สาธารณสุขและสุขภาพ

ร้อยละของเด็กและเยาวชนทั่วประเทศผ่านเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย

รายละเอียดตัวชี้วัด

-กรมพลศึกษามีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาขั้นพื้นฐานและกีฬาเพื่อมวลชน โดยเป้าหมายของการพัฒนาการกีฬาขั้นพื้นฐาน คือ ให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีเจตคติและทักษะในการออกกำลังกายและเล่นกีฬา เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะและสมรรถภาพทางกาย เห็นได้ว่ากลุ่มผู้รับบริการที่สำคัญของภารกิจนี้คือ กลุ่มเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาซึ่งมีจำนวนมากกว่า 10 ล้านคน และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามภารกิจ กรมพลศึกษาได้ดำเนินการส่งเสริมเครือข่ายในสถานศึกษา โดยการให้ความรู้และจัดการทดสอบสมรรถภาพทางกาย รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการพัฒนาสมรรถภาพทางกายให้แก่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาทั่วประเทศ

-สมรรถภาพทางกาย (physical fitness) หมายถึง สภาวะของร่างกายที่อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อที่จะช่วยให้บุคคลสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอัตราความเสี่ยงของปัญหาทางสุขภาพที่เป็นสาเหตุมาจากการขาดการออกกำลังกาย ช่วยสร้างความสมบูรณ์และแข็งแรงของร่างกายในการที่จะเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายได้อย่างหลากหลาย บุคคลที่มีสมรรถภาพทางกายที่ดี ก็จะสามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ
ในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา และการแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี สมรรถภาพทางกายแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ (Health-related Physical Fitness) และสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ (Skill- related Physical Fitness)

-วิธีประเมินสมรรถภาพทางกายสำหรับตัวชี้วัดนี้ ใช้การประเมินสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ (Health-related physical fitness) ประกอบด้วย

      1) การวัดองค์ประกอบร่างกาย (Body Composition) ด้วยวิธีการใช้ ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง

      2) การความอ่อนตัว (Flexibility) ด้วยวิธีการ นั่งงอตัวไปข้างหน้า (Sit and Reach)

      3) ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength and Endurance) ด้วยวิธีการ ดังนี้

           3.1) อายุ 7 – 18 ปี  - ดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที (30 Seconds Modified Push Ups) และ ลุก-นั่ง 60 วินาที (60 Seconds Sit Ups)

           3.2) อายุ 19-24 ปี   - แรงบีบมือ (Hand Grip Strength) - ยืน-นั่ง บนเก้าอี้ 60 วินาที (60 seconds Chair Stand)

      4) ความทนทานของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด (Cardiovascular Endurance) ด้วยวิธีการ ยืนยกเข่า 3 นาที (3 Minutes Step Up and Down) )

-การประเมินสมรรถภาพทางกาย

     1) การวัดองค์ประกอบร่างกาย แบ่งออกเป็น 5 ระดับ โดยแบ่งเป็น ผอมมาก ผอม สมส่วน ท้วม และอ้วน  ผู้ที่จะผ่านเกณฑ์จะต้องอยู่ในระดับ ผอมและสมส่วน

     2) การวัดความอ่อนตัว  ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ และความทนทานของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
         โดยแบ่งออกเป็น ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง ดี และดีมาก  ผู้ที่จะผ่านเกณฑ์ของรายการที่ใช้ทดสอบต้องได้ในระดับปานกลางขึ้นไป

-วิธีการคำนวณร้อยละของผู้ผ่านเกณฑ์ในแต่ละด้าน คือ  จำนวนคนที่ผ่านจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวนคนที่ผ่าน/จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด x 100

-กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กและเยาวชนในโรงเรียนและสถานศึกษาที่ได้จากการเก็บข้อมูลสมรรถภาพทางกายของกรมพลศึกษา จาก 4 ภาคทั่วประเทศและกรุงเทพมหานคร สุ่มโดยใช้วิธีการทางสถิติที่คัดเลือกจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 7,200 คน เป็นเด็กอายุ 7-24 ปี ช่วงอายุละ 400 คน เป็น เพศชาย 200 คน และ หญิง 200 คน

ร้อยละของเด็กและเยาชนทั่วประเทศที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย