รายงานผลการประเมิน

สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “ความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข่าวต่อรายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง”

คำอธิบาย : เป็นตัวชี้วัดที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มุ่งเน้นการพัฒนาระบบงานข่าวกรองแห่งชาติแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถติดตาม แจ้งเตือน ระงับยับยั้ง และป้องกันปัญหาและภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลา โดยเสริมสร้าง พัฒนา และบูรณาการขีดความสามารถของระบบงานข่าวกรอง หน่วยงานข่าวกรอง และประชาคมข่าวกรองในประเทศให้ทันสมัย ทันสถานการณ์ สามารถครอบคลุมการใช้งานได้อย่างครบถ้วน ต่อเนื่อง มีการบูรณาการข้อมูลและนำผลผลิตด้านข่าวกรองไปใช้ในการบริหารจัดการปัญหาและความมั่นคงของชาติในทุกมิติและทุกด้าน

นิยาม : รายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง หมายถึง

1)  รายงานข่าวกรองด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ที่ให้ข้อพิจารณา นโยบาย มาตรการ ข้อเสนอแนะ ที่เสนอต่อผู้บริหารระดับกำหนดนโยบาย

2)  ผู้บริหารระดับกำหนดนโยบายใช้ประโยชน์จากรายงานข่าวกรอง ด้านความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคม ที่ให้ข้อพิจารณา คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ โดยการสั่งการ/มอบหมาย ผู้รับผิดชอบ หน่วยรับผิดชอบดำเนินการ แก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง

โดยจำแนกประเภทการใช้ประโยชน์จากรายงานข่าวกรอง ดังนี้ 

(1)  นำไปประกอบการตัดสินใจสั่งการเชิงนโยบาย

(2)  นำไปกำหนดทิศทางหรือนโยบายของรัฐบาล นำไปจัดทำแผนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(3)  นำไปประกอบการตัดสินใจปฏิบัติงานในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน

(4)  ใช้เป็นข้อมูลสำคัญที่มีส่วนช่วยลดความรุนแรงของเหตุการณ์/สถานการณ์ความไม่สงบ

ผู้ใช้ข่าว หมายถึง ผู้ใช้ข่าวระดับนโยบาย และหัวหน้าหน่วยงานในประชาคมข่าวกรอง จำนวนทั้งสิ้น 18 ท่าน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1)  ผู้ใช้ข่าวระดับนโยบาย จำนวน 4 ท่าน ได้แก่

1.1   นายกรัฐมนตรี

1.2   รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ)

1.3   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รมว.มท.)

1.4   เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (ลมช.)

2)  หัวหน้าหน่วยงานในประชาคมข่าวกรอง จำนวน 14 ท่าน ได้แก่

2.1 กระทรวงกลาโหม 4 ท่าน คือ เจ้ากรมข่าวทหาร เจ้ากรมข่าวทหารบก เจ้ากรมข่าวทหารเรือ เจ้ากรมข่าวทหารอากาศ

2.2 กระทรวงมหาดไทย (ปลัดฯ มท.)

2.3 กระทรวงการต่างประเทศ (ปลัดฯ กต.)

2.4 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)

2.5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (เลขาธิการ กอ.รมน.)

2.6 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (เลขาธิการ ป.ป.ง.)

2.7 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.)

2.8 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (เลขาธิการ สศช.)

2.9 ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของนายกรัฐมนตรี (รองศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร)

2.10 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล)

2.11 หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี (พลโท ฐิตวัชร์ เสถียรทิพย์)

รายงานข่าวกรองตามประเด็นความมั่นคง 7 ประเด็น ได้แก่

1. ข่าวกรองด้านความมั่นคงภายในประเทศ

2. ข่าวกรองเพื่อการป้องกันการบ่อนทำลายสถาบันหลัก

3. ข่าวกรองเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศรอบบ้านและตามแนวชายแดน

4. ข่าวกรองเพื่อป้องกัน ลดการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ

5. ข่าวกรองเพื่อการลดขีดความสามารถของกระบวนการก่อความไม่สงบและสนับสนุนการพัฒนาในพื้นที่ จชต.

6. ข่าวกรองเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงระหว่างประเทศ

7. รายงานข่าวกรองประเด็นอื่นๆ อาทิ รายงานสรุปสถานการณ์ตามห้วงเวลา/เหตุการณ์เฉพาะเพื่อเป็นข้อมูลด้านความมั่นคง

ขอบเขตการประเมินผล :  ประเมินความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข่าวต่อรายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง โดยการจัดเก็บผลการตอบแบบสอบถามผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ติดตามประเมินผลรอบ 12 เดือน

วิธีการสำรวจความเชื่อมั่น :  ดำเนินการสำรวจความเชื่อมั่นจากกลุ่มผู้ใช้ข่าวจำนวนทั้งสิ้น 18 ท่าน โดยแบ่งเป็นผู้ใช้ข่าวระดับนโยบาย จำนวน 4 ท่าน หัวหน้าหน่วยงานประชาคมข่าวกรอง จำนวน 14 ท่าน  

โดยการสอบถามในประเด็นความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดังนี้

1) ความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

2) ความเชื่อมั่นต่อคุณภาพรายงานข่าวกรอง และ

3) ความคาดหวังของผู้ใช้ข่าวต่อรายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง  และสอบถามในประเด็นรายงานข่าวกรองตามประเด็นความมั่นคง 7 ประเด็นที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง กำหนดข้อคำถามของแต่ละประเด็นความมั่นคงอย่างน้อย 4 ข้อ ดังนี้ 1) ความถูกต้องของข่าวที่ส่งมอบ 2) ความครบถ้วนของข่าวที่ส่งมอบ 3) ความทันต่อสถานการณ์ของข่าวที่ส่งมอบ และ
4) การประสานงานร่วมกันของหน่วยงาน และกำหนดระดับความเชื่อมั่นเป็น 5 ระดับคะแนน ได้แก่ เชื่อมั่นมากที่สุด (5) เชื่อมั่นมาก (4) เชื่อมั่นปานกลาง (3) เชื่อมั่นน้อย (2) ไม่เชื่อมั่น (1)

เงื่อนไข

- มีการจัดเก็บและสรุปข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ในรายงานข่าวกรองจากนายกรัฐมนตรี เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินการข่าวกรองต่อไป

- การสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข่าวต่อรายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง ต้องมีผู้ตอบแบบสอบถามไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 (*อย่างน้อย 15 ท่าน)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข่าวต่อรายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง 90.12 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs “ความสำเร็จของการบูรณาการฐานข้อมูลความมั่นคง”

คำอธิบาย : เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนการบูรณาการระบบฐานข้อมูลด้านความมั่นคงในส่วนของภารกิจของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคง ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 16  การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง ที่มุ่งเน้นการจัดทำและเชื่อมโยงบัญชีข้อมูลด้านความมั่นคงขนาดใหญ่เชิงดิจิทัลให้สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายในการป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

การบูรณาการระบบงานข่าวกรองด้านความมั่นคง หมายถึง การดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมืออย่างเป็นเอกภาพในประชาคมข่าวกรอง หน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถของระบบงานข่าวกรองและเชื่อมโยงข้อมูลด้านการข่าวเพื่อนำไปสู่การแจ้งเตือน การสั่งการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและทันต่อสถานการณ์

การบูรณาการด้านการข่าวแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงกับหน่วยสมาชิก หมายถึง การสร้างช่องทางแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบฐานข้อมูลด้านการข่าวในการนำเข้าข้อมูลด้านความมั่นคงของแต่ละหน่วยประชาคมข่าวกรองตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ  (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อนำมารวบรวมเก็บไว้ในแหล่งเดียวกันและอนุญาตให้หน่วยประชาคมข่าวกรองเข้าใช้งานระบบฐานข้อมูลด้านการข่าว

การพัฒนาระบบฐานข้อมูล หมายถึง (1) การพัฒนาระบบให้รองรับการวิเคราะห์ตรวจจับใบหน้าบุคคลเป้าหมายจากไฟล์วีดีโอและกล้องวงจรปิด (2) พัฒนาระบบให้สามารถวิเคราะห์ อ่านข้อมูลเนื้อหาข่าว ข้อมูลพฤติการณ์ หรือข้อมูลที่มีอยู่ในระบบเดิมให้เป็นรูปแบบข้อมูลเชิงสรุปรวมตามที่ศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติกำหนด (3) ระบบแจ้งเตือนตามความต้องการของผู้ใช้ข่าว (4) ระบบวิเคราะห์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ข้อมูลที่มีในระบบ (5) เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบที่เกี่ยวข้องในรูปแบบ Web Service หรือ Application Programming Interface (API)   (6) ชุดข้อมูลตามความสำคัญของประเด็นความมั่นคงตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570)

หน่วยงานในประชาคมข่าวกรองที่เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566 จำนวน 14 หน่วยงาน ได้แก่

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้แก่ 1) ศูนย์รักษาความปลอดภัย 2) สำนักการข่าว กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 3) กองบัญชาการตำรวจสันติบาล 4) หน่วยข่าวกรองทางทหาร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้แก่ 5) กรมข่าวทหาร 6) กรมข่าวทหารบก 7) กรมข่าวทหารอากาศ  8) กรมข่าวทหารเรือ 9) ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงมหาดไทย 10) กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้แก่ 11) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ  12) กระทรวงการต่างประเทศ 13) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง  และ 14)  กรุงเทพมหานคร

การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลด้านการข่าว ของหน่วยงานในประชาคมข่าวกรอง 14 หน่วยงาน หมายถึง 1) เป็นศูนย์กลางการบูรณาการข้อมูลด้านการข่าวของประชาคมข่าวกรอง 2) ใช้เป็นข้อมูลสำคัญ เพื่อประกอบการจัดทำรายงานตามภารกิจของหน่วยงานในประชาคมข่าวกรอง ระบบฐานข้อมูลด้านการข่าวเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการค้นหาข้อมูล ข่าวสาร ตามประเด็นความมั่นคงตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ที่กำหนดร่วมกัน  ประเด็นข่าวสารเหตุการณ์ภายในและต่างประเทศ  ข้อมูลบุคคล  องค์กรและอื่น ๆ

ขอบเขตการประเมิน :  ประเมินผลสำเร็จจากการพัฒนาระบบฐานข้อมูล และเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านการข่าวภายในสำนักข่าวกรองแห่งชาติและประชาคมข่าวกรอง 14 หน่วยงาน โดยให้มีการเก็บผลจากสถิติการใช้งานระบบ และแบบสอบถามการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากฐานข้อมูลด้านการข่าว จัดทำเป็นรายงานสรุปผลการนำข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลด้านการข่าวไปใช้ประโยชน์ เพื่อใช้ในการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพระบบฐานข้อมูล

วิธีการเก็บข้อมูล ติดตามผลการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การบูรณาการด้านการข่าวโดยการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยประชาคมข่าวกรองที่กำหนดไว้ 14 หน่วยงาน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความมั่นคง

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1.ความสำเร็จของดำเนินงานพัฒนาระบบฐานข้อมูล ตามแผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - การพัฒนาระบบให้รองรับการวิเคราะห์ตรวจจับใบหน้าบุคคลเป้าหมายจากไฟล์วีดีโอและกล้องวงจรปิด - พัฒนาระบบให้สามารถวิเคราะห์ อ่านข้อมูลเนื้อหาข่าว ข้อมูลพฤติการณ์ หรือข้อมูลที่มีอยู่ในระบบเดิมให้เป็นรูปแบบข้อมูลเชิงสรุปรวมตามที่ศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติกำหนด - ระบบแจ้งเตือนตามความต้องการของผู้ใช้ข่าว - ระบบวิเคราะห์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ข้อมูลที่มีในระบบ - เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบที่เกี่ยวข้องในรูปแบบ Web Service หรือ Application Programming Interface (API) 2. กำหนดชุดข้อมูลตามความสำคัญของประเด็นความมั่นคงตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 -2570) ไม่ผ่าน
การบูรณาการขยายความร่วมมือด้านการข่าว เพื่อการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานประชาคมข่าวกรอง อย่างน้อย 4 หน่วยงานใหม่ (สมช. กต. สตม. และ กทม.) และมีหน่วยงานในประชาคมข่าวกรอง จำนวน 14 หน่วยงานที่ดำเนินการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล (สขว.กอ.รมน. ศรภ. บช.ส. และ หน่วยข่าวกรองทางทหาร ขว.ทหาร ขว.ทบ. ขว.ทร. ขว.ทอ. ศปก.มท. ปค.มท. สมช. กต. สตม. และ กทม.) ตามชุดข้อมูลสำคัญตามประเด็นความมั่นคง ตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ที่กำหนดร่วมกัน ไม่ผ่าน
1. หน่วยงานในประชาคมข่าวกรอง (14 หน่วยงาน) มีความพึงพอใจในการใช้งานระบบฐานข้อมูลด้านการข่าว ร้อยละ 80 2. ระบบฐานข้อมูลด้านการข่าวสามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานในประชาคมข่าวกรอง (14 หน่วยงาน) ร้อยละ 80 3. หน่วยงานในประชาคมข่าวกรอง (14 หน่วยงาน) นำข้อมูลในระบบฐานข้อมูลด้านการข่าวไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 60 ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “ประสิทธิภาพของหน่วยงานด้านการข่าวและประชาคมข่าวกรอง”
คำอธิบาย

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ หมายความว่า การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆ โดยมิชอบโดยใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์โดยมุ่งหมายประทุษร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงหรือที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง

เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หมายความว่า เหตุการณ์ที่เกิดจากการกระทำหรือการดำเนินการใด ๆ ที่มิชอบซึ่งกระทำการผ่านทางคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจเกิดความเสียหายหรือผลกระทบต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์

ข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ การรวบรวม ประมวล วิเคราะห์ ผลิตรายงานข่าวกรองและข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และแจกจ่ายไปยังผู้ใช้ข่าวจนได้รับข้อคิดเห็นและผลการใช้รายงานข่าวประกอบด้วย สรุปสถานการณ์ไซเบอร์ รายงานการแจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์ และข้อมูลข่าวกรองทางเทคนิคในระดับยุทธวิธีเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์

การพัฒนาระบบเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลด้านการข่าวเพื่อการแจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์  

เป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการข่าวให้มีระบบ กลไก การเชื่อมโยงและการบูรณาการข้อมูลด้านการข่าวเกี่ยวกับภัยคุกคาม
ทางไซเบอร์ระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และสามารถแจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การบูรณาการข้อมูลด้านการข่าวเพื่อการแจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์

1. การประสานความร่วมมือเพื่อการรวบรวม แลกเปลี่ยน และแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยการเชื่อมโยงแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข่าวสารภัยคุกคามทางไซเบอร์ระหว่างหน่วยงาน
ด้านความมั่นคงของรัฐ จำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่

1) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

2) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

3) สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

4) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ

5) กระทรวงการต่างประเทศ

2. การพัฒนาเครือข่ายบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้แก่

1) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

2) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

3) สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

4) กองทัพบก

5) กองทัพเรือ

6) กองทัพอากาศ

7) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

8) ศูนย์รักษาความปลอดภัย

9) กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

10) หน่วยข่าวกรองทางทหาร

11) กระทรวงการต่างประเทศ และ

12) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

หน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ หมายถึง หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐตามประกาศคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
ไซเบอร์แห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ ลักษณะหน่วยงานที่มีภารกิจหรือให้บริการเป็นหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ และการมอบหมายการควบคุมและกำกับดูแล พ.ศ. 2564

 

ร้อยละของจำนวนข้อมูลด้านการข่าวที่แจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์และป้องกันการโจมตีจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ = (จำนวนข้อมูลด้านการข่าวที่แจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สามารถป้องกันการโจมตีจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ / จำนวนข้อมูลด้านการข่าวที่แจ้งเตือนภัยคุกคามไซเบอร์ทั้งหมดผ่านแพลตฟอร์ม ) x 100

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การศึกษาและออกแบบแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อเป็นกลไก แลกเปลี่ยนหรือแจ้งเตือน ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผ่าน
1 มีแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารภัยคุกคามทางไซเบอร์ สามารถเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลด้านการข่าว เพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ จำนวน 5 หน่วยงาน 2 บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ จำนวน 12 หน่วยงาน มีความรู้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่าน
1 มีผลการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารภัยคุกคามทางไซเบอร์ผ่านแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่สามารถแจ้งเตือนภัยคุกคามและป้องกันการโจมตีจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ร้อยละ 60 2 มีรายงาน/ข้อมูลข่าวสารภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ใช้ในการแจ้งเตือนและตรวจสอบภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะ และแนวทางป้องกัน เพื่อนำไปจัดทำร่างแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 
1) ส่วนราชการต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
2) ส่วนราชการต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
3) ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
5) กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
6) ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
7) การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  / การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
1) แผนระดับ 2 (แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ) และ แผนระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน
    • ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
    • ผลการดำเนินงานตามแผนที่เกี่ยวข้อง
2) ชุดข้อมูลสนับสนุนการให้บริการประชาชน (e-Service)
3) ดัชนี/ตัวชี้วัดระดับสากล (หน่วยงานที่ต้องดำเนินการตามตัวชี้วัดการจัดทำชุดข้อมูลตัวชี้วัด สำหรับการรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย IMD ให้นับเป็นชุดข้อมูลที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมจาก 5 ชุดข้อมูลที่กำหนดตามเงื่อนไขตัวชี้วัด)
4) สถิติทางการ (21 สาขา)
5) การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล หรือ มติ ครม.
6) ภารกิจหลักของหน่วยงาน

เงื่อนไข
1. ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนจำนวน 14 รายการ หากส่วนราชการมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน
2. หน่วยงานจัดทำชุดข้อมูลเปิดไม่น้อยกว่า 5 ชุดข้อมูล

เกณฑ์การประเมิน
- เป้าหมายขั้นต้น (50)
   • มีรายชื่อชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสามารถนำไปใช้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศหรือการบริการประชาชน
   • มีคำอธิบายชุดข้อมูล (Metadata) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด (14 รายการ) ของทุกชุดข้อมูล 
   • มีคำอธิบายทรัพยากรข้อมูล (Resource) ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด
- เป้าหมายมาตรฐาน (75) = 
   • มีระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน (Agency Data Catalog) พร้อมแจ้ง URL ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และชุดข้อมูล คำอธิบายชุดข้อมูล ถูกนำขึ้นที่ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และระบุทรัพยากรข้อมูล (Resource)
ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด (15 คะแนน)
   • ชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด ถูกนำมาลงทะเบียนในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) (10 คะแนน)
- เป้าหมายขั้นสูง (100) = 
   • คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด (20 คะแนน)
   • นำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ตามประเด็นขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล (5 คะแนน)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 95.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :  

เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการ หรือวิธีการทำงาน โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย เพื่อให้กระบวนการทำงานที่มีอยู่ดีขึ้นจากเดิม เช่น  ทำระบบอัตโนมัติ เพื่อให้การบริการผู้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น  การใช้โปรแกรมจัดเก็บเอกสาร เพื่อลดต้นทุนในการเก็บรักษา และค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น การแปลงเอกสารเป็นดิจิทัลเพื่อสนับสนุนให้งานบริการบนระบบอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพ และสามารถเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปได้

ขอบเขตการประเมิน : กระบวนงานของงานภารกิจข่าวกรองที่กำหนดได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัล 10 กระบวนงาน ตามแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ สขช. แนวทางที่ 3 การยกระดับการพัฒนาระบบงาน (Application) มีประสิทธิภาพตามแนวทางสากล ด้วยการนำแอปพลิเคชันที่ทันสมัย  มาปรับปรุงกระบวนงานทั้งภารกิจด้านการข่าว ภารกิจด้านการสนับสนุนและภารกิจด้านการบริหาร

วิธีการเก็บข้อมูล : ผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการดิจิทัล และแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี  ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติเป็นห้วงเวลา 6 เดือน และ 12 เดือน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นกลไกหลักในการดำเนินงาน (Digitalize Process) 100 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 415.47 (คะแนน)