ความมั่นคง

จำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย

• เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงความสงบ ปลอดภัยในพื้นที่ โดยวัดความสำเร็จจากจำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ลดน้อยลง

• สอดคล้องกับการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสำคัญของประเทศ ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12  ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 ตัวชี้วัด 3.1 มูลค่าความเสียหายและจำนวนการก่อเหตุร้ายที่มีมูลเหตุจากความไม่สงบลดลง โดย สมช. เป็นเจ้าภาพหลักของแผนบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

นิยาม

• จังหวัดชายแดนภาคใต้ หมายถึง พื้นที่ใน จ.นราธิวาส จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา (อ.จะนะ อ.เทพา อ.นาทวี และ อ.สะบ้าย้อย)

• เหตุการณ์ความรุนแรง หมายถึง เหตุการณ์การก่อเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการะกระทำอันเกิดจากกลุ่มก่อความไม่สงบ หรือผู้ก่อเหตุรุนแรงที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข ทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ และรวมถึงการกระทำที่กระทบต่ออธิปไตยแห่งดินแดนและอำนาจรัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยไม่นับรวมเหตุก่อกวน เหตุการณ์อันเกิดจากการกระทำของฝ่ายเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผลการปฏิบัติการ การก่ออาชญากรรม เหตุการณ์ที่เป็นคดีอาญา และการกระทำเชิงสัญลักษณ์  ทั้งนี้ กลุ่มก่อความไม่สงบหรือผู้ก่อเหตุรุนแรง หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จ.นราธิวาส จ.ปัตตานียะลา และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา)

หมายเหตุ

• ใช้ข้อมูลจำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงฯ จากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศข่าวกรอง (SMIC) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 สน.) ในการประเมินผล

• แผนบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำหนดค่าเป้าหมายจำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงฯ ไว้ว่า “จำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงลดลง ร้อยละ 20 เทียบกับปี 2560” (คิดเป็น 144 เหตุการณ์) แต่จากผลการดำเนินการในปี 2562 (124 เหตุการณ์) พบว่า มีความก้าวหน้ามากกว่าที่กำหนดไว้ในแผนนี้ สำหรับการประเมินตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สมช. จึงได้กำหนดค่าเป้าหมายมาตรฐานให้จำนวนเหตุการณ์ลดลง ร้อยละ 35 และค่าเป้าหมายขั้นสูง ให้จำนวนเหตุการณ์ลดลง ร้อยละ 40 โดยเทียบกับปี 2560

จำนวนเหตุการณ์ความรุนแรง