การพัฒนาด้านเทคโนโลยีของประเทศ

ร้อยละของระดับความเชื่อมั่นของการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยธรรมชาติทางอุตุนิยมวิทยา

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • เป็นการประเมินประสิทธิผลในการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยที่เกิดจากธรรมชาติของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยพิจารณาจากความเชื่อมั่นของการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยธรรมชาติทางอุตุนิยมวิทยาของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การสำรวจความเชื่อมั่นการแจ้งเตือนภัยจากสภาวะอากาศจะสำรวจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมายถึง ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการต่างๆ
  • ภัยจากสภาวะอากาศ หมายถึง ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศเผยแพร่แจ้งเตือนไปยังประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภัยธรรมชาตินี้ ได้แก่                       
    1. พายุหมุนเขตร้อน 2. พายุฤดูร้อน 3. คลื่นลมแรง 4. ฝนตกหนัก
  • วัดผลความเชื่อมั่นจะพิจารณาจากประเด็นการสำรวจใน 3 ประเด็น ดังนี้
  1. ความถูกต้อง แม่นยำ ของการแจ้งเตือนภัย
  2. การแจ้งเตือนภัยที่ทันต่อเหตุการณ์ สามารถเฝ้าระวัง หรือป้องกันความเสียหายจากภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที
  3. ช่องทางการเตือนภัย มีความเหมาะสม เข้าถึงประชาชนในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างครบถ้วน
  • สูตรคำนวณ ร้อยละของระดับความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของการแจ้งเตือนภัย = (ค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นประเด็นที่ 1+2+3)/3

ร้อยละของระดับความเชื่อมั่นของการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยธรรมชาติทางอุตุนิยมวิทยา