รายงานผลการประเมิน

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

ความสำเร็จของการผลักดันงานบริการภาครัฐให้เป็น Digital Service มี 2 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่

1.1 ความสำเร็จในการขับเคลื่อนงานบริการ Agenda ตามมติคณะรัฐมนตรีให้เป็น Digital Service

1.2 ความสำเร็จของการผลักดันงานบริการผ่านระบบแพลตฟอร์มกลางภาครัฐ

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “สัดส่วนความสำเร็จของกระบวนงานที่ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิทัล (สัดส่วน)”

คำอธิบาย : เป็นการประเมินผลความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนางานบริการ Agendaสำคัญตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ใน 12 เรื่องซึ่งเป็นงานบริการที่สอดคล้องตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) งานบริการตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 - 2565 งานบริการตามแนวทางการยกระดับประเทศไทยสู่ 10 อันดับประเทศที่ประกอบธุรกิจได้ง่ายที่สุด (Ease of Doing Business) เป็นการวัดค่าเฉลี่ยความสำเร็จภาพรวม ทั้ง 12 เรื่อง  

12 Agenda ตามมติ ครม. 3 ส.ค. 64

1. ระบบการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทาง (Ease of traveling)

2.  ระบบการออกบัตรสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์

3.  ระบบช่วยเหลือผู้ว่างงานให้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน

4.  ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID)

5.  หนึ่งรหัส หนึ่งผู้ประกอบการ (One Identification : ID One SMEs)

6.  ระบบการแจ้งเตือนสิทธิ์และช่วยเหลือในการรับสวัสดิการของประชาชนตลอดช่วงชีวิต

7.  ศูนย์การร้องเรียนแบบเบ็ดเสร็จ

8.  ระบบการรับชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

9.  ระบบการอนุญาตวัตถุอันตราย ณ จุดเดียว (Hazardous Substance Single Submission : HSSS)

10. ระบบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (GAP) พืช ประมง และปศุสัตว์

11. ระบบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและการขอรับความช่วยเหลือด้านการเกษตร

12. ระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามแดนทางบกของกลุ่มประเทศ
ACMECS ผ่านระบบ NSW

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จในการขับเคลื่อนงานบริการ Agenda ตามมติคณะรัฐมนตรีให้เป็น Digital Service 92.98 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

- เป็นตัวชี้วัดทดแทน (Proxy KPIs) ที่ถ่ายทอดจาก Strategic KPIs “สัดส่วนความสำเร็จของกระบวนงานที่ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิทัล (สัดส่วน)”

คำอธิบาย : 

▪ เป็นการประเมินความสำเร็จจากการผลักดันการพัฒนางานบริการของส่วนราชการให้เป็นบริการดิจิทัลและเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มกลางภาครัฐ ผ่านระบบ Biz Portal และ Citizen Portal ได้ เพื่อยกระดับและขับเคลื่อนให้ Biz Portal และ Citizen Portal เป็นแพลตฟอร์มกลางภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการต่าง ๆ ของภาครัฐได้แบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ครบวงจร ผ่านทางช่องทางออนไลน์

▪ เป้าหมายการพัฒนาระหว่างปี 2564 – 2566 : ระบบ Biz Portal เพื่อให้สามารถให้บริการแบบ Fully Digital จำนวนไม่น้อยกว่า 100 งานบริการ และระบบ Citizen Portal มีการศึกษาและพัฒนาการให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ไม่น้อยกว่า 150 งานบริการ

▪ ข้อมูลผลการดำเนินการที่ผ่านมา : Biz Portal สามารถให้บริการได้ 134 ใบอนุญาต (ในจำนวนนี้เป็นบริการแบบ Fully Digital Service75 ใบอนุญาต) ระบบ Citizen Portal มีงานบริการบนแอปพลิเคชันทางรัฐ 90 งานบริการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จของการผลักดันงานบริการผ่านระบบแพลตฟอร์มกลางภาครัฐ 82 (ใบอนุญาต/งานบริการ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

นิยาม : การปฏิรูป (Reform) คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของภาครัฐ ที่ส่งผลต่อการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การลดอุปสรรค ลดขั้นตอน ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมภาครัฐ  (Administrative burden and cost) มีกฎระเบียบที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และมีการดำเนินการที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของสากล อันจะทำให้ภาคเอกชนมีความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น โดยที่การดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กำหนดแผนการขับเคลื่อนการปฏิรูประยะสั้น (Short-term Reform) ระยะเวลา 1 ปี จำนวน 18 การปฏิรูป

สูตรคำนวณ : ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการปฏิรูปที่เกิดขึ้น โดยวัดจากความก้าวหน้าและความสำเร็จในการดำเนินการปฏิรูป การอำนวยความสะดวกที่ได้รับจากการปฏิรูป และประเมินได้จากขั้นตอน หรือระยะเวลา หรือค่าใช้จ่ายที่ลดลงในการทำธุรกรรมภาครัฐเมื่อเทียบกับก่อนมีการปฏิรูป หรือมีกฎระเบียบที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

วิธีการเก็บข้อมูล : รายงานผลการดำเนินการปฏิรูปของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แหล่งที่มาของข้อมูล : รายงานผลการดำเนินการปฏิรูปของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการประเมินความสำเร็จการปฏิรูป วัดจากจำนวนการปฏิรูป

บทบาทของสำนักงาน ก.พ.ร. ในการขับเคลื่อนตัวชี้วัด ฯ

1.สนับสนุนผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ

2.ประสานงานกับธนาคารโลกในการจัดทำข้อเสนอแนะ และดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องตามวงรอบการประเมินของธนาคารโลก

3.จัดการประชุม จัดทำช่องทางต่าง ๆ ในการรับฟัง และสร้างการรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการภาครัฐ และการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจแก่ภาคเอกชน ได้แก่ Line Facebook และ Website

4.จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตาม ประสานงานและกำกับดูแลการดำเนินการในกรอบการปฏิรูปเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ

5.ประสานงาน และแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจทั้งประเด็นด้านการให้บริการดิจิทัล การปรับปรุงกระบวนงาน และการแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

6.ติดตาม และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แบบสอบถาม และรายงานการปฏิรูปให้มีข้อมูลที่ถูกต้องตามเกณฑ์การประเมินของธนาคารโลก และส่งตรงเวลาตามกรอบการประเมินของธนาคารโลก

7.รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และจัดทำรายงานเพื่อนำเรียนรองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนการปฏิรูปเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจตามแนวทางของธนาคารโลก 18 (การปฏิรูป)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ความสำเร็จของการจัดโครงสร้างและระบบงานภาครัฐให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว รองรับการเปลี่ยนแปลง และภาครัฐมีขนาดเล็กลง มี 2 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่

3.1 ความสำเร็จของการถ่ายโอนงานให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่น
เข้ามาร่วมดำเนินการแทน

3.2 ความสำเร็จของการสร้างความยืดหยุ่น คล่องตัวในการจัดโครงสร้างองค์กรและระบบงานภาครัฐ

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

• (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 กำหนดแนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับการถ่ายโอนงานฯ ไว้ในหมุดหมายที่ 13 ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1.1 ยกเลิกภารกิจการให้บริการที่สามารถเปิดให้ภาคส่วนอื่นให้บริการแทน และกลยุทธ์ที่ 2.1 เร่งทบทวนบทบาทภาครัฐและกระจายอำนาจการบริหารจัดการภาครัฐ

• การถ่ายโอนงาน หมายถึง การมอบงานหรือกิจกรรมให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นเข้ามาร่วมดำเนินงานหรือดำเนินการแทนหน่วยงานภาครัฐในบางขั้นตอนหรือทั้งหมด จำแนกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ สัญญา/ใบอนุญาตมอบเอกชน สัญญาจ้าง และเครือข่ายความร่วมมือเพื่อดึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญจากองค์กรภายนอก รวมทั้งเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการพำงานที่นำไปสู่การลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีอยู่

• การประเมินความสำเร็จของตัวชี้วัด พิจารณาจาก สำนักงาน ก.พ.ร. สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับส่วนราชการกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการถ่ายโอนงาน ได้แล้วเสร็จร้อยละ 100 ตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของส่วนราชการที่เป็นไปตามแนวทางและวิธีการในการถ่ายโอนงานภาครัฐให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นเข้ามาร่วมดำเนินการแทน ที่ผ่านความเห็นชอบจาก คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการทบทวนบทบาทภารกิจและปรับปรุงโครงสร้างฯ

• เป้าหมายปี 2566 กำหนดให้ขับเคลื่อนดำเนินการถ่ายโอนงานภาครัฐให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นเข้ามาร่วมดำเนินการแทน อย่างน้อย 2 งาน โดยสำนักงาน ก.พ.ร. คัดเลือกงานของส่วนราชการที่มีความสำคัญ มี Impact สูงต่อประชาชนและภาคเอกชน หรือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศมาดำเนินการตามแนวทางและวิธีการที่ผ่านความเห็นชอบของ อ.ก.พ.ร.ฯ  โดยเป็นงานใหม่ที่ไม่ซ้ำกับงานที่ได้ทดลองนำร่องในปี 2565 ซึ่งเป็นงาน Sandbox ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จและภาคเอกชนมีความพร้อมร่วมดำเนินการอยู่แล้ว

เงื่อนไข : รายชื่อหน่วยงานที่ดำเนินการขับเคลื่อนผ่านความเห็นชอบจาก คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการทบทวนบทบาทภารกิจและปรับปรุงโครงสร้างฯ โดยสำนักงาน ก.พ.ร. จะส่งรายชื่อหน่วยงานให้ภายไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จของการถ่ายโอนงานให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นเข้ามาร่วมดำเนินการแทน 3 (งาน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย :

การดำเนินการจัดโครงสร้างองค์กร เพื่อสร้างความยืดหยุ่น คล่องตัว ในการบริหารราชการที่มีประสิทธิภาพ โดยการผ่อนคลายกฎระเบียบของหน่วยงานกลาง ด้วยการทดลองหรือทดสอบ (Sandbox) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้หน่วยงานเมีการจัดโครงสร้าง การออกแบบระบบการทำงานใหม่ที่มีความยืดหยุ่นคล่องตัวมากขึ้นเหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

การดำเนินการ : ดำเนินการกับหน่วยงานนำร่อง (OD Regulatory Sandbox) และสรุปถอดบทเรียนในการดำเนินการ เพื่อกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ แนวทางและวิธีการให้ส่วนราชการอื่น ๆ ขยายผลต่อไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
แนวทางการดำเนินการเพื่อสร้างความยืดหยุ่น คล่องตัวในการจัดโครงสร้างฯ ในหน่วยงานนำร่อง (OD Regulatory Sandbox) ผ่าน
สรุปผลการดำเนินการเพื่อสร้างความยืดหยุ่น คล่องตัวในการจัดโครงสร้างฯ ในหน่วยงานนำร่อง (OD Regulatory Sandbox) อย่างน้อย 2 หน่วยงาน ผ่าน
หลักเกณฑ์ แนวทางและวิธีการเพื่อสร้างความยืดหยุ่น คล่องตัวในการจัดโครงสร้างฯ เสนอ อกพร. และ กพร. ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

การศึกษาเพื่อถอดบทเรียน หรือนำงานวิจัยไปสนับสนุนการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญ (Agenda) ของจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง และนำรูปแบบ กลไกการทำงานหรือการบูรณาการไปปฏิบัติในพื้นที่มีวิธีการดำเนินงาน ดังนี้

1.คัดลือกประเด็นสำคัญ (Agenda) ของจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง และศึกษาวิเคราะห์รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (Application Report) หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มาถอดบทเรียน/ พัฒนา ปรับปรุง ให้สอดคล้องกับประเด็นสำคัญ (Agenda) ของจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง เพื่อจัดทำรูปแบบกลไกการทำงาน หรือ
การบูรณาการสำหรับขับเคลื่อนฯ

2.เสนอ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น

3.นำรูปแบบที่เหมาะสมไปจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในจังหวัด

4.ติดตามความก้าวหน้า และผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงรูปแบบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้นำไปใช้กับพื้นที่อื่นได้ ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญ (Agenda) ที่อยู่ในข่าย เช่น BCG Smart City การบริหารจัดการขยะ การท่องเที่ยวโดยชุมชน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
1 ประเด็นสำคัญ (Agenda) อย่างน้อย 1 จังหวัด ผ่าน
2 ประเด็นสำคัญ (Agenda) อย่างน้อย 2 จังหวัด ผ่าน
3 ประเด็นสำคัญ (Agenda) อย่างน้อย 3 จังหวัด ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย 
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูล จำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 
1) ส่วนราชการต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
2) ส่วนราชการต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
3) ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
5) กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
6) ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
7) การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  / การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

ขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
1) แผนระดับ 2 (แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ) และ แผนระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน
    • ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
    • ผลการดำเนินงานตามแผนที่เกี่ยวข้อง
2) ชุดข้อมูลสนับสนุนการให้บริการประชาชน (e-Service)
3) ดัชนี/ตัวชี้วัดระดับสากล (หน่วยงานที่ต้องดำเนินการตามตัวชี้วัดการจัดทำชุดข้อมูลตัวชี้วัด สำหรับการรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย IMD ให้นับเป็นชุดข้อมูลที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมจาก 5 ชุดข้อมูลที่กำหนดตามเงื่อนไขตัวชี้วัด)
4) สถิติทางการ (21 สาขา)
5) การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล หรือ มติ ครม.
6) ภารกิจหลักของหน่วยงาน

เงื่อนไข
1. ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนจำนวน 14 รายการ หากส่วนราชการมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน
2. หน่วยงานจัดทำชุดข้อมูลเปิดไม่น้อยกว่า 5 ชุดข้อมูล

เกณฑ์การประเมิน
- เป้าหมายขั้นต้น (50)
   • มีรายชื่อชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสามารถนำไปใช้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศหรือการบริการประชาชน
   • มีคำอธิบายชุดข้อมูล (Metadata) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด (14 รายการ) ของทุกชุดข้อมูล 
   • มีคำอธิบายทรัพยากรข้อมูล (Resource) ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด
- เป้าหมายมาตรฐาน (75) = 
   • มีระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน (Agency Data Catalog) พร้อมแจ้ง URL ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และชุดข้อมูล คำอธิบายชุดข้อมูล ถูกนำขึ้นที่ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และระบุทรัพยากรข้อมูล (Resource)
ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด (15 คะแนน)
   • ชุดข้อมูลเปิดทั้งหมด ถูกนำมาลงทะเบียนในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) (10 คะแนน)
- เป้าหมายขั้นสูง (100) = 
   • คุณภาพทุกชุดข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร. กำหนด (20 คะแนน)
   • นำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ตามประเด็นขอบเขตการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล (5 คะแนน)

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

• พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

• พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 478.06 (คะแนน)