รายงานผลการประเมิน

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs "ความสำเร็จของการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล"

คำอธิบาย

นิยาม : การติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล เป็นการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญ โดยการกำหนดประเด็นนโยบายที่จะติดตามในแต่ละปีงบประมาณ จะพิจารณาจากประเด็นที่มีความสำคัญ เร่งด่วนหรือมีผลกระทบสูงต่อประชาชน รวมทั้งประเด็นที่มีความเชื่อมโยงกับการดำเนินงานตามนโยบายของปีงบประมาณที่ผ่านมา หรือประเด็นที่ยังต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง

ขอบเขตการประเมิน : ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญที่กำหนดไว้

สูตรคำนวณ : การดำเนินการเป็นไปตามที่กำหนดในค่าเป้าหมาย

วิธีการเก็บข้อมูล : โดยการจัดเก็บข้อมูลจากการดำเนินการจริง 

แหล่งที่มาของข้อมูล :

  1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary source) เป็นข้อมูลที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดำเนินการเอง

  2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary source) เป็นข้อมูลที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้รับจากหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง

เงื่อนไข : กำหนดค่าเป้าหมายตามนโยบายที่สำคัญในแต่ละปี

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนประเด็นความสำเร็จของการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล 9 (ประเด็น)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs "ร้อยละความเชื่อมั่นของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีต่อการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี"

คำอธิบาย             

  • นิยาม : ความเชื่อมั่น คือ การรับรู้ การให้การยอมรับ มีความไว้วางใจ และมีความมั่นใจต่อการปฏิบัติงานและการให้บริการของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • ขอบเขตการประเมิน : วัดความเชื่อมั่นของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • สูตรคำนวณ : ร้อยละความเชื่อมั่น = ค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่น x 100/5
  • วิธีการเก็บข้อมูล : โดยการทอดแบบสำรวจความเชื่อมั่น นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เรียนรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • แหล่งที่มาของข้อมูล : เป็นแหล่งปฐมภูมิ (Primary source) โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดำเนินการเอง

เงื่อนไข :

- มีการนำผลการสำรวจความเชื่อมั่นฯ ปี 2565 ไปวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน
- กลุ่มเป้าหมายที่จะตอบแบบสำรวจต้องเป็นผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า 3 เดือน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความเชื่อมั่นของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีต่อการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 95.46 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs "ความสำเร็จของการประเมินการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์"

นิยาม : การชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ เพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน โดยเฉพาะประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ซึ่งมีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดข้อสงสัยในการทำงานของส่วนราชการและนำไปสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนมีผลต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นในการบริหารราชการแผ่นดิน

ขอบเขตการประเมิน : กระบวนการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ โดยมีกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้

1)ติดตาม และตรวจสอบการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนที่อยู่ในความสนใจของประชาชน

2)วิเคราะห์ ตรวจสอบเนื้อหาการนำเสนอข่าวและกำหนดประเด็นสำคัญที่ทันสถานการณ์ให้ส่วนราชการชี้แจง 

3)ติดตามการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันสถานการณ์ของส่วนราชการและจัดทำชุดข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน

4)ประเมินผลการชี้แจงและจัดทำรายงานเสนอต่อ สำนักงาน ก.พ.ร.

สูตรการคำนวณ ร้อยละประเด็นชี้แจงที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน = จำนวนประเด็นชี้แจงที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน x 100 / จำนวนประเด็นชี้แจงที่กำหนดให้หน่วยงานชี้แจงทั้งหมด

ประเด็นชี้แจงที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน หมายถึง ประเด็นชี้แจงที่ได้คะแนนประเมิน มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 (โดยคะแนนประเมินพิจารณาจากความทันเวลา คุณภาพเนื้อหา วิธีการชี้แจง และช่องทางการเผยแพร่ ตามรายละเอียดในเกณฑ์การประเมินที่แนบมา)

ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องที่ทำให้ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ
1) หน่วยงานไม่เข้ามาตอบรับและไม่มีการชี้แจงประเด็นตามกระบวนการ
2) หน่วยงานตอบรับและชี้แจงไม่ทันเวลา ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะไม่ได้รับการประเมิน 
3) หน่วยงานไม่เข้าใจกระบวนการ หรือไม่ส่งหลักฐานชี้แจง 

การกำหนดประเด็นชี้แจงที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยการพิจารณาจากประเด็นชี้แจงที่ได้คะแนนเฉลี่ย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 เป็นการกำหนดโดยความเห็นร่วมกันระหว่าง 4 หน่วยงาน คือ สำนักโฆษก กรมประชาสัมพันธ์ สนง.กพร.และ สพร.

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จของการประเมินการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ 91.49 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย

  • นิยาม : ความสำเร็จในการเชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญระหว่าง สลน. กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานะและเป็นฐานข้อมูลในภารกิจ ด้านประสานงานการเมืองและกิจการรัฐสภาของนายกรัฐมนตรี ผ่านระบบสารสนเทศติดตามสถานะร่าง พ.ร.บ. กระทู้ถามและข้อปรึกษาหารือ ส.ส./ส.ว. ซึ่งพัฒนาขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (โครงการสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2565) เพื่อให้ สลน. สามารถสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
  • ขอบเขตการประเมิน : การเชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญระหว่าง สลน. กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในภารกิจด้านประสานงานการเมืองและกิจการรัฐสภาของนายกรัฐมนตรี (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานรัฐมนตรีทุกกระทรวง หน่วยงานในกำกับของ นรม.)
  • สูตรคำนวณ : การดำเนินการเป็นไปตามที่กำหนดในค่าเป้าหมาย
  • วิธีการเก็บข้อมูล : โดยการจัดเก็บข้อมูลจากการดำเนินการจริง 
  • แหล่งที่มาของข้อมูล : ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary source) เป็นข้อมูลที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดำเนินการเอ

 

ระดับความสำเร็จ

ระดับที่ 1 : มีการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจการใช้งานโปรแกรมต้นแบบ (Prototype) ของระบบฯ

ระดับที่ 2 : มีการจัดประชุม/สัมมนาร่วมกันระหว่าง สลน. กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจ และเตรียมพร้อมในการเชื่อมโยงข้อมูลฯ โดยมีส่วนราชการเข้าร่วมอย่างน้อย 15 หน่วยงาน

ระดับที่ 3 : ระบบฯ ได้รับความเห็นชอบจาก ลธน. ให้นำไปใช้

ระดับที่ 4 : สลน. ใช้งานระบบฯ แบบ One-way เพื่อติดตาม/เร่งรัดผลการพิจารณาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

ระดับที่ 5 : ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงข้อมูลหรือใช้งานระบบฯแบบ Two-way อย่างน้อย 8 หน่วยงาน  พร้อมคำอธิบายการเชื่อมโยงข้อมูลแบบ One way  และ Two way ที่ชัดเจน และรายชื่อหน่วยงานที่จะดำเนินงาน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ระบบฯ ได้รับความเห็นชอบจาก ลธน. ให้นำไปใช้ (ระดับที่ 3) ผ่าน
สลน. ใช้งานระบบฯ แบบ One-way เพื่อติดตามผลการพิจารณาจาก ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง (ระดับที่ 4) ผ่าน
ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงข้อมูลหรือใช้งานระบบฯ แบบ Two-way อย่างน้อย 3 หน่วยงาน (ระดับที่ 5) ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 
1) ส่วนราชการต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
2) ส่วนราชการต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
3) ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
5) กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
6) ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
7) การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  / การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
1) แผนระดับ 2 (แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ) และ แผนระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน
    • ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
    • ผลการดำเนินงานตามแผนที่เกี่ยวข้อง
2) ชุดข้อมูลสนับสนุนการให้บริการประชาชน (e-Service)
3) ดัชนี/ตัวชี้วัดระดับสากล (หน่วยงานที่ต้องดำเนินการตามตัวชี้วัดการจัดทำชุดข้อมูลตัวชี้วัด สำหรับการรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย IMD ให้นับเป็นชุดข้อมูลที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมจาก 5 ชุดข้อมูลที่กำหนดตามเงื่อนไขตัวชี้วัด)
4) สถิติทางการ (21 สาขา)
5) การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล หรือ มติ ครม.
6) ภารกิจหลักของหน่วยงาน

เงื่อนไข
1. ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนจำนวน 14 รายการ หากส่วนราชการมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน
2. หน่วยงานจัดทำชุดข้อมูลเปิดไม่น้อยกว่า 5 ชุดข้อมูล

เกณฑ์การประเมิน
- เป้าหมายขั้นต้น (50)
   • มีรายชื่อชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสามารถนำไปใช้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศหรือการบริการประชาชน
   • มีคำอธิบายชุดข้อมูล (Metadata) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด (14 รายการ) ของทุกชุดข้อมูล 
   • มีคำอธิบายทรัพยากรข้อมูล (Resource) ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด
- เป้าหมายมาตรฐาน (75) = 
   • มีระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน (Agency Data Catalog) พร้อมแจ้ง URL ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และชุดข้อมูล คำอธิบายชุดข้อมูล ถูกนำขึ้นที่ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และระบุทรัพยากรข้อมูล (Resource)
ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด (15 คะแนน)
   • ชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด ถูกนำมาลงทะเบียนในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) (10 คะแนน)
- เป้าหมายขั้นสูง (100) = 
   • คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด (20 คะแนน)
   • นำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ตามประเด็นขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล (5 คะแนน)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 440.18 (คะแนน)