สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
/ สำนักนายกรัฐมนตรี100
รายละเอียดตัวชี้วัด
- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs "ระดับคะแนนคุณภาพของข้อมูลประกอบการวินิจฉัยของคณะรัฐมนตรี"
คำอธิบาย
- นิยาม : ตัวชี้วัดนี้เป็นการสำรวจ/วัดความพึงพอใจในคุณภาพของข้อมูลประกอบการวินิจฉัยของคณะรัฐมนตรี ที่คณะรัฐมนตรีมีต่อข้อมูลประกอบคำวินิจฉัยซึ่งจัดทำโดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ระดับคะแนนคุณภาพของข้อมูลประกอบการวินิจฉัยของคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย
1) ความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูล
2) ความรวดเร็วและทันเวลาของข้อมูล
3) ประโยชน์ต่อการพิจารณาตัดสินใจ - สูตรคำนวณ : ผลรวมคะแนนเฉลี่ยระดับความพึงพอใจฯ / จำนวนคณะรัฐมนตรีที่ตอบแบบสำรวจ
- วิธีการเก็บข้อมูล : ทอดแบบสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพของข้อมูลประกอบการวินิจฉัยของคณะรัฐมนตรีกับคณะรัฐมนตรี
- แหล่งที่มาของข้อมูล : สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจฯ
เงื่อนไข
กรณีมีการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ สลค. จะทอดแบบสำรวจฯ ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้ปฏิบัติหน้าที่แล้วอย่างน้อย 3 เดือน แต่หากระยะเวลาปฏิบัติงานไม่ถึง 3 เดือน สลค. จะทอดแบบสำรวจฯ แก่คณะรัฐมนตรีชุดเดิม
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
ระดับคะแนนคุณภาพของข้อมูลประกอบการวินิจฉัยของคณะรัฐมนตรี | 0.00 (คะแนน) |
รายละเอียดตัวชี้วัด
- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs "ร้อยละของจำนวนมติคณะรัฐมนตรีที่แจ้งส่วนราชการเจ้าของเรื่องภายในระยะเวลาที่กำหนด"
คำอธิบาย
- นิยาม : เป็นการวัดความสำเร็จของการแจ้งมติคณะรัฐมนตรีให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องรับทราบภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยระยะเวลาที่กำหนด หมายถึง ระยะเวลาที่ใช้ในการแจ้งมติคณะรัฐมนตรีได้ภายใน 3 วันทำการ นับจากวันถัดจากวันประชุมคณะรัฐมนตรี
- จำนวนมติคณะรัฐมนตรี หมายถึง เรื่องที่นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีทุกเรื่อง และรวมถึงข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีแต่ละครั้ง
- สูตรคำนวณ : (จำนวนมติคณะรัฐมนตรีที่แจ้งให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องได้ภายใน 3 วันทำการ / จำนวนมติคณะรัฐมนตรีทั้งหมด) X 100
- วิธีการเก็บข้อมูล : สืบค้นจากระบบ SOC Portal ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- แหล่งที่มาของข้อมูล : ระบบ SOC Portal ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
ร้อยละของจำนวนมติคณะรัฐมนตรีที่แจ้งส่วนราชการเจ้าของเรื่องภายในระยะเวลาที่กำหนด | 100.00 (ร้อยละ) |
รายละเอียดตัวชี้วัด
- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs "ความสำเร็จในการพัฒนาระบบการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน ภาคเอกชน และหน่วยงานรัฐ"
คำอธิบาย
1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (17 มกราคม 2560) เห็นชอบแนวทางการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ ตามมติคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งขาติ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 ที่มอบหมายให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่กฎหมายที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจในกฎหมายที่เป็นเรื่องสำคัญอยู่ในความสนใจของประชาชนและมีผลกระทบกับหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชนโดยทั่วไป
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดทำสรุปสาระสำคัญของกฎหมาย วันที่มีผลใช้บังคับ เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สามารถดาวน์โหลดกฎหมาย
ฉบับสมบูรณ์ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560
3. การเผยแพร่กฎหมายที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษาซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2547 ผ่านระบบสารสนเทศที่รองรับกระบวนการประกาศเรื่องฯ ดังกล่าว อย่างไรก็ดี การดำเนินการเผยแพร่กฎหมายที่จะประกาศราชกิจจานุเบกษาที่ผ่านมามีปัญหาอุปสรรคหลายประการ อาทิ กระบวนการตรวจสอบเรื่องที่จะลงประกาศราชกิจจานุเบกษาตามระเบียบฯ มีหลายขั้นตอน ไม่รองรับระบบสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับร่างกฎหมายที่จะลงประกาศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและหลายเรื่องมีความเร่งด่วนในการบังคับใช้ ต้องประกาศให้ทันภายในกรอบระยะเวลา จึงอาจเกิดความล่าช้าในการประกาศได้ นอกจากนี้ กระบวนการนำเรื่องลงประกาศยังดำเนินการในรูปแบบ ขั้นตอน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเดิมที่ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งเหมาะสมกับช่วงเวลานั้น อย่างไรก็ดี การใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าวมีขั้นตอนมาก ซับซ้อน และปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ขาดระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่สูง และในอนาคตหากไม่สามารถบำรุงรักษาต่อไปได้จะส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อการลงประกาศและเผยแพร่ข้อมูลราชกิจจานุเบกษา ในขณะที่ข้อมูลราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อมูลสำคัญที่จะต้องเผยแพร่ได้ตามเวลาที่กำหนดเพื่อให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลดังกล่าว
4. จากปัญหาอุปสรรคข้างต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะต้องปรับปรุงกระบวนการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษาให้สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว โดยจะมีการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2547 และพัฒนาแพลตฟอร์มกลางสำหรับการประกาศเรื่อง
ในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้ส่วนราชการสามารถประกาศเรื่องได้เอง ซึ่งจะทำให้การประกาศเรื่องทำได้รวดเร็วขึ้น คล่องตัวมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับการประกาศเรื่องผ่านแพลตฟอร์มกลาง และใช้สำหรับจัดการฐานข้อมูลราชกิจจานุเบกษาให้มีความถูกต้อง ทันสมัย สืบค้นได้ง่าย มีความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลระดับสูง มีระบบสนับสนุน (back office) ที่ช่วยลดขั้นตอน ลดการใช้กำลังคน สามารถเผยแพร่ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการรับรู้เข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายสำคัญต่าง ๆ รวมทั้งรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลกับส่วนราชการที่ต้องการใช้ข้อมูลดังกล่าว
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
ประกาศรายละเอียดหรือตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องที่จะลงประกาศในราชกิจจาฯ แต่ละประเภทให้ประชาชนทราบ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการส่งเรื่องไปประกาศราชกิจจาฯ ทางอิเล็กทรอนิกส์ | ผ่าน |
ประชุมชี้แจง ซักซ้อม การดำเนินการตามระเบียบฯ และการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ | ไม่ผ่าน |
ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่กับหน่วยงานนำร่อง (กรมบังคับคดี) | ไม่ผ่าน |
รายละเอียดตัวชี้วัด
1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (17 มกราคม 2560) เห็นชอบแนวทางการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ ตามมติคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 ที่มอบหมายให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่กฎหมายที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจในกฎหมายที่เป็นเรื่องสำคัญอยู่ในความสนใจของประชาชนและมีผลกระทบกับหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชนโดยทั่วไป
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้จัดทำสรุปสาระสำคัญของกฎหมาย วันที่มีผลใช้บังคับ เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สามารถดาวน์โหลดกฎหมายฉบับสมบูรณ์ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้
3. “กฎหมาย” หมายความว่า รัฐธรรมนูญ (รธน.) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.) พระราชบัญญัติ (พรบ.) ประมวลกฎหมาย (ป.) พระราชกำหนด (พรก.)
4. สูตรคำนวณ (จำนวนกฎหมายตามนิยามที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของ สลค. / จำนวนกฎหมายตามนิยามที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาทั้งหมด) X 100
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
ร้อยละความสำเร็จในการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน ภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐ | 100.00 (คะแนน) |
รายละเอียดตัวชี้วัด
คำอธิบาย
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) มีแนวทางในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนเพื่อให้การปฏิบัติงานภายใน สลค. และการบริการแก่ผู้รับบริการมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ใน 3 กระบวนงาน ได้แก่
1) การให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรต่าง ๆ นำส่งเรื่องประกาศในราชกิจจานุเบกษาผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แทนการส่งด้วยเอกสาร จะช่วยลดขั้นตอน ลดเวลา และลดภาระงบประมาณในการจัดทำเอกสารที่จะส่งมาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา รวมทั้งลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการนำส่งเอกสารของหน่วยงานของรัฐ
2) การใช้ Template และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งหนังสือแจ้งเล่มตอนการประกาศราชกิจจานุเบกษา จะช่วยลดขั้นตอน ลดเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือแจ้งเล่มตอนการประกาศราชกิจจานุเบกษา ทำให้หน่วยงานของรัฐรับทราบการแจ้งเล่มตอนฯ ได้อย่างรวดเร็ว
3) การส่ง-รับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานผ่านระบบสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล (e-CMS 2.0 on Cloud) จะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการส่ง-รับหนังสือระหว่าง สลค. และส่วนราชการอันเกิดจากการส่ง-รับหนังสือโดยวิธีเดิม (ทางไปรษณีย์ รถนำส่งเอกสาร ฯลฯ)
รายละเอียดตัวชี้วัด
การให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรต่าง ๆ นำส่งเรื่องประกาศในราชกิจจานุเบกษาผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แทนการส่งด้วยเอกสาร จะช่วยลดขั้นตอน ลดเวลา และลดภาระงบประมาณในการจัดทำเอกสารที่จะส่งมาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา รวมทั้งลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการนำส่งเอกสารของหน่วยงานของรัฐ
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
ฝึกอบรมการใช้งานระบบส่ง-รับเรื่องเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้แก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ | ผ่าน |
ทดสอบการใช้ระบบส่ง-รับเรื่องเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา | ไม่ผ่าน |
ปรับปรุงระบบตาม feedback ของผู้ใช้ระบบ | ไม่ผ่าน |
รายละเอียดตัวชี้วัด
การใช้ Template และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งหนังสือแจ้งเล่มตอนการประกาศราชกิจจานุเบกษา จะช่วยลดขั้นตอน ลดเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือแจ้งเล่มตอนการประกาศราชกิจจานุเบกษา ทำให้หน่วยงานของรัฐรับทราบการแจ้งเล่มตอนฯ ได้อย่างรวดเร็ว
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
ออกแบบ Template ในการส่งหนังสือแจ้งเล่มตอนการประกาศราชกิจจานุเบกษา | ผ่าน |
ศึกษาและทดสอบการใช้ลายมืออิเล็กทรอนิกส์ | ไม่ผ่าน |
ทดสอบการใช้ Template ฯ กับหน่วยงานที่มีความพร้อม | ไม่ผ่าน |
รายละเอียดตัวชี้วัด
การส่ง-รับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานผ่านระบบสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล (e-CMS 2.0 on Cloud) จะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการส่ง-รับหนังสือระหว่าง สลค. และส่วนราชการอันเกิดจากการส่ง-รับหนังสือโดยวิธีเดิม (ทางไปรษณีย์ รถนำส่งเอกสาร ฯลฯ)
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
ออกแบบและกำหนดแนวทางในการส่ง-รับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานผ่านระบบ e-CMS | ผ่าน |
ขึ้นบัญชีการใช้ระบบ e-CMS กับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) | ไม่ผ่าน |
ทดสอบการส่ง-รับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานผ่านระบบ e-CMS กับหน่วยงานที่มีความพร้อมใช้งาน | ไม่ผ่าน |
รายละเอียดตัวชี้วัด
• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน
• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)
• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
ประเด็นการประเมิน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) | 0.00 (คะแนน) |