รายงานผลการประเมิน

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย : นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) เป็นแผนระดับที่ 2 ที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติจัดทำขึ้นเป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 เพื่อให้เป็นกรอบทิศทางในการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ และรักษาผลประโยชน์แห่งชาติอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของประเทศ ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าว
มีทั้งสิ้น 17 นโยบายและแผนความมั่นคง แบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ หมวดประเด็นความมั่นคง 13 นโยบาย ได้แก่ 1) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ 2) การปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ และการพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ 3) การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติพื้นที่ชายแดน 4) การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 5) การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6) การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมืองและผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ 7) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ 8) การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด  9) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 10) การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์  11) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย 12) การสร้างดุลยภาพระหว่างประเทศ 13) การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและโรคติดต่ออุบัติใหม่ หมวดประเด็นศักยภาพความมั่นคง 4 นโยบาย ได้แก่ 14) การพัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมแห่งชาติ และการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ระดับชาติ 15) การพัฒนาระบบข่าวกรองแห่งชาติ 16) การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง และ 17) การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่

การขับเคลื่อนนโยบาย ผ่านกลไก 3 ระดับ ได้แก่ กลไกระดับนโยบาย กลไกขับเคลื่อนระดับส่วนกลาง และกลไกขับเคลื่อนระดับพื้นที่ โดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ รับผิดชอบขับเคลื่อนกลไกระดับนโยบายในการกำกับและติดตามการดำเนินงานในภาพรวมของนโยบาย ผ่านกลไกสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) และคณะกรรมการบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง(รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน) และคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นความมั่นคง และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ: คณะที่ 5 คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม (เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธาน)

การประเมินผลการดำเนินแผนงาน/โครงการ พิจารณาจากแผนงาน/โครงการที่หน่วยงานนำเข้าสู่ระบบ eMENSCR โดยเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับเป้าหมายของแต่ละประเด็นนโยบาย รวม 17 ประเด็นนโยบายซึ่ง สมช. จะดำเนินการ ดังนี้ 1. หน่วยงานลงข้อมูลแผนงาน/โครงการ ผ่านระบบ eMENSCR  2. สมช. ประมวลและกลั่นกรองข้อมูล
แผนงาน/โครงการในระบบฯ และ 3. ติดตามผลการดำเนินงานผ่านระบบ eMENSCR อย่างไรก็ดี สมช. อาจมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลบางส่วนและบางช่วงเวลาของการเข้าระบบ eMENSCR ซึ่งจะได้หารือกับ สศช. ต่อไป

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1. จัดทำชุดคำอธิบายการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) เสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติ

2. แนวทางการขับเคลื่อนเชื่อมโยงและประสานสอดคล้องรองรับยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ผ่านแผนบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง (พ.ศ. 2566 – 2570) เสนอนายกรัฐมนตรี/ประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

3. การมอบนโยบายและชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ไปสู่การปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันถึงแนวทางการขับเคลื่อน/กำกับ/ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงาน และร่วมกันดำเนินการแปลงขั้นตอนและวิธีการไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

4. ผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ ประเด็นความมั่นคง และ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) เสนอคณะกรรมการบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละการดำเนินแผนงาน/โครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตาม 17 ประเด็นของนโยบายและแผนระดับชาติฯ 100.00 (ร้อยละ)
1 มีการประเมินค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดของ 17 นโยบายและแผนความมั่นคง ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) 2 มีรายงานประเมินผลตามเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนแม่บทฯ ประเด็นความมั่นคง และ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) เสนอรองนายกรัฐมนตรี/ประธานกรรมการบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “ความสำเร็จของการขับเคลื่อนแผนความมั่นคงเฉพาะเรื่อง”

คำอธิบาย :  แผนความมั่นคงเฉพาะเรื่อง หมายถึง แผนด้านความมั่นคงซึ่งเป็นแผนระดับที่ 3 ที่รองรับประเด็นภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นความมั่นคง และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการอำนวยการ ประสานงาน และขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ โดยตัวชี้วัดดังกล่าวประเมินความสำเร็จจากผลการดำเนินงานในส่วนที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับผิดชอบ และเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาความมั่นคงแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) คณะกรรมการระดับชาติ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลงานด้านความมั่นคงรับทราบหรือพิจารณาตามที่เห็นสมควร
ทั้งนี้ งานบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ  มีบทบาทเชิงนโยบายในการกำกับและติดตามหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อน ซึ่งมี กอ.รมน. เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักตามห้วงนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2566 -  2570) โดย อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการฯ และคณะกรรมการกำกับฯ ของ สมช. ให้ข้อเสนอแนะให้มีการประเมินผลการดำเนินงานดังกล่าวตามบทบาทและภารกิจของ สมช. เนื่องจากเป็นภารกิจงานสำคัญด้านความมั่นคงที่สมควรให้มีการขับเคลื่อนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

 

เงื่อนไข : ประเมินผลจากค่าเฉลี่ยร้อยละความสำเร็จของแต่ละแผน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนแผนความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่ดำเนินการได้ตามแผน 95.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “จำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลง”

คำอธิบาย
• จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) หมายถึง พื้นที่ใน จ.นราธิวาส จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา (อ.จะนะ อ.เทพา อ.นาทวี และ อ.สะบ้าย้อย) 
• เหตุการณ์ความรุนแรง หมายถึง เหตุการณ์การก่อเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการกระทำอันเกิดจากกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข ทำลาย หรือ ทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ และรวมถึงการกระทำที่กระทบต่ออธิปไตยแห่งดินแดน และอำนาจรัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยไม่นับรวมเหตุก่อกวน เหตุการณ์อันเกิดจากการกระทำของฝ่ายเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผลการปฏิบัติการ การก่ออาชญากรรม เหตุการณ์ที่เป็นคดีอาญา และการกระทำเชิงสัญลักษณ์
• ผู้ก่อเหตุรุนแรง หมายถึง บุคคล หรือกลุ่มบุคคล ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ Joint KPIs ร่วมกับ ศอ.บต. โดยอ้างอิงข้อมูลจาก กอ.รมน.ภาค 4 สน.

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 116 (เหตุการณ์)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย

1. เป็นโครงการสำคัญ (Flagship Project) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 โดยโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจัดทำหลักเกณฑ์กลางระดับประเทศในการจัดระดับภัยคุกคามความมั่นคงแต่ละภัยในระดับพื้นที่ที่มีอยู่ในปัจจุบันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง กำหนดชุดคำนิยามภัย/ปัญหาความมั่นคงให้ชัดเจนและนำไปสู่การสร้างความชัดเจนในการบริหารจัดการงานพัฒนาพื้นที่ เพื่อเสริมความมั่นคงและแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ โดยใช้หลักเกณฑ์กลางประเมินระดับความรุนแรงและจัดลำดับภัยคุกคามความมั่นคงในเชิงพื้นที่

2. การบริหารจัดการความมั่นคงในเชิงพื้นที่ คือ การกำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไข และลดเงื่อนไขของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงให้เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้พื้นที่เป้าหมายได้รับการแก้ไขให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และชุมชนมีความเข้มแข็ง

3. ตามนโยบายและแผนความมั่นคงที่ 17 การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ อ้างถึง “ระดับความรุนแรง” ซึ่งหมายถึง ความรุนแรงของภัยคุกคามความมั่นคงในพื้นที่แต่ละภัย โดยใช้หลักเกณฑ์กลางที่ระบุถึงความหมายโดยแบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 5 ระดับทั้งรูปแบบแถบสีและร้อยละตัวเลข ตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อยมาก จนถึงระดับความรุนแรงมากที่สุด

4. พื้นที่เป้าหมาย หมายถึง พื้นที่เป้าหมายการเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ ตามนโยบายและแผนความมั่นคงที่ 17 การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ โดยให้ความสำคัญกับ พื้นที่เป้าหมายฯ ที่จังหวัดประกาศ (เน้นระดับตำบล) จำนวน 74 จังหวัด (โดยยกเว้น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และ 4 อำเภอของสงขลา ได้แก่ อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย)

5. หลักเกณฑ์กลาง หมายถึง เครื่องมือสำหรับหน่วยงานระดับพื้นที่/จังหวัดในการประเมินและติดตามสถานการณ์ภัยคุกคามภายในพื้นที่ เพี่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

   1. จัดประชุมภายใน สมช. เพื่อหารือแนวทางการจัดทำหลักเกณฑ์กลางในการประเมินสถานการณ์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาความมั่นคงในระดับพื้นที่

   2. จัดประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนวทางการจัดทำหลักเกณฑ์กลางในการประเมินสถานการณ์ และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาความมั่นคงในระดับพื้นที่ รวมทั้งจัดทำชุดคำนิยามภัยความมั่นเชิงพื้นที่

   3. จัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การจัดระดับภัยคุกคามความมั่นคง และจัดทำหลักเกณฑ์กลางในการประเมินสถานการณ์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาความมั่นคงในระดับพื้นที่

   4. จัดประชุมเพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์กลางฯ ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

   5. ประชาสัมพันธ์และชี้แจงหลักเกณฑ์กลางฯ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีหลักเกณฑ์กลางในการประเมินสถานการณ์ ความมั่นคง และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และนำเสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติ เห็นชอบ ผ่าน
มีหน่วยงานระดับจังหวัด 74 จังหวัด นำหลักเกณฑ์ฯ ไปใช้ประเมินระดับความรุนแรงในพื้นที่ ไม่ผ่าน
มีรายงานผลการประเมินภัยคุกคามความมั่นคง พร้อมข้อเสนอแนะแนวทางดำเนินงานในเชิงนโยบายต่อภัยคุกคามความมั่นคง เสนอรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงเพื่อทราบ ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 
1) ส่วนราชการต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
2) ส่วนราชการต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
3) ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
5) กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
6) ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
7) การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  / การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
1) แผนระดับ 2 (แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ) และ แผนระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน
    • ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
    • ผลการดำเนินงานตามแผนที่เกี่ยวข้อง
2) ชุดข้อมูลสนับสนุนการให้บริการประชาชน (e-Service)
3) ดัชนี/ตัวชี้วัดระดับสากล (หน่วยงานที่ต้องดำเนินการตามตัวชี้วัดการจัดทำชุดข้อมูลตัวชี้วัด สำหรับการรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย IMD ให้นับเป็นชุดข้อมูลที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมจาก 5 ชุดข้อมูลที่กำหนดตามเงื่อนไขตัวชี้วัด)
4) สถิติทางการ (21 สาขา)
5) การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล หรือ มติ ครม.
6) ภารกิจหลักของหน่วยงาน

เงื่อนไข
1. ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนจำนวน 14 รายการ หากส่วนราชการมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน
2. หน่วยงานจัดทำชุดข้อมูลเปิดไม่น้อยกว่า 5 ชุดข้อมูล

เกณฑ์การประเมิน
- เป้าหมายขั้นต้น (50)
   • มีรายชื่อชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสามารถนำไปใช้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศหรือการบริการประชาชน
   • มีคำอธิบายชุดข้อมูล (Metadata) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด (14 รายการ) ของทุกชุดข้อมูล 
   • มีคำอธิบายทรัพยากรข้อมูล (Resource) ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด
- เป้าหมายมาตรฐาน (75) = 
   • มีระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน (Agency Data Catalog) พร้อมแจ้ง URL ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และชุดข้อมูล คำอธิบายชุดข้อมูล ถูกนำขึ้นที่ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และระบุทรัพยากรข้อมูล (Resource)
ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด (15 คะแนน)
   • ชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด ถูกนำมาลงทะเบียนในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) (10 คะแนน)
- เป้าหมายขั้นสูง (100) = 
   • คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด (20 คะแนน)
   • นำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ตามประเด็นขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล (5 คะแนน)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 409.88 (คะแนน)