ความปลอดภัย

ร้อยละการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าภายในระยะเวลาที่กำหนด

รายละเอียดตัวชี้วัด

การแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า หมายถึง การให้ข้อมูลข่าวสารที่บอกถึงภาวะคุกคามหรือภาวะอันตรายก่อนที่ภัยหรืออันตรายจะเกิดขึ้นไปยังหน่วยงานและประชาชนให้ทันต่อเหตุการณ์ โดยผ่านทางช่องทางและรูปแบบต่างๆ เช่น รายงานแจ้งเตือนรายวัน โทรสารแจ้งเตือน ข้อความสั้น (SMS) FAX แอพลิเคชั่นไลน์ เป็นต้น ทำให้บุคคลสามารถกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงที่กำลังเผชิญจากสาธารณภัย รวมถึงพร้อมรับมือกับสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภัย หมายถึง ภัยอันตรายที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ภัยที่มีความรุนแรงน้อยไปถึงรุนแรงมาก จนอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน ได้แก่ อุทกภัย วาตภัย น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหวและสึนามิ

สถานการณ์ปกติ  จำนวนผลผลิตรายงานการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า (รายงานประจำวัน) พร้อมข้อเสนอแนะในประเด็นและข้อแนะนำต่อการรับมือกับภัยในห้วงนั้น

สถานการณ์เตรียมพร้อมรับมือ จัดทำโทรสารแจ้งเตือนภัยได้ล่วงหน้า รวดเร็ว และทั่วถึงในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติตามกำหนดเวลาใน SOP โดยสามารถระบุจังหวัดได้ตามระดับของสถานการณ์  สาธารณภัย ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ

ระยะเวลาที่กำหนด หมายถึง  ความสามารถในการแจ้งเตือนภัยตามระยะเวลาในคู่มือปฏิบัติงานการแจ้งเตือนภัยของแต่ละภัย ดังนี้

(1) อุทกภัย (2) น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม และ (3) วาตภัย แจ้งเตือนภัยล่วงหน้าภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง

(4) แผ่นดินไหว รายงานภายใน 20 นาที หลังเกิดแผ่นดินไหว

(5) สึนามิ แจ้งเตือนภายในระยะเวลา 5 นาที หลังจากได้รับข้อมูลยืนยันจาก 2 แหล่ง อาทิ สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA)  กรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey : USGS) และ สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก GEOFON

สูตรคำนวณร้อยละการแจ้งเตือนภัย (ปรับสูตร) = [จำนวนครั้งการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า (ภายในระยะเวลาที่กำหนด)  X  100] /   จำนวนครั้งของสาธารณภัยทั้งหมด 

ร้อยละการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าภายในระยะเวลาที่กำหนด