รายงานผลการประเมิน

สมุทรปราการ

/ กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

1. ร้อยละของการส่งเสริมสถานประกอบการเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียว
2. ร้อยละของการส่งเสริมสถานประกอบการเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียวตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาความสำเร็จของการส่งเสริมให้สถานประกอบการได้เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียวในระดับใดระดับหนึ่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์และได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียวที่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมลงนาม เปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียวทั้งหมดของจังหวัด

สถานประกอบการในที่นี้ หมายถึง อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่
ห้าสิบแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม เพื่อประกอบกิจการ ทั้งนี้ตามประเภท หรือชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562

อุตสาหกรรมสีเขียว หมายถึง อุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการยึดมั่นในการประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (คู่มืออุตสาหกรรมสีเขียว, 2562)

อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) เป็นการจัดการโรงงานหรืออุตสาหกรรมที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การหมุนเวียนของเสียกลับมาใช้ใหม่ (Waste Recovery)
ในกระบวนการผลิต การป้องกันปัญหามลพิษโดยใช้เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) รวมทั้งการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Product) มีการแลกเปลี่ยนของเสียที่จะเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานอื่น ๆ (Industrial Symbiosis) โดยเน้นของเหลือใช้และของเสียกลับมาใช้ใหม่ตามหลักการ 3R’s Reuse Reduce Recycle ได้แก่ การลดของเสีย การใช้ซ้ำ และการนำวัสดุเหลือใช้/ของเสีย กลับมาใช้ประโยชน์ 

อุตสาหกรรมสีเขียวยุคใหม่ต้องมีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นระบบ
การจัดการของเสียและมลภาวะต่าง ๆ ระบบการจัดการพลังงาน กิจกรรมรักษาสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร การสร้างวัฒนธรรมและการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโมเดลที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดขึ้นตามแนวคิด “โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว” แบ่งเป็น 5 ระดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ระดับที่ 1   ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือ ความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน

ระดับที่ 2   ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือ การดำเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้

ระดับที่ 3   ระบบสีเขียว (Green System) คือ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
มีการติดตาม ประเมินผล และทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการได้รับรางวัล
ด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ และการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

ระดับที่ 4   วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือ การที่ทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือร่วมใจดำเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกด้านของการประกอบกิจการ จนกลายเป็น
ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร

ระดับที่ 5   เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คือการแสดงถึงการขยายเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อุปทานสีเขียว โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรม
สีเขียวด้วย

สูตรคำนวณ : จำนวนสถานประกอบการได้เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 x 100 /จำนวนสถานประกอบการทั้งหมด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของการส่งเสริมสถานประกอบการเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียว 63.61 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

พิจารณาความสำเร็จของการส่งเสริมให้สถานประกอบการได้เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียวตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป (ระดับ 3 – 5) เปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการที่เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียวทั้งหมดของจังหวัด

สถานประกอบการที่เข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียวตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ในงบประมาณ พ.ศ. 2565 นับรวม สถานประกอบการดังนี้
- สถานประกอบการที่มีการพัฒนาจากระดับ 1 เป็นระดับ 3
- สถานประกอบการที่มีการพัฒนาจากระดับ 2 เป็นระดับ 3 และ
- สถานประกอบการที่อยู่ระดับ 3 - 5

สูตรคำนวณ : จำนวนสถานประกอบการได้เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียวตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปทั้งหมด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 x 100 / จำนวนสถานประกอบการที่อยู่ในระบบอุตสาหกรรมสีเขียวทั้งหมด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของการส่งเสริมสถานประกอบการเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียวตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป 8.91 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของแม่น้ำสายหลักในจังหวัด เฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ค่าเฉลี่ย WQI ทั้ง 4 ไตรมาส) 

ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index: WQI) การประเมินผลลัพธ์ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ ได้แก่

1) ออกซิเจนละลายน้ำ: DO 

2) ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์: BOD

3) การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด: TCB 

4) การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มทั้งหมด: FCB 

5) แอมโมเนีย: NH3-N

ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ มีหน่วยเป็นคะแนน เริ่มจาก  0 ถึง 100 คะแนน ดังนี้

91 – 100 คะแนน            คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก

71 – 90   คะแนน            คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี

61 – 70   คะแนน            คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้

31 – 60   คะแนน            คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม

 0  – 30   คะแนน            คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก

การจัดเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อนำไปตรวจสอบคุณภาพน้ำ จะดำเนินการปีละ 4 ครั้ง (รายไตรมาส)
โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค จะจัดเก็บในช่วงเดือนพฤศจิกายน กุมภาพันธ์ พฤษภาคม และสิงหาคม

พื้นที่วิกฤต หมายถึง แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อยู่ในเกณฑ์
เสื่อมโทรมมาก – พอใช้

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

พิจารณาจากค่าคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index : WQI) ของแม่น้ำสายหลักในจังหวัด เฉลี่ยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ค่าเฉลี่ย WQI ทั้ง 4 ไตรมาส) 

ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index: WQI) การประเมินผลลัพธ์ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ ได้แก่

1) ออกซิเจนละลายน้ำ: DO 

2) ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์: BOD

3) การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด: TCB 

4) การปนเปื้อนของกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มทั้งหมด: FCB 

5) แอมโมเนีย: NH3-N

ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ มีหน่วยเป็นคะแนน เริ่มจาก  0 ถึง 100 คะแนน ดังนี้

91 – 100 คะแนน            คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก

71 – 90   คะแนน            คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี

61 – 70   คะแนน            คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้

31 – 60   คะแนน            คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม

 0  – 30   คะแนน            คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก

การจัดเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อนำไปตรวจสอบคุณภาพน้ำ จะดำเนินการปีละ 4 ครั้ง (รายไตรมาส)
โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค จะจัดเก็บในช่วงเดือนพฤศจิกายน กุมภาพันธ์ พฤษภาคม และสิงหาคม

พื้นที่วิกฤต หมายถึง แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อยู่ในเกณฑ์
เสื่อมโทรมมาก – พอใช้

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 43.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

พิจารณาจากการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ระหว่างการท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้งเพื่อตนเองหรือเป็นของฝาก ซึ่งครอบคลุมรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ที่มิใช่ถิ่นที่อยู่ปกติ) ทั้งแบบพักค้างคืน และเช้าไป - เย็นกลับ

สูตรคำนวณ :

รายได้จากการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย

= รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย (ค้างคืน) + รายได้จากนักทัศนาจรชาวไทย (ไม่ค้างคืน)

= (จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทย x จำนวนวันพักเฉลี่ย x ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวต่อวัน) +
(จำนวนนักทัศนาจร x ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวต่อวัน)

เกณฑ์การประเมิน : อ้างอิงจากข้อมูลผลการดำเนินงานของจังหวัด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 2,130.58 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด :  ความสำเร็จในการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

  1. รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP)
  2. ร้อยละของจำนวนใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ของจังหวัด
  3. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) โดยผ่านช่องทางออนไลน์

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ประเมินจากรายได้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565) ของจังหวัด

เกณฑ์การประเมิน : กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) 6,546.77 (ล้านบาท)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

วัดผลสำเร็จจากจำนวนคำขอที่ยื่นขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และได้รับใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เทียบกับจำนวนคำขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ทั้งหมด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

การให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นการยกระดับการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และรักษาคุณภาพ โดยใช้หลักการควบคุมคุณภาพเพื่อให้สินค้า  OTOP เป็นที่ยอมรับ และเพิ่มความน่าเชื่อถือแก่ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สูตรคำนวณ :
จำนวนใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 x 100 /จำนวนคำขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ทั้งหมด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

เกณฑ์การประเมิน :  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของจำนวนใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ของจังหวัด 92.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

พิจารณาจากรายได้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565) โดยผ่านช่องทางออนไลน์ (ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์) เปรียบเทียบกับรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โดยผ่านช่องทางออนไลน์ (ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564)

ตลาดออนไลน์  คือ การทำการตลาดในสื่อออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ หรือโฆษณาให้ผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นที่รู้จัก  ตลอดจนการซื้อการขาย ซึ่งการทำการตลาดในสื่อออนไลน์ เช่น โฆษณา Facebook โฆษณา line  โฆษณา Google โฆษณา Youtube โฆษณา Instagram เว็บไซต์ หรือผ่านแฟลตฟอร์มอื่น เป็นต้น

ขอบเขตการประเมิน  ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่จำหน่ายในแพลตฟอร์ม หรือสื่อออนไลน์

สูตรคำนวณ :  
((รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ผ่านช่องทางออนไลน์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ผ่านช่องทางออนไลน์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564) x 100) / รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ผ่านช่องทางออนไลน์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

เกณฑ์การประเมิน :   กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) โดยผ่านช่องทางออนไลน์ 71.94 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน

1. อัตราคดีกลุ่มที่ 1 ต่อประชากรแสนคน

2. อัตราคดีกลุ่มที่ 2 ต่อประชากรแสนคน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

พิจารณาจากอัตราส่วนจำนวนคดีแต่ละกลุ่มที่รับแจ้งความร้องทุกข์ไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
(1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565) เปรียบเทียบกับจำนวนประชากรในจังหวัด ต่อประชากรแสนคน หรือเรียกว่า อัตราส่วนอาชญากรรม (Crime Rate)

กำหนดกลุ่มอาชญากรรมที่จะต้องคำนวณอัตราส่วนอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน 2 กลุ่ม ได้แก่

- กลุ่มที่ 1 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ นับจำนวนคดีฆ่าผู้อื่น (อุกฉกรรจ์) คดีทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีพยายามฆ่า คดีทำร้ายร่างกาย คดีข่มขืนกระทำชำเรา และคดีอื่นๆ (ได้แก่ คดีฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา คดีประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีอนาจารต่าง ๆ เป็นต้น)

  (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 1 ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ)

- กลุ่มที่ 2 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ นับจำนวนคดีปล้นทรัพย์ (อุกฉกรรจ์) คดีชิงทรัพย์ คดีวิ่งราวทรัพย์ คดีลักทรัพย์ คดีกรรโชกทรัพย์ คดีฉ้อโกง คดียักยอกทรัพย์ คดีทำให้เสียทรัพย์ คดีรับของโจร คดีลักพาเรียกค่าไถ่ คดีวางเพลิง และคดีอื่น ๆ

  (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 2 ฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์)

จำนวนประชากรของจังหวัดใช้ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564

สูตรคำนวณ : 

- อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน คดีกลุ่มที่ 1 = จำนวนคดีกลุ่มที่ 1 ที่รับแจ้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 x 100,000 / จำนวนประชากรของจังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม  2564

- อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน คดีกลุ่มที่ 2 = จำนวนคดีกลุ่มที่ 2 ที่รับแจ้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565x 100,000 / จำนวนประชากรของจังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม  2564

เกณฑ์การประเมิน : สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน คดีกลุ่มที่ 1 17.10 (คดีต่อประชากรแสนคน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

พิจารณาจากอัตราส่วนจำนวนคดีแต่ละกลุ่มที่รับแจ้งความร้องทุกข์ไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
(1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565) เปรียบเทียบกับจำนวนประชากรในจังหวัด ต่อประชากรแสนคน หรือเรียกว่า อัตราส่วนอาชญากรรม (Crime Rate)

กำหนดกลุ่มอาชญากรรมที่จะต้องคำนวณอัตราส่วนอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน 2 กลุ่ม ได้แก่

- กลุ่มที่ 1 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ นับจำนวนคดีฆ่าผู้อื่น (อุกฉกรรจ์) คดีทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีพยายามฆ่า คดีทำร้ายร่างกาย คดีข่มขืนกระทำชำเรา และคดีอื่นๆ (ได้แก่ คดีฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา คดีประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีอนาจารต่าง ๆ เป็นต้น)

  (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 1 ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ)

- กลุ่มที่ 2 หมายถึง กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ นับจำนวนคดีปล้นทรัพย์ (อุกฉกรรจ์) คดีชิงทรัพย์ คดีวิ่งราวทรัพย์ คดีลักทรัพย์ คดีกรรโชกทรัพย์ คดีฉ้อโกง คดียักยอกทรัพย์ คดีทำให้เสียทรัพย์ คดีรับของโจร คดีลักพาเรียกค่าไถ่ คดีวางเพลิง และคดีอื่น ๆ

  (ใช้ข้อมูลจากระบบ CRIMES ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีอาญากลุ่มที่ 2 ฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์)

จำนวนประชากรของจังหวัดใช้ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564

สูตรคำนวณ : 

- อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน คดีกลุ่มที่ 1 = จำนวนคดีกลุ่มที่ 1 ที่รับแจ้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 x 100,000 / จำนวนประชากรของจังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม  2564

- อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน คดีกลุ่มที่ 2 = จำนวนคดีกลุ่มที่ 2 ที่รับแจ้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565x 100,000 / จำนวนประชากรของจังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม  2564

เกณฑ์การประเมิน : สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน คดีกลุ่มที่ 2 59.64 (คดีต่อประชากรแสนคน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

การให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน โดยการให้บริการของหน่วยงานของรัฐด้านต่าง ๆ เช่น การเสียภาษี การชำระค่าธรรมเนียม การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อขอรับบริการจากหน่วยงานของรัฐ ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องเดินทางไปติดต่อ ณ หน่วยงานราชการ

จังหวัดคัดเลือกงานบริการที่ให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์จาก 325 งานบริการ ที่สำนักงาน ก.พ.ร. รวบรวมไว้ (สืบค้นได้จาก https://www.opdc.go.th/content/NjcxMg) หรืองานบริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานจัดทำขึ้น เช่น การสมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี (กรมการพัฒนาชุมชน) การตรวจสอบรายละเอียดผู้ไม่ไปใช้สิทธิและผู้แจ้งเหตุจำเป็นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (กรมการปกครอง) เป็นต้น โดยพิจารณาเลือกงานบริการตามความเหมาะสมกับความต้องการของพื้นที่ มาเพิ่มช่องทางการให้บริการประชาชนที่อำเภอเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ

อำเภอต้องเปิดให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) อย่างน้อย 8 งานบริการ

กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ ได้แก่ ประชาชน หน่วยงานราชการ ภาคธุรกิจ และองค์กร

กำหนดตัวชี้วัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 จังหวัดที่ดำเนินการต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ได้เปิดให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) จำนวน 3 อำเภอ อย่างน้อย 5 งานบริการแล้วในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2564 ให้อำเภอเหล่านั้นขยายงานบริการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 8 งานบริการ ประกอบกับพิจารณาจำนวนมาผู้รับบริการ e-Service ในภาพรวมของจังหวัด (นับรวมทุกอำเภอที่เปิดให้บริการ)

                   กรณีที่ 2 จังหวัดที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นปีแรก ให้เปิดให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) อย่างน้อย 8 งานบริการ และพิจารณาจำนวนอำเภอที่เปิดให้บริการตามที่กำหนด

เกณฑ์การประเมิน : สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดค่าเป้าหมาย

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีจำนวน 3 อำเภอที่เปิดให้บริการ e-Service อย่างน้อย 8 งานบริการ ผ่าน
จำนวนผู้รับบริการ 217 (คน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 เรื่อง ข้อเสนอหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพิ่มเติม ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 50 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐให้มี
การปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับบริบทตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และเป้าหมายการพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 ที่มุ่งเน้นระบบราชการที่เปิดกว้างเชื่อมโยงกัน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย โดยกำหนดให้สำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพิ่มเติม และแนวทางการพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 โดยให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการจัดทำแผน/แนวทางพัฒนาให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ฯ เพิ่มเติม และการพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 รวมทั้งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการตรวจรับรองหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0

PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0

เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  การตรวจพิจารณาจากเอกสารการสมัครเบื้องต้น (หากได้ 400 คะแนนขึ้นไป จะผ่านไปประเมินในขั้นตอนที่ 2)

ขั้นตอนที่ 2  การตรวจเอกสารรายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (Application Report) (หากได้ 400 คะแนน จะผ่านไปประเมินในขั้นตอนที่ 3)

ขั้นตอนที่ 3  การตรวจประเมินในพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อยืนยันผลการตรวจ Application Report

พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ได้จากการตรวจประเมินในขั้นตอนที่ 1 โดยเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และหมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

เกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดการประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 พิจารณาจากความสามารถของจังหวัดในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยมีเป้าหมายให้จังหวัดมีคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดีขึ้นเมื่อเทียบกับคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 

เกณฑ์การประเมิน : (สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดค่าเป้าหมาย)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 416.99 (คะแนน)