รายงานผลการประเมิน

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย

1. การตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะดำเนินการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จตามที่คณะรัฐมนตรี หรือ นายกรัฐมนตรีมอบหมาย โดยประเมินตามลำดับกฎหมาย 2 ประเภท

   1.1 กฎหมายแม่บท ได้แก่ พระราชบัญญัติ

   1.2 กฎหมายลูกบท ได้แก่ พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง/ต่ำกว่า  

2. โดยกำหนดมาตรฐานระยะเวลาแล้วเสร็จ ดังนี้

   2.1 กฎหมายขนาดสั้น (จำนวนตั้งแต่ 1 - 10 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 3 เดือน

   2.2 กฎหมายขนาดกลาง (จำนวนตั้งแต่ 11 - 20 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 6 เดือน

   2.3 กฎหมายขนาดยาว (จำนวนตั้งแต่ 21 มาตรา/ข้อ ขึ้นไป) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 1 ปี

   2.4 กฎหมายที่มีแผนที่แนบท้าย ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายปกติไม่เกิน 4 เดือน แผนที่มากกว่า 1 แผ่น ไม่เกิน 6 เดือน มีปัญหาความยุ่งยาก ไม่เกิน 8 เดือน

   2.5 กฎหมายที่มีบัญชีท้าย/ภาคผนวกท้าย จำนวน 1 หน้า ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 4 เดือน จำนวน 2 - 10 หน้า ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 11 หน้าขึ้นไป ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 8 เดือน

         ทั้งนี้ กฎหมายตามแผนปฏิรูปประเทศใช้มาตรฐานระยะเวลาเดียวกัน โดยมาตรฐานระยะเวลาแล้วเสร็จตามข้อ 2 ไม่รวมระยะเวลาที่ต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (RIA) และระยะเวลารอเข้าประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาและระยะเวลาที่ไม่อยู่ในการพิจารณาของสำนักงานฯ จะไม่นำมานับเป็นระยะเวลาในการตรวจพิจารณากฎหมาย

3. ร่างกฎหมายที่ไม่นำมานับเป็นผลการดำเนินงาน โดยมีเหตุผลที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามกระบวนการพิจารณาปกติ เรียกว่า ประเภทของกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษ จำนวน 6 ประเภท ดังนี้

   3.1 ประเภท 1 หมายถึง กฎหมายที่มีผลกระทบในทางสังคมหรือเศรษฐกิจเป็นอย่างมากจำเป็นต้องรับฟังผู้เกี่ยวข้องหรือการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม

   3.2 ประเภท 2 หมายถึง กฎหมายที่มีเนื้อหาเป็นการกำหนดองค์กร หรือโครงสร้างทางการเมือง ซึ่งกระทบต่อกระบวนการการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงกฎหมายที่ต้องทบทวนหลักการให้แตกต่างจากหลักการเดิม และต้องการวางกลไกทางกฎหมายมากเป็นพิเศษ หรือมีข้อโต้แย้งมากจำเป็นต้องพิจารณาให้ได้ข้อยุติก่อน

   3.3 ประเภท 3 หมายถึง กฎหมายที่ต้องมีขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามพันธะข้อตกลงระหว่างประเทศซึ่งต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

   3.4 ประเภท 4 หมายถึง กฎหมายที่ต้องตราขึ้นเพื่อรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ และติดตามทบทวนวิทยาการใหม่ ๆ

   3.5 ประเภท 5 หมายถึง กฎหมายในลักษณะที่จะต้องจัดทำกฎหมายอื่นให้สอดคล้องไปในคราวเดียวกันหลายฉบับหรือมีลักษณะเป็นประมวลกฎหมาย

   3.6 ประเภท 6 หมายถึง กฎหมายที่มีแผนที่แนบท้ายที่มีลักษณะยุ่งยากและซับซ้อนต้องตรวจสอบความทับซ้อนกฎหมายอื่นจำนวนมาก มีกระบวนการตรวจพิจารณามากกว่ากฎหมายปกติ

4. การนับจำนวนเรื่องรับเข้า หมายถึง เรื่องที่ยังอยู่ในเวลามาตรฐาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

4.1 กฎหมายขนาดสั้น (จำนวนตั้งแต่ 1 - 10 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 3 เดือน  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 ก.ค. 65 – 30 มิ.ย. 66

4.2 กฎหมายขนาดกลาง (จำนวนตั้งแต่ 11 - 20 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 6 เดือน  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 เม.ย. 65 – 31 มี.ค. 66

4.3 กฎหมายขนาดยาว (จำนวนตั้งแต่ 21 มาตรา/ข้อ ขึ้นไป) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 1 ปี  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 ต.ค. 64 – 30 ก.ย. 65

5. การเร่งรัดการตรวจพิจารณาดำเนินงานเรื่องค้างดำเนินการก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นการดำเนินการเร่งรัดการตรวจพิจารณาเรื่องการค้างดำเนินการของ 1) กฎหมายแม่บท ได้แก่

   พระราชบัญญัติ 2) กฎหมายลูกบท ได้แก่ พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง/ต่ำกว่า และ 3) ความเห็นทางกฎหมายประเภททั่วไป ที่ไม่สามารถตรวจพิจารณาได้แล้วเสร็จตามกรอบเวลา

   มาตรฐานการตรวจพิจารณาปกติ และต้องดำเนินงาน ณ 30 กันยายน 2565 จำนวน X เรื่อง แบ่งเป็น

   5.1 กฎหมายแม่บท จำนวน A เรื่อง

   5.2 กฎหมายลูกบท จำนวน B เรื่อง

   5.3 ความเห็นทางกฎหมายประเภททั่วไป จำนวน C เรื่อง

6. การนับจำนวนเรื่องรับเข้า เรื่องที่รับก่อน 1 ตุลาคม 2565 ที่ยังตรวจพิจารณาไม่แล้วเสร็จและเกินเวลามาตรฐานตามที่กำหนดไว้จนถึง 30 กันยายน 2565 ไม่กำหนดมาตรฐานระยะเวลา

   การตรวจพิจารณาปกติ เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับการดำเนินงานปกติในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ขอบเขตการประเมิน :

1. การนับจำนวนเรื่องรับเข้า หมายถึง เรื่องที่ยังอยู่ในเวลามาตรฐาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

- กฎหมายขนาดสั้น (จำนวนตั้งแต่ 1 - 10 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 3 เดือน  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 ก.ค. 65 – 30 มิ.ย. 66

- กฎหมายขนาดกลาง (จำนวนตั้งแต่ 11 - 20 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 6 เดือน  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 เม.ย. 65 – 31 มี.ค. 66

- กฎหมายขนาดยาว (จำนวนตั้งแต่ 21 มาตรา/ข้อ ขึ้นไป) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 1 ปี  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 ต.ค. 64 – 30 ก.ย. 65

2. การวัดความสำเร็จการดำเนินงาน ให้นับกฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จได้ตามมาตรฐานระยะเวลา

3. การนับเวลามาตรฐานการดำเนินงาน เริ่มนับตั้งแต่วันที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาลงรับเรื่อง

4. นับเรื่องเสร็จ ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566

วิธีการเก็บข้อมูล : การจัดเก็บข้อมูลจากแบบรายงานประจำเดือน และระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล : ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

 สูตรการคำนวน : (จำนวนเรื่องที่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด / จำนวนเรื่องรับเข้า) X 100

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จในการตรวจพิจารณากฎหมายแล้วเสร็จตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายและการเร่งรัดการตรวจพิจารณาเรื่องค้างดำเนินการ 96.63 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย           

               เป็นการวัดความสำเร็จของการให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายหรือที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ หรือวางระเบียบปฏิบัติราชการให้ชัดเจน หรือเป็นการวินิจฉัยข้อโต้แย้งระหว่างหน่วยงานของรัฐให้เป็นที่ยุติในเรื่องของกฎหมายเกี่ยวกับ กระบวนการยุติธรรม กฎหมายระหว่างประเทศ การเงินการคลังการบริหารราชการแผ่นดิน พาณิชย์ อุตสาหกรรม การศึกษาวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและการคมนาคม โดยกำหนดมาตรฐานระยะเวลาแล้วเสร็จไว้ จำนวน 53 วัน

ขอบเขตการประเมิน :

1. นับเรื่องเข้าตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2565 – 31 กรกฎาคม 2566

2. กำหนดมาตรฐานระยะเวลาแล้วเสร็จไว้จำนวน 53 วัน

3. การนับเวลามาตรฐานการดำเนินงาน เริ่มนับตั้งแต่วันที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาลงรับเรื่อง

4. นับเรื่องเสร็จ ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566

วิธีการเก็บข้อมูล : การจัดเก็บข้อมูลจากแบบรายงานประจำเดือน และระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล : ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สูตรการคำนวน : (จำนวนเรื่องที่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด / จำนวนเรื่องที่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด) X 100

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการให้ความเห็นทางกฎหมายประเภทความเห็นทั่วไป 97.07 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย

1. การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย หมายถึง การวิเคราะห์ผลกระทบตามหลักการที่กำหนดไว้ในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ และดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัติการจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 โดยสำนักงานฯ จะตรวจพิจารณาถึงความจำเป็นในการตรากฎหมาย และหากจำเป็นต้อง มีการตรากฎหมายจะต้องไม่เป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจำเป็น คุ้มค่ากับภาระที่เกิดขึ้นแก่รัฐและประชาชน รวมทั้งมีมาตรการหรือวิธีการที่เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมาย และในกรณีที่เห็นสมควรจัดให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบเพิ่มเติมสำหรับร่างกฎหมายที่ได้ตรวจพิจารณาแล้ว

2. นับผลการดำเนินการในร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีการวิเคราะห์ผลกระทบ

3. ร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่นำมานับเป็นผลดำเนินงาน ต้องมีการจัดทำสรุปผลการวิเคราะห์ผลกระทบ โดยอาจเป็นในชั้นพิจารณาของสำนักงานฯ หรือในบันทึกประกอบร่างกฎหมายที่ตรวจพิจารณาแล้วก็ได้

ขอบเขตการประเมิน :

1. ดำเนินการจัดให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายนั้น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายว่าด้วยการจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

2. นับผลการดำเนินการในร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีการวิเคราะห์ผลกระทบ

3. ร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่นำมานับเป็นผลดำเนินงานต้องมีการจัดทำสรุปผลการวิเคราะห์ผลกระทบ โดยอาจเป็นในชั้นพิจารณาของสำนักงานฯ หรือในบันทึกประกอบร่างกฎหมายที่ตรวจพิจารณาแล้วก็ได้

4. นับเรื่องเข้า ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566

5. ผลการดำเนินงานแล้วเสร็จ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566

วิธีการเก็บข้อมูล : การจัดเก็บข้อมูลจากแบบรายงานประจำเดือน และระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล : ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สูตรการคำนวน : (จำนวนร่างพระราชบัญญัติที่ดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบแล้วเสร็จ / จำนวนร่างพระราชบัญญัติที่กำหนดวิเคราะห์ผลกระทบทั้งหมด) X 100

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment : RIA) 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

1. เป็นตัวชี้วัดเพื่อผลักดันแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากฎหมาย ซึ่งกำหนดตัวชี้วัด “สัดส่วนของกฎหมายที่ได้รับ

   การทบทวนแก้ไข ปรับปรุง และ/หรือยกเลิก ให้มีเนื้อหาที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ” และแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านกฎหมาย กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 มีกลไกยกเลิกหรือแก้ไข

   ปรับปรุงกฎหมายที่สร้างภาระหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชน ซึ่งกำหนดเป้าหมายให้กระบวนงานที่เกี่ยวกับการอนุญาตและกฎหมายที่สร้างภาระ

   หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือประกอบอาชีพของประชาชนได้รับการปรับปรุง

2. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากฎหมาย กำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดสัดส่วนของกฎหมายที่ได้รับการทบทวนแก้ไข

   ปรับปรุง และ/หรือยกเลิก ให้มีเนื้อหาที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ปี 2566 - 2570 ไว้ที่ร้อยละ 100 ของกฎหมายทั้งหมด

ขอบเขตการประเมิน :

•ร่างกฎหมายที่ส่งให้สำนักงานฯ ดำเนินการ โดยเป็นเรื่องที่รับเข้ามาก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ที่ยังตรวจพิจารณาไม่แล้วเสร็จและมีระยะเวลามาตรฐานดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และเรื่องที่รับเข้าตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 -  31 กรกฎาคม 2566

•การพิจารณาของสำนักงานฯ ใช้มาตรฐานระยะเวลาดำเนินการเดียวกับการตรวจพิจารณาร่างกฎหมาย

•พิจารณาแล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2566

วิธีการเก็บข้อมูล : เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการ และระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล : ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กฎหมายที่ส่งมาให้ สคก. พิจารณา 0.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

1. เป็นตัวชี้วัดเพื่อผลักดันเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านกฎหมาย รวมทั้งผลักดันการดำเนินงาน

   ตามภารกิจหลักของหน่วยงานในการพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศตามแผนการปฏิรูปประเทศ และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง

2. ร่างเอกสารงบประมาณ ปี 2566 ของสำนักงบประมาณ กำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดร่างกฎหมายตามแผนการปฏิรูปประเทศแล้วเสร็จ ของจำนวนกฎหมายที่ส่งให้

   สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ร้อยละ 80

ขอบเขตการประเมิน :

•ร่างกฎหมายที่ส่งให้สำนักงานฯ ดำเนินการ โดยเป็นเรื่องที่รับเข้ามาก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ที่ยังตรวจพิจารณาไม่แล้วเสร็จและมีระยะเวลามาตรฐานดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และเรื่องที่รับเข้าตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 -  31 กรกฎาคม 2566

•การพิจารณาของสำนักงานฯ ใช้มาตรฐานระยะเวลาดำเนินการเดียวกับการตรวจพิจารณาร่างกฎหมาย

•พิจารณาแล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2566

วิธีการเก็บข้อมูล : เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการ และระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล : ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กฎหมายที่ส่งมาให้ สคก. พิจารณา 0.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

การรับฟังความคิดเห็น หมายถึง การรับฟังความคิดเห็นตามหลักการที่กำหนดในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ โดยดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่จะเสนอร่างกฎหมายนำหลักการหรือประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายไปรับฟังความคิดเห็นตามวิธีการที่กำหนดและให้นำผลการรับฟังความคิดเห็นไปประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบและการจัดทำร่างกฎหมายในการเสนอร่างกฎหมายหรือหลักการของร่างกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรี ต้องเสนอเอกสารสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นเสนอต่อคณะรัฐมนตรีด้วย ทั้งนี้ ในชั้นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะได้นำร่างกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานจัดส่งมาจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นหรือจะแจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการก็ได้

ขอบเขตการประเมิน :

1. สำนักงานฯ จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในร่างกฎหมาย (ระดับพระราชบัญญัติ) ที่ได้รับจากคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงาน

2. นับผลการดำเนินการเฉพาะร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายเอง เช่น การดำเนินการรับฟังความคิดเห็นผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของสำนักงานฯ (Website) เป็นต้น

3. นับเรื่องเข้า ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566

4. ผลการดำเนินงานแล้วเสร็จ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566

วิธีการเก็บข้อมูล : การจัดเก็บข้อมูลจากแบบรายงานประจำเดือน ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล : เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือช่องทางการเผยแพร่อื่น

สูตรการคำนวน : (จำนวนร่างพระราชบัญญัติที่ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นแล้วเสร็จ / จำนวนร่างพระราชบัญญัติที่กำหนดรับฟังความคิดเห็นทั้งหมด) X 100

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของกฎหมายที่ได้มีการรับฟังความคิดเห็น 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 
1) ส่วนราชการต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
2) ส่วนราชการต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
3) ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
5) กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
6) ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
7) การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  / การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
1) แผนระดับ 2 (แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ) และ แผนระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน
    • ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
    • ผลการดำเนินงานตามแผนที่เกี่ยวข้อง
2) ชุดข้อมูลสนับสนุนการให้บริการประชาชน (e-Service)
3) ดัชนี/ตัวชี้วัดระดับสากล (หน่วยงานที่ต้องดำเนินการตามตัวชี้วัดการจัดทำชุดข้อมูลตัวชี้วัด สำหรับการรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย IMD ให้นับเป็นชุดข้อมูลที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมจาก 5 ชุดข้อมูลที่กำหนดตามเงื่อนไขตัวชี้วัด)
4) สถิติทางการ (21 สาขา)
5) การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล หรือ มติ ครม.
6) ภารกิจหลักของหน่วยงาน

เงื่อนไข
1. ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนจำนวน 14 รายการ หากส่วนราชการมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน
2. หน่วยงานจัดทำชุดข้อมูลเปิดไม่น้อยกว่า 5 ชุดข้อมูล

เกณฑ์การประเมิน
- เป้าหมายขั้นต้น (50)
   • มีรายชื่อชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสามารถนำไปใช้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศหรือการบริการประชาชน
   • มีคำอธิบายชุดข้อมูล (Metadata) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด (14 รายการ) ของทุกชุดข้อมูล 
   • มีคำอธิบายทรัพยากรข้อมูล (Resource) ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด
- เป้าหมายมาตรฐาน (75) = 
   • มีระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน (Agency Data Catalog) พร้อมแจ้ง URL ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และชุดข้อมูล คำอธิบายชุดข้อมูล ถูกนำขึ้นที่ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และระบุทรัพยากรข้อมูล (Resource)
ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด (15 คะแนน)
   • ชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด ถูกนำมาลงทะเบียนในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) (10 คะแนน)
- เป้าหมายขั้นสูง (100) = 
   • คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด (20 คะแนน)
   • นำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ตามประเด็นขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล (5 คะแนน)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

               การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นกลไกหลักในการดำเนินงาน (Digitalize Process) เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการ หรือวิธีการทำงาน โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยเพื่อให้กระบวนการทำงานที่มีอยู่ดีขึ้นจากเดิม เช่น ทำระบบอัตโนมัติ เพื่อให้การบริการผู้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น การใช้โปรแกรมจัดเก็บเอกสาร เพื่อลดต้นทุนในการเก็บรักษา และค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น
การแปลงเอกสารเป็นดิจิทัลเพื่อสนับสนุนให้งานบริการบนระบบอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพ และสามารถเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปได้

              ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พัฒนาระบบรับรองเอกสารและลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกจากหน่วยงานผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การจัดทำเอกสารในรูปแบบดิจิทัลมีความมั่นคงปลอดภัย และมีความน่าเชื่อถือ โดยการติดตั้งใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นไปตามมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

แนวทางการประเมิน

1. หนังสือราชการส่งออกที่ผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ต้องมีการประทับรับรองด้วยใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์

2. นับผลการดำเนินงานส่งออกหนังสือราชการ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนร้อยละของหนังสือราชการที่ส่งออกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีการประทับรับรองด้วยใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 28 แห่งกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 446.49 (คะแนน)