รายงานผลการประเมิน

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs "ร้อยละความสำเร็จของข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร. ในปี 2566"

คำอธิบาย 

          เป็นการวัดความสำเร็จของการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร.  ประจำปี 2566 ตามประเด็นสำคัญตามนโยบายรัฐบาล/ประเด็นการตรวจราชการจากแผนการตรวจราชการบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของ ผต.นร. ดังนี้

1. การขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล (Issue)

    1.1  การท่องเที่ยว

    1.2 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต

นิยาม

1.ความสำเร็จของการตรวจราชการแบบบูรณาการ หมายถึง มีการตรวจราชการตามประเด็นสำคัญตามนโยบายรัฐบาล/ประเด็นการตรวจราชการที่คัดเลือกมาดำเนินการ ในปี 2566 โดยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเสนอต่อ นรม. หรือ ร.นรม. หรือ รมต.นร. ที่ได้รับมอบหมาย เป็นรายเขตหรือในภาพรวม 

2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หมายถึง ข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกับบทวิเคราะห์ที่มาของสภาพปัญหาอุปสรรค เพื่อแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือเพื่อเสริมสร้าง/บูรณาการการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการปรับปรุง/พัฒนาในด้านต่าง ๆ หรือเพื่อป้องกัน/แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก นรม. หรือ ร.นรม. หรือ รมต.นร. ที่ได้รับมอบหมาย หรือมี
การสั่งการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานต่อไป

3. ร้อยละความสำเร็จฯ หมายถึง ผลรวมความสำเร็จของทุกกิจกรรมที่กำหนดในแต่ละประเด็นการตรวจฯ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร. ในปี 2566 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs "ร้อยละความสำเร็จของการติดตามการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ปี 2565 ของ ผต.นร."

คำอธิบาย

              เป็นการวัดความสำเร็จในการติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะจากการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร. ประจำปี 2565 จำนวน 5 ประเด็น ซึ่ง สปน. ได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวแล้ว ได้แก่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) การจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวเพื่อความยั่งยืน ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน  การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปและผลิตภัณฑ์  การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของเศรษฐกิจฐานราก

นิยาม

1. การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะจากการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร. หมายถึง การมีกระบวนการในการติดตาม เร่งรัด ขับเคลื่อน ให้เกิดการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร. ในปี 2565 จำนวน 5 ประเด็น ซึ่ง สปน. ได้มีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวแล้ว

2. กระบวนการในการติดตาม เร่งรัด ขับเคลื่อน ให้เกิดการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร. ในปี 2565 โดย สปน. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รายงานผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะให้ สปน. ทราบ หรือมีการดำเนินการ ดังนี้

  2.1 กรณีที่หน่วยงานนำข้อเสนอแนะไปดำเนินการและสามารถแก้ไขปัญหา/อุปสรรคให้คลี่คลายหรือยุติลงได้ ให้หน่วยงานมีรายงานผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการแจ้งให้ สปน. ทราบ

  2.2 กรณีที่หน่วยงานยังไม่ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ หรือดำเนินการแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหา/อุปสรรคให้คลี่คลายหรือยุติลงได้ สปน. มีการดำเนินการ ดังนี้

        - ติดตามและเร่งรัดการดำเนินการเพื่อขอทราบผลการพิจารณา หรือขอทราบความคืบหน้าในการดำเนินการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

        - ติดตามปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพิ่มเติม และรายงานผลไปยัง นรม. หรือ ร.นรม. หรือ รมต.นร. ที่ได้รับมอบหมาย

3.  ร้อยละความสำเร็จฯ หมายถึง ผลรวมความสำเร็จของทุกกิจกรรมที่กำหนดในแต่ละประเด็นการตรวจฯ

เงื่อนไข

1.ข้อเสนอแนะจากตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต.นร. ในปี 2565 มีจำนวน 5 ประเด็น ได้แก่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(โควิด - 19) การจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวเพื่อความยั่งยืน ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปและผลิตภัณฑ์ การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของเศรษฐกิจฐานราก

2. การประชุมเพื่อติดตามขับเคลื่อนการดำเนินการตามข้อเสนอแนะระดับนโยบายจากการตรวจราชการแบบบูรณาการฯ ใช้กลไกคณะกรรมการติดตามและขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของ ผต. และข้อสั่งการของ นรม. หรือกลไกการติดตามขับเคลื่อนฯ ตามที่ ปนร. กำหนด *

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการติดตามการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ปี 2565 ของ ผต.นร. 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs "ร้อยละความสำเร็จในการติดตามและประเมินผลการถ่ายโอนงานตาม พ.ร.บ. กระจายอำนาจ"

นิยาม :
1) เป็นการวัดการติดตามและประเมินผลภารกิจที่ได้ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเป็นการติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ นำเสนอคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณากำหนดนโยบาย แนวทาง มาตรการ เพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ในการติดตามประเมินผลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
2) ร้อยละความสำเร็จฯ หมายถึง ผลรวมของความสำเร็จจากการดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอน/กระบวนการเทียบกับเป้าหมายการดำเนินการตามที่กำหนดในแผนติดตามและประเมินผลฯ

ขอบเขตการประเมิน :
1) จัดทำแผนติดตามและประเมินผลการถ่ายโอนงานตาม พ.ร.บ. กระจายอำนาจฯ ตามแผนฯ 1 และ แผนฯ 2 ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) เสนอคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล พิจารณา
2) จัดทำรายงานผลการติดตามและประเมินผลการถ่ายโอนงานตาม พ.ร.บ. กระจายอำนาจฯ ตามแผนฯ 1 และ แผนฯ 2
3) นำเสนอรายงานผลการติดตามและประเมินผลการถ่ายโอนงานตาม พ.ร.บ. กระจายอำนาจ ตามแผนฯ 1 และ แผนฯ 2 เสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านการติดตามและประเมินผล และคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

วิธีการเก็บข้อมูล : การติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ หรืออื่น ๆ

แหล่งที่มาของข้อมูล : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จในการติดตามและประเมินผลการถ่ายโอนงานตาม พ.ร.บ. กระจายอำนาจ 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเป็นตัวเดียวกับ Strategic KPIs "ร้อยละความสำเร็จของการกำกับติดตามเรื่องร้องทุกข์ของประชาชนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อยุติ"

คำอธิบาย

1. เรื่องร้องทุกข์ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ หมายถึง เรื่องร้องทุกข์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111 ทั้ง 6 ช่องทาง ได้แก่
1) จุดบริการประชาชน 1111
2) ตู้ ป.ณ. 1111
3) สายด่วนของรัฐบาล 1111
4) เว็บไซต์ www.1111.go.th
5) โมบายแอปพลิเคชัน PSC 1111 และ
6) Line@PSC 1111 ซึ่ง สปน. ส่งให้หน่วยงานพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ

2. การกำกับติดตาม หมายถึง สปน. ติดตามเรื่องร้องทุกข์ที่มีสถานะอยู่ระหว่างการดำเนินการไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้ได้ข้อยุติตามแนวทางที่กำหนด ดังนี้
1) ติดตามผ่านระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ 2 ครั้ง
2) ติดตามโดยการจัดทำเป็นหนังสือ 2 ครั้ง

3. เรื่องร้องทุกข์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีจำนวนเรื่องทั้งหมด 67,919 เรื่อง อยู่ระหว่างการดำเนินการ จำนวน 5,807 เรื่อง ทั้งนี้ จะไม่นับรวมเรื่องร้องทุกข์ที่มีความยุ่งยากซับซ้อน เช่น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน หรือการดำเนินคดี เป็นต้น สปน. จึงจะดำเนินการกำกับติดตามเรื่องร้องทุกข์ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ จำนวน 3,779 เรื่อง

4. เกณฑ์การคำนวณ : ร้อยละความสำเร็จของการกำกับติดตามเรื่องร้องทุกข์ของประชาชนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อยุติ= (จำนวนเรื่องร้องทุกข์ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและได้รับการกำกับติดตามจนได้ข้อยุติ / จำนวนเรื่องร้องทุกข์ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและได้รับการกำกับติดตามทั้งหมด) x 100

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการกำกับติดตามเรื่องร้องทุกข์ของประชาชนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อยุติ 57.92 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

นิยาม : ข้อมูลข่าวสาร หมายถึง ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 7 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่กฎหมายกำหนดเป็นการทั่วไปอย่างแพร่หลาย และมาตรา 9 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 ให้หน่วยงานของรัฐนำข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 และมาตรา 9 เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานโดยประชาชนไม่ต้องร้องขอ

หน่วยงานของรัฐในส่วนท้องถิ่น : หมายถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภท รวมจำนวน 7,850 แห่ง แบ่งเป็น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ 303 แห่ง และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก 7,547 แห่ง (อ้างอิงจากข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ณ วันที่ 9 กันยายน 2563)

  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ หมายถึง องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร แทศบาลเมือง และองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก หมายถึง เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล

เกณฑ์มาตรฐาน :  หมายถึง หลักเกณฑ์การแสดงข้อมูลข่าวสารที่กำหนดขึ้นโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีการปรับเกณฑ์การประเมินที่เน้นการประเมินเชิงคุณภาพ)

การประเมินการผ่านเกณ์มาตรฐาน : หมายถึง ร้อยละของหน่วยงานเข้าร่วมโครงการฯ ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร : หมายถึง ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการทางอิเล็กทรอนิกส์

ขอบเขตการประเมิน : จำนวนสะสมของหน่วยงานของรัฐในส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมการสัมมนาและจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารผ่านเกณฑ์มาตรฐานเทียบกับจำนวนหน่วยงานกลุ่มเป้าหมายในแผนระยะยาวทั้งหมด โดยกำหนดหน่วยงานกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568 เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก รวมจำนวน 7,547 แห่ง และแบ่งเป็นแผนการดำเนินงานปีงบประมาณละ 1,200 แห่ง

สูตรการคำนวณ : (จำนวนสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กที่เข้าร่วมโครงการฯ และผ่านเกณฑ์มาตรฐาน / จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กทั้งหมด) x 100

วิธีการเก็บข้อมูล : ประเมินศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการลงพื้นที่หรือผ่านระบบออนไลน์

แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของหน่วยงานของรัฐในส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 23.15 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :
• มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2564 เห็นชอบการขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมงานบริการ 12 Agenda
• สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดให้หน่วยงานเจ้าภาพหลัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำทิศทางการพัฒนา (Roadmap) ภายในระยะไม่เกิน 3 ปี (พ.ศ. 2565 – 2567) และจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการขับเคลื่อนเป้าหมายที่กำหนดในแต่ละปี
• แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หมายถึง แผนดำเนินการที่ส่วนราชการระบุรายละเอียดกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้ใน Roadmap ปี 2566 โดยระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ชัดเจน / ผลผลิตที่จะได้รับเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส เพื่อใช้ติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อน / เป้าหมายในการวัดความสำเร็จของแต่ละไตรมาส / การระบุเป้าหมายและบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการประเมิน : 
• ประเมินความสำเร็จจากการดำเนินงานตามกิจกรรมที่ได้ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปี 2566
• โดยพิจารณาจากจำนวนกิจกรรมทั้งหมดที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละไตรมาสที่ต้องดำเนินการ สามารถดำเนินการได้ตามแผนระยะเวลาที่กำหนด
• กรณีหน่วยงานเกี่ยวข้องในงานบริการ Agenda หลายงานบริการ เป็นการวัดร้อยละความสำเร็จเฉลี่ยของงานบริการ Agenda ที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ : 
เป็นตัวชี้วัดบังคับของหน่วยงานเจ้าภาพหลัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

รายชื่องานบริการ Agenda ตามมติคณะรัฐมนตรี และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
1. ระบบการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล (DOPA Digital ID)

หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: กรมการปกครอง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) กรมสรรพากร (2) กรมทรัพย์สินทางปัญญา

2. หนึ่งรหัส หนึ่งผู้ประกอบการ (One Identification : ID One SMEs)
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) กรมสรรพากร (2) สำนักงานประกันสังคม (3) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (4) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (5) กรมการพัฒนาชุมชน (6) สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

3. ระบบการรับชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: กรมที่ดิน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (2) กรมธนารักษ์

4. ระบบการอนุญาตวัตถุอันตราย ณ จุดเดียว (Hazardous Substance Single Submission : HSSS)
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) กรมวิชาการเกษตร (2) กรมประมง (3) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

5. ระบบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (GAP) พืช ประมง และปศุสัตว์ 
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2) กรมวิชาการเกษตร (3) กรมประมง (4) กรมปศุสัตว์ (5) กรมการข้าว (6) กรมส่งเสริมการเกษตร (7) กรมหม่อนไหม (8) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

6. ระบบการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทาง (Ease of traveling)
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) กรมอุตุนิยมวิทยา (2) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (3) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (4) สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (5) กรมศิลปากร

7. ระบบช่วยเหลือผู้ว่างงานให้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: กรมการจัดหางาน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (2) สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (3) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (4) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (5) สำนักงานประกันสังคม (6) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (7) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

8. ระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามแดนทางบกของกลุ่มประเทศ ACMECS ผ่านระบบ NSW
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: กรมศุลกากร
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) กรมประมง (2) กรมปศุสัตว์ (3) กรมป่าไม้ (4) กรมการค้าต่างประเทศ (5) กรมการปกครอง (6) กรมศิลปากร (7) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (8) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

9. ระบบการขึ้นทะเบียนเกษตรกร และการขอรับความช่วยเหลือด้านการเกษตร
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) กรมประมง (2) กรมปศุสัตว์ (3) กรมส่งเสริมการเกษตร (4) กรมหม่อนไหม

10. ระบบการแจ้งเตือนสิทธิ์และช่วยเหลือในการรับสวัสดิการของประชาชนตลอดช่วงชีวิต
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) กรมกิจการผู้สูงอายุ (2) กรมกิจการเด็กและเยาวชน (3) กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (4) กรมส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (5) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

11. ระบบการออกบัตรสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง:

12. ศูนย์การร้องเรียนแบบเบ็ดเสร็จ
หน่วยงานเจ้าภาพหลัก: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: (1) สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (2) สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน (3) สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (4) สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม (5) สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (6) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (7) กรมการกงสุล

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของการดำเนินการได้ตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan) พ.ศ. 2566 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 469.44 (คะแนน)