รายงานผลการประเมิน

พระนครศรีอยุธยา

/ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

พิจารณาจากการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ระหว่างการท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้งเพื่อตนเองหรือเป็นของฝาก ซึ่งครอบคลุมรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ที่มิใช่ถิ่นที่อยู่ปกติ) ทั้งแบบพักค้างคืน และเช้าไป - เย็นกลับ

สูตรคำนวณ :

รายได้จากการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย

= รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย (ค้างคืน) + รายได้จากนักทัศนาจรชาวไทย (ไม่ค้างคืน)

= (จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทย x จำนวนวันพักเฉลี่ย x ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวต่อวัน) +
(จำนวนนักทัศนาจร x ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวต่อวัน)

เกณฑ์การประเมิน : อ้างอิงจากข้อมูลผลการดำเนินงานของจังหวัด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 9,627.91 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน

1. อัตราคดีกลุ่มที่ 1 ต่อประชากรแสนคน

2. อัตราคดีกลุ่มที่ 2 ต่อประชากรแสนคน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

พิจารณาจากอัตราส่วนจำนวนคดีแต่ละกลุ่มที่รับแจ้งความร้องทุกข์ไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
(1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565) เปรียบเทียบกับจำนวนประชากรในจังหวัด ต่อประชากรแสนคน หรือเรียกว่า อัตราส่วนอาชญากรรม (Crime Rate)

กำหนดกลุ่มอาชญากรรมที่จะต้องคำนวณอัตราส่วนอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน 2 กลุ่ม ได้แก่

- กลุ่มที่ 1 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ นับจำนวนคดีฆ่าผู้อื่น (อุกฉกรรจ์) คดีทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีพยายามฆ่า คดีทำร้ายร่างกาย คดีข่มขืนกระทำชำเรา และคดีอื่นๆ (ได้แก่ คดีฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา คดีประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีอนาจารต่าง ๆ เป็นต้น)

  (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 1 ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ)

- กลุ่มที่ 2 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ นับจำนวนคดีปล้นทรัพย์ (อุกฉกรรจ์) คดีชิงทรัพย์ คดีวิ่งราวทรัพย์ คดีลักทรัพย์ คดีกรรโชกทรัพย์ คดีฉ้อโกง คดียักยอกทรัพย์ คดีทำให้เสียทรัพย์ คดีรับของโจร คดีลักพาเรียกค่าไถ่ คดีวางเพลิง และคดีอื่น ๆ

  (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 2 ฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์)

จำนวนประชากรของจังหวัดใช้ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564

สูตรคำนวณ : 

- อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน คดีกลุ่มที่ 1 = จำนวนคดีกลุ่มที่ 1 ที่รับแจ้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 x 100,000 / จำนวนประชากรของจังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม  2564

- อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน คดีกลุ่มที่ 2 = จำนวนคดีกลุ่มที่ 2 ที่รับแจ้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565x 100,000 / จำนวนประชากรของจังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม  2564

เกณฑ์การประเมิน : สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน คดีกลุ่มที่ 1 26.20 (คดีต่อประชากรแสนคน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

พิจารณาจากอัตราส่วนจำนวนคดีแต่ละกลุ่มที่รับแจ้งความร้องทุกข์ไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
(1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565) เปรียบเทียบกับจำนวนประชากรในจังหวัด ต่อประชากรแสนคน หรือเรียกว่า อัตราส่วนอาชญากรรม (Crime Rate)

กำหนดกลุ่มอาชญากรรมที่จะต้องคำนวณอัตราส่วนอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน 2 กลุ่ม ได้แก่

- กลุ่มที่ 1 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ นับจำนวนคดีฆ่าผู้อื่น (อุกฉกรรจ์) คดีทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีพยายามฆ่า คดีทำร้ายร่างกาย คดีข่มขืนกระทำชำเรา และคดีอื่นๆ (ได้แก่ คดีฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา คดีประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีอนาจารต่าง ๆ เป็นต้น)

  (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 1 ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ)

- กลุ่มที่ 2 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ นับจำนวนคดีปล้นทรัพย์ (อุกฉกรรจ์) คดีชิงทรัพย์ คดีวิ่งราวทรัพย์ คดีลักทรัพย์ คดีกรรโชกทรัพย์ คดีฉ้อโกง คดียักยอกทรัพย์ คดีทำให้เสียทรัพย์ คดีรับของโจร คดีลักพาเรียกค่าไถ่ คดีวางเพลิง และคดีอื่น ๆ

  (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 2 ฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์)

จำนวนประชากรของจังหวัดใช้ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564

สูตรคำนวณ : 

- อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน คดีกลุ่มที่ 1 = จำนวนคดีกลุ่มที่ 1 ที่รับแจ้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 x 100,000 / จำนวนประชากรของจังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม  2564

- อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน คดีกลุ่มที่ 2 = จำนวนคดีกลุ่มที่ 2 ที่รับแจ้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565x 100,000 / จำนวนประชากรของจังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม  2564

เกณฑ์การประเมิน : สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน คดีกลุ่มที่ 2 85.43 (คดีต่อประชากรแสนคน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด :  ความสำเร็จในการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

  1. รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP)
  2. ร้อยละของจำนวนใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ของจังหวัด
  3. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) โดยผ่านช่องทางออนไลน์

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ประเมินจากรายได้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565) ของจังหวัด

เกณฑ์การประเมิน : กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) 6,105.55 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

วัดผลสำเร็จจากจำนวนคำขอที่ยื่นขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และได้รับใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เทียบกับจำนวนคำขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ทั้งหมด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

การให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นการยกระดับการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และรักษาคุณภาพ โดยใช้หลักการควบคุมคุณภาพเพื่อให้สินค้า  OTOP เป็นที่ยอมรับ และเพิ่มความน่าเชื่อถือแก่ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สูตรคำนวณ :
จำนวนใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 x 100 /จำนวนคำขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ทั้งหมด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

เกณฑ์การประเมิน :  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของจำนวนใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ของจังหวัด 89.23 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

พิจารณาจากรายได้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565) โดยผ่านช่องทางออนไลน์ (ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์) เปรียบเทียบกับรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โดยผ่านช่องทางออนไลน์ (ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564)

ตลาดออนไลน์  คือ การทำการตลาดในสื่อออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ หรือโฆษณาให้ผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นที่รู้จัก  ตลอดจนการซื้อการขาย ซึ่งการทำการตลาดในสื่อออนไลน์ เช่น โฆษณา Facebook โฆษณา line  โฆษณา Google โฆษณา Youtube โฆษณา Instagram เว็บไซต์ หรือผ่านแฟลตฟอร์มอื่น เป็นต้น

ขอบเขตการประเมิน  ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่จำหน่ายในแพลตฟอร์ม หรือสื่อออนไลน์

สูตรคำนวณ :  
((รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ผ่านช่องทางออนไลน์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ผ่านช่องทางออนไลน์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564) x 100) / รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ผ่านช่องทางออนไลน์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

เกณฑ์การประเมิน :   กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) โดยผ่านช่องทางออนไลน์ 803.79 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

แปลงใหญ่ หมายถึง การรวมกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นแปลงที่อยู่ติดกันเป็นผืนเดียว แต่ควรอยู่ภายในชุมชนที่ใกล้เคียงกัน สินค้าควรเป็นสินค้าหลักของเกษตรกร พื้นที่มีความเหมาะสม มีศักยภาพที่จะพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจ และสามารถบริหารจัดการได้ เกษตรกรสมัครใจรวมกลุ่มและเข้าร่วมดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และเป้าหมายของแปลงใหญ่ พร้อมที่จะพัฒนาการผลิตและการตลาดร่วมกัน และต้องมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการพัฒนา

วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและบริหารจัดการร่วมกันในด้านการผลิตและการตลาด สามารถลดต้นทุนการผลิต มีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน ภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

หลักเกณฑ์ในการรวมกลุ่ม :

1) พืชไร่ ปาล์มน้ำมัน มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 300 ไร่ และเกษตรกรสมัครใจเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 30 ราย

2) ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพร หรือพืชอื่น ๆ มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 300 ไร่ หรือเกษตรกรสมัครใจเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 30 ราย

3) ประมง ปศุสัตว์ ผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ มีเกษตรกรสมัครใจเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 30 ราย หรือมีจำนวนมีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 300 ไร่ หรือจำนวนสัตว์ไม่น้อยกว่า 300 หน่วย โดยคิดจำนวนหน่วยตามชนิดสินค้า ดังนี้

- โค 1 ตัว           เท่า กับ  0.65   หน่วย

- กระบือ 1 ตัว     เท่ากับ   0.70   หน่วย

- แพะ แกะ 1 ตัว เท่ากับ   0.10   หน่วย

- สุกร 1 ตัว         เท่ากับ   0.40   หน่วย

- สัตว์ปีก 1 ตัว    เท่ากับ   0.01   หน่วย

- ผึ้งพันธุ์/ผึ้งโพรง/ชันโรง 1 รัง เท่ากับ 0.60 หน่วย

- จิ้งหรีด 1 บ่อ    เท่ากับ   0.60   หน่วย

ขอบเขตการประเมิน : แปลงใหญ่ส่งเสริมปี 2563 ที่อยู่ภายใต้โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และได้รับจัดสรรงบประมาณตามจำนวนที่กำหนด

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ หมายถึง มีต้นทุน
การผลิตลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการ ได้รับรองมาตรฐานการผลิต และราคาผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับแปลงก่อนเข้าร่วมโครงการ

ร้อยละของต้นทุนการผลิตที่ลดลง หมายถึง ร้อยละของต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลงจากการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ (เฉลี่ยทุกแปลง) เมื่อเทียบกับร้อยละของต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรจากการทำการเกษตรก่อนร่วมโครงการฯ (เฉลี่ยทุกแปลง)

สำหรับแปลงใหญ่ประมง และปศุสัตว์ : ต้นทุนการผลิตสินค้าประมง ปศุสัตว์ ที่ลดลงจากการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ร้อยละของผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น หมายถึง ร้อยละของปริมาณผลผลิตเฉลี่ยของสินค้าเกษตร
ต่อพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (เฉลี่ยทุกแปลง) เมื่อเทียบกับปริมาณผลผลิตเฉลี่ยของสินค้าเกษตรต่อพื้นที่จากการทำการเกษตรก่อนเข้าร่วมโครงการฯ (เฉลี่ยทุกแปลง)

สำหรับแปลงใหญ่ประมง และปศุสัตว์ : ผลผลิตสินค้าประมง และปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ร้อยละของแปลงที่ได้ราคาผลผลิตเพิ่มขึ้น หมายถึง ร้อยละของราคาผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (เฉลี่ยทุกแปลง) เมื่อเทียบกับราคาผลผลิตสินค้าเกษตรจากราคาทั่วไปของจังหวัด

ร้อยละของแปลงใหญ่ที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต  หมายถึง จำนวนแปลงใหญ่ที่อยู่ภายใต้การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนให้เข้าสู่การตรวจสอบรับรองคุณภาพมาตรฐาน (ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานของส่วนราชการ ของแต่ละกรมที่รับผิดชอบ)

คำอธิบาย (เพิ่มเติม)  ร้อยละของแปลงใหญ่ที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต

เฉพาะแปลง/สินค้าที่สามารถเข้าสู่ระบบรับรองได้ตามหลักเกณฑ์ของราชการ

เนื่องจากการตรวจรับรองมาตรฐานขึ้นอยู่กับความพร้อมของเกษตรกร ร้อยละของการรับรองมาตรฐานจึงประเมินจากจำนวนเกษตรกรที่สมัครเข้ารับการตรวจเทียบกับเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน

ระบบการรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต เช่น มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มาตรฐาน GAP GFM ฟาร์มปลอดโรค จากหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการรับรองมาตรฐานนั้น ๆ

แปลงของเกษตรกรที่สามารถตรวจรับรองได้ ได้แก่

แปลงที่มีเอกสารสิทธิ์ และ

เป็นสินค้าที่สามารถตรวจรับรองมาตรฐานได้

จำแนกชนิดสินค้าในแปลงใหญ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

-   กลุ่มที่ 1 สินค้าเกษตรที่ไม่สมัครตรวจรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน และยางพารา เป็นต้น

-   กลุ่มที่ 2 สินค้าเกษตรที่สมัครตรวจรับรองคุณภาพและมาตรฐานการผลิต ได้แก่ พืชผัก ไม้ผล ข้าว พืชอาหาร สินค้าประมง และสินค้าปศุสัตว์ เป็นต้น

6)  ไม่นับแปลงเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการตรวจประเมิน และแปลงเกษตรกรที่ขอยกเลิกการตรวจประเมิน (ไม่นับเป็น N ใหญ่) เพื่อนำมาคำนวณ

รายละเอียดตัวชี้วัด

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของต้นทุนการผลิตที่ลดลง-พืชผัก 17.36 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น-พืชผัก 20.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของแปลงที่ได้ราคาผลผลิตเพิ่มขึ้น-พืชผัก 20.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

การพัฒนาเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ถือเป็นเครื่องมือหลักในการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนและอุตสาหกรรม และเป็นการดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์ประเทศที่มุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีความสมดุลอย่างยั่งยืน

แนวคิดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) เน้นการพัฒนาพื้นที่ที่มี
การพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเหนี่ยวนำให้เศรษฐกิจชุมชนเติบโตไปด้วยกัน
ภายใต้สภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
กายภาพ และการบริหารจัดการในพื้นที่ให้เกิดความสมดุลในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายหลักของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยสร้างความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ทำให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเป็นสุขและยั่งยืน

เกณฑ์การประเมินความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ครอบคลุม 5 มิติ 20 ด้าน (มิติกายภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการ) โดยการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 การมีส่วนร่วม (Engagement) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการวางแผน ดำเนินการตามแผน ติดตามประเมินผล และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ระดับที่ 2 การส่งเสริม (Enhancement) การส่งเสริมการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้รองรับต่อแผนการพัฒนาที่ร่วมกำหนดไว้ โรงงานอุตสาหกรรมและประชาชนในพื้นที่มีการเปิดบ้านสาน
สัมพันธ์กัน (Open House)

ระดับที่ 3 ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร (Resource Efficiency)  โรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและพลังงานของให้คุ้มค่า จัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดและป้องกันมลพิษ เกิดความเชื่อมั่นความไว้วางใจให้กับชุมชน

ระดับที่ 4 การพึ่งพาอาศัย (Symbiosis) โรงงานอุตสาหกรรมมีการพึ่งพาอาศัยกัน รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมไปส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่  

ระดับที่ 5 เมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรม (Happiness) เมืองต้นแบบมีเศรษฐกิจดี สิ่งแวดล้อมดี สังคม
มีความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความสุขและอยู่ร่วมกับอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน

กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัดจัดทำ
แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 15 จังหวัด 18 พื้นที่ (จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครปฐม ปทุมธานี ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และสงขลา) และดำเนินโครงการพัฒนาและยกระดับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสู่เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน เพื่อตรวจประเมินรับรองเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่เป้าหมายตามเกณฑ์การพัฒนาส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมายให้มีการจัดการทรัพยากร พลังงาน สิ่งแวดล้อม มีความปลอดภัย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DIW) และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นความไว้วางใจให้กับชุมชน 

เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ

ปี 2557 – 2560 :   จัดทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 15  จังหวัด (18 พื้นที่) และเกณฑ์การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ

ปี 2561 - 2564  :        การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ 1 = 18 พื้นที่ 
ระดับ 2 = 18 พื้นที่ ระดับ 3 = 5 พื้นที่ ระดับ 4 = 3 พื้นที่ และถอดบทเรียนเกณฑ์การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 15 จังหวัด 18 พื้นที่ และระบบตรวจประเมินเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

ปี 2565            :    1) การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 1 ใน 15 จังหวัด 18 พื้นที่ ผ่านเกณฑ์การประเมินฯ ระดับที่ 3

                             2) การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 2
ใน 11 จังหวัดเดิม และ 4 จังหวัด SEZ ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร สระแก้ว ตาก และตราด รวม 15 พื้นที่ได้รับการเตรียมความพร้อมและออกประกาศพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ 2

                            3) การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 3
ใน 20 จังหวัดใหม่ ได้รับการเตรียมความพร้อมและแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัด 

ปี 2566 – 2570  :    1) ปี 2570 การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ
ที่ 1 ใน 15 จังหวัด 18 พื้นที่ ผ่านเกณฑ์การประเมินฯ ระดับที่ 5 และประเทศไทยมีต้นแบบ “เมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรม”

                             2)   ปี 2570 การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ
ที่ 2 ใน 11 จังหวัดเดิม และ 4 จังหวัด SEZ  ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร สระแก้ว ตาก และตราด 15 พื้นที่ ผ่านเกณฑ์การประเมินฯ ระดับ 3

                             3) ปี 2570 การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ
ที่ 3 ใน 20 จังหวัดใหม่ 20 พื้นที่ และผ่านเกณฑ์การประเมินฯ ระดับ 1

เกณฑ์การประเมิน : กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ระดับ 2 (ขั้นต้น) ผ่าน
ระดับ 3 (ขั้นสูง) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

  • หน่วยงาน หมายถึง ส่วนราชการที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค
  • ระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน (Agency Data Catalog) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ทำหน้าที่บริหารจัดการ รวมถึงให้บริการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น การจัดการชุดข้อมูล การจัดการคำอธิบายชุดข้อมูล การค้นหาชุดข้อมูล และบริการ API ที่เป็นเสมือนบัญชีข้อมูลดิจิทัลของหน่วยงาน และผ่านความเห็นชอบจากนายทะเบียนบัญชีข้อมูลหน่วยงาน เพื่อนำเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน สำหรับให้บริการแก่บุคลากรในหน่วยงานในการวางแผน ปฏิบัติงาน ติดตาม และประเมินผล รวมถึงหน่วยงานภายนอกและประชาชนตามสิทธิ์ที่หน่วยงานกำหนด โดยที่การจัดทำบัญชีข้อมูลหน่วยงานควรสอดคล้องตามแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้สามารถลงทะเบียนและให้บริการบัญชีข้อมูลภาครัฐของประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
  • ระบบลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog Registration) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ทำหน้าที่ลงทะเบียนบัญชีข้อมูลหน่วยงาน เพื่อเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ เช่น รับลงทะเบียน เพิกถอน ปรับปรุงชุดข้อมูล
  • ข้อมูล หมายถึง สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงหรือเรื่องอื่นใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพถ่ายดาวเทียม ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือตรวจวัด การสำรวจระยะไกล หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้
  • ข้อมูลดิจิทัล หมายถึง ข้อมูลที่ได้จัดทำ จัดเก็บ จำแนกหมวดหมู่ ประมวลผล ใช้ ปกปิด เปิดเผย ตรวจสอบ ทำลาย ด้วยเครื่องมือหรือวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัล
  • ชุดข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุด ให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล
  • บัญชีข้อมูล (Data Catalog) หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนแยกแยะ โดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
  • ข้อมูลเปิดภาครัฐ หมายถึง ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย เผยแพร่ ทำซ้ำ หรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์
  • ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้ สามารถนำไปใช้ได้โดยอิสระ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
  • ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล ที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ข้อมูลการศึกษา ฐานะทางการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม และลายนิ้วมือ เป็นต้น
  • คำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องทั้งกระบวนการเชิงธุรกิจ (ในที่นี้หมายถึง กระบวนการทำงานตามภารกิจของหน่วยงาน) และเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎและข้อจำกัดของข้อมูล และโครงสร้างของข้อมูล เมทาดาตาช่วยให้หน่วยงานสามารถเข้าใจข้อมูล ระบบ และขั้นตอนการทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยการบริหารจัดการเมทาดาตา (Metadata Management) เริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวม การจัดกลุ่ม การดูแล และการควบคุมเมทาดาตา ทั้งนี้ ข้อมูลแต่ละชุดควรมีเมทาดาตา เพื่อให้ผู้ใช้งานทราบเกี่ยวกับชุดข้อมูล เช่น รายละเอียดของชุดข้อมูล สิ่งที่เกี่ยวข้องกับชุดข้อมูล วัตถุประสงค์การนำไปใช้ และฟิลด์ข้อมูล เป็นต้น
  • คำอธิบายชุดข้อมูลประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการ สำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานต้องจัดทำและระบุรายละเอียด ได้แก่ ประเภทข้อมูล ชื่อชุดข้อมูล องค์กร ชื่อผู้ติดต่อ อีเมลผู้ติดต่อ คำสำคัญ รายละเอียด วัตถุประสงค์ หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ แหล่งที่มา รูปแบบการเก็บข้อมูล หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และสัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล
  • Data Visualization คือ การนำเสนอหรือการแสดงข้อมูลเชิงปริมาณให้อยู่ในรูปแบบกราฟิก ที่ทำให้ผู้พบเห็นจำได้และเข้าใจง่ายขึ้น อีกทั้งเป็นการนำข้อมูลในเชิงวิชาการหรือเชิงวิจัยมาแปลงเป็นรูปที่เข้าใจง่าย โดยผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลมาแล้ว องค์ประกอบหลักของ Data Visualization คือ การรวบรวมข้อมูล (Integrate) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) และการแปลงข้อมูลให้เป็นภาพที่เข้าใจง่าย (Visualize)
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1. จัดทำข้อมูลสนับสนุนการขึ้นระบบบัญชีข้อมูลจังหวัด (Area as a Service) (ขั้นต้น) ผ่าน
2. จัดทำ Template 3 (Resource) ที่ระบุแหล่งข้อมูลของชุดข้อมูลที่ถูกจัดในหมวดหมู่สาธารณะ (ขั้นต้น) ผ่าน
3. นำชุดข้อมูลทั้งหมด พร้อมคำอธิบายชุดข้อมูลขึ้นบนระบบบัญชีข้อมูลจังหวัด (ขั้นมาตรฐาน) ผ่าน
4. ชุดข้อมูลที่ถูกจัดในหมวดหมู่สาธารณะ ร้อยละ 100 (เฉพาะจังหวัดเป็นเจ้าของ) ที่ตอบประเด็นสำคัญของจังหวัด ได้รับการลงทะเบียนในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) (ขั้นมาตรฐาน) ผ่าน
5. สรุปผลการวิเคราะห์สารสนเทศในรูปแบบVisualization เพื่อตอบโจทย์ประเด็นสำคัญ (PainPoint) ที่ผู้บริหารในจังหวัดให้ความสนใจผ่านกลไกคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด (ขั้นสูง) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 เรื่อง ข้อเสนอหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพิ่มเติม ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 50 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐให้มี
การปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับบริบทตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และเป้าหมายการพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 ที่มุ่งเน้นระบบราชการที่เปิดกว้างเชื่อมโยงกัน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย โดยกำหนดให้สำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพิ่มเติม และแนวทางการพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 โดยให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการจัดทำแผน/แนวทางพัฒนาให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ฯ เพิ่มเติม และการพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 รวมทั้งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการตรวจรับรองหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0

PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0

เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  การตรวจพิจารณาจากเอกสารการสมัครเบื้องต้น (หากได้ 400 คะแนนขึ้นไป จะผ่านไปประเมินในขั้นตอนที่ 2)

ขั้นตอนที่ 2  การตรวจเอกสารรายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (Application Report) (หากได้ 400 คะแนน จะผ่านไปประเมินในขั้นตอนที่ 3)

ขั้นตอนที่ 3  การตรวจประเมินในพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อยืนยันผลการตรวจ Application Report

พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ได้จากการตรวจประเมินในขั้นตอนที่ 1 โดยเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และหมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

เกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดการประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 พิจารณาจากความสามารถของจังหวัดในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยมีเป้าหมายให้จังหวัดมีคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดีขึ้นเมื่อเทียบกับคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 

เกณฑ์การประเมิน : (สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดค่าเป้าหมาย)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 359.72 (คะแนน)