอย่างถูกต้อง หมายถึง ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีการและข้อกำหนดในกฎกระทรวง สุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560 หรือประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 ได้แก่ การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
การหมักทำปุ๋ยหรือก๊าซชีวภาพ การกำจัดด้วยพลังงานความร้อน การแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงหรือพลังงาน การกำจัดแบบผสมผสาน หรือวิธีอื่นตามที่กระทรวงมหาดไทย หรือกระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือ คณะกรรมการจังหวัดให้คำแนะนำ

ปริมาณขยะมูลฝอยที่กำจัดเบื้องต้น หมายถึง ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดด้วยการเทกองที่มีการควบคุม ขนาดน้อยกว่า 50 ตัน/วัน

ปริมาณขยะมูลฝอยที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ หมายถึง ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ผ้าป่ารีไซเคิล กิจกรรม Big Cleaning Day กิจกรรมทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ กิจกรรมรับซื้อของเก่าสีเขียว กิจกรรมธนาคารขยะชุมชน ธนาคารขยะโรงเรียน ศูนย์รีไซเคิลชุมชน กิจกรรมขยะแลกไข่ ขยะแลกของ กิจกรรมตลาดนัดมือสอง เป็นต้น รวมทั้งปริมาณขยะรีไซเคิลที่มีการคัดแยก ที่สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยและสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย

สูตรคำนวณ :

(ปริมาณขยะมูลฝอยของจังหวัดที่กำจัดอย่างถูกต้อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตัน) +ปริมาณขยะมูลฝอยของจังหวัดที่กำจัดเบื้องต้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตัน) +ปริมาณขยะมูลฝอยของจังหวัดที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตัน)) x 100/ ปริมาณขยะมูลฝอยของจังหวัดที่เกิดขึ้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตัน)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง 68.75 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

จำนวนบุตรมีชีวิตของผู้หญิงอายุ 15 - 19 ปีที่มีการจดทะเบียนแจ้งเกิด ต่อจำนวนประชากรหญิงอายุ
15 - 19 ปี พันคน

อัตราการคลอดในวัยรุ่น (อายุต่ำกว่า 20 ปี) สะท้อนถึงความพร้อมและคุณภาพชีวิตของเด็กที่กำลัง
เกิดใหม่ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศ อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดของการเข้าถึงบริการ การมีความรู้ ความเข้าใจ และการเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิด รวมทั้งการตอบรับต่อสถานการณ์
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจากภาครัฐ การลดอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพื่อให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรเป็นไปอย่างทั่วถึง

ข้อมูลจำนวนการจดทะเบียนแจ้งเกิดของบุตรจากมารดาอายุ 15 - 19 ปี ใช้ข้อมูลจากฐานทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง ซึ่งเป็นข้อมูลจำนวนการเกิดอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2564 – 31 สิงหาคม 2565

จำนวนประชากรกลางปีหญิงอายุ 15 - 19 ปี ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง

จำนวนประชากรกลางปีหญิงอายุ 15 - 19 ปี พ.ศ. 2564 คำนวณจากค่าเฉลี่ยของจำนวนประชากรหญิง อายุ 15 - 19 ปี ณ สิ้นปี พ.ศ. 2563 และจำนวนประชากรหญิงอายุ 15 - 19 ปี ณ สิ้นปี พ.ศ. 2564

สูตรคำนวณ    :    จำนวนการคลอดมีชีพของหญิงอายุ 15 - 19 ปี (จากทะเบียนเกิดตั้งแต่ 1 กันยายน 2564 – 31 สิงหาคม 2565) x 1,000 / จำนวนประชากรกลางปี หญิงอายุ 15 - 19 ปี พ.ศ. 2564

เกณฑ์การประเมิน :  อ้างอิงจากข้อมูลผลการดำเนินงานของจังหวัด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 - 19 ปีต่อประชากรหญิงอายุ 15 - 19 ปี พันคน 23.59 (ต่อประชากรหญิงอายุ 15 - 19 ปี พันคน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย : 

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หมายถึง การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ โดยมีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันเป็นบวก

พิจารณาจากจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565) เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565)

สูตรคำนวณ :  จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ 2565 x 100  /  จำนวนผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ 2565

เกณฑ์การประเมิน :  (กระทรวงสาธารณสุขกำหนดค่าเป้าหมาย)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อัตราป่วยตายจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 1.49 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

  • หน่วยงาน หมายถึง ส่วนราชการที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค
  • ระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน (Agency Data Catalog) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ทำหน้าที่บริหารจัดการ รวมถึงให้บริการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น การจัดการชุดข้อมูล การจัดการคำอธิบายชุดข้อมูล การค้นหาชุดข้อมูล และบริการ API ที่เป็นเสมือนบัญชีข้อมูลดิจิทัลของหน่วยงาน และผ่านความเห็นชอบจากนายทะเบียนบัญชีข้อมูลหน่วยงาน เพื่อนำเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน สำหรับให้บริการแก่บุคลากรในหน่วยงานในการวางแผน ปฏิบัติงาน ติดตาม และประเมินผล รวมถึงหน่วยงานภายนอกและประชาชนตามสิทธิ์ที่หน่วยงานกำหนด โดยที่การจัดทำบัญชีข้อมูลหน่วยงานควรสอดคล้องตามแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้สามารถลงทะเบียนและให้บริการบัญชีข้อมูลภาครัฐของประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
  • ระบบลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog Registration) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ทำหน้าที่ลงทะเบียนบัญชีข้อมูลหน่วยงาน เพื่อเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ เช่น รับลงทะเบียน เพิกถอน ปรับปรุงชุดข้อมูล
  • ข้อมูล หมายถึง สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงหรือเรื่องอื่นใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพถ่ายดาวเทียม ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือตรวจวัด การสำรวจระยะไกล หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้
  • ข้อมูลดิจิทัล หมายถึง ข้อมูลที่ได้จัดทำ จัดเก็บ จำแนกหมวดหมู่ ประมวลผล ใช้ ปกปิด เปิดเผย ตรวจสอบ ทำลาย ด้วยเครื่องมือหรือวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัล
  • ชุดข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุด ให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล
  • บัญชีข้อมูล (Data Catalog) หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนแยกแยะ โดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
  • ข้อมูลเปิดภาครัฐ หมายถึง ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย เผยแพร่ ทำซ้ำ หรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์
  • ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้ สามารถนำไปใช้ได้โดยอิสระ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
  • ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล ที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ข้อมูลการศึกษา ฐานะทางการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม และลายนิ้วมือ เป็นต้น
  • คำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องทั้งกระบวนการเชิงธุรกิจ (ในที่นี้หมายถึง กระบวนการทำงานตามภารกิจของหน่วยงาน) และเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎและข้อจำกัดของข้อมูล และโครงสร้างของข้อมูล เมทาดาตาช่วยให้หน่วยงานสามารถเข้าใจข้อมูล ระบบ และขั้นตอนการทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยการบริหารจัดการเมทาดาตา (Metadata Management) เริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวม การจัดกลุ่ม การดูแล และการควบคุมเมทาดาตา ทั้งนี้ ข้อมูลแต่ละชุดควรมีเมทาดาตา เพื่อให้ผู้ใช้งานทราบเกี่ยวกับชุดข้อมูล เช่น รายละเอียดของชุดข้อมูล สิ่งที่เกี่ยวข้องกับชุดข้อมูล วัตถุประสงค์การนำไปใช้ และฟิลด์ข้อมูล เป็นต้น
  • คำอธิบายชุดข้อมูลประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการ สำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานต้องจัดทำและระบุรายละเอียด ได้แก่ ประเภทข้อมูล ชื่อชุดข้อมูล องค์กร ชื่อผู้ติดต่อ อีเมลผู้ติดต่อ คำสำคัญ รายละเอียด วัตถุประสงค์ หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ แหล่งที่มา รูปแบบการเก็บข้อมูล หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และสัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล
  • Data Visualization คือ การนำเสนอหรือการแสดงข้อมูลเชิงปริมาณให้อยู่ในรูปแบบกราฟิก ที่ทำให้ผู้พบเห็นจำได้และเข้าใจง่ายขึ้น อีกทั้งเป็นการนำข้อมูลในเชิงวิชาการหรือเชิงวิจัยมาแปลงเป็นรูปที่เข้าใจง่าย โดยผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลมาแล้ว องค์ประกอบหลักของ Data Visualization คือ การรวบรวมข้อมูล (Integrate) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) และการแปลงข้อมูลให้เป็นภาพที่เข้าใจง่าย (Visualize)
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1. จัดทำข้อมูลสนับสนุนการขึ้นระบบบัญชีข้อมูลจังหวัด (Area as a Service) (ขั้นต้น) ผ่าน
2. จัดทำ Template 3 (Resource) ที่ระบุแหล่งข้อมูลของชุดข้อมูลที่ถูกจัดในหมวดหมู่สาธารณะ (ขั้นต้น) ผ่าน
3. นำชุดข้อมูลทั้งหมด พร้อมคำอธิบายชุดข้อมูลขึ้นบนระบบบัญชีข้อมูลจังหวัด (ขั้นมาตรฐาน) ผ่าน
4. ชุดข้อมูลที่ถูกจัดในหมวดหมู่สาธารณะ ร้อยละ 100 (เฉพาะจังหวัดเป็นเจ้าของ) ที่ตอบประเด็นสำคัญของจังหวัด ได้รับการลงทะเบียนในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) (ขั้นมาตรฐาน) ผ่าน
5. สรุปผลการวิเคราะห์สารสนเทศในรูปแบบVisualization เพื่อตอบโจทย์ประเด็นสำคัญ (PainPoint) ที่ผู้บริหารในจังหวัดให้ความสนใจผ่านกลไกคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด (ขั้นสูง) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 เรื่อง ข้อเสนอหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพิ่มเติม ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 50 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐให้มี
การปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับบริบทตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และเป้าหมายการพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 ที่มุ่งเน้นระบบราชการที่เปิดกว้างเชื่อมโยงกัน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย โดยกำหนดให้สำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพิ่มเติม และแนวทางการพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 โดยให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการจัดทำแผน/แนวทางพัฒนาให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ฯ เพิ่มเติม และการพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 รวมทั้งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการตรวจรับรองหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0

PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0

เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  การตรวจพิจารณาจากเอกสารการสมัครเบื้องต้น (หากได้ 400 คะแนนขึ้นไป จะผ่านไปประเมินในขั้นตอนที่ 2)

ขั้นตอนที่ 2  การตรวจเอกสารรายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (Application Report) (หากได้ 400 คะแนน จะผ่านไปประเมินในขั้นตอนที่ 3)

ขั้นตอนที่ 3  การตรวจประเมินในพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อยืนยันผลการตรวจ Application Report

พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ได้จากการตรวจประเมินในขั้นตอนที่ 1 โดยเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และหมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

เกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดการประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 พิจารณาจากความสามารถของจังหวัดในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยมีเป้าหมายให้จังหวัดมีคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดีขึ้นเมื่อเทียบกับคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 

เกณฑ์การประเมิน : (สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดค่าเป้าหมาย)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 417.09 (คะแนน)