รายงานผลการประเมิน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
/ สำนักนายกรัฐมนตรี100
รายละเอียดตัวชี้วัด
- เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “ดัชนีความผูกพันของบุคลากรภาครัฐ (ร้อยละ)”
คำอธิบาย :
ความผูกพันของข้าราชการพลเรือนสามัญ (Employee Engagement) หมายถึง ความมุ่งมั่นและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับงาน องค์กร และระบบราชการ ซึ่งวัดได้จากแสดงออกถึงความพยายามและความกระตือรือร้นในงาน ความรู้สึกมีส่วนร่วมกับเป้าหมายของหน่วยงานและมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย รวมถึงความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำงานในระบบราชการเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและประชาชน โดยกำหนดให้การวัดดัชนีความผูกพันประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความผูกพันต่องาน (Work Engagement) 2) ความผูกพันต่อองค์กร (Organizational Engagement) และ 3) แรงจูงใจในการบริการสาธารณะ (Public Service Motivation) เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของภาครัฐไทยที่ปรากฏในยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
นำผลการถอดบทเรียนมาประกอบการพัฒนาแบบสำรวจความผูกพันของข้าราชการพลเรือนสามัญเชิงลึก (Pulse Survey) โดยครอบคลุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันอย่างน้อย3 ประเด็น และนำผลการวิเคราะห์มาประกิบการจัดทำร่างแนวทางการเสริมสร้างความผูกพัน | ผ่าน |
มีแนวทางการเสริมสร้างความผูกพันของข้าราชการพลเรือนสามัญ เสนอคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องภายในเดือน กันยายน | ผ่าน |
มีแนวทางการเสริมสร้างความผูกพันของข้าราชการพลเรือนสามัญ เสนอคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องภายในเดือน สิงหาคม | ผ่าน |
มีการเผยแพร่ให้ทุกส่วนราชการนำไปปฏิบัติ | ผ่าน |
รายละเอียดตัวชี้วัด
- เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรต่องบประมาณรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง”
คำอธิบาย :
• นิยาม : อัตรากำลังข้าราชการพลเรือนภายใต้การกำกับดูแลของ คปร. เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงร้อยละ 50 ของอัตราการเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยต่อปี
• ขอบเขตการประเมิน : อัตรากำลังข้าราชการพลเรือนภายใต้การกำกับดูแลของ คปร. หมายถึง ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และข้าราชการตำรวจ
• วิธีการเก็บข้อมูล : ภาพรวมการอนุมัติอัตรากำลังข้าราชการพลเรือนภายใต้การกำกับดูแลของ คปร. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
• แหล่งที่มาของข้อมูล : มติ คปร.
เงื่อนไข : อัตราการเพิ่มขึ้นดังกล่าว ไม่รวมกรณี การจัดตั้งส่วนราชการระดับกรม/กระทรวงใหม่ และกรณีที่เป็นการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาในระยะเร่งด่วน หรือเป็นภารกิจสำคัญตามประเด็นยุทธศาสตร์ในแผนการปฏิรูปประเทศ แผนแม่บท หรือยุทธศาสตร์ชาติที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบคำขอดังกล่าว
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
อัตรากำลัง ขรก.ตั้งใหม่ | 98 (อัตรา) |
รายละเอียดตัวชี้วัด
- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “แนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Anywhere) ที่รองรับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและลักษณะงานขององค์กร”
• นิยาม : การปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ หมายถึง การปฏิบัติราชการรูปแบบใหม่ของภาครัฐที่มีความยืดหยุ่น คล่องตัว มีประสิทธิภาพ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการปรับรูปแบบวิธีการทำงาน และรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อความเป็นเลิศในการปฏิบัติราชการและการให้บริการประชาชน รวมทั้งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ของผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงการปฏิบัติราชการภายใต้สถานการณ์ภาวะไม่ปรกติที่ส่งผลให้หน่วยงานของรัฐต้องปรับรูปแบบการปฏิบัติราชการให้เกิดความคล่องตัว และสามารถปรับตัวได้ทันต่อเหตุการณ์อีกด้วย
• ขอบเขตการประเมิน : ส่วนราชการ (กระทรวง กรม)
• วิธีการเก็บข้อมูล : การประชุมรับฟังความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็น
• แหล่งที่มาของข้อมูล : ส่วนราชการ ข้าราชการ ประชาชน
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
การประเมินผลการดำเนินการของส่วนราชการตามแนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ (New Normal) | ผ่าน |
ร่างรายงานสรุปผลการดำเนินการของส่วนราชการตามแนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ (New Normal) ฉบับสมบูรณ์ แล้วเสร็จ | ผ่าน |
รายงานสรุปผลการดำเนินการของส่วนราชการตามแนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ (New Normal) ฉบับสมบูรณ์ ได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. | ผ่าน |
รายละเอียดตัวชี้วัด
หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 มีการขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. 2565-2570) มี 2 ตัวชี้วัด ได้แก่
4.1 : ความสำเร็จของการส่งเสริมจริยธรรมของส่วนราชการ และจังหวัดตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน (218 แห่ง)
4.2 : ความสำเร็จของการส่งเสริมจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐตามประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทอื่น (229 แห่ง)
รายละเอียดตัวชี้วัด
เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 มีการขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรม และการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. 2565 – 2570)”
•นิยาม : ตามที่คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. 2565-2570) เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ซึ่งมีจำนวน 447 หน่วยงาน สามารถขับเคลื่อนงานด้านจริยธรรมในหน่วยงาน โดยกำหนดนโยบาย หรือแผนงาน/โครงการ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมฯ หรือกำหนดให้มีกลไกการขับเคลื่อนจริยะรรมในองค์กร หรือดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมฯ เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรักษาจริยธรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรมของหน่วยงาน (ถ้ามี) ซึ่งการส่งเสริมจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยยกระดับตัวชี้วัดนานาชาติและตัวชี้วัดระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอันดับหรือคะแนนสูงขึ้น
•ขอบเขตการประเมิน : การขับเคลื่อนงานตาม พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมฯ รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม.จ. กำหนด และ/หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมกำหนด และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้
- ประเมินผลการส่งเสริมจริยธรรมของส่วนราชการ และจังหวัดตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน (น้ำหนัก ร้อยละ 15)
- ประเมินผลการส่งเสริมจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐตามประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทอื่น (น้ำหนัก ร้อยละ 5)
•วิธีการเก็บข้อมูล : การกำกับ ติดตาม และประเมินผลการส่งเสริมจริยธรรมที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมฯ รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม.จ. กำหนด และ/หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมกำหนด และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
•แหล่งที่มาของข้อมูล : หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
เงื่อนไข :
- เป็นการวัดระดับความสำเร็จ จากผลการดำเนินงานในการส่งเสริมจริยธรรมที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 / ยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรม ฯ ที่ดำเนินการโดย สำนักงาน ก.พ.
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
ความสำเร็จของการส่งเสริมจริยธรรมของส่วนราชการ และจังหวัดตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน (218 แห่ง) มีกิจกรรมการขับเคลื่อนงานด้านจริยธรรมในหน่วยงาน อย่างน้อย 2 กิจกรรม | 97.24 (ร้อยละ) |
รายละเอียดตัวชี้วัด
เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 มีการขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรม และการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. 2565 – 2570)”
•นิยาม : ตามที่คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. 2565-2570) เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ซึ่งมีจำนวน 447 หน่วยงาน สามารถขับเคลื่อนงานด้านจริยธรรมในหน่วยงาน โดยกำหนดนโยบาย หรือแผนงาน/โครงการ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมฯ หรือกำหนดให้มีกลไกการขับเคลื่อนจริยะรรมในองค์กร หรือดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมฯ เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรักษาจริยธรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรมของหน่วยงาน (ถ้ามี) ซึ่งการส่งเสริมจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยยกระดับตัวชี้วัดนานาชาติและตัวชี้วัดระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอันดับหรือคะแนนสูงขึ้น
•ขอบเขตการประเมิน : การขับเคลื่อนงานตาม พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมฯ รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม.จ. กำหนด และ/หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมกำหนด และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้
- ประเมินผลการส่งเสริมจริยธรรมของส่วนราชการ และจังหวัดตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน (น้ำหนัก ร้อยละ 15)
- ประเมินผลการส่งเสริมจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐตามประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทอื่น (น้ำหนัก ร้อยละ 5)
•วิธีการเก็บข้อมูล : การกำกับ ติดตาม และประเมินผลการส่งเสริมจริยธรรมที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมฯ รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม.จ. กำหนด และ/หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมกำหนด และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
•แหล่งที่มาของข้อมูล : หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
เงื่อนไข :
- เป็นการวัดระดับความสำเร็จจากผลการดำเนินงานในการส่งเสริมจริยธรรมที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 / ยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรม ฯ ที่ดำเนินการโดย องค์กรกลางบริหารงานบุคคลและหน่วยงานอื่นของรัฐ ไม่รวม ส่วนราชการ และจังหวัด ซึ่งสำนักงาน ก.พ. จะดำเนินการ กำกับติดตาม ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.)
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
ความสำเร็จของการส่งเสริมจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐตามประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทอื่น (229 แห่ง) มีกิจกรรมการขับเคลื่อนงานด้านจริยธรรมในหน่วยงาน อย่างน้อย 2 กิจกรรม | 92.17 (ร้อยละ) |
รายละเอียดตัวชี้วัด
คำอธิบาย
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ
แนวทางการประเมิน
1) ส่วนราชการต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
2) ส่วนราชการต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
3) ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
5) กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
6) ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
7) การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล / การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น
ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
1) แผนระดับ 2 (แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ) และ แผนระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน
• ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
• ผลการดำเนินงานตามแผนที่เกี่ยวข้อง
2) ชุดข้อมูลสนับสนุนการให้บริการประชาชน (e-Service)
3) ดัชนี/ตัวชี้วัดระดับสากล (หน่วยงานที่ต้องดำเนินการตามตัวชี้วัดการจัดทำชุดข้อมูลตัวชี้วัด สำหรับการรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย IMD ให้นับเป็นชุดข้อมูลที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมจาก 5 ชุดข้อมูลที่กำหนดตามเงื่อนไขตัวชี้วัด)
4) สถิติทางการ (21 สาขา)
5) การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล หรือ มติ ครม.
6) ภารกิจหลักของหน่วยงาน
เงื่อนไข
1. ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนจำนวน 14 รายการ หากส่วนราชการมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน
2. หน่วยงานจัดทำชุดข้อมูลเปิดไม่น้อยกว่า 5 ชุดข้อมูล
เกณฑ์การประเมิน
- เป้าหมายขั้นต้น (50) =
• มีรายชื่อชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสามารถนำไปใช้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศหรือการบริการประชาชน
• มีคำอธิบายชุดข้อมูล (Metadata) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด (14 รายการ) ของทุกชุดข้อมูล
• มีคำอธิบายทรัพยากรข้อมูล (Resource) ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด
- เป้าหมายมาตรฐาน (75) =
• มีระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน (Agency Data Catalog) พร้อมแจ้ง URL ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และชุดข้อมูล คำอธิบายชุดข้อมูล ถูกนำขึ้นที่ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และระบุทรัพยากรข้อมูล (Resource)
ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด (15 คะแนน)
• ชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด ถูกนำมาลงทะเบียนในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) (10 คะแนน)
- เป้าหมายขั้นสูง (100) =
• คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด (20 คะแนน)
• นำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ตามประเด็นขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล (5 คะแนน)
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
คะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) | 100.00 (คะแนน) |
รายละเอียดตัวชี้วัด
• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน
• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)
• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) | 417.28 (คะแนน) |