สาธารณสุข

สาธารณสุขและสุขภาพ

ร้อยละของประชาชนที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ

รายละเอียดตัวชี้วัด

-การออกกำลังกาย หมายถึง การกระทำใด ๆ ที่มีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อสุขภาพ เพื่อความสนุกสนาน และเพื่อสังคม รวมทั้งการออกกำลังกายในการประกอบอาชีพ และการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน

-การเล่นกีฬา หมายถึง การออกกำลังกายโดยใช้ทักษะกีฬาพื้นฐาน และมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความสนุกสนานเพื่อสังคม เพื่อการแข่งขัน (การเล่นกีฬาเป็นส่วนหนึ่งของการออกกำลังกาย)

-กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) หมายถึง การขยับเคลื่อนไหวร่างกายทั้งหมดในชีวิตประจำวัน ทั้งในการทำงาน การเดินทาง และนันทนาการ โดยการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่
การส่งเสริมด้านการทำงาน/อาชีพ/งานบ้าน การเดิน/ปั่นจักรยานในวิถีประจำวัน การออกกำลังกาย/กีฬา/การท่องเที่ยว/นาฏศิลป์/การใช้เวลาว่างอื่นๆ ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น

-การออกกำลังกายและเล่นกีฬาสม่ำเสมอ แบ่งตามช่วงอายุ

     1) สำหรับเด็กและวัยรุ่น (อายุ 5-17 ปี) ควรทำกิจกรรมทางกาย ความหนักระดับปานกลางถึงระดับหนัก เป็นเวลาสะสมอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน

     2) สำหรับผู้ใหญ่ (อายุ 18-64 ปี) ควรทำกิจกรรมทางกาย ความหนักระดับปานกลาง เป็นเวลาสะสมอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือความหนักระดับหนัก เป็นเวลาสะสมอย่างน้อย 75
         นาทีต่อสัปดาห์ โดยให้มีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาที ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO)

-   กลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป

-กรมพลศึกษาดำเนินการสำรวจข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่พลศึกษา ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ประจำอำเภอและจังหวัดทั่วประเทศ โดยกรมดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสถิติเพื่อวางแผนการสำรวจข้อมูลตลอดจนการตรวจสอบข้อมูลให้มีความถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ

ข้อมูลพื้นฐาน

ร้อยละของประชาชนที่เล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ
ร้อยละของประชาชนที่ออกกำลังกาย